Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 ปัญหาเกี่ยวกับหนังสืออ่านสำหรับเด็ก - Coggle Diagram
บทที่ 9 ปัญหาเกี่ยวกับหนังสืออ่านสำหรับเด็ก
ปัญหาเกี่ยวกับหนังสืออ่านสำหรับเด็ก
การจัดทำหนังสือสำหรับเด็กจึงเป็นเรื่องใหญ่และมีปัญหาด้านต่างๆทีทำให้ตลาดหนังสือเด็กของเรายังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร คือ
1.ปัญหาด้านการเขียน
1.1 นักเขียนส่วนใหญ่มีงานประจำอยู่แล้วจึงไม่มีเวลาที่จะเขียนหนังสือสำหรับเด็กโดยเฉพาะ
1.2 การจ่ายค่าเขียนหนีงสือสำหรับเด็กนับว่าน้อยมาก บางครั้งไม่ได้ค่าตอบแทนเลย
1.3 ผู้เขียนภาพประกอบหังสือสำหรับเด็กที่มีฝีมือถึงขนาดมีจำกัดมาก
2. ปัญหาการจัดพิมพ์
2.1 ผู้พิมพ์ซึ่งได้แก่สำนักพิมพ์เร่งผลิตหนังสือออกการแข่งขัน
2.2 ต้นทุนในการผลิตมีน้อย
2.3 การพิมพ์หนังสือแต่ละเรื่องมีจำนวนจำกัด
2.4 ข้อบกพร่องในการพิมพ์ยังมีมาก เช่น ตัวสะกดคลาดเคลื่อน ตัวพิมพ์หัก
2.5 สำนักพิมพ์ส่วนมากยังไม่มีบรรณาธิการประจำ เพื่อควบคุมภาพการพิมพ์
2.6 ผู้ซื้อมุ่งแต่จะซื้อหนังสือราคาถูก
3. ปัญหาการจำหน่าย
3.1 สำนักพิมพ์ตั้งราคาจำหน่ายไว้สูงเพื่อลดเปอร์เซ็น
3.2 สำนักพิมพ์และร้านจำหน่ายหนังสือแข่งขันกันเพื่อนการค้า
3.3 ร้านจำหน่ายหนังสือมีจำนวนจำกัด
3.4 ห้องสมุดมักชอบขอหนังสือ
3.5 ผู้ซื้อชอบซื้อหนังสือราคาถูก
3.6 คนส่วนมากยังไม่นิยมซื้อหนังสือให้เด็ก
4. ปัญหาเด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ
4.1 ไม่มีหนังสืออ่าน
4.2 ระเบียบวิธีสอนและหลักสูตร
4.3 คุณภาพของหนังสือ
4.4 บ้านขาดหนังสือ
4.5 เด็กขาดความสนใจในทางการศึกษา
การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหนังสือสำหรับเด็ก
1. การแก้ปัญหาด้านการเขียน
2. การแก้ปัญหาด้านการผลิต อาจทำได้โดย
3. การแก้ปัญหาด้านการจำหน่าย อาจทำได้ดังนี้
3.1 สำนักพิมพ์ควรร่วมมือกันในการตั้งราคา
3.2 การลดราคาร้อยละ 50 ทำให้ตลาดเสีย ควรเลิก
3.3 สำนักพิมพ์ควรร่วมมือกันขจัดความไม่รู้หนังสือ
3.4 รัฐบาลเพิ่มงบประมาณให้ห้องสมุดมากขึ้น
3.5 ครู บรรณารักษ์ และผู้ปกครองควรช่วยกันเพาะนิสัยในการอ่านแก่เด็กให้มากขึ้น
3.6 การตั้งสโมสรหนังสือสำหรับเด็ก
4. การแก้ปัญหาเด็กไม่ชอบอ่านหนังสือ อาจทำได้โดย
4.1 สภาพทางบ้านที่ผู้ปกครองเอาใจใส่ดูแล
4.2 ห้องสมุดโรงเรียน เป็นสิ่งที่ทุกโรงเรียนควรจัดให้มีขึ้น
4.3 การสอน ครูควรสอนด้วยวิธีให้เด็กได้แสวงหาความรู้
4.4การวัดผล ควรสอดคล้องกับการเรียนการสอน
4.5 การสั้่งสอนอบรมให้เด็กรักการศึกษา
มุมหนังสือ
ห้องสมุดโรงเรียนของประเทศไทยมีหลายระดับ โรงเรียนในชุมชน
