Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 3 ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม -…
หน่วยที่ 3 ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อสถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย
ประเทศไทย เคยประสบความสําเร็จจากการใช้ข้อได้เปรียบจากการส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานราคาถูกจน
ทําให้ประชากรมีรายได้ที่น่าพอใจในระดับหนึ่งแต่เมื่อตลาดโลกมีรูปแบบการแข่งขันที่แตกต่างและซับซ้อนมากขึ้น ประเทศไทยจําเป็นต้องใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีให้มากขึ้น เพื่อสร้างข้อ
ได้เปรียบใหม่ ๆ ให้กับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
เช่น การสร้างมูลค่าให้อุตสาหกรรมสมุนไพรไทย การทําให้บางจังหวัดท่องเที่ยวกลายเป็น World Class Destination เป็นต้น
ที่สําคัญที่สุดคือ ต้องพัฒนาเศรษฐกิจโดยคํานึงถึงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงจะถือว่าเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน
ระบบเศรษฐกิจแบบฐานข้อมูลข่าวสาร (Information based economy)
ระบบเศรษฐกิจได้เปลี่ยนรากฐานจากระบบอุตสาหกรรมมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบฐานข่าวสาร ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจที่
เกี่ยวข้องโดยตรงกับกระบวนการผลิต การจัดการ และเผยแพร่ข่าวสาร ข่าวสารกลายเป็นสินค้าประเภทหนึ่ง ตัวอย่างธุรกิจ
ชนิดนี้ เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรคมนาคม วิทยุ โทรทัศน์ การพิมพ์ โทรศัพท์ หนังสือ วารสาร เป็นต้น ข่าวสาร
กลายเป็นเรื่องสําคัญและเป็นทรัพยากรที่สําคัญ ผู้ต้องการใช้ข่าวสารต้องเสียค่าใช้จ่าย ข่าวสารกลายเป็นแหล่งทุน จึงทําให้
เกิดการว่าจ้างแรงงานทางด้านข่าวสารมากขึ้น
ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเปรียบเหมือนคลื่นโลกาภิวัตน์ลูกที่หนึ่ง ทําให้ค่าขนส่งสินค้าระหว่าง
ประเทศถูกลง สร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็วให้แก่กลุ่มประเทศ จี 7 คือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สหราช
อาณาจักร แคนาดา และอิตาลี
สถานการณ์สิ่งแวดล้อม
5.1 ภาวะโลกร้อน หรือภาวะอุณหภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
มีสาเหตุมาจากชั้นบรรยากาศที่ปกคลุมโลกไว้มีก๊าซต่าง
ๆ เพิ่มขึ้น ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกมีคุณค่ามหาศาลต่อสิ่งมีชีวิต
5.2 มลภาวะทางอากาศ
5.2.1 การเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ํามัน
5.2.2 คุณภาพของอากาศในเมืองที่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักจะมีอนุภาคขนาดเล็กแขวนลอยอยู่ในอากาศ และ
มีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เข้มข้นสูง
5.3 ภาวะขาดแคลนน้ํา
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ศึกษาปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้เกิดภาวการณ์ขาดแคลนน้ํา สรุปได้ 10 สาเหตุ ได้แก่
(1) ภาวะเรือนกระจกที่ทําให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น
(2) มลพิษในแม่น้ําลําคลองและแหล่งน้ําต่าง ๆ เกิดจากการปล่อยน้ําเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมลงในแหล่งน้ําโดยไม่ได้
ผ่านการบําบัด
(3) จํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นทําให้ความต้องการใช้น้ําเพิ่มสูงขึ้น
(4) ภาคเกษตรและปศุสัตว์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น
(5) ภาคอุตสาหกรรมขยายตัว
(6) ขาดการจัดการที่ดีในเรื่องของการใช้น้ําและควบคุมมลพิษ
(7) การขุดเจาะนําน้ําใต้ดินขึ้นมาใช้
(8) การสร้างเขื่อน
(9) ขยะที่ถูกฝังใต้ดิน
(10) ป่าไม้ถูกทําลาย
5.4 การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
หากการพัฒนาประเทศไทยเป็นไปในแนวทางสายกลาง และตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการปรับตัวทาง
วัฒนธรรมและสังคมไทยให้เกิดความสมดุลระหว่างแนวทางอนุรักษ์นิยมกับแนวทางทุนนิยม เพื่อให้ดํารงภูมิปัญญาท้องถิ่น
ดั้งเดิมและความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับวิถีไทย ก็จะก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันของวัฒนธรรมท้องถิ่นและสังคมไทยไม่ให้ล่มสลายไปกับกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนั้นแนวทางการพัฒนาและศึกษาทางเลือกหรือเทคโนโลยีนิเวศจึงน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุดของ
ประเทศไทยและกลุ่มประเทศโลกที่สามที่ยังยากจนอยู่ในทุกวันนี้
ท้องถิ่นนิยม (Localism)
ระบบสื่อสารไร้พรมแดนทําให้เกิดการครอบโลกทางวัฒนธรรม อิทธิพลของวัฒนธรรมและอํานาจของเศรษฐกิจจาก
ประเทศที่พัฒนาแล้วได้ไหลบ่าเข้าสู่ประเทศอื่นอย่างรุนแรง ก่อให้เกิดกระแสวัฒนธรรมโลก
ครอบงําทางความคิด
การมองโลก
การแต่งกาย
การบริโภคนิยม
ในขณะเดียวกันระบบสื่อสารไร้พรมแดนก็ทําให้เกิดความรู้สึก
ท้องถิ่นนิยมแทนที่อุดมการณ์ชาตินิยมไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากประชาชนในท้องถิ่นสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านต่าง ๆ ที่
ส่งผลกระทบต่อชุมชนของตนได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน หากรัฐบาลกลาง
หวังจะตักตวงผลประโยชน์จากท้องถิ่นโดยไม่โปร่งใส ก็จะถูกต่อต้านจากประชาชนในท้องถิ่น
สถานการณ์พลังงาน
พลังงานเป็นปัจจัยสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ภาคการผลิตใช้พลังงานสังเคราะห์ ได้แก่ น้ํามันเชื้อเพลิงและ
ไฟฟ้า นอกจากนั้นกระแสโลกาภิวัตน์ทําให้ประชากรโลกทั้งในสังคมเมืองและในท้องถิ่นห่างไกลมีโอกาสรับรู้ความก้าวหน้าทาง
เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เท่าเทียมกันมากขึ้น ส่งผลให้มีการใช้อุปกรณ์เพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบอาชีพและการ
ดําเนินชีวิตมากขึ้นด้วย แม้ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นจะมาจากแหล่งผลิตหลายแห่ง มีลักษณะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ใช้พลังงานในการ
ทํางานเหมือนกัน จํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้นก็ยิ่งส่งผลให้มีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย
เมื่อประเด็นต่าง ๆ ด้านพลังงานไฟฟ้ามีความสําคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ทําให้มีประเด็นปัญหาที่ท้าทายใหม่ ๆ เกี่ยวกับ
ความมั่นคงด้านพลังงานเกิดขึ้นตามมา
ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน คงจะเน้นในเรื่องการผลิตไฟฟ้ามากกว่าการจัดหาน้ํามัน
ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้ามากถึง 68% ของเชื้อเพลิงที่ใช้ผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งถือว่าเป็น
อัตราที่มีความเสี่ยงสูงต่อความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีต้นทุนทางด้านพลังงานที่สูงกว่าประเทศ
คู่แข่งทางการค้า ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของประเทศไทยในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพราะปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพา
พลังงานจากฟอสซิล (fossil) ในการขับเคลื่อนระบบต่าง ๆ ในปริมาณสูง แต่ประเทศไทยสามารถขุดเจาะและผลิตพลังงาน
จากฟอสซิลได้เพียง 10% ของความต้องการใช้พลังงานในประเทศเท่านั้น กระทรวงพลังงานระบุว่าในปี พ.ศ. 2555 ไทยมีการ
ส่งออกน้ํามันสําเร็จรูป ได้แก่ เบนซินพื้นฐาน แก๊สโซฮอล์ น้ํามันเบนซิน น้ํามันก๊าด น้ํามันอากาศยาน ดีเซลหมุนเร็ว ดีเซล
พื้นฐาน น้ํามันเตา เฉลี่ยประมาณ 199.3 พันบาร์เรล/วัน หรือคิดเป็นมูลค่าเฉลี่ยประมาณ 2.7 ล้านบาท จึงต้องนําเข้าพลังงาน
วัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ. 2556 นําเข้าน้ํามันดิบจากต่างประเทศเฉลี่ย 910,000 บาร์เรล/วัน เฉลี่ยปีละประมาณ
กว่า 332,150,000 บาร์เรล คิดเป็นมูลค่าที่ประเทศไทยต้องสูญเสียเงินตราไปยังต่างประเทศกว่าปีละ 1,160,028 ล้านบาท
เพื่อนํามาใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการค้าของประเทศ