Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลที่มีความผิดปกติอวัยวะรับสัมผัสตา, นางสาวพิชามญชุ์ เชิงทวี,…
การพยาบาลที่มีความผิดปกติอวัยวะรับสัมผัสตา
การตรวจตา
ลูกตา
ดูตำแหน่งของลูกตาและเปลือกตา
ดูความชุ่มชื้น
ขอบเปลือกตาบนจะคลุมรอยต่อของตาดำและตาขาว (Limbus)
ดูความนู้ปกติ ขณะลืมตา
การตรวจดูภาวะตาโปน (Exopthalmos)
ผู้รับบริการนอนตรวจ
สังเกตมีตาโปนมากกว่าปกติหรือไม่
ถ้ามีตาโปนจะพบเปลือกตาบนไม่คลุมขอบตาดำ จะเห็นตาขาวลอยอยู่เหนือตาดำ
การคลำลูกตา
คลำเพื่อประเมินความนุ่ม
ผู้รับบริการกลับตา ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางคลำเหนือเปลือกตาทั้งสองข้าง
หนังตา
ดูว่ามีบวม ช้ำเป็นก้อน เป็นหนองหรือไม่
ดูการดึงรั้งของหนังตา
เปลือกตาตกหรือไม่
ถ้าพบปัญหาแสดงว่ามีปัญหาจากกล้ามเนื้อลูกตาเสีย
ขนตา
ดูว่ามีขนตาม้วนเข้าข้างในหรือไม่
ขนตาม้วนเข้า (entropin)
ขนตาปลิ้นออก (entropion)
รูม่านตาและแก้วตา
ใช้ไฟฉายส่องตรงกลาง
สังเกตรูม่านตาเป็นวงกลมหรือไม่
แก้วตาให้มองผ่านรูม่านตา
เห็นเป็นสีดำและใส :check:
รูม่านตาขุ่นจะเป็นต้อกระจก :red_cross:
ต้อหิน Glaucoma
ลักษณะร่วม
ขั้วตาผิดปกติ
สูญเสียลานสายตา (visual filed)
ความดันในลูกตา (IOP)
เกิดการสููญเสียประสิทธิภาพลานสายตา+สมรรถนภาพการมองเห็น
สาเหตุ
ใช้ยาที่มีฮอร์โมน Corticosteroid นาน
ความเสื่อมเยื่อภายในลูกตา
ความผิดปกติของ trabecular meshwork แต่กำเนิด
มีการคั่งของน้ำเอเควียสจากโครงสร้างตาผิดปกติ
มีต้อกระจกสุกหรือต้อกระจกสุกงอม
เนื่องอกในลูกตา
อุบัติเหตุในลูกตา
ชนิดและอาการ แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.ต้อหินปฐมภูมิ Primary clacoma
ชนิดมุมปิด angle - closure clacoma
มีการตีบแคบของ trabecular meshworkทางระบายน้ำเลี้ยงลูกตา
ทำให้มีแรงกดโดยเฉพาะบริเวณขั้วประสาทตา optic disc
ทำลายประสาทตารวกเร็ว ปวดตามาก สูญเสียการมองเห็น
ต้อหินชนิดมุมเปิด open – angle glacoma
เกิดความผิดปกติของทางเดินน้ำเลี้ยงภายในลูกตา
ทำให้การระบายน้ าเลี้ยงภายในลูกตาลดลง
ในขณะที่การสร้างน้ำเลี้ยงภายในลูก ตามีปริมาณเท่าเดิม
ความดันในลูกตาสูงขึ้นทีละน้อย
เกิดการทำลาย ประสาทตา เกิดขึ้นช้า ๆ
แทบไม่มีอาการปวดตา จึงสูญเสียลานสายตาทีละน้อย จนกระทั้งเสียความสามารถในการมองเห็น
อาการและอาการแสดง
ต้อหินระยะเฉียบพลัน
ปวดศีรษะมาก
ตามัวลงคล้ายหมอกมาบัง
ปวดตามากสู้แสงไม่ได้
บางคนมองเห็นแสงสีรุ้งรอบ ๆ ดวงไฟ เนื่องจากมีน้ำเข้าแทรกอยู่ในกระจกตา
การรักษา
ต้องรีบรักษาเพื่อลดความดันในลูก ตาให้ลงสู่ระดับปกติ
แพทย์มักให้ยาหยอดตา ยารับประทานทางปากหรือยา ฉีด จนความดันลดลงสู่อาการปกติ
การเห็นดีขึ้นจึงนัดผ่าตัดตามมา
ต้อหินระยะเรื้อรัง
ความดันของลูกตาสูงขึ้นเล็กน้อย
ผู้ป่วยอาจไม่รู้สึกอะไรเลย
บางคนรู้สึกมึนศีรษะ ตาพร่ามัว รู้สึกเพลียตา ไม่มีอาการปวด ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของลานสายตา ลานสายตาจะค่อย ๆ แคบลง
