Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทความวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย - Coggle Diagram
บทความวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ปัญหาการวิจัย
พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย ควรได้รับการพัฒนาให้สูงขึ้น โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยในโรงเรียนเทศบาล 3 ห้าธันวาคม ซึ่งมีพัฒนาการด้านสติปัญญาต่ำกว่าพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของโรงเรียน ผู้วิจัยในฐานะเป็นครูผู้สอนระดับปฐมวัยคนหนึ่งของโรงเรียน จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาความพร้อมทางด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง การนับสิ่งต่างๆ การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง การเปรียบเทียบจำนวน และการมีประสบการณ์เกี่ยวกับจำนวนหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เพื่อให้สอดคล้องกับวัยและความสนใจของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะจัดประสบการณ์การเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนาสติปัญญาของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๓ ห้าธันวาคม
ความมุ่งหมายวิจัย
1.เพื่อจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการ
ศึกษาและเพลง ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2.เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่ได้รับจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง ก่อนและหลังเรียน
3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่การจัดประสบการณ์การเรียน
รู้โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ความพร้อมทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย 1) การนับสิ่งต่าง ๆ เช่น การนับจำนวน 1-10 2) การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง เช่น การจับคู่ภาพกับจำนวน 3) การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อย กว่า เท่ากับ เช่น การเปรียบเทียบจำนวนกับจำนวน และ การเปรียบเทียบจำนวนกับภาพ 4) การนับจำนวน เพิ่ม-ลด เช่น การบวก
ภาพ การลบภาพ
ทบทวนวรรณกรรม
2.การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กนั้น ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเอง ได้สัมผัส ได้จัดกระทำกับวัตถุของจริง มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม เด็กจะเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้น และการมีปฏิสัมพันธ์ครูและเพื่อน ๆ ในห้องเรียน ส่งผลต่อการสร้างความรู้ ทางด้านตรรกศาสตร์ และคณิตศาสตร์ของเด็ก
1.คณิตศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการคิด และเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของสมอง จุดเน้นของการจัดประสบการณ์ จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนจากการเน้นให้จดจำข้อมูลพื้นฐาน เป็นการพัฒนาให้ผู้เรียนได้มีความเข้าใจในหลักการและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีทักษะพื้นฐานที่เพียงพอในการนำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่ ๆ ผู้เรียนจะต้องได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่จะช่วยให้เกิดความเข้าใจจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง
กลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียน เทศบาล 3 ห้าธันวาคม กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร จำนวน 8 ห้องเรียน จำนวน 240 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/8ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเทศบาล 3 5ธันวาคม กองการศึกษา เทศบาลเมืองยโสธร จังหวัดยโสธรจำจำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม(-Cluster Random Sampling)
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
สิถิติที่ใช้ในการศึกษา
1.วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง เพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80
2.วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
3.วิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
เครื่องมือและการหาคุณภาพ
1. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง จำนวน 20 แผนใช้เกมการศึกษา 20เกม เพลงคณิตศาสตร์ 8 เพลง เวลาที่ใช้ในการจัด
ประสบการณ์ 20 คาบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 หมายความว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับดี
2. แบบประเมินความพร้อมทางคณิตศาสตร์จจำนวน 20 ข้อ
3. แบบวัดความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เกมการศึกษาและเพลง
ชื่อเรื่อง:การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้เกมการศึกษาและเพลงเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2
ชื่อผู้วิจัย:สุพัตรา เลขาวิจิตร
ปีที่พิมพ์:ปีที่ 3 ฉบับที่ 8 พฤษภาคม-สิงหาคม 2563
สถาบัน: วารสาร เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม