Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เตียง25 ตึก มภร10/1 Diagnosis : Congestive heart failure, สารเสพติด -…
เตียง25 ตึก มภร10/1
Diagnosis : Congestive heart failure
ข้อมูลผู้ป่วย
ประวัติส่วนตัว
🗣
เพศชาย อายุ 21ปี
เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ศาสนาพุทธ
ระดับการศึกษามัธยมศึกษาปีที่3
อาชีพ ไม่มีอาชีพ รายได้ ไม่มีรายได้
ประวัติการผ่าตัด 🔪
ไม่เคยได้รับการผ่าตัด
ประวัติการแพ้ยา💊
ปฎิเสธการแพ้ยา
อาการสำคัญ 📌
เหนื่อยหอบ 4ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน🤢
ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ไม่มีประวัติการแพ้ยา
10 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการเจ็บแน่นบริเวณลิ้นปี่ ไม่มีไข้ ไม่ไอ ไม่มีเสมหะ ไม่มีอาการตัวบวมหรือขาบวม มีอาการหอบเหนื่อย นอนราบแล้วหายใจไม่สะดวก
4ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล หอบเหนื่อยมากขึ้น แน่นหน้าอก หายใจลำบากนำส่งตัวที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ที่แผนกฉุกเฉินวัดสัญญาณชีพได้ BP 80/39 PR 100ครั้ง/นาที BT 36.6 RR 30 ครั้ง/นาที On Endotracheal tube วัดoxygen saturationได้100%
ระบบหัวใจ มีภาวะหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ ไม่พบเสียงmurmurที่บริเวณs1,s2
ระบบหายใจ พบเสียงcrackleที่ปอดทั้ง2ข้างบริเวณUpper lobe,Middle lobe,lower lobe
Chest x-ray interstitial infiltrate both lung (ปอดมีการอักเสบและมีแผลที่เนื้อเยื่อinterstitiumของปอดทำให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ)
General appearance🧍🏽♀️
วันที่21/1/64
ผู้ป่วยชายไทย อายุ 21ปี Dx.Congenital heart failure
อาการสำคัญที่ทำให้มารักษาตัวที่โรงพยาบาลคือ มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น 4ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยในอดีต และไม่มีประวัติการแพ้ยา ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่มีอาการสับสน หรือมึนงง สามารถตอบโต้พูดคุยได้ ไม่มีอาการอ่อนเพลียหรือง่วงซึม ได้ค่าN/S E4V5M6 หายใจไม่หอบเหนื่อย หรือหายใจลำบาก สามารถหายใจได้เอง(Roomair) ค่าoxygen saturation(วันที่21/1/64 เวลา10.00น.)ได้ 99% สายตาทั้งสองข้างปกติ ไม่พบความผิดปกติที่conjuntivaและsclera ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารเองได้ อาหารที่รับประทานเป็นอาหารธรรมดา บริเวณลำตัวด้านหน้า ด้านหลัง แขนทั้ง2ข้าง และขาด้านขวามีรอยสัก ที่แขนด้านขวาบริเวณต้นแขน on injection plug ไม่มีรอยแดงหรือบวม motorpower แขนและขาทั้ง2ข้างได้5คะแนน
ผู้ป่วยสามารถปัสสาวะเองได้ สีปัสสาวะสีเหลืองใส ไม่มีตะกอน อุจจาระประมาณวันละ 2-3ครั้ง/วัน
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ📈
ภูมิคุ้มมกันวิทยา
17/1/64
Troponin-T 0.206 ng/mL สูงกว่าค่าปกติ(0-0.014ng/mL)อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
13/1/64
FT4 0.520 ng/dL ต่ำกว่าค่าปกติ(0.7-1.480ng/dL) อาจเกิดภาวะHypothyroidism คือต่อมไทรอยด์ผลิดฮอร์โมรไทรอยด์ออกมาได้น้อยกว่าปกติ
จุลชีววิทยา
13/1/64
Lactate(Lactic acid) 11.8 mmol/L สูงกว่าค่าปกติ(0.5-2.2mmol/L)
pO2 62.2mHg ต่ำกว่าค่าปกติ(74-108mHg)
HCO3 std 27 mmol/L สูงกว่าค่าปกติ(1-1.3mmol/L)
pH 7.238
PCO2 53.9 mmHg สูงกว่าค่าปกติ(32-46mmHg)
เคมีคลินิก
15/1/64
BUN 42.6 mg/dL สูงกว่าค่าปกติ(8.9-20.6mg/dL)
Creatinin 2.22 mg/dL สูงกว่าค่าปกติ(0.73-1.18mg/dL)
Total Protein 5.4 g/dLต่ำกว่าค่าปกติ(6.4-8.3g/dL)