การรักษา
ให้ยาหยอดตาและยารับประทาน เพื่อเพิ่มการไหลออกหรือลดการผลิตน้ำเอเควียส
ควบคุมความดันลูกตาให้อยู่ในระดับปกติพร้อมนัดมาตรวจเป็นระยะ ๆ
ต้อหินทุติยภูมิ (Secondary glacoma)
เกิดขึ้น เนื่องจากมีความผิดปกติภายในลูกตา
อาจเกิดจากมีโรคทางกายที่ทำให้การไหลของเอเควียสลดลง
ต้อหินแต่กำเนิด (Congenital glacoma)
เกิดจากมีdevelopment anormalies
อาจเป็นแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวเมื่อเป็นต้อหิน
ผู้ป่วยมีภาวะความดันในลูกตาสูงขึ้น
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากตามัว
ขาดความรู้ก่อนและหลังการยิงเลเซอร์ (Laser trabeculoplasty)
การพยาบาลผู้ป่วย
หากมีอาการ ตาแดง น้ำตาไหล ปวดตามาก ตามัวลง หรือตาสู้แสง ไม่ได้ให้มาตรวจก่อนวันนัด
แนะนำให้ใส่แว่น หลีกเลี่ยงการขยี้ตา หลังทำเลเซอร์
เตรียมตัวก่อนการยิงเลเซอร์
เวลายิงจะไม่รู้สึกเจ็บภายใน 24 ชั่วโมงแรก
หลังยิงเลเซอร์อาจมีอาการปวดศีรษะหรือตามัวลงเล็กน้อย
สอนวิธีการหยอดตาอย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้นิ้วดึงเปลือกตาล่างลง
พร้อมกับหยอดยาลงในกระพุ้งตาล่าง 1-2 หยด
อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษา
ต้อกระจก Cataract
คือ
เป็นผลการเปลี่ยนแปลงโปรตีนภายในแก้วตา
ทำให้เกิดอาการตามัว มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
เป็นภาวะแก้วตา (Lens) ขุ่น
สาเหตุ
การเสื่อมตามวัย (Senile cataract) วัยชรา
พัฒนาการของพยาธิสภาพ
ต้อกระจกที่ยังไม่สุก (immature cataratc)
ระยะที่ตาขุ่นไม่มาก
ลักษณะ 2 ทึบตรงส่วนกลาง แก้วตา แต่ส่วนรอบ ๆ ยังใส ทำให้ยังคงมองเห็นอยู่บ้าง
ลักษณะ 1 เริ่มที่เปลือกหุ้มแก้วตา (cortex) แต่บริเวณ กลางแก้วตา (nucleus) ยังคงใส
ต้อกระจกที่สุกแล้ว (mature cataratc)
ระยะที่ตาขุ่นทั้งหมด
เมื่อใช้ไฟฉายส่องเฉียง ๆ จะไม่พบเงาม่านตา
แก้วตามีความแข็งตัวในขนาดที่พอดี ความขุ่นของแก้วตากระจายไปทั่วลูก
วัดสายตาได้ ประมาณนับ นิ้วได้ หรือ เห็นมือโบกไหวไปมา หรือเห็นเพียงแสงไฟและบอกทิศทางได้
ระยะนี้เหมาะสม กับการผ่าตัดมากที่สุด
ต้อกระจกที่สุกเกินไป (hypermature cataract)
สุกมากจนขนาดเลนส์เล็กลงและมีเปลือกหุ้มเลนส์ที่ย่น
ระยะนี้ผ่าตัดค่อนข้างยาก เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
หากปล่อยทิ้งไว้ตาจะบอดได้
เกิดจากน้ำซึมออก นอกเซลล์ เลนส์แข็งมากขึ้น
ความผิดปกติโดยกำเนิด
เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ (Secondary cataract)
โดนกระทบกระเทือน อย่างแรงที่ลูกตา
โดนของมีคมทิ่มแทงทะลุตาและไปโดยเลนส์ตา
เป็น ต้อหิน โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ พาราไทรอยด์ พิษสารเคมี
อาการและอาการแสดง
มองเห็นภาพซ้อน แก้วตาที่ขุ่นจะทำให้การหักเหของแสงเปลี่ยนไป
ความสามารถในการมองเห็นลดลง รู้สึกว่าสายตาสั้นลง
ตามัว
ตามัวลงช้า ๆ โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด
โดยเฉพาะที่สว่าง (รูม่านตาจะเล็กลง)
มองผ่านรูม่านตา (pupil) จะเห็นแก้วตาขุ่นเมื่อส่องดูด้วยไฟฉาย
การรักษา
มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ การผ่าตัดเอา แก้วตา ที่ขุ่นออก ซึ่งเรียกว่า ลอกต้อกระจก
ชนิดของการผ่าตัด
Intracapsular cataract extraction (IICE)
ผ่าตัดนำแก้วตาที่ขุ่นพร้อมทั้งเปลือกหุ้มเข้าตาทั้งหมดในเวลาเดียวกัน
มีผลไม่แน่นอน
มีผลต่อสายตาการมอง
หรือใส่แล้วแพทย์วางตำแหน่งไม่ตรงทำให้เกิดสายตาเอียงได้
ถ้าไม่ใส่เลนส์เข้าไปแทนที่ จะต้องใส่แว่นตา หรือคอนแทคแลนส์
Extracapsular cataract extraction (ECCE)
โดยเหลือเปลือกหุ้ม แก้วตาด้านหลัง
การผ่าตัดเอาแก้วตาที่ขุ่นออกพร้อมทั้งเปลือกหุ้มเข้าตาด้านหน้า
Phacoemulsification with Intraocular Lens (PE C IOL)
ใช้คลื่นเสียงหรืออัลตราซาวด์ที่มีความถี่สูงเข้าไปสลายเนื้อแก้วตาแล้วดูดออกมาทิ้ง และจึงนำแก้วตาเทียมใส่เข้าไปแทน
ข้อดี
ระยะพักฟื้นหลังการผ่าตัดสั้นกว่า
การเกิดสายตาเอียงหลังผ่าตัดน้อยลง
ต่างกับวิธีปกติตรงที่แผลผ่าตัดเล็กกว่า
ข้อเสีย
เป็นวิธีใหม่ ดังนั้นต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์
ต้องใช้เครื่องมือราคาแพง
ต้องใช้สารหล่อลื่นช่วยในระหว่างผ่าตัดเพราะเครื่องอัลตราซาวด์อาจสั่นไปทำลายกระจกตาได้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากพร่องความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
มีความพร่องการดูแลตนเองเนื่องจากถูกปิดตา
ปวดตาเนื่องจากมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อหลังผ่าตัดตา
เสี่ยงต่อการเกิดแผลเย็บฉีกขาดความดันตาสูงและเลือดออกในช่อง หน้าม่านตา
วิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการผ่าตัดและการดูแล ตนเองก่อนผ่าตัด
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากตามัว
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทุกครั้งต้องระมัดระวังการกระทบกระเทือนบริเวณ ดวงตาและศีรษะ
รับประทานอาหารอ่อนงดอาหารแข็งเหนียวที่ต้องออกแรงเคี้ยวจนกว่า แผลจะหายประมาณ 2 สัปดาห์
หลีกเลี่ยงการไอจามแรง ๆ การก้มศีรษะต่ ากว่าระดับเอว
ห้ามเบ่งถ่ายอุจจาระ
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยไม่นอนทับบริเวณตาที่ได้รับการผ่าตัด
เมื่อกลับบ้าน
ระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าตา
ค่อย ๆ แปรงฟันไม่สั่นศีรษะไปมา
หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียวที่ต้องออกแรงเคี้ยวมาก ไม่ควรท้องผูก
หลีกเลี่ยงยกของหนักมากกว่า 5 kg
ไม่ควรใช้สายตานานเกิน 1 ชั่วโมง
เน้นกลางคืนปิดฝาครอบตา กลางวันใส่แว่นตาสีชาหรือสีดำ
จอประสาทตาลอก Retinal Detachment
ภาวะที่เกิดการแยกหรือลอกตัวของชั้นจอประสาทตาด้านใน (neurosensory retina)
ออกจากชั้นของจอประสาทตาด้านนอก (retinal pigment epithelium)
สาเหตุ
ได้รับอุบัติเหตุถูกกระทบกระเทือนบริเวณที่ตา หรือของแหลมทิ่ม แทงเข้าตาถึงชั้นของจอประสาทตา
การผ่าตัดเอาแก้วตาออกชนิด intracapsular cataract extraction ได้ถึงร้อยละ 10-20
มีการเสื่อมของจอประสาทหรือน้ าวุ้นตา (vitreous)
แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรูหรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา (Rhegmatogenous retinal detachment)
2.จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง (Tractional retinal detachment)
3.จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอประสาทตา (Nonrhegmatogenous retinal detachment or exudative retinal detachment)
อาการและอาการแสดง
หากหลุดลอกบริเวณจุดรับภาพ (macula) การ มองเห็นก็จะเลวลง ผู้ป่วยจะมีอาการตามัวร่วมด้วย
มองเห็นคล้ายม่านบังตา (scotoma)
มองเห็นแสงวูบวาบคล้ายฟ้าแลบ (flashes of light)
มองเห็นแสงจุดดำหรือเส้นลอยไปลอยมา (floater)
การรักษา
มองเห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชถ่ายรูป ควรรีบพบจักษุแพทย์เพื่อรรักษา
• Cryocoagulation (การจี้ด้วยความเย็น)
บริเวณรอบ ๆ รูหรือรอยฉีก ขาดของจอประสาทตา
จะทำเมื่อจอประสาทตาฉีกขาดเป็นรู
วิธีการผ่าตัดมีหลายวิธี
การฉีดก๊าซเข้าไปในตา (Pneumatic retinopexy)
เข้าไปในช่องน้ำวุ้นลูกตา
เพื่อดันให้จอประสาทตาที่หลุดลอกกลับเข้าไปติดที่เดิม
การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา (Scleral buckling)
เป็นการใช้วัสดุหรือ ยางเพื่อหนุนตาขาวให้เข้าไปติดจอประสาทตาที่หลุดลอก
การผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตา (Pars plana vitrectomy)
เป็นการตัดน้ำวุ้นลูก ตาที่ดึงรั้งจอประสาทตาให้ฉีกขาด
การพยาบาล
1.ระยะก่อนผ่าตัด
-ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค แผนการรักษา การผ่าตัด ให้ผู้ป่วยทราบเพื่อ ลดความวิตกกังวล
-แนะนำผู้ป่วยห้ามก้มหน้า
-แนะนำผู้ป่วยหลีกเลี่ยงขยี้ตา ส่ายศีรษะและใบหน้าแรง การอาเจียน
-ดูแลให้ผู้ป่วย Absolute bed rest
2.ระยะหลังผ่าตัด
เน้นการประเมินและป้องกันอาการเริ่มต้นของความ ดันลูกตาสูง
-ดูแลให้ได้รับการวัดความดันลูกตาจากแพทย์หลังผ่าตัดประมาณ 4-6 ชั่วโมง
-ประเมินอาการเริ่มต้นของภาวะความดันลูกตาสูง ได้แก่ มีอาการ ปวดและรับประทานยาแล้วไม่ทุเลาลง
-ดูแลให้นอนคว่ำหน้าหรือนั่งคว่ำหน้าให้ได้อย่างน้อยวันละ 16 ชั่วโมงเพื่อให้แก๊สที่ใส่ไว้ในขณะผ่าตัดไปกดบริเวณจอประสาทตาที่ลอกหลุด ซึ่งจะช่วยให้จอประสาทตาติดกลับเข้าที่ได้
-ในผู้ป่วยที่ต้องมาฉีดแก๊สหลายๆ ครั้ง ผู้ป่วยอาจมีความท้อแท้หรือมี ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการมองเห็น ควรให้การสนับสนุนด้านกำลังใจและให้ ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการรักษาเป็นระยะ
-ดูแลให้รับประทานอาหารอ่อนเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจาก การออกแรงเคี้ยวอาหาร
-ประเมินอาการท้องผูก
การพยาบาล (เมื่อกลับบ้าน)
ข้างที่ทำการผ่าตัดให้เช็ดวันละครั้งหลังตื่นนอน ก่อนเช็ดล้างมือให้สะอาด
หลังการผ่าตัด 2 เดือนแรก หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหม
ควรทำความสะอาดใบหน้าโดยใช้ ผ้าขนหนูชุบน้ าบิดหมาด ๆ เช็ดหน้าเบา ๆ เฉพาะข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด
อุบัติเหตุทางตา EYE injury
อันตรายจากสารเคมี chemical injury
ชนิดของสารเคมีที่พบ
1.สารด่าง
2.สารกรด
อาการแสดง
-ปวดแสบปวดร้อนระคายเคืองตามาก
-การมองเห็นจะลดลงถ้าสารเคมีเข้าตาจำานวนมาก
-สายตาสู้แสงไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยพยายามจะหลับตาตลอดเวลา (blepharospasm)
การรักษา
ล้างตาโดยเร็วที่สุด หากเป็นไปได้ ผู้ป่วยควรได้รับการล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากอาจมากกว่า 5 ลิตร
ถึงโรงพยาบาล หยอดยาชาก่อนเพื่อให้สามารถล้างตาจนกรดด่างในตาหมดไป
หากเกิดภาวะ corneal abrasion ป้ายยา terramycin ointment และปิดตาแน่น ไว้ 24 ชั่วโมง และนัดมาประเมินซ้ำอีกครั้ง
ใช้ยาขึ้นกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น
รักษาด้วยการผ่าตัด ประกอบด้วยการขูดเซลล์กระจกตาที่ตาย
การพยาบาล
ดูแลบรรเทาอาการปวดกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดตามาก และดูแลให้ ผู้ป่วยได้รับยาครบตามแผนการรักษา
ล้างตาให้ผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด โดยใช้ Normal saline หรือ sterile water โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที
เลือดออกในช่องม่านตา hyphema
คือ
เกิดการได้รับบาดเจ็บจากวัตถุไม่มีคมบริเวณตา
ทำให้มีเลือดออกในช่องหน้าม่านตา (anterior chamber)
ทำให้มีการฉีกขาด ของเส้นเลือดบริเวณม่านตา
การแบ่งระดับของเลือดที่ออกสามารถตรวจพบจากเครื่องมือแพทย์ที่เรียกว่า Slit lamp
Grade 1 มีเลือดออกน้อยกว่า1/3 ของช่องหน้าม่านตา
Grade 2 มีเลือดออก 1/3 ถึง 1/2 ของช่องหน้าม่านตา
Grade 3 มีเลือดออก 1/2 ถึงเกือบเต็มช่องหน้าม่านตา
Grade 4 มีเลือดออกเต็มช่องหน้าม่านตา
ภาวะแทรกซ้อน
1.Rebleeding
2.Increase intraocular pressure
3.Blood stain cornea
การรักษา
• อาจได้รับยา สเตียรอยด์ หยอดเพื่อช่วยป้องกันการเกิด rebleeding เช่นกัน เนื่องจากช่วยลดความระคายเคืองและการคั่งของเส้นเลือด
• ดูแลให้ได้รับยาแก้ปวด paracetamol และ diazepam เพื่อให้ได้ พักผ่อนและประเมินอาการปวดตาแต่หากเลือดไม่ถูกดูดซึม
• ปิดตาทั้งสองข้างเพื่อให้ได้พักผ่อนลดโอกาสการเกิด rebleeding และ ให้เลือดได้ดูดซึมกลับ
• เมื่อครบ 5-7 วันก็สามารถให้ผู้กลับบ้านได้
• Absolute bed rest โดยให้นอนศีรษะสูงประมาณ 30-45 องศา เพื่อ ป้องกันการเกิด blood stain
การพยาบาล
ปิดตาทั้ง 2 ข้างที่มีเลือดออกด้วยผ้าปิดตา (eye pad) และที่ ครอบตา (eye shield) ไขหัวเตียงสูง 30-45 องศา เพื่อให้เลือดตกไปรวม ในช่วงหน้าม่านตาตอนล่างเป็นระดับประเมินได้ชัดเจน
3.เช็ดตาให้ผู้ป่วยทุกวันในตอนเช้าพร้อมทั้งประเมินว่ามีภาวะ เลือดออกเพิ่มขึ้นหรือไม่จากการส่องดูด้วยไฟฉาย
1.การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยนอนพักบนเตียง (absolute bed rest) ให้ มากที่สุด คือแนะนำให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ไม่ควรลุกจากเตียงประมาณ 3 – 5 วัน
4.ถ้าผู้ป่วยปวดตาต้องติดตามประเมินอาการปวดตาของผู้ป่วยภายหลัง รับประทานยาแก้ปวดแล้ว 30 นาที
ถ้าอาการปวดไม่ทุเลา มีอาการร่วมปวกศีรษะ ร้าวไปท้ายทอย คลื่นไส้ อาเจีนร รีบแจ้งแพทย์
ความผิดปกติของจอประสาทตาจากโรคเบาหวาน Diabetic Retinopathy
ปัจจัยที่ทำให้เกิด
ความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง
การมีความผิดปกติที่ไตจากเบาหวาน
การตั้งครรภ์
การควบคุมระดับน้ำตาล
ความยาวนานของการเป็นโรคเบาหวาน
อาการและอาการแสดง
เบาหวานขึ้นตาแบ่งได้กว้างเป็น 2 ระยะ
1.เบาหวานระยะแรก (Non-Proliferation diabetic retinopathy=NPDR)
อาจไม่มีอาการผิดปรกติ อาการสำคัญมักพบคือตามัว
เหตุของตามัวอาจเกิดจากจอประสาทตาบวมหรือมี เลือดออกในวุ้นตาหรือจอประสาทตาถูกดึงรั้งหลุดลอก
2.เบาหวานระยะรุนแรง (Proliferation diabetic retinopathy=PDR)
การรักษา
• การฉีดยาเข้าในน้ำวุ้นตา (Intravitreal pharmacologic injection)
ได้แก่ ยากลุ่ม steroid และยา กลุ่ม Anti VEGF
ข้อดีคือ
รายที่ตอบสนองต่อยาได้ดี การมองเห็นจะกลับคืนมาได้เกือบเท่าหรือเท่าปรกติ
โดยไม่มีผลทำลายจอประสาทตาบางส่วนเหมือนการฉายแสงเลเซอร์
ข้อจำกัด
ยามีฤทธิ์อยู่ได้ชั่วคราวเฉลี่ย 3-4 เดือน
อาจมีผลข้างเคียงของยา หรือภาวะแทรกซ้อน
• การรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ (Panretinal photocoagulation=PRP)
ในกรณีที่จุดรับภาพส่วนกลางบวม
ในผู้ที่มีเส้นเลือดผิดปกติงอกใหม่
อาจเป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อน เท่านั้นไม่ได้ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น
• การผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Vitrectomy)
กรณี
โรครุนแรงจนมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา
มีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตาหลุดลอกหรือมีจุดกลางรับ ภาพจอประสาทตาบวมเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการฉายแสงเลเซอร์หรือยาฉีด
การพยาบาล
2.ดูแลแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตาอย่าง น้อยปีละ 2 ครั้ง
3.ออกกำลังกาย
1.แนะนำผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ เพื่อลดอัตราการเกิด ความผิดปรกติของจอประสาทตาจากโรคเบาหวาน
แผลที่กระจกตา Corneal ulcer
การรักษา
2.กำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลบริเวณกระจกตาที่เป็นสาเหตุอื่น
เช่นภาวะตาปิดไม่สนิทขณะหลับ (Lagophthalmos)
3.ส่งเสริมให้เกิดการแข็งแรงของร่างกาย เช่น ให้รับประทานวิตามินซี รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
1.หาเชื้อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ
ได้แก่ การขูดเนื้อเยื่อของแผลไป ย้อมและเพาะเชื้อ (scrape lesion)
4.บรรเทาอาการปวด
หากมีอาการปวดมากพิจารณาให้ยาบรรเทาปวดกลุ่ม NSAID
ในรายที่มีภาวะ ปวดตามากจากม่านตาและซีเรียรีบอดีมีการหดเกร็ง (ciliary spasm) อาจ ได้รับยา Atropine eye drop โดยการช่วยลด ปฏิกิริยาต่อแสงของรูม่านตา
โดยให้รับประทานยาแก้ปวด paracetamol
อาการและอาการแสดง
เคืองตา (foreign body sensation)
กลัวแสง (photophobia)
จะมีอาการปวดตา (pain)
ตาแดงแบบใกล้ตาดำ (ciliary injection)
น้ำตาไหล (lacrimation)
ตาพร่ามัว (blur vision)
กระจกตาขุ่น (hazy cornea)
อาจพบหนองในช่องหน้าม่านตา
สาเหตุ
1.อุบัติเหตุ (trauma
ถูกใบข้าวหรือใบอ้อยทิ่มบริเวณกระจกตา
ถูกสารเคมีกระเด็นเข้าตา
2.กระจกตามีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำ
การใช้ยาหยอดตาที่มี ส่วนผสมของสเตียรอยด์นานๆ
เกิดจากการติดเชื้อที่บริเวณกระจกตา (Cornea)
3.มีความผิดปกติของกระจกตา
โรคขาดวิตามินเอ (vitamin A deficiency)
การแพ้ยา (Stevens Johnson)
4.ตาปิดไม่สนิทขณะหลับ (Lagophthalmos) เนื่องจากเป็นอัมพาต ใบหน้าครึ่งซีก (facial palsy) ทำให้ผิวกระจกตาแห้ง ติดเชื้อง่าย
5.ความผิดปกติบริเวณหนังตา เช่น ภาวะหนังตาม้วนเข้า ภาวะขนตาทิ่มแทงตา (trichiasis)
6.โรคทางกายที่ทำให้ภูมิคุ้มกันทั้งร่างกายบกพร่องลง ติดเชื้อที่ กระจกตาได้ง่ายขึ้น เช่น โรครูมาตอยด์ ติดเชื้อ HIV เบาหวาน กระจกตาเป็น แผลเป็น ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง มีภาวะทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ
7.การใส่เลนส์สัมผัส (Contact lens) ที่ไม่สะอาดพอใช้น้ำยาล้างแช่ ไม่ถูกต้องก็จะทำให้มีเชื้อโรคเกาะติดกับเลนส์ มีโอกาสที่จะเข้าไปในกระจกตาโดยตรง
การพยาบาล
เช็ดตาวันละ 1-2 ครั้ง โดยครอบเฉพาะพลาสติกครอบตา (Eye shield) ไม่ต้องปิดผ้าปิดตา (Eye pad)
หยอดตาตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ช่วงแรกอาจต้องหยอดทุก 30 นาที
แยกเตียง ของใช้ และยาหยอดตาของผู้ป่วยใช้เป็นส่วนตัว เพื่อ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู้ผู้อื่น
แนะนำผู้ป่วย
ห้ามขยี้ตา อย่าให้น้ำเข้าตา
นอนตะแคงข้างที่มีพยาธิสภาพเพื่อป้องกันการติดเชื้อสู่ตาข้างที่ไม่มีพยาธิสภาพ
5.ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนและได้รับอาหารที่เพียงพอ
6.ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันภาวะพรากความรู้สึก (sensory deprivation) ในผู้ป่วยที่เหลือตาข้างเดียว
นางสาวพิชามญชุ์ เชิงทวี
เลขที่ 59 (62111301061)
ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 37