Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและหลักการพื้นฐานของจริยธรรม - Coggle Diagram
แนวคิดและหลักการพื้นฐานของจริยธรรม
องค์ประกอบหลักของจริยธรรม
ทัศนคติทางจริยธรรม
ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อลักษณะนั้นๆ ทัศนคติเชิงจริยธรรมของบุคคลอาจสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมก็ได้
เหตุผลเชิงจริยธรรม
การที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำหรือเลือกที่จะไม่
กระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความรู้เชิงจริยธรรม
การมีความรู้ว่าการกระทำใดดีและเลว ควรหรือไม่ควรที่รับรู้และ
ปฏิบัติภายในสังคมของตน
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม
การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมที่สังคมนิยมชมชอบ หรืองดเว้น
การแสดงพฤติกรรมที่ขัดต่อกฎเกณฑ์และค่านิยมของสังคม
ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับจริยธรรม
ประเภทที่ 1 การพยาบาลที่ไม่ผิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม
ประเภทที่ 2 การพยาบาลที่อาจจะมองได้ว่ามีจริยธรรม แต่ผิดกฎหมาย
ประเภทที่ 3 การพยาบาลที่อาจมองได้ว่าถูกกฏหมาย แต่ไม่มีจริยธรรม
ประเภทที่ 4 การพยาบาลที่ผิดทั้งกฎหมายและจริยธรรม
คุณค่ากับความกระจ่างในคุณค่า
(value and value clarification)
คุณค่า (Values) = คุณลักษณะที่ได้จากการประเมินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นความเชื่อของบุคคลกลุ่มหรือสังคม เกี่ยวกับความมีค่าของความคิด เจตคติ ขนบธรรมเนียมประเพณี และได้ลงมือปฏิบัติตามสิ่งที่
เชื่อ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
ได้แก่ 1) คุณค่าทางจริยธรรม (moral values) และ 2) คุณค่าที่ไม่เกี่ยวกับจริยธรรม (non-moral values)
ความกระจ่างของคุณค่า (Value clarification) เป็นกระบวนการที่ให้บุคคลตระหนักรู้ในตัวเอง ว่าสิ่งใดในชีวิตของบุคคลให้ความสำคัญหรือให้คุณค่า หรือจัดลำดับความสำคัญของคุณค่า ที่นำไปสู่แนวทางในความสนใจการเลือกการกระทำและการตอบสนองของตนในบริบทระหว่างบุคคลและสังคมที่หลากหลาย โดยเคารพความ
แตกต่างในความคิดเห็น
ทฤษฎีทางจริยศาสตร์
ทฤษฎีการพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก (Kohlberg's Theory)
ระดับที่ 1 ระดับก่อนกฎเกณฑ์หรือระดับก่อนจริยธรรม เป็น
ระดับที่เกิดในช่วงอายุ 2-10 ปี เป็นระยะที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เด็กตัดสินใจเลือกกระทำเฉพาะสิ่งที่ผู้มีอำนาจกำหนดให้
ขั้นที่ 1 การเชื่อฟังและการลงโทษ
ขั้นที่ 2 ควํามเป็นปัจเจกและกํารแลกเปลี่ยน
ระดับที่ 2 ระดับมีจริยธรรมตามเกณฑ์หรือกฎเกณฑ์ตามสังคม
เป็นช่วงอายุ 10-16 ปี เป็นระดับที่เด็กกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามข้อกำหนดของครอบครัว หรือสังคม ประพฤติตน
อยู่ในโอวาท กระทำในสิ่งที่ถูก ที่ดี ที่ควร หลีกเลี่ยงความประพฤติที่บุคคลอื่นลงความเห็นว่าไม่ดี เพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับ
ขั้นที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นระยะที่กล่าว
ว่า เป็นเด็กดี เป็นขั้นตอนของการพัฒนาจริยธรรมนี้มุ่งเน้นที่ความเป็นอยู่ตามความคาดหวังทางสังคมและ บทบาทที่ดำรง เน้นในการยินยอมปฏิบัติตาม
