Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เตียง18 ภาวะหัวใจล้มเหลว Congestive heart failure (CHF) เข้ารับบริการวันที…
เตียง18 ภาวะหัวใจล้มเหลว Congestive heart failure (CHF) เข้ารับบริการวันที่ 21 มกราคม 2563
พยาธิสรีรวิทยา
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำงานในการเติมเลือด (filling) หรือการสูบฉีดเลือด (ejection) ออกจากหัวใจห้องล่าง” อาการแสดงสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ หายใจขัด (dyspnea) และอ่อนล้า (fatigue) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถออกกำลังกายหรือออกแรงหนักๆได้ และมีการคั่งของน้ำตามที่ต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำคั่งในปอด(pulmonary congestion) น้ำคั่งในช่องท้อง (splanchnic congestion) และอาการบวมน้ำ (peripheral edema) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเหนื่อยหอบขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่มีการคั่งของน้ำร่วม
พยาธิสภาพ
หัวใจข้างซ้ายล้มเหลว
หัวใจข้างซ้ายล้มเหลว เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างช้ายบีบตัวลดลง ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ในระยะแรกหัวใจจะปรับตัวโดยระบบประสาทชิมพาเทติกทำงานเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้ระบบเรนิน -แองจิโอเทนชินทำหน้าที่เพิ่มขึ้น หัวใจมีขนาดเพิ่มขึ้น หากยังคงมีพยาธิสภาพของโรคดำเนินต่อไปจะทำให้กลไกการปรับตัวชดเชยล้มเหลวทำให้เนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆ ได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติทั้งในระบบหัวใจและหลอดเลือด สมอง กล้ามเนื้อ และระบบปัสสาวะ เมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง ทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดง ส่งผลให้เลือดเหลือค้างในหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้น ความดันเลือดในหัวใจห้องลงซ้ายจึงสูงขึ้น ดังนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจึงบีบเลือดส่งมายังหัวใจห้องล่างซ้ายน้อยลง ปริมาตรเลือดและความดันเลือดให้วใจห้องบนซ้ายจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ เลือดจากปอดที่ฟอกแล้วก็จะไหลเข้าหัวใจห้องบนซ้ายได้น้อยลง เป็นผลให้ความดันเลือดในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้น เมื่อแรงดันของของเหลวในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้น ทำให้ของเหลวออกจากหลอดเลือดฝอยที่ปอดเข้าสู่ถุงลม ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด หอบเหนื่อย ไอ และเขียว
หัวใจล้มเหลวข้างขวา
หัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว เป็นต่อเนื่องมาจากการมีแรงดันหลอดเลือดในปอดสูงรวมทั้งแรงดันในหลอดเลือด pulmonary artery จากการที่มีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว ทำให้หัวใจห้องล่างขวาพยายามบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปฟอกที่ปอด เมื่อทำงานหนักเข้าหัวใจถึงอ่อนล้า และเกิดการล้มเหลวในการทำงาน ทำให้มีเลือดคั่งในหัวใจห้องล่างขวา เลือดจากหัวใจห้องบนขวาไม่สามารถลดลงสู่ห้องล่างขวาได้ เป็นผลให้เลือดจากตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มาตาม Superior vena cava และ Inferior vena cava ไม่สามารถเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาได้ จึงคั่งอยู่ตามหลอดเลือดดำตามร่างกาย เมื่อแรงดันในหลอดเลือดดำสูงขึ้นจะดันน้ำให้ซึมออกจากหลอดเลือดผ่านเข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์และเซลล์ของร่างกาย เกิดการบวมตามร่างกาย
ความหมาย
ระบบไหลเวียนโลหิตมีหน้าที่ในการรักษาความดันโลหิตแดง (arterial blood pressure) เพื่อให้อวัยวะส่วนปลายได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure หรือ congestive heart failure) คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
อาการ
หัวใจข้างช้ายล้มเหลว มีอาการหัวใจเต้นเร็ว การเต้นของชีพจรเบาบ้างแรง บ้างสลับกัน (Pulsus atenans) ผิวหนังเย็นและชื้นเนื่องจากหลอดเลือดหดตัวความดัน ซิสโตลิกลดลงแต่ความดันไดแอสโตลิกสูงขึ้น ฟังหัวใจได้ยินเสียงสาม (S) หรือเสียงคล้ายม้าควบ (Galop rhythm) จะได้ยินชัดเจนบริเวณลิ้นไมตรัล เสียงนี้เกิดจกมีแรงต้านขณะเลือดถูกส่งเข้าสู่หัวใจห้องล่าง ผู้ป่วยจะมีอาการทางสมองเช่น กระสับกระส่าย สับสน ความจำเสื่อม ฝันร้าย วิตกกังวล นอนไม่หลับ งุนงง เป็นลม หมดสติ เป็นต้น มีอาการเหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีอาการเหนื่อยง่ายเมื่ออกแรง หอบในท่านอนราบ(Orthopnea) มีภาวะปอดบวมน้ำ(Pulmonary edema)
หัวใจข้างขวาล้มเหลว มีอาการบวม (Edema) ตามส่วน ต่างๆ เท้า ข้อเท้า ก้นกบ ตับโต จากการที่มีเลือดคั่งในหลอดเลือดในตับ ท้องมาน (Ascites) หลอดเลือดดำที่คอโป่ง อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ผู้ป่วยจะแน่นจุกบริเวณใต้ชายโครงขวาหรือบริเวณลิ้นปี่ เป็นผลมาจากตับโตจากการมีน้ำคั่ง
ข้อมูลผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับพยาธิสภาพ
ผู้ป่วยมีประวัติหอบเหนื่อย มีการเจ็บป่วยที่ชักนำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว คือผู้ป่วยมีประวัติเจ็บป่วยจากโรคหัวใจตีบสามเส้น เคยทำ CABG ที่โรงพยาบาลตำรวจเมื่อ17ปีที่แล้ว มีประวัติเป็นโรค ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิต โรคไขมันในเลือดสูง เเละเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งขณะเป็น เหนื่อย มีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้ เหนื่อยเมื่อทำกิจกรรม ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ Hct 33.2 (ค่าปกติ 38.2-48.3)ต่ำกว่าปกติ และค่า INR 1.84 (ค่าปกติ 0.88-1.11)สูงกว่าปกติ *PT 21.0 (ค่าปกติ10.3-12.8) สูงกว่าปกติ
ระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว
.
functional class I ผู้ป่วยไม่มีข้อจำกัดของการทำกิจกรรม สามารถทำกิจกรรมปกติได้โดยไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย
functional class II ผู้ป่วยมีข้อจำกัดของการทำกิจกรรมเล็กน้อย สามารถทำกิจกรรมปกติได้โดยไม่มีอาการหายใจหอบเหนื่อย แต่จะมีอาการหายใจหอบเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก
functional class IIIผู้ป่วยมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมปกติ โดยจะมีอาการหายใจหอบเหนื่อยเมื่อกระทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงมาก แต่จะไม่มีอาการขณะพัก และเมื่อได้พักอาการหายใจหอบเหนื่อยจะดีขึ้น
.
functional class IV ผู้ป่วยมีข้อจำกัดย่างมากในการทำกิจกรรมปกติ มีอาการหายใจหอบเหนื่อยแม้ขณะพัก
ตรวจวิเคราะห์ cardiac biomarkers ชนิด BNP หรือ NT-proBNP
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง (ventricular myocyte)
BNP จะถูกหลั่งเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อ
1.กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างถูกเหยียดขยาย (myocardial stretching) มากกว่าปกติหรือนานกว่าปกติ เกิดขึ้นเมื่อมีปริมาตรเลือดในร่างกายมากเกินไป หรือภาวะปริมาตรน้ำเลือดมาก ทำให้มีปริมาตรเลือดไหลเข้าห้องหัวใจมากกว่าปกติ (increased preload) จนหลอดเลือดแดงมีความดันสูง ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่นและเกิดแรงต้านแรงปั๊มเลือดออกจากหัวใจ ทำให้เลือดในห้องหัวใจไม่สามารถถูกปั๊มออกไปได้สะดวก
กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างเกิดพยาธิสภาพ เช่น การตายของกล้ามเนื้อหัวใจโดยเฉพาะจาก AMI ทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจนั้น ไม่สามารถหดตัวบีบดันหรือปั๊มเลือดออกไปได้ เลือดจึงยังคงคั่งค้างอยู่ในห้องหัวใจนั้น ส่งผลให้เกิดการเหยียดขยายของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจห้องนั้น
