Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12, นางสาวศิรินภา ติยานิน เลขที่…
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
วิสัยทัศน์
ระบบสุขภาพไทยเข้มแข็ง เป็นเอกภาพ เพื่อคนไทยสุขภาพดี
สร้างประเทศให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
พันธกิจ
เสริมสร้าง สนับสนุนและประสานให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้ง ภาครัฐ เอกชน นักวิชาการและภาคประชาสังคม ในการอภิบาลและพัฒนาระบบสุขภาพไทยให้เข้มแข็ง รองรับกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เป้าประสงค์
1.เพื่อให้คนไทยมีความรอบรู้
ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถช่วยเหลือ ดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนด้านสุขภาพได้
2.เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัย ได้รับการพัฒนาศักยภาพและสร้างเสริมให้มีสุขภาวะที่ดี
3.เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพทุกระดับมีการเพิ่มขีดความสามารถ และบูรณาการและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
4.เพื่อให้มีระบบการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
4.เพื่อให้มีระบบการอภิบาลด้านสุขภาพมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1: เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพให้มีศักยภาพ สามารถช่วยเหลือดูแลตนเองและชุมชน มีส่วนร่วมในการสร้างและจัดการระบบสุขภาพ
2.เพื่อสร้างระบบสุขภาพเชิงรุก ที่มุ่งสร้างเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพดี
3.เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวรวมถึงผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี
เป้าหมายการพัฒนา
1.คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพดี แข็งแรง
2.นโยบายที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยง
3.มีสื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
4.มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างๆ และองค์กรmk'ด้านสุขภาพ
มาตรการ / แนวทางการพัฒนา
1.เสริมสร้างภาคีเครือข่ายและพันธมิตร
2.พัฒนากระบวนการก าหนดนโยบายและกฎหมายด้านสุขภาพ
3.สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
4.พัฒนาระบบเพื่อจัดการกับปัจจัยที่ก าหนดสุขภาพ
ตัวอย่าง : แผนงาน/ โครงการที่เกี่ยวข้อง
เช่น โครงการควบคุมโรคไม่ติดต่อและภัยสุขภาพ , โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2: สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสุขภาพ (Service Excellence)
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสร้างและพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจำให้ครบทุกแห่ง
2.เพื่อยกระดับขีดความสามารถของหน่วยบริการทุกระดับให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐาน
3.เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสามารถในการแข่งขันให้กับระบบสุขภาพ
4.เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการได้รับบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
เป้าหมายการพัฒนา
1.จัดกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิโดยให้มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และทีมสุขภาพประจำให้ครบทุกแห่ง เพื่อการบริการทั้งเชิงรับ เชิงรุก และการบริการต่อเนื่อง
2.ลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพทุกระดับ
3.สร้างความร่วมมือทางวิชาการและการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด
4.จัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้กับประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะและประชากรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
มาตรการ / แนวทางการพัฒนา
1.จัดกลุ่มหน่วยบริการปฐมภูมิ
2.เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยบริการทุกระดับ
3.พัฒนาความร่วมมือภาคีเครือข่ายและพันธมิตรในการจัดบริการด้านสุขภาพ
4.สร้างระบบคุณภาพและความปลอดภัยและการลดปัญหาฟ้องร้อง
5.พัฒนาระบบประเมินเพื่อการตัดสินใจในการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ
6.ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ตัวอย่าง : แผนงาน/ โครงการที่เกี่ยวข้อง
เช่น โครงการป้องกันและควบคุมการดื้อยาต้านจุลชีพและการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ (People Excellence)
วัตถุประสงค์
1.เพื่อวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพที่สอดกับการออกแบบระบบสุขภาพและความจำเป็นด้านสุขภาพ
เพื่อบูรณาการระบบการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศให้ตั้งอยู่บนฐานของความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้
3.เพื่อสร้างกลไกและระบบการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ รวมทั้งระบบการติดตามและประเมินผล
4.เพื่อสร้างเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพ ประกอบด้วยภาครัฐ เอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน
เป้าหมายการพัฒนา
1.มีการวางแผนและการกระจายกำลังคนด้านสุขภาพที่เหมาะสม ครอบคลุมตามความต้องการ
2.มีกลไกในการบูรณาการระดับประเทศในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์
3.มีระบบการบริหารจัดการกำลังคนและธำรงรักษากำลังคนด้านสุขภาพ
4.มีเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพเข้มแข็ง
มาตรการ / แนวทางการพัฒนา
1.พัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนการบริหารจัดการ การบูรณาการ
2.เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ
3.สร้างกลไกการสื่อสารและภาคีเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง : แผนงาน/ โครงการที่เกี่ยวข้อง
เช่น โครงการพัฒนาการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ โครงการพัฒนาเครือข่ายกำลังคนด้านสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ (Governance Excellence )
วัตถุประสงค์
1.เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพอย่างมีธรรมาภิบาล
2.เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการบริการสุขภาพ
เป้าหมายการพัฒนา
1.มีการจัดตั้งกลไกที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านสุขภาพระดับชาติ
2.มีกลไกบริหารจัดการทรัพยากรสุขภาพที่เหมาะสม และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
มาตรการ / แนวทางการพัฒนา
1.สร้างระบบธรรมาภิบาลและการจัดการความรู้
2.ส่งเสริมระบบการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมด้านสุขภาพ
3.พัฒนาระบบยา เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีของประเทศ
4.เสริมสร้างกลไกและกระบวนการในการบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพ
5.ปรับปรุงและพัฒนาระบบประกันสุขภาพ
6.สร้างและพัฒนากลไกการดูแลด้านการเงินการคลังสุขภาพของประเทศ
ตัวอย่าง : แผนงาน/ โครงการที่เกี่ยวข้อง
เช่น โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส โครงการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง
แนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
1.ดำเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ
2.สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
3.ผู้บริหารทุกระดับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ
4.จัดตั้งคณะกรรมการกำกับทิศทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
5.จัดให้มีกลไกในการพัฒนาวิธีหรือกระบวนการยกร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
นางสาวศิรินภา ติยานิน เลขที่ 31 (ุ61110301110) นางสาวโสรยา อิ่มใจ เลขที่ 58 (61110301137)