Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทางกฎหมายจากการประกอบวิชาชีพ - Coggle Diagram
ปัญหาทางกฎหมายจากการประกอบวิชาชีพ
ความรับผิดทางอาญา (Criminal liability)
การปฏิเสธการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ / มาตราที่เกี่ยวข้อง ม. 374 (ลหุโทษ) ผู้ใดเห็นผู้อืนตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต อาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจําเป็นต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือทังจําทั้งปรับ
ความประมาทและความประมาทเลินเล่อ มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 59 วรรค 4
ถ้าได้รับอันตรายเล็กน้อย มาตรา 390
ถ้าได้รับอันตรายสาหัส มาตรา 300
ถ้าได้รับอันตรายถึงแก่ความตาย มาตรา 291
ความผิดฐานทอดทิ้งหรือปล่อยปละละเลยผู้ป่วย มาตราที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 306 ผู้ใดทอดทิ้งเด็กอายุยังไม่เกิน 9 ปี ไว้ ณ ที่ใดเพื่อให้เด็กนั้นพ้นไปเสียจากตนโดยประการ ที่ทําให้เด็กนั้นปราศจากผู้ดูแลต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา307 ผู้ใดมีหน้าที่ตามกฎหมาย หรือตามสัญญา ต้องดูแลผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้เพราะ อายุ ความป่วยเจ็บ กายหรือจิตพิการ ทอดทิ้งผู้ซึ่งพึ่งตนเองมิได้นั้นเสียโดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา308 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 306 หรือมาตรา 307 เป็นเหตุให้ผู้ถูกทอดทิ้งถึงแก่ ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส
ผู้กระทําต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ ใน ม. 290 ม. 297 หรือ
ม. 298 นั้น
มาตรา373 ผู้ใดควบคุมดูแลบุคคลวิกลจริตปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตนั้นออกเที่ยวไปโดยลําพัง
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
ความยินยอมของผู้รับบริการ ความยินยอมไม่จําเป็นต้องเป็นลายลักษณ์อักษร อาจลงชื่อหรือแสดงออกโดยดีไม่ขัดขืนก็ได้
ข้อยกเว้นไม่ต้องได้รับความยินยอม
กรณีฉุกเฉิน อุบัติเหตุไม่รู้ตัว แต่จําเป็นต้องทําการตรวจรักษา เช่น ผู้ป่วยอุบัติเหตุไม่รู้สึกตัว มีผู้นําส่ง มีเลือดออกในสมอง ไม่สามารถตามญาติได้ กรณีนี้ไม่ต้องยอมให้ความยินยอม อ้าง มาตรา 67 ยกเว้นโทษได้
กรณีผู้รับบริการไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็ก ปัญญาอ่อน วิกลจริต แต่ควรได้รับความยินยอม จาก บิดา มารดา หรือ ผู้ปกครองแล้วแต่กรณี แต่กรณีที่เป็นเด็กและมีความจําเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ไส้ติ่งอักเสบ แม้เด็กจะไม่ยินยอมด้วยเหตุของความกลัว บิดาและมารดาสามารถให้ความยินยอมได้ถือได้ว่าได้รับการยกเว้นแม้เด็กจะไม่ยินยอม
กรณีตรวจร่างกายผู้ต้องหา แม้ไม่ยินยอมแต่เพื่อผลประโยชน์แก่รูปคดีก็ได้รับการยกเว้น เช่น ตรวจผู้ต้องสงสัยคดีข่มขืน หรือ ตรวจปัสสาวะหาแอมเฟตตามีน แม้ว่าผู้ป่ วยจะไม่ยินยอมถอดเสื้อผ้าหรือยินยอมให้ตรวจ แต่แพทย์ก็สามารถบังคับตรวจร่างกายได้ แต่ในภาวะการณ์ปกติ แพทย์จะบังคับตรวจร่างกายผู้ป่วยไม่ได้
การเปิดเผยความลับของผู้รับบริการ มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 323
มาตรา 323 เป็นความผิดอันยอมความได้ สอดคล้องกับ พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ มาตรา 7 , 49 ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทําผิด
ข้อยกเว้นการเปิดเผยความลับ
ผู้ป่วยรับรู้-ยินยอม/ โรคติดต่อร้ายแรง/ ผู้ป่วยไม่อาจตัดสินใจด้วยตนเอง/ คําสั่งศาล /การรายงานทําร้ายร่างกายในครอบครัว รายงานบาดแผลที่ผู้ป่วยคดี
การทําแท้ง / มาตราที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปอ. มาตรา 301 – 305
ม.301 หญิงใดทำให้ตัวเองแท้ง/ยอมให้คนอื่นทำให้แท้งผู้นั้นมีความผิด
ม.302 ผู้ใดทำให้หญิงแท้ง สาหัส/ตาย (โดยยินยอม) ผู้นั้นมีความผิด
ม.304 พยายามทำแท้ง ไม่ต้องรับโทษ
ม.305 ทำแท้งไม่มีความผิด โดยคนทำต้องเป็นหมอเท่านั้น
การออกใบรับรองเท็จ/ มาตราที่เกี่ยวข้องได้แก่ ปอ. มาตรา 264, 269 คํารับรองที่เป็นเอกสารของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม มีดังนี้
1.ใบรับรองว่าสุขภาพดีการสมัครเรียน สอบทําใบขับขี่ ทํางานต่างประเทศ เข้ารับราชการได้ และตามกฎหมาย ก.พ.
ใบรับรองว่าสุขภาพดี สมควรที่บริษัทประกันชีวิตจะรับประกันได้
3.ใบรับรองการเจ็บป่วย เพื่อหยดงาน เลื่อนสอบ ุ พิจารณาคดีของศาล
4.ใบรายงานการตรวจของแพทย์(ใบคดี) เกี่ยวกับ ผู้เสียหาย ผู้ต้องหาวัตถุพยาน
5.ใบรับรองการคลอดบุตร ใบรับรองการเกิด และใบรับรองการตาย
ความรับผิดทางแพ่ง (Civil liability)
สัญญา
นิติกรรมชนิดหนึ่ง การเกิดของสัญญาจะต้องมีการแสดงเจตนาอันแท้จริง
ของบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป โดยที่เจตนาของทุกฝ่ายต้องถูกต้องตรงกัน โดยฝ่ายหนึ่งจะต้องแสดงเจตนาขึ้นมาก่อนเรียกว่า คําเสนอ และเมื่ออีกฝ่ายหนึ่งสนใจคําเสนอนั้น ก็จะแสดงเจตนาขึ้นมาก่อนเรียกว่า คําสนอง
เมื่อคําเสนอและคําสนองตรงกันสัญญาก็จะเกิดขึ้น
ละเมิด
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทําต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฏหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิต อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิ์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นจําต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นกระทําโดยประมาทเลินเล่อ
ขาดความระมัดระวัง , ไม่ระวังให้ดี
มีหน้าที่ แต่ปล่อยปละละเลย
การชํารุดภายในตัวเครื่องยนต์ ถือเป็นประมาท
การหยอกล้อ ล้อเลียนถือเป็นประมาท
พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ 2539
มาตรา 5หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิด
ที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ กรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการ
ละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใด ให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิดตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 8 ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้ เจ้าหน้าที่ผู้ทําละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก้หน่วยงานของฃรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทําการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
การถูกฟ้องร้อง
กรณีที่พยาบาลปฏิบัติงานในสถานบริการ/หน่วยงานต่างๆ ของรัฐหรือเอกชน
พรบ. ความรับผิดฯ 2539 ให้ความคุ้มครองผู้ประกอบวิชาชีพฯ เฉพาะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น ผู้ประกอบวิชาชีพฯที่มิได้ทํางานในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐจะไม่ได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนความรับผิดในทางแพ่งตาม พรบ.
ค่าสินไหมทดแทน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใด เพียงใด ให้ศาลวินิจฉัย ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด ค่าสินไหมทดแทน ได้แก่
การคืนทรัพย์สิน อันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือใชทรัพย์สินนั้น
รวมทั้งค่าเสียหายอย่างใดๆอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
อายุความ
อายุความใช้เฉพาะกรณีผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด
อายุความ 1 ปี ระยะเวลานั้นต้องประกอบด้วย
ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด คือ รู้ว่าตนได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดจากการกระทําของบุคคลอื่น
ผู้เสียหายรู้ถึงตัวผู้พึงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน คือ ทราบว่าใครเป็นผู้กระทําละเมิด
อายุความ 10 ปี เมื่อเกิดละเมิดขึ้นแล้ว เป็นเวลา 10 ปี ผู้เสียหายไม่ทราบ
ถึงความเสียหายหรือทราบว่าตนต้องเสียหาย ไม่ทราบผู้กระทําความผิด สิทธิผู้เสียหายย่อมสูญสิ้น