Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
งานวิจัย บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย - Coggle Diagram
งานวิจัย บทความเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง
ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ของเด็กปฐมวัย
ความมุ่งหมายวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบจำนวนของเด็กปฐมวัยมีคะแนนความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์หลัง
ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มกับเกณฑ์ร้อยละ 70
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการสอนโดยการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมคณิตศาสตร์
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น (Independent variables) ได้แก่ การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์
2. ตัวแปรตาม (Dependent variables) ได้แก่ ความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ชื่อผู้วิจัย
สุมาพร เฉลิมผจง* บัญญัติ ชำนาญกิจ
ปัญหาในการวิจัย
1. ในการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ [บางกิจกรรมอาจใช้เวลามากเนื่องจากเด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นในการนำการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ไปใช้ควรปรับเวลาและกิจกรรมให้เหมาะสม
2. ครูผู้สอนควรตระหนักถึงความส าคัญในการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ จะต้องจัดกิจกรรมให้คล่องแคล่ว มีเทคนิคและพร้อมก่อนที่จะการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย
ปีที่พิมพ์
ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม – มิถุนายน 2557
สถาบัน
วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือและการหาคุณภาพ
ในการวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัย รวมทั้งสิ้น 2 ฉบับ มีรายละเอียดการ
พัฒนาเครื่องมือแต่ละฉบับ ดังนี้
1. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์
1.1 ลักษณะของแผนการจัดประสบการณ์
แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ ชั้นอนุบาลปีที่ 1จำนวน 12 แผน ใช้เวลา
สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที รวม 4 สัปดาห์ ซึ่งการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
มีองค์ประกอบที่สำคัญ 8 ประการ ดังนี้
1) ชื่อแผน
2) สาระสำคัญ
3) จุดประสงค์การเรียนรู้
4) สาระการเรียนรู้
5) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
-ขั้นนำ
-ขั้นสอนโดยใช้เกมการศึกษา
-ขั้นสรุป
6) สื่อและแหล่งเรียนรู้
7) การวัดและประเมินผล
8) บันทึกผลหลังสอน
1.2 การสร้างแผนการจัดประสบการณ์
ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแผนการจัดประสบการณ์ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
1)ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
2)กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และจัดทำกำหนดการสอน
3) จัดทำแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์
4) ผลิตสื่อ เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดประสบการณ์
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
1.เปรียบเทียบจำนวนของเด็กปฐมวัยที่มีคะแนนความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับ
การจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ด้วยสถิติทดสอบความแตกต่างโดย
ใช้การทดสอบสัดส่วน
2. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดประสบการณ์ โดยใช้การทดสอบทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกันเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์จำนวนร้อยละ 74 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ของคะแนนเต็ม ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 เด็กปฐมวัยที่ได้รับการสอนโดยการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์มีความสามารถพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้เกมเชิงคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2
ทบทวนวรรณกรรม
เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นความหวังของครอบครัวในการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและความเป็นมนุษยชาติ อีกทั้งยังเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ นับได้ว่าอนาคตของประเทศชาติขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็กปฐมวัย
แนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัย สิ่งหนึ่งคือการเล่น ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่ส าคัญในชีวิตเด็กปฐมวัยทุกคน เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต มีโอกาสทำการทดลอง สร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นทำให้เด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้ ผ่อนคลายอารมณ์ และแสดงออกถึงตนเอง เรียนรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น การเล่นจึงเป็นทางที่ดีจะสร้างประสบการณ์เรียนรู้ มีผลต่อการเจริญเติบโต ช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านสติปัญญาจะเกิดการเรียนรู้มากที่สุด
คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 สำหรับเด็กอายุ3-5 ปี