เมื่อเลือดคั่งค้างอยู่ในห้องหัวใจและไม่สามารถถูกปั๊มออกไปได้นั้น ร่างกายจะพยายามปรับแก้โดยกล้ามเนื้อหัวใจห้องบนจะหลั่ง Atrial natriuretic peptide (ANP) และกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างจะหลั่ง BNP เข้าสู่กระแสเลือดเพื่อไปออกฤทธิ์ที่ไต ทำให้ไตเร่งการขับน้ำและโซเดียมทิ้งออกไปกับปัสสาวะ ส่งผลให้ช่วยลดความดันเลือดและปริมาตรน้ำเลือดในร่างกาย ลดปริมาตรเลือดที่เข้าสู่ห้องหัวใจ
พบว่าค่า BNP ในเลือดสูงขึ้นภายใน 2 ชั่วโมงหลังเกิดอาการหัวใจล้มเหลว ขณะที่ค่า NT-proBNP จะมีระดับสูงผิดปกติในเลือดได้เป็นเวลานาน 12-16 ชั่วโมงหลังเกิดอาการหัวใจล้มเหลว และจะตรวจพบในกระแสเลือดหลังเกิดอาการได้ยาวนานกว่า BNP สำหรับในภาวะปกติระดับ BNP และ NT-proBNP ในเลือดจะมีค่าใกล้เคียงกัน แต่ในภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นระดับ NT-proBNP สูงกว่าระดับ BNP ประมาณ 4 เท่า
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ
ค่าการทำงานของไต
Cretinin 1.90 (ค่าปกติ 0.6 - 1.2 mg/dL) สูงกว่าปกติ
Coagulation test , Complete blood count
*PT 28.5 (ค่าปกติ10.3-12.8) สูงกว่าปกติ
INR 2.52 (ค่าปกติ 0.88-1.11)สูงกว่าปกติ
Hb 10.6 (ค่าปกติ 12.6-16.1g/dl)ต่ำกว่าปกติ
Hct 33.2 (ค่าปกติ 38.2.6-48.3%)ต่ำกว่าปกติ
RBC 3.65 (4.03-5.55 10^6uL)ต่ำกว่าปกติ
อิเล็กโทรไลต์
Na 135 (ค่าปกติ 13-45)ต่ำกว่าปกติ
ข้อมูลพื้นฐาน
อาการสำคัญ
เหนื่อย 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
3 วันก่อนมาโรงพยาบาล เหนื่อยง่าย เหนื่อยเมื่อออกแรง เมื่อพัก 15 นาทีจึงดีขึ้น ขณะนอนราบมีอาการเหนื่อย จึงมาโรงพยาบาล
อาการปัจจุบัน
18/01/64 ผู้ป่วยชายไทย อายุ 82 ปี รูปร่างสมส่วน ผมสีดำ ผิวคล้ำ รู้สึกตัวดี พูดคุยรู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองได้ เหนื่อยขณะทำกิจกรรม หายใจ Room air รับประทานอาหารได้เอง ไม่มีคลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังที่แขนและขาแห้ง แขนขาไม่มีบวม on Injection plug ที่แขนซ้าย ไม่มีphlebitis ไม่มีบวม ไม่มีแดง ผู้ป่วย on condom ผู้ป่วยใส่แพมเพิส ขับถ่ายอุจาระปกติ
19/01/64 ผู้ป่วยชายไทยสูงวัย อายุ82 ปี รู้สึกตัวดี สื่อสารรู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองได้ รูปร่างสมส่วน ศีรษะสมมาตร ไม่มีรอยโรค การมองเห็นของตาทั้งสองข้างปกติ sclera สีขาวปกติ conjunctiva สีซีด หายใจRoom air ปากแห้ง
แขนและขามีสีผิวคล้ำ แห้ง on injection plug ที่เเขนข้างซ้าย ไม่มีphlebitis ไม่มีบวมแดง รับประทานอาหารอ่อนลดเค็ม รับประทานได้เอง ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน ผู้ป่วย on condom ปัสสาวะมีสีเหลืองใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน ผู้ป่วย ใส่แพมเพิส ขับถ่ายอุจจาระปกติ
20/01/64 ป่วยชายไทยสูงวัย อายุ82 ปี รู้สึกตัวดี สื่อสารรู้เรื่อง ช่วยเหลือตนเองได้ รูปร่างสมส่วน ศีรษะสมมาตร ไม่มีรอยโรค การมองเห็นของตาทั้งสองข้างปกติ sclera สีขาวปกติ conjunctiva สีซีด หายใจRoom air ปากแห้ง
เล็บสีซีด แขนและขามีสีผิวคล้ำ แห้ง มีรอยจ้ำเลือดบริเวณแขนซ้าย รับประทานอาหารอ่อนลดเค็ม รับประทานได้เอง ไม่มีคลื่นไส้อาเจียน จำกัดน้ำไม่เกิน 800 ผู้ป่วย on condom ปัสสาวะมีสีเหลืองใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน ผู้ป่วย ใส่แพมเพิส ขับถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจตีบสามเส้น (TVD) เมื่อ 17 ปีที่แล้ว รักษาที่โรงพยาบาลตำรวจด้วยการทำ CABG รับประทานยา warfarin
ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิต โรคไขมันในเลือดสูง เเละเป็นโรคไตวายเรื้อรัง ระยะที่ 4
การตรวจพิเศษ
chest x-ray
เป็นการตรวจเพื่อยืนยันภาวะเลือดคั่งในปอด (pulmonary congestion) ซึ่งเป็นสาเหตุอาการเหนื่อย
การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Angiography = CAG) คือการสอดสายสวนขนาดเล็กผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบจนกระทั่งปลายสายไปถึงหลอดเลือดหัวใจแล้วฉีดสารทึบรังสีเข้าในหลอดเลือดหัวใจ พร้อมกับเอ็กซเรย์ด้วยความเร็วสูง บันทึกภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้นเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันตำแหน่งไหน มากน้อยเพียงใด รวมทั้งการฉีดสารทึบรังสีเข้าในห้องหัวใจเพื่อตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การรั่วของลิ้นหัวใจ วัดความดันในห้องหัวใจ
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram, Echocardiography) หรือเอคโค (Echo) คือ การตรวจเพื่อวัดประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ เช่น การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ขนาดของห้องหัวใจ การไหลเวียนเลือดในหัวใจ การทำงานของลิ้นหัวใจ และดูตำแหน่งของหลอดเลือดต่างๆ ที่เข้า-ออกจากหัวใจ โดยเป็นการตรวจด้วยการใช้การสะท้อนกลับของคลื่นเสียงความถี่สูงที่ถูกปล่อยออกมาจากหัวตรวจ ส่งผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ เมื่อคลื่นเสียงผ่านอวัยวะต่างๆ ก็จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับที่แตกต่างกันระหว่างน้ำกับเนื้อเยื่อ
การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ เพื่อทำทางเบี่ยงเสริมหลอดเลือดบริเวณที่ตีบหรือตันทำให้เลือดผ่านส่วนที่ตีบหรือตันได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้มากขึ้น
ยาที่ผู้ป่วยใช้
CHLOVS-40
1.เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล แอลดีแอล (LDL) และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยเพิ่มไขมันดี เอชดีแอล (HDL) ได้บ้าง
2.เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในคนที่มีความเสี่ยงสูง หรือใช้ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองแล้ว
1.ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติเคยแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยานี้
2.ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่กำลังมีการทำงานของตับผิดปกติ หรือมีระดับเอนไซม์ตับสูงกว่าค่าปกติ
-ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
-หากได้รับยานี้แล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยผิดปกติ ปัสสาวะเป็นสีแดงหรือสีเข้มผิดปกติ
Orfarin
ออกฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ไม่ให้เลือดแข็งตัวง่าย มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ที่สมอง หัวใจ เส้นเลือดที่แขน / ขา เป็นต้น
ห้ามใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะที่มีเกล็ดเลือดต่ำ รวมไปถึงภาวะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเลือดออก และภาวะการทำงานของตับบกพร่องอย่างรุนแรง
คลื่นไส้ ลดความอยากอาหาร ปวดท้อง
Sodium bicarbonate
รักษาภาวะเลือดเป็นกรด ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง ลดกรด รักษาอาการอาหารไม่ย่อย
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
-มีอาการแพ้ส่วนประกอบในยาโซเดียมไบคาร์โบเนต
-ป่วยด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบหรือลำไส้อุดตัน
-ผู้ที่ต้องควบคุมอาหารด้วยการรับประทานอาหารโซเดียมต่ำ
-มีภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ภาวะปอดบวมน้ำ
อาการข้างเคียง
ท้องอืด มีลมในท้อง
Milk of Magnesia
ข้อบ่งใช้สำหรับการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ สามารถใช้ขนาดยาได้ถึง 1 กรัมต่อวัน มักให้ร่วมกับยาลดกรดกลุ่มที่มีอะลูมิเนียมเป็นองค์ประกอบ
ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้
-ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยลำไส้อุดตัน
-ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยอุจจาระแข็งตัวเป็นก้อน
-ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
-ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ
ยานี้อาจก่อให้เกิดอาการอันไม่พึงประสงค์ ได้แก่ ระคายเคืองระบบทางเดินอาหารท้องเสียอาการเกร็งท้อง ภาวะระดับแมกนีเซียมในเลือดสูง (ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตผิดปกติ) ภาวะลำไส้อืด
Omeprazole capsule
ข้อบ่งใช้
1.ใช้ป้องกันหรือรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และอาการแสบร้อนกลางอกจากหลอดอาหารอักเสบเนื่องจากกรดไหลย้อน
2.ใช้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากภาวะเครียดหรือจากการกินยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
3.ใช้รักษาอาการจุกเสียดท้อง แน่นท้องหลังรับประทานอาหารเนื่องจากอาหารไม่ย่อยและมีกรดมากเกิน
1.ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้หรือ เคยแพ้ส่วนประกอบอื่นในตำรับยานี้หรือยาตัวอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน
2.ระวังการใช้ในผู้ที่มีภาวะตับบกพร่องรุนแรง
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญ เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ ปวดหัว
หากมีอาการบวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ผื่นลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ให้หยุดยาทันที
Xandase
เพื่อลดกรดยูริกในเลือด
-ห้ามใช้ยานี้ ร่วมกับยา เมอร์แคปโทพิวรีน (Mercaptopurine) เอซาไทโอพรีน (Azathioprine) เพราะอาจทำให้มีผลต่อการรักษาและเกิดอันตรายได้
-ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคไต
คลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายท้อง
หากมีอาการแพ้ยา เช่น มีผื่นขึ้น เป็นไข้ ตาแดง หรือมีแผลในปากให้หยุดยาทันที
Povanil (Clonazepam)
จัดเป็นกลุ่มยาทางจิตเวชที่ช่วยทำให้เกิดการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ใช้รักษาอาการชัก ตื่นตระหนก และหวาดกลัว
เมื่อเริ่มใช้ยา Clonazepam ผู้ป่วยจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีหากมีอาการผิดปกติ เช่น มีความคิดทำร้ายตัวเอง อารมณ์ พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป เกิดอาการตื่นตระหนกหวาดกลัว อยู่ไม่นิ่ง กระสับกระส่ายวุ่นวาย หรือเกิดอาการซึมเศร้า
อาการข้างเคียง
-อาการง่วงซึม เดินเซ อิดโรย
-พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ปฏิกิริยาตอบสนองช้าลง
-เวียนศีรษะ
-รู้สึกสับสน
-มีน้ำลายมากขึ้น
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
-ปัสสาวะบ่อย
Cardeloc
1.ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
2.ใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
-ยานี้มีข้อห้ามใช้ที่ขึ้นอยู่กับสภาวะการทำงานของหัวใจหลายสภาวะ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาข้อห้ามใช้
-ระวังการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์
ผลข้างเคียง
-หัวใจเต้นช้ามาก
รู้สึกหวิว คล้ายจะเป็นลม
หายใจตื้น
รู้สึกเย็นที่มือและเท้า
อ่อนเพลียหรืออ่อนล้ารุนแรง
SENOLAX TAB
SENNOSIDES
-ใช้เป็นยาระบาย (ยาแก้ท้องผูก) บำบัดรักษาอาการท้องผูกในช่วงระยะเวลาสั้น
-อาจใช้ยานี้สำหรับเตรียมลำไส้หรือขับถ่ายของเสียจากลำไส้ก่อนการผ่าตัดหรือส่องกล้อง
-ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน, มีภาวะลำไส้อุดตัน, มีอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ, มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้, เป็นไส้ติ่งอักเสบ
-การใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานและใช้ในขนาดสูงจะทำให้มีอาการปวดท้องหรือถ่ายท้องรุนแรงจนเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ได้ โดยเฉพาะโพแทสเซียม เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและหัวใจเต้นผิดปกติ
CLEXANE 60 MG.
ENOXAPARINE
เป็นยาที่ใช้เพื่อป้องกันและรักษาลิ่มเลือดที่อันตราย ยานี้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือโรคหัวใจวาย ยานี้ช่วยให้เลือดของคุณไหลเวียนได้ดีโดยการลดการทำงานของโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวภายในเลือด
-ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังในส่วนที่เป็นไขมันบริเวณด้านซ้ายหรือด้านขวาของท้อง ห้ามฉีดยาชนิดนี้เข้ากล้ามเนื้อเด็ดขาด
-หากลืมฉีดยาตามเวลาที่กำหนด ให้ฉีดยาทันทีที่นึกได้ แต่หากใกล้ถึงครั้งต่อไปแล้ว ให้ข้ามไปฉีดยาครั้งต่อไปได้เลย ห้ามเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า
-มีภาวะเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือด ปัสสาวะมีเลือดปน อุจจาระมีสีดำหรือสีแดง เลือดออกทางช่องคลอด ฟกช้ำตามร่างกาย หรือมีไหลออกจากแผลไม่หยุด เป็นต้น
-รู้สึกอ่อนเพลีย วิงเวียน มึนงง หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากเนื่องจากได้รับยาละลายลิ่มเลือด
ข้อมูลสนับสนุน : ได้รับยา Warfarin และยา Enoxaparine
PT 23 seconds สูงกว่าปกติ
INR 2.05 สูงกว่าปกติ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดอันตรายจากจากภาวะเเลือดออกง่ายหยุดยาก
เกณฑ์การประเมินผล
-ไม่มีจุดเลือดตามตัว
-ไม่มีเลือดออกที่ใด
-ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองในการเฝ้าระวังภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก
กิจกรรมพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพของผู้ป่วย ประเมินภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก บาดแผลตามร่างกาย
2.ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลเบามือ ระมัดระวังการพยาบาลที่อาจเกิดอันตรายและเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก ได้แก่ การโกนขน การเจาะเลือด การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
3.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายต่างๆ หรืออุบัติเหตุต่างๆ ได้แก่การตกเตียง การกระทบกระแทก การถูกของมี ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลได้
4.ให้ยาตามแผนการรักษาคือยา Warfarin ยา Enoxaparine โดยเฝ้าระวังผลข้างเคียงคือทำให้เลือดไหลง่ายและหยุดยาก และยา omeprazole ป้องกันแผลในกระเพาะอาหารเพราะผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่ายจากยาละลายลิ่มเลือด อาจเกิดเกิดบาดแผลในกระเพาะและเลือดออกในกระเพาะได้
5.เเนะนำ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การทำความสะอาดร่างกาย การแปรงฟันควรใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนิ่มๆตลอดจนหลีกเลี่ยงการใช้ไหมขัดฟัน
เฝ้าระวังและแนะนําผู้ป่วย ให้สังเกตอาการมีเลือดตามบริเวณต่างๆ ได้แก่ จ้ำเลือด ใต้ผิวหนัง ตามตัว เลือดออกตามไรฟัน เ อาการเลือดออกที่อาจจะออกมากับอาเจียน ปัสสาวะและอุจจาระ
7.แนะนำอาหารย่อยง่าย มีโปรตีน ให้พลังงานสูง
การประเมินผลทางการพยาบาล
ร่างกายไม่มีจุดเลือดตามตัว ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตนและตอบคำถามเกี่ยวกับการระมัดระวังป้องกันเลือดออกง่ายหยุดยากได้
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่2ความทนในการทํากิจกรรมลดลง เนื่องจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จากภาวะหัวใจล้มเหลว
SD:ผู้ป่วยให้ประวัติว่าว่าเหนื่อยหอบขณะทำกิจกรรมต่างๆ
OD: -สีผิวมีลักษณะซีดคล้ำ
-เล็บสีซีด
-onjunctiva มีสีซีด
-capillary refill มากกว่า2 วินาที
-Hb 10.6 (ค่าปกติ 12.6-16.1)ต่ำกว่าปกติ
-Hct 33.2 (ค่าปกติ 38.2.6-48.3%)ต่ำกว่าปกติ
-RBC 3.65 (4.03-5.55 10^6uL)ต่ำกว่าปกติ
สามารถทนต่อกิจกรรมได้ดีขึ้น
ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ไม่มีอาการเขียนคล้ำ
Capillary refill test ปกติ
Pulse =60-100 ครั้ง
-ประเมินเกี่ยวกับอาการเหนื่อยหอบของผู้ป่วย หรืออาการร่วมอื่นๆ เช่น หน้ามืด ใจสั่น เป็นลม หอบ เจ็บหน้าอก
-ประเมินสัญญาณชีพ และระดับความรู้สึก เพื่อประเมินอาการผิดปกติ ให้ออกซิเจนให้เพียงพอโดยติดตามระดับออกซิเจนด้วยการวัดระดับออกซิเจนบริเวณปลายนิ้วมือและสังเกตอาการหอบเหนื่อยเขียวคล้ำปลายมือปลายเท้า
-ลดการทำงานของหัวใจเกินกำลัง โดยการลดปริมาตรเลือดก่อนหัวใจบีบตัว โดยการให้ยาขับปัสสาวะ การจำกัดสารน้ำและเกลือโซเดียม ให้ยาขับปัสสาวะบันทึกสารน้ำเข้าออกทุก8 ชั่วโมงชั่งน้ำหนักทุกวันด้วยเครื่องชั่งและเวลาเดียวกันดูแลสังเกตอาการโปตัสเซียมต่ำ ได้แก่ หายใจช้ากล้ามเนื้ออ่อนแรงหัวใจเต้นช้าชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอ คลื่นไส้อาเจียนเป็นต้น
-ดูแลให้ผู้ป่วยหยุดการทำกิจกรรมต่างๆเมื่อผู้ป่วยเหนื่อย จัดท่านอนหัวสูง เพื่อลดต้องการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
-ป้องกันการออกแรงทันทีทันใด หรือการเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างรุนแรง เช่น ตื่นเต้น ตกใจ เสียใจ หรือการเบ่งถ่ายอุจจาระ เพื่อลดการทำงานการบีบตัวของหัวใจ
-ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ และการรักษา เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถาม ระบายความรู้สึก เพื่อลดความกลัวและวิตกกังวล
-เฝ้าระวังอาการสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติ ได้แก่ หอบเหนื่อยมากขึ้นอาการบวมเพิ่มขึ้นปัสสาวะออกน้อยกว่า 200 ml. ใน 8 ชั่วโมงระดับบออกซิเจนในร่างกายน้อยกว่า 95%
-ป้องกันภาวะแทรกซ้อนติดตามประเมินสัญญาณชีพค่า EKG, Chest X-ray ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC, BUN, Cr, Electrolyte, Thyroid function เป็นต้น
ผู้ป่วยสามารถทนต่อการทำกิจกรรมได้มากขึ้น ผู้ป่วยยิ้มแย้ม ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ
.
-Hb 10.6 (ค่าปกติ 12.6-16.1)ต่ำกว่าปกติ
-Hct 33.2 (ค่าปกติ 38.2.6-48.3%)ต่ำกว่าปกติ
-RBC 3.65 (4.03-5.55 10^6uL)ต่ำกว่าปกติ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 4 เสี่ยงต่อการเกิดพลัดตกหกล้ม
SD:ผู้ป่วยบอกว่า มีการเหนื่อยเเละเวียนศีรษะบางครั้ง
OD: ผู้ป่วยมีความดันโลหิต 94/60 มิลลิเมตรปรอท ต่ำกว่าปกติ
ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
-ผู้ป่วยไม่มีบาดแผลตามร่างกาย
-ผู้ป่วยไม่เกิดอุบัติเหตุ
1.ประเมินสัญญาณชีพของผู้ป่วยและอาการที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น เวียนศีรษะ แขนขาอ่อนเเรง
2.ประเมินสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย ให้วางของที่ต้องใช้เป็นประจำ ใกล้ตัวผู้ป่วยเพื่อสะดวกในการหยิบใช้ตรวจสอบความแข็งแรงของไม้กั้นเตียง และดึงไม่กั้นเตียงขึ้นทั้ง 2ข้าง ทุกครั้งเมื่อผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง
3.เฝ้าระวังผู้ป่วย และคอยสังเกตผู้ป่วย แจ้งการขอความช่วยเหลือจากพยาบาลให้แก่ผู้ป่วย เพื่อที่มีเหตุเกิดขึ้นพยาบาลสามารถมาช่วยได้ทัน
4.ช่วยดูแลกิจกรรมของผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยอุจจาระ ปัสสาวะ บนเตียงพยาบาลควรอยู่ด้วยเพื่อที่จะช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยต้องการ
5.หาอุปกรณ์ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น แว่นสายตา ไม้เท้า
ผู้ป่วยปลอดภัยไม่มีบาดแผลเกิดตามร่างกาย สามารถปฏิบัติกิจวัตรในชีวิตประจำได้โดยไม่เกิดอุบัติเหตุ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 5 มีความวิตกกังวล เกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง
SD: -ผู้ป่วยบอกว่าเมื่อไหร่จะหายจากโรคที่เป็นอยู่
-ผู้ป่วยบอกว่าไม่อยากให้คนอื่นเดือดร้อน อยากทำด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด
OD: ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวลเมื่ออยู๋คนเดียว
ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
.- ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่นขึ้น
-ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาล
-พูดคุยกับผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยสอบถามแนวทางในการดูแลของตนเองเมื่อได้ออกจากโรงพยาบาล
-เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจมากขึ้น และยอมรับอาการเจ็บป่วยของตนเอง -แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเป็นระยะๆ
-เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้สอบถามข้อสงสัย หรือระบายสิ่งต่างๆให้ฟังเพื่อระบายความเครียด
-ให้กำลังใจผู้ป่วยและแสดงให้ผู้ป่วยเห็นว่าเราเต็มใจที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความสบายใจ
ผู้ป่วยมีสีหน้าที่สดชื่น และให้ความร่วมมือในการรักษาการพยาบาล เริ่มพูดคุยเเละบอกระบายความรู้สึกให้ฟังมากขึ้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 เสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเนื่องจากภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ (Triple vessel disease)
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยบอกว่าเคยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ผู้ป่วยมีประวัติการเจ็บป่วยเป็นโรคหัวใจตีบสามเส้น (Triple vessel disease )
ผู้ป่วยทนต่อการทำกิจกรรมได้ลดลง
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยบอกอาการเจ็บหน้าอก หายไป
คะแนน Pain score เท่ากับ 0
ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการร่วมอื่นๆ
กิจกรรมการพยาบาล
เมื่อผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ดูแลให้ผู้ป่วยหยุดการ
ทํากิจกรรมต่างๆ (absolute bed rest) จัดท่านั่งหรือ นอนแบบ fowler positionเพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ดูแลให้ออกซิเจน ตามแผนการรักษา ถ้าผู้ป่วยหายใจเร็วหรือระดับ oxygen saturation ลดลง ควรให้อย่าง ต่อเนื่องตามแผนการรักษาและควรให้ระดับ oxygen saturation มากกว่าร้อยละ 95เพื่อเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ หัวใจและลดการทํางานของหัวใจ
3.ประเมิน บันทึก และรายงานแพทย์ เกี่ยวกับลักษณะอาการเจ็บหน้าอก ทั้งตําแหน่ง ความรุนแรง อาการเจ็บร้าว ระยะเวลาที่เป็น ปัจจัยที่ทําให้เกิด และอาการร่วมอื่นๆ เช่น เหงื่อแตก ตัวเย็น การประเมินความดันโลหิตลักษณะการหายใจ และอัตราการเต้นของหัวใจทุกครั้งที่มีอาการเจ็บหน้าอกเพื่อหาสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก และเปรียบเทียบกับอาการหลังการรักษาโดยเฉพาะการประเมินความปวดค่า 0-10 โดย 0 ไม่มีอาการปวด ถึง 10 มีอาการปวดมากที่สุดอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นจากความปวด ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มขึ้นจากการหลั่งสาร catecholamine จากภาวะเครียด6. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 lead เมื่อแรกรับผู้ป่วย ภายใน 10 นาที และทุกครั้งที่มีอาการเจ็บหน้าอกเนื่องจาก การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ สามารถช่วยในการวินิจฉัยถึงกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการพักผ่อน (Absolute bed rest) ใน24 ชั่วโมงแรกที่มีอาการเจ็บหน้าอก เช่น ช่วยเหลือในการทํากิจกรรมต่างๆของผู้ป่วย ทําบรรยากาศให้เงียบ วางแผนรวบรวมกิจกรรมการพยาบาลที่รบกวนผู้ป่วยในคราวเดียวกัน ดูแลให้ได้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ให้ใช้ bed-side commode และแนะนําผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการเบ่งอุจจาระ และติดตามประเมินอาการท้องผูก จํากัดคนเยี่ยม ลดความวิตกกังวลเพื่อลดความต้องการออกซิเจนของร่างกายและกล้ามเนื้อหัวใจ
การประเมินผลการพยาบาล
ผู้ป่วยบอกว่าไม่มีอาการเจ็บหน้าอก ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ผิวหนังชื้น เหงื่อออก ตัวเย็น เหนื่อยหอบ
Problem list
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ ค่า INR 1.84 และ *PT 21.0 ที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดสูงกว่าปกติ
มีภาวะเหนื่อยง่ายขณะทำกิจกรรม
ผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกิน
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการรักษา
ผู้ป่วยมีโรคเเทรกซ้อนคือ ผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิต โรคไขมันในเลือดสูง เเละเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
ผู้ป่วยวิตกกังวเกี่ยวกับโรค
เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุจากพลัดตกหกล้ม
ผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำ
ข้อบ่งใช้
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
อาการข้างเคียง
ข้อบ่งใช้
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
ผลข้างเคียง
ข้อบ่งใช้
ข้อบ่งใช้
ผลข้างเคียง
ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้
ผลข้างเคียง
ข้อบ่งใช้
ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้
ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้
ข้อบ่งชี้
ข้อควรระวัง
ข้อบ่งใช้
ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้
ข้อบ่งใช้
ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้
ผลข้างเคียง
ข้อบ่งใช้
ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้
ผลข้างเคียง
ข้อมูลสนุบสนุน
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การประเมินผล
กิจกรรมการพยาบาล
ข้อมูลสนับสนุน
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การประเมินผล
กิจกรรมการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
การประเมินผลทางการพยาบาล