ขั้นที่ 4 การรักษากฎระเบียบของสังคม บุคคลที่มีความรู้บทบาทหน้าที่ของตนในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งในสังคมของตน จึงถือว่าตน
มีหน้าที่ทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆที่สังคมของตนกำหนดหรือคาดหมาย
ระดับที่ 3 ระดับเหนือกฎเกณฑ์หรือมีจริยธรรมอย่างมีวิจารณญาณ เป็นช่วงอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป เป็นบุคคลที่มีจริยธรรม มีกฎเกณฑ์ที่ใช้ยึดถือปฏิบัติเข้าถึงสิทธิมนุษยชน
ขั้นที่ 5 สัญญาทางสังคมและสิทธิส่วนบุคคล เป็นขั้นหลักการใช้เหตุผลและการเคารพตนเอง
ขั้นที่ 6 คุณธรรมสากล เป็นขั้นสูงสุดของการพัฒนาทาง
จริยธรรมโดยใช้หลักทำตามอุดมคติสากล จะพบมากในผู้ใหญ่ที่มีความเจริญทางสติปัญญา
ทฤษฎีจริยธรรม
ทฤษฎีประโยชน์นิยม
กล่าวถึงการตัดสินใจด้านจริยธรรมที่คำนึงถึงผลลัพธ์ โดยการตัดสินว่าถูกหรือผิด ดีหรือเลวพิจารณาจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหรือผลตามมา แม้ไม่มีข้อกำหนดว่าสิ่งใดถูกหรือผิด แต่เป็นสิ่งที่ดีและแสวงหาความสุขให้กับคนส่วนใหญ่ แต่อาจส่งผลกระทบต่อคนกลุ่มน้อย เน้นที่ผลของการกระทำหลักการพื้นฐานของทฤษฎี คือ หลักของผลประโยชน์ ซึ่งเน้นว่าบุคคลจะต้องกระทำในสิ่งที่ส่งผลลัพธ์ในเชิงบวก เหนือสิ่งที่ไม่มีคุณค่าเสมอ
ทฤษฎีหน้าที่นิยม
กล่าวถึงการกระทำด้วยเหตุผล การกระทำไม่ว่าจะเป็นความถูกต้องหรือสิ่งที่ผิดเกิดมาจากการกระทำมากกว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เป็นการกระทำตามหน้าที่ที่พึงกระทำเกิดจากเจตนาดี ซึ่งเกิดจากจิตสำนึกในหน้าที่ที่มีเหตุผลประกอบการตัดสินใจกระทำ กระทำกับผู้อื่น บุคคลทุกคนมีคุณค่าที่เท่าเทียมกัน ให้คุณค่าเกี่ยวกับการรักษาคำมั่นสัญญา การพูดความจริง และมีความเชื่อว่าการกระทำที่ถูกต้อง
ส่วนประกอบของจริยธรรม
ส่วนประกอบด้านความรู้ (moral reasoning) เป็นความเข้าใจในเหตุผลของความถูกต้องดีงาม สามารถตัดสินแยกความถูกต้องออกจากความไม่ถูกต้องได้ด้วยความคิด
ส่วนประกอบด้านอารมณ์ความรู้สึก (moral attitude and belief) เป็นความพึงพอใจ ศรัทธา เลื่อมใส เกิดความนิยมยินดีที่จะนำจริยธรรมมาเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ
ส่วนประกอบทํางด้านพฤติกรรมแสดงออก (moral conduct) เป็นพฤติกรรมการกระทำที่บุคคลตัดสินใจกระทำถูกหรือผิดใสถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ
จริยธรรมกับวิชาชีพการพยาบาล
การพิทักษ์สิทธิ์ (advocacy) การปกป้องหรือช่วยเหลืออย่างเต็มที่เมื่อมีเหตุการณ์สำคัญ เกิดขึ้นกับผู้ป่วย ในทางกฎหมายถือเป็นการปกป้องสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแทนบุคคลที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้
ความรับผิดชอบและภาระรับผิดชอบ (responsibility เป็นแนวคิดทางจริยธรรมที่สำคัญในการปฏิบัติการพยาบาลที่แสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยตามขอบเขตที่กำหนดตามกฎหมาย
ความร่วมมือ (cooperation) การกระทำที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมระหว่างพยาบาลกับผู้ร่วมงานอื่นในทีมสุขภาพ
ความเอื้ออาทร (caring) เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการให้คุณค่าในสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย