Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รกเกาะต่ำ (placenta previa) - Coggle Diagram
รกเกาะต่ำ (placenta previa)
ความหมาย
ภาวะที่รกเกาะต่ำกว่าปกติ โดยเกาะลงมาถึงส่วนล่างของมดลูกปกติรกจะเกาะที่ส่วนบนของมดลูก อาจจะเป็นด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านหลังของโพรงมดลูก ในภาวะที่รกเกาะต่ำ รกบางส่วนหรือทั้งหมดเกาะที่ส่วนล่างของมดถูกและอาจคลุมลงมาเพียงบางส่วนหรือคลุมทั้งหมดบริเวณปากมดลูก มักพบเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนมากพบในไตรมาสที่สาม โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 8 เดือน
การรักษา
การรักษาแบบประดับประคอง (expectant treatment)
เป็นการรักษาเพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจนครบกำหนดคลอด โดยให้มารดาอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งคลอดเพื่อให้การดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ถ้าเลือดหยุดอาจให้กลับไปพักต่อที่บ้านได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรให้คำแนะนำที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตนก่อนกลับบ้าน
การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุด (active treatment)
การคลอดทางช่องคลอด ทำในรายที่รกเกาะปิดปากมดลูกด้านในเพียงบางส่วน ข้อควรระวัง คือ สังเกตและบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด ถ้าปากมดลูกเปิดไม่หมด ไม่พยายามให้ทารกคลอดทางช่องคลอด ควรทำผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยพื้นคืนชีพทารกแรกเกิดพร้อมใช้และรายงานกุมารแพทย์รับทารกแรกเกิด หลังรกคลอดควรเฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
การผ่าตัดทางหน้าท้อง เป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยแก่มารดาและทารกในครรภ์มากกว่าการคลอดทางช่องคลอด เนื่องจากเป็นการกระทำที่ทำให้ยุติการเสียเลือดได้อย่างรวดเร็ว
ชนิดของรกเกาะต่ำ
Partial placenta previa หรือ placenta previa partialis
รกเกาะต่ำลงมาในมดลูกส่วนล่างและคลุมลงมาถึงปากมดลูกด้านในเพียงบางส่วน
Marginal placenta previa
รกเกาะต่ำลงมาในส่วนล่างของมดลูกและเกาะลงมาถึง
ขอบของปากมดลูกด้านในพอดี
Total placenta previa หรือ placenta previa totalis
รกเกาะต่ำลงมาในส่วนล่างของลูกจนคลุมปิดปากมดลูกด้านในทั้งหมด
Low - lying placenta
รกเกาะต่ำลงมาในส่วนล่างของมดลูกแต่ไม่คลุมลงมาถึงปาก
มดลูกด้านใน
พยาธิสภาพ
ในการตั้งครรภ์ปกติตัวอ่อนที่อยู่ในระยะ blastocyst จะฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกในตำแหน่ง
ปกติ แต่ในภาวะรกเกาะต่ำ blastocyst จะเลื่อนลงมาฝังตัวในตำแหน่งผนังมดลูกส่วนล่าง จากการที่มีภาวะผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นในมดลูก การทำหัตถการบางอย่างมาก่อนในอดีต ส่งผลให้การฝังตัวของรกผิดปกติไปจากตำแหน่งปกติ ต่อมาเมื่อรกมีขนาดใหญ่ขึ้นจากการที่อายุครรภ์เพิ่มมากขึ้นจึงขัดขวางทางออกของทารกบริเวณรูเปิดด้านในของปากมดลูก
ผลของรกเกาะต่ำที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
การคลอดก่อนกำหนด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเวลา
ทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ และส่วนนำผิดปกติ
เกิดภาวะแท้งคุกคาม
ลิ่มเลือดอุดตัน
การตกเลือดหลังคลอด
มดลูกกลับคืนสู่สภาพเดิมช้ากว่าปกติ
โรคโลหิตจางเนื่องจากมีการเสียเลือดมาก
เศษรกค้างเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อ