Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) - Coggle Diagram
โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษในลักษณะยีนด้วย (Autosomal recessive)
อาการ
1.โรคธาลัสซีเมียชนิดรุนเเรงที่สุด
ได้เเก่ โรคฮีโมโกลบินบาร์ทไฮดรอปส์ฟีทัลลิส มีอาการบวมน้ำจากภาวะซีดรุนเเรง ท้องป่อง ตับเเละม้ามโต ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งเเต่อยู่ในครรภ์มารดา
2.โรคธาลัสซีเมียที่มีอาการรุนเเรงปานกลางถึงรุนเเรงมาก
อาการสำคัญ คือ ซีด เหลือง ตับเเละม้ามโต เเคระเเกร็น น้ำหนักน้อยไม่สมอายุ เป็นหนุ่มเป็นสาวช้า ใบหน้าเเปลก
3.โรคธาลัสซีเมียที่มีอาการเล็กน้อย
มีภาวะซีดเหลืองเล็กน้อย ม้ามไม่โตหรือโตเล็กน้อย การเจริญเติบโตค่อนข้างปกติ
การรักษาพยาบาล
1.ชนิดที่มีอาการเล็กน้อย
ให้คำเเนะนำเเละติดตามดูอาการ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้ยาช่วยสร้างเม็ดเลือดเเดง หากผู้ป่วยมีอาการซีดมาก ไข้ ควรรีบนำส่งสถานพยาบาลเเละรักษาตามอาการ
2.ชนิดที่มีอาการรุนเเรง
อาการซีดเรื้อรังตั้งเเต่เด็ก เกิดภาวะเเทรกซ้อน ควรนำส่งรงพยาบาลเพื่อให้เลือดเเล้วยาขับเหล็กซึ่งจะให้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
หากผู้ป่วยมีภาวะเหล็กเกินจะต้องให้ยาขับเหล็กร่วมด้วยตลอดชีวิต ยาขับเหล็กที่ใช้ ได้เเก่ เดสเฟอร์ริอ็อกซามีน (Desferrioxamine) หรือดีเฟอร์ร๊อกซามีน (Deferoxamin)
การตรวจวินิจฉัยโรค
การตรวจร่างกาย อาการเเละอาการเเสดง ประวัติซีดเรื้อรังในครอบครัว
หากสงสัยว่าเป็นธาลัสซีเมียควรตรวจเจาะเลือดเพิ่มเติม
การป้องกันเเละควบคุมโรค
รณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเเก่ประชาชน
ตรวจหาพาหะธาลัสซีเมียในกลุ่มที่มีบุตรเป็นโรค ชายหญิงวัยเจริญพันธู์ก่อนเเต่งงานหรือมีบุตร
หากพบว่าทารกในครรภ์เป็นธาลัสซีเมียชนิดรุนเเรง หรือมีอันตรายต่อมารดา อาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์
ข้อเเนะนำเพิ่มเติม
1.หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น หอย เลือดสัตว์ เครื่องในสัตว์ ปลาดุก ถั่วดำ ถั่วเเดง งาดำ งาขาว
2.รับประทานยาเม็ดกรดโฟลิก (Folic acid) ขนาด 5 มิลลิกรัม วันละ 1 เม็ดตลอดชีวิต
3.ไม่ควรดื่มเเอลกอฮอล์เเละสูบบุหรี่
4.ไม่ควรซื้อวิตามิน ยาบำรุงเลือด มารับประทานเอง
5.หลีกเลี่ยงการกระทบหรือกระเเทก
6.ไม่รับประทานพืชผักที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ส้ม ฝรั่ง มะขามเทศ
การตรวจคัดกรองพาหะธาลัสซีเมีย
1.การทดสอบความเปราะของเม็ดเลือดเเดงชนิดหลอดเดียว (OF-test)
2.การทดสอบการตกตะกอนของฮีโมโกลบินอี (DCIP)