Albumin 3.1 g/dL ต่ำกว่าค่าปกติ(3.5-5.2g/dL)
Globulin 2.3 g/dL ต่ำกว่าค่าปกติ(ค่าปกติ2.7-3.5g/dL)
Direct Bilirubin 0.58 mg/dL สูงกว่าค่าปกติ(0.0-0.5mg/dL)
AST(SGOT) 643 U/L สูงกว่าค่าปกติ(5-34U/L)
ALT(SGPT) 686 U/L สูงกว่าค่าปกติ(0-55U/L)
CPK 1628 U/L สูงกว่าค่าปกติ(30-200U/L)
Calcium 8.3 mg/dL ต่ำกว่าค่าปกติ(8.8-10.6mg/dL)
Phosphorus 1.6 mg/dL ต่ำกว่าค่าปกติ(3.3-4.6mg/dL)
Sodium 135 mmol/L ต่ำกว่าค่าปกติ(136-145 mmol/L)
Potassium 3.44 mmol/L ต่ำกว่าค่าปกติ(3.5-5.1mmol/L)
โลหิตวิทยา
15/1/64
PT 16.6 seconds สูงผิดปกติ(10.3-12.8seconds)
INR 1.45 สูงกว่าปกติ(0.88-1.11)
APTT 33.7 seconds สูงกว่าปกติ(22.4-30.6 seconds)
Hb 11.8 g/dL ต่ำกว่าปกติ(12.8-16.1 g/dL)
Hct 35.5 % ต่ำกว่าปกติ(38.2-48.3%)
WBC 17.18 10^3/uL สูงกว่าค่าปกติ(4.03-10.77 10^3u/L)
Neutrophil 84.9% สูงกว่าปกติ(48.1-71.2%)
Lymphocyte 12.4% ต่ำกว่าปกติ(21.1-42.7%)
Monocyte 2% ต่ำกว่าปกติ(3.3-10.2%)
Platelet Count 104 10^3 u/L ต่ำกว่าค่าปกติ(154-384 10^3u/L)
ข้อวินิจทางการพยาบาล
5.กลัว/วิตกกังวล เนื่องจากเป็นภาวะที่คุกคามชีวิต
ข้อมูลสนับสนุน
SD : 1.ผู้ป่วยกล่าวว่า"รู้สึกกลัว เพราะตัวเองและคนในครอบครัวไม่เคยมีใครโรคนี้มาก่อน และกลัวว่าจะกลับไปทำกิจวัตรประจำวันไม่ได้เหมือนเดิม"
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีความกลัว/วิตกกังวลน้อยลง
เกณ์การประเมินผล
ผู้ป่วยพูดคุยสิ่งที่กลัวและกังวลได้
สอบถามวิธีการแก้ปัญหา
มีอาการกลัว/วิตกกังวลลดลง
บอกว่ากลัวและวิตกกังวลลดลง
ประเมินผล
ผู้ป่วยบอกว่าไม่ค่อยกลัว/กังวลเท่าไหร่แล้ว
ผู้ป่วยสอบถามวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดภาวะนี้อีกครั้ง
กิจกรรมทางการพยาบาล
อธิบายถึงเหตุผลวิธีการรักษา และความจำเป็นที่ต้องประเมินอาการบ่อยๆ
ให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการตัดสินใจบางเรื่อง เช่น การดูแลตนเอง พยายามลดสิ่งที่กระตุ้นมากเกินไป เช่น หลีกเลี่ยงเครื่องมือที่มีเสียงดังที่จะไปรบกวนผู้ป่วย
ประเมิน/สอบถามความวิตกกังวลจากผู้ป่วย
กระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดแสดงความรู้สึกและรับฟังด้วยความตั้งใจ ยอมรับความรู้สึกของผู้ป่วยที่แสดงออกมา
อธิบายหรือเพิ่มความกระจ่างในเรื่องแนวทางการรักษาบางส่วนอาจจะได้รับจากแพทย์
สร้างความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายของภาวะหัวใจวาย เพื่อให้ผู้ป่วยปฎิบัติตัวได้เหมาะสมกับภาวะที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
1.ผู้ป่วยอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลว เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective data
4ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก
เจ็บบริเวณลิ้นปี่ แน่นหน้าอก
คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ
Objective data
INR 1.45 สูงกว่าปกติ(10.3-12.8seconds)
Troponin-T 1.505 ng/mL สูงกว่าปกติ(0-0.014ng/mL)
ปอดทั้งสองข้างมีเสียงcreapitation
BUN 42.6 mg/dL สูงกว่าปกติ(8.9-20.6mg/dL)
Creatinin 2.22 mg/dL สูงกว่าปกติ(0.73-1.18mg/dL)
Lactate(Lactic acid) 11.8 mmol/L สูงกว่าค่าปกติ(0.5-2.2mmol/L)
AST(SGOT) 643 U/L สูงกว่าค่าปกติ(5-34U/L)
ALT(SGPT) 686 U/L สูงกว่าค่าปกติ(0-55U/L)
ผลตรวจEchocardiography report พบลิ้นหัวใจTricuspid valve และMitral valve รั่วเล็กน้อย(Mild Regurgitation)
ค่าLVEF ต่ำกว่า50%
การตรวจEKG ผลคือ abnormol EKG มี Mild ST elevatation,Trachycardia(ผลตรวจวันที่14/1/64)