ที่เจริญและระดับสูงก็จะมีห้องสมุดหรือหอสมุดโดยเฉพาะมีหนังสือมากมาย มีบรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่คอยบริการอย่างดี ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน
2. ช่วยให้เด็กรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
3.ช่วยให้เด็กมีความรู้กว้างขวางขึ้น
4. ช่วยให้การเรียนตามหลักสูตรสมบูรณ์ขึ้น
5. หัดให้เด็กรู้จักความเป็นระเบียบ
6.หัดให้เด็กรู้จักษาสาธารณสมบัติ รักษาหนังสือ และข้าวของเครื่องใช้ในห้องสมุด
7. เด็กรู้จักใช้หนังสือ คือ รู้จักค้นว่า ความรู้ชนิดนี้จะหาได้จากหนังสือชนิดใด เช่่น รู้จักใช้พจนานุกรมเมื่อต้องการดูคำศัพท์
8. การเข้าใช้ห้องสมุดย่อมฝึกให้เด็กมีมารยาทดี
9. เด็กรู้จักทำงานร่วมกัน
10. รู้จักตัดสินว่าหนังสือใดมีคุณค่า
ห้องสมุดนี้มิได้หมายความว่าจะต้องใหญ่โตมีหนังสือและวัสดุมากมายแต่อาจค่อยเป็นค่อยไป ตามความสามารถที่จะทำได้ขนาดของห้องสมุดโรงเรียนอาจจำแนกได้ดัง
นี้
1. มุมหนังสือ เป็้นเพียงชั้น 2-3 ชั้นที่มุมห้องอาจจัดง่ายๆโดยเรียงลำดับ
ตามเลขทะเบียนก็ได้
2. ตู้หนังสือ ซึ่งตั้งอยู่ในที่ๆ นักเรียนไปมาอยู่เสมอมีหนังสือมากกว่ามุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบคือแบ่งตามหมวดวิชาหรือประเภทของหนังสือ เช่น รูปภาพก็รวมไว้ชั้นหนึ่ง
3. ห้องสมุด สำหรับห้องสมุดที่ถูกแบบย่อมต้องมีบรรณารักษ์ประจำคอยดูแล รับผิดชอบ
บรรณทัศน์หนังสืออ่านสำหรับเด็กบางเล่มที่น่าสนใจ
ชื่อเรื่องง นิกกับพิม
ผู้แต่ง ว.ณ ประมวญมารค (หม่อมเจ้าวิภาวดี รังสิต ราชสกถลเดิม รัชนี)
สำนักพิมพ์แพร่วิทยา
เป็นวรรณที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี พ.ศ 2505 และตีพิมพ์หลายครั้ง เป็นวรรณกรรมที่อ่านสนุกมีเนื้อหาไม่เป็นพิษเป็นภัยเหมาะกับผู้อ่านทุกเพศทุกวัยมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมซึ่งสะท้อนสภาพของสังคมไทยในอดีตไปพร้อมกันและยังเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นอีกด้วย
เรื่องราวของ นิกกับพิม เริ่มต้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์พิเชษฐ์หนุ่มไทยกับนักเรียนนอกเจ้าของลูกหมาบ็อกเซอร์สีน้ำตาลชื่อ นิก ได้พบรักกับมณฑิราหญิงสาวไทยซึ่งเป็นเจ้าของลูกหมาพุดเดิ้ลสีดำชื่อพิม ทั้งคู่ติดต่อกันผ่านจดหมายที่เป็นสื่อกลางให้หมา 2 ตัวสานสัมพันธ์กัน โดยมีพี่เชษฐ์และมณฑิราเป็นผู้เขียนให้
เรื่องราวของหมาเพื่อนรักสี่ขาของมนุษย์ได้รับความนิยมจากผู้อ่านเสมอเช่นเดียวกับการเขียนจดหมาย ก็เป็นกลวิธีการเขียนยอดนิยมไม่แพ้กัน