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีปริมาตรเลือดที่หัวใจส่งออกต่อนาที เพียงพอที่จะเลี้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
ผลการตรวจEKGและEcho ไม่มีการเต้นของหัวใจหรือคลื่นไฟฟ้าที่ผิดปกติ
มีสัญญาณชีพ ความดันโลหิต ชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ และoxygen saturationอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการตามแผนการรักษา
ปอดทั้งสองข้างไม่มีเสียงcreapitationหรือมีเสียงที่เบาลง
ไม่มีอาการที่แสดงถึงภาวะหัวใจล้มเหลว
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการอยู่ในเกณฑ์ปกติ หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
การประเมินผล
ฟังเสียงปอดทั้ง2ข้างของผู้ป่วยพบว่ามีเสียงcrepitationที่เบาลง
บันทึกค่าสัญญาณชีพได้อยู่ในเกณฑ์ตามแผนการรักษา
BT=37.1 องศาเซลเซียส
PR=97ครั้ง/นาที
RR=20ครั้ง/นาที
BP115/64 mmHg
O2=99%
ผลการตรวจEKGและEchoปกติ
ผู้ป่วยไม่มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจหอบเหนื่อย ไอ หรือมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการของผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ปกติหรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
AST(SGOT)ลดลงจาก643U/L(14/1/64) เหลือ384U/L(15/1/64)
ALT(SGPT)ลดลงจาก686U/L(14/1/64) เหลือ584U/L(15/1/64
BUN อยู่ในเกณฑ์ปกติ(8.9-20.6mg/dL) 19.5 mg/dL (17/1/64
Creatinine อยู่ในเกณฑ์ปกติ(0.73-1.18mg/dL) 1.09mg/dL 17/1/64
Lactate อยู่ในเกณฑ์ปกติ(0.5-2.2mmol/L) 2.1 mmol/L (13/1/64)
Tropoonin-T ลดลงจาก1.050 ng/mL(15/1/64) เหลือ 0.206 ng/dL(17/1/64)
INRลดลงจาก1.9 (14/1/64) เหลือ 1.45(15/1/64)
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะหัวใจล้มเหลวโดยสังเกตุจากอาการ เช่น แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ไอ เสมหะเป็นฟองสีชมพู
วัดและประเมินค่าสัญญาณชีพ ความดันโลหิต,ชีพจร
อัตราการเต้นของหัวใจ,oxygen saturation
ประเมินการหายใจ ค้นหาอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว
หายใจเร็วตื้น และสังเกตุอาการไอ
ฟังเสียงปอด ค้นหาเสียงที่ผิดปกติของปอดทั้งสองข้าง เช่น เสียงcreapitation เพื่อประเมินภาวะน้ำในปอด
ประเมินชีพจรแขนขาทั้งสองข้างเปรียบเทียบสังเกตุความแรง
ความสม่ำเสมอของชีพจร
ให้ยา(Caraten,,Furosemide,Anapril)ตามแผนการรักษาของแพทย์
ติดตามผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG(Electrocardiogram)
ติดตามผลตรวจทางห้องปฎิบัติการที่อาจมีกาเปลี่ยนแปลง เช่น ค่าINR,ค่าTroponin-T,ค่าBUN หากพบความผิดปกติรายงานแพทย์
จัดท่านอนให้ได้พักผ่อนบนเตียงอย่าสมบูรณ์(absolute bed rest)ในท่าที่สุขสบาย ส่งเสริมให้มีการพักผ่อนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
ติมตามผลการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสี่ยงความถี่สูง(Echocardiogram)
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออกในแต่ละวัน
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ และจัดระเบียบกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้รบกวนผู้ป่วยขณะพักผ่อน
สังเกตุอาการ Volume overload เช่น ชั่งน้ำหนักทุกวันในตอนเช้าโดยใช้เครื่องชั่งตัวเดิมทุกวัน
จำกัดกิจกรรมที่ลด workload เช่น แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย เพื่อป้องกันอาการท้องผูกที่อาจทำให้สูญเสียElectrolyteที่ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
ประเมินและสังเกตุกิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถทำได้โดยที่ผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบ หากกิจกรรมไหนที่ผู้ป่วยทำแล้วมีอาการหอบเหนื่อย แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้หัวใจทำงานยิ่งหนักขึ้น
4.ผู้ป่วยมีโอกาศเกิดภาวะน้ำเกิน เนื่องจากความบกพร่องในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจจากการมีภาวะหัวใจวาย
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data
มีภาวะหัวใจล้มเหลว
ปอดทั้งสองข้างบริเวณupper lobe,middle lobeและlower lobe มีเสียง creapitation
Lactate(Lactic acid) 11.8 mmol/L สูงกว่าค่าปกติ
Sodium 149 mmol/L สูงค่าปกติ
Co2 11.3 mmol/Lต่ำกว่าค่าปกติ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะElectrolyte imbalance
เกณฑ์การประเมินผล
ค่าNaอยู่ในเกณฑ์ปกติ(136-145mmol/L)หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
ค่าLactateอยู่ในเกณฑ์ปกติ(0.5-2.2 mmol/L)หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
ค่าCo2อยู่ในเกณฑ์ปกติ(22-29mmol/L)หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
การประเมินผล
ค่าNa อยู่ในเกณฑ์ปกติ 139 mmol/L
ค่าLactateอยู่ในเกณฑ์ปกติ 2.1 mmol/L
ค่าCo2 อยู่ในเกณฑ์ปกติ 26.3mmol/L
กิจกรรมทางการพยาบาล
ประเมินค่าสัญญาณชีพ ความดันโลหิต ค่าO2 saturationที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง
ประเมินการหายใจ ค้นหาอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว
หายใจเร็วตื้น และสังเกตุอาการไอ
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าและน้ำออก
สังเกตุอาการ Volume overload เช่น ชั่งน้ำหนักทุกวันในตอนเช้าโดยใช้เครื่องชั่งตัวเดิมทุกวัน
ฟังเสียงปอด ค้นหาเสียงที่ผิดปกติของปอดทั้งสองข้าง เช่น เสียงcreapitation เพื่อประเมินภาวะน้ำในปอด
จัดท่านอนให้ได้พักผ่อนบนเตียงอย่าสมบูรณ์(absolute bed rest)ในท่าที่สุขสบาย ส่งเสริมให้มีการพักผ่อนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบ และจัดระเบียบกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้รบกวนผู้ป่วยขณะพักผ่อน
ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์( ยาFurosemide เป็นยาขับปัสสาวะ เพื่อรักษาอาการบวมจากภาวะหัวใจบ้มเหลว)
ติดตามผลตรวจทางห้องปฎิบัติการที่อาจมีกาเปลี่ยนแปลง หากพบความผิดปกติรายงานแพทย์
3.ผู้ป่วยมีภาวะเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันอีกครั้ง
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data
มีภาวะหัวใจล้มเหลว
BUN 42.6 mg/dL สูงกว่าปกติ
Creatinin 2.22 mg/dL สูงกว่าปกติ
ALT(SGPT) 584 U/L สูงกว่าค่าปกติ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันกับผู้ป่วยอีกครั้ง
เกณฑ์การประเมิน
Hct อยู่ในเกณฑ์ปกติ 38.2-48.3% หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
BUNอยู่ในเกณฑ์ปกติ8.9-20.6mg/dL หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
Creatinineอยู่ในเกณฑ์ปกติ0.73-1.18mg/dL หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
ALT(SGPT)อยู่ในเกณฑ์ปกติ0-55 U/L หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
Hb อยู่ในเกณฑ์ปกติ 12.8-16.1 g/dL หรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
การประเมินผล
BUN อยู่ในเกณฑ์ปกติ(8.9-20.6mg/dL) 19.5 mg/dL (17/1/64)
Creatinine อยู่ในเกณฑ์ปกติ(0.73-1.18mg/dL) 1.09mg/dL 17/1/64)
ALT(SGPT)ลดลงจาก686U/L(14/1/64) เหลือ584U/L(15/1/64)
กิจกรรมทางการพยาบาล
บันทึกสารน้ำเข้า-ออก
ประเมินและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ รายงานแพทย์ถ้าพบความผิดปกติ
ติดตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ติดตามผลตรวจทางห้องปฎิบัติการที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ค่าBUN Creatinine หากพบความผิดปกติให้รายงานแพทย์
ฟังเสียงปอดและประเมินหัวใจทุก 8 ชั่วโมงเพื่อประเมินน้ำในปอด
ชั่งน้ำหนักตัวผู้ป่วยทุกวัน ในเวลาเดียวกันและเครื่องชั่งเดียวกัน
ให้ยาลดความดัน(Caraten)เพื่อลดความดันโลหิตตามแผนการรักษาของแพทย์
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ(Furosemide)ตามแผนการรักษา
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบและจัดกิจกรรมการพยาบาลไม่ให้รบกวนผู้ป่วยขณะพักผ่อน
2.มีโอกาศเกิดภาวะเลือดออกง่ายเนื่องจากระยะเวลาในการแข็งตัวของเลือดนานขึ้น
ข้อมูลสนับสนุน
Objective data
INR 1.9 สูงกว่าปกติ(0.88-1.11)
APTT 33.7 seconds สูงกว่าปกติ(22.4-30.6 seconds)
PT 16.6 seconds สูงผิดปกติ(10.3-12.8seconds)
วัตถุประสงค์
ป้องกันภาวะเลือดออกตามอวัยวะๆต่างที่สำคัญ
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ
ระดับAPTT,INR,PT อยู่ในเกณฑ์ปกติหรืออยู่ในช่วงที่แพทย์รับได้
ประเมินผล
ไม่มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ
ค่าINRลดลงจาก1.9(14/1/64) เหลือ1.14(17/1/64)
ค่าPTลดลงจาก16.6seconds(15/1/64) เหลือ13.2seconds(17/1/64)
ค่าAPTTอยู่ในเกณฑ์ปกติ 1.07(17/1/64)
กิจกรรมทางการพยาบาล
เฝ้าระวังอาการเลือดออกในอวัยวะที่สำคัญ
เฝ้าระวังEKG อย่างต่อเนื่องเฝ้าระวังคลื่นหัวใจที่หรือเต้นผิดจังหวะ
สังเกตปัสสาวะ อุจจาระ อาเจียน เลือดออกตามไรฟันเพื่อประเมิน internal bleeding
ติดตรมผลตรวจทางห้องปฎิบัติการที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง
ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
เฝ้าระวัง หรือจำกัดกิจกรรมที่อาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียเลือด
ประเมินและบันทึกค่าสัญญาณชีพ ค่าความดันโลหิต ค่าo2 saturationที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง
6.ผู้ป่วยมีความบกพร่องความรู้เกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ และขาดความตระหนักในการดูแลตนเอง
ข้อมูลสนับสนุน
Subjective data
ผู้ป่วยมีประวัติการใช้สารเสพติด และบอกว่าแค่ลองใช้สารเสพติดในบางครั้ง
ผู้ป่วยบอกว่าไม่รู้ว่าโรคที่เป็นเกิดจากอะไร และคิดว่าเป็นสาเหตุมาจากการกินเกลือแร่
วัตถุประสงค์:
ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเมื่อออกจากโรงพยาบาล
เกณฑ์การประเมินผล
:ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถอธิบาย เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เพื่อไม่ให้อาการเจ็บหน้าอก หรืออาการของโรค กําเริบและไม่กลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาล และเกิดการตระหนักในการดูแลตนเองมากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุ อาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจวายและภาวะแทรกซ้อนที่ผู้ป่วยเป็นอยู่
การให้คําแนะนําก่อนผู้ป่วยกลับบ้านโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีภาวะหัวใจวายอีกครั้ง เช่น งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่ เชื่อว่าสารนิโคติน ในบุหรี่จะกระตุ้นประสาทซิมพาเททิค ต่อมหมวกไตชั้น medulla ให้หลั่งแคทีโคลามีน มากขึ้น ทําให้หัวใจเต้นเร็ว และแรงขึ้น หลอดเลือดหดตัว หัวใจจึงต้องทํางานหนัก
ให้ผู้ป่วยมาตรวจตามแพทย์ที่แพทย์นัด เพื่อติดตามการรักษาและการดําเนินของโรค
แนะนำวิธีการปฎิบัติตัวให้กับผู้ป่วยเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผู้ป่วยสามารถทำได้หรือไม่สามารถทำได้ เช่น หากผู้ป่วยยกของหนักแล้วมีอาการหอบเหนื่อยหรือเจ็บหน้าอก ให้หยุดทำกิจกรรมนั้นทันทีเพราะอาจอาการของผู้ป่วยกำเริบและอาจกลับมาเป็นโรคนี้อีกครั้งได้
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์และรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
การประเมินผล
ผู้ป่วยมีความตระหนักถึงสาเหตุ และอาการแสดงของโรค
ผู้ป่วยไม่ทำพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการกำเริบของโรคอีกครั้ง
การตรวจร่างกายตามระบบ🔍
ระบบผิวหนัง🧍🏼 ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่มีภาวะบวม พบมีสะเก็ดแผลขนาดเล็กบริเวณหลังเท้า บริเวณลำตัวด้านหน้า ด้านหลัง แขนทั้งสองข้างและขาด้านขวามีรอยสัก
❗️ระบบหัวใจและระบบหลอดเลือด🫀 ระบบหลอดเลือดพบว่าผู้ป่วยมีปัญหาด้านการแข็งตัวของเลือด จากการดูผลตรวจทางห้องปฎิบัติการที่มีค่าPT,aPTT prolongที่ผิดปกติ ระบบหัวใจพบว่าผู้ป่วยมีภาวะAcute heart failure ที่อาจเกิดจากToxic alcohol(ภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ),alcohol induce(โรคจิตเวชจากการดื่มสุรา),myocarditis(โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ)
❗️ระบบทางเดินหายใจ👃🏼 หายใจเองได้ ไม่มีอาการหอบเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ฟังเสียงที่ปอดทั้งสองข้างพบว่ามีเสียง creapitation ทั้งสองข้าง
❗️ระบบทางเดินปัสสาวะ🚽 พบว่าผู้ป่วยมีภาวะไตวายเฉียบพลันและภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูง
ระบบย่อยอาหาร🦷 ผู้ป่วยไม่มีอาการท้องอืดหรือท้องเฟ้อ ขับถ่ายอุจจาระวันละ 2ครั้ง/วัน
ระบบประสาท🧠 ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่มีอาการสับสน ค่าN/Sได้E4V5M6 Motor power แขนและขาทั้งข้างได้5คะแนน
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก🦵🏼ผู้ป่วยสามารถเดินเองได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ Motor powerแขนและขาได้5คะแนนทั้งสองข้าง
Problem list📒
ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
ผู้ป่วยเสี่ยงเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันอีกครั้ง
ผู้ป่วยเสี่ยงเกิดภาวะน้ำท่วมปอดอีกครั้ง
มีภาวะLeukocytosis(ภาวะเม็ดเลือดขาวสูง)
ผลจากการตรวจ Echo พบว่าTricuspid valve และMitral valve รั่วเล็กน้อย(Mild Regurgitation)และมีค่า LVEF ต่ำกว่า50% คือได้48%
มีภาวะCoaguopathy(การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ)
ผลตรวจECG มีความผิดปกติคือ Mild ST-elevation (ST มีการยกตัวขึ้นเล็กน้อย)แสดงถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,Trachydia แสดงถึงภาวะหัวใจเต้นเร็ว
ยา💉
Anapril
ยารักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายเลือดคั่ง
อาการข้างเคียง ความดันโลหิตต่ำ มีผื่นขึ้นตามตัว ไอแห้งๆ การสร้างเม็ดเลือดผิดปกติ
ENALAPRIL 5 MG.TAB รับประทานครั้งละครึ่งเม็ด วันละ2ครั้งหลังอาหารเช้า เย็น
กลไกลการออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์เอซ (Angiotensin converting enzyme, ACE) จากปอดซึ่งเปลี่ยนสาร Angiotensin I เป็น Angiotensin II (สารออกฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิตในร่างกาย) เอ็นไซม์เอซนี้ทำหน้าที่สลายสารแบรดีไคนิน (Bradykin) ในเลือดด้วย การยับยั้งเอ็นไซม์เอซจึงทำให้
แบรดีไคนินในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งสารตัวนี้จะกระตุ้นให้เกิดการไอ
Caraten
CARVEDILOL 6.25 MG.TAB รับประทานครั้งละครึ่งเม็ด วันละ2ครั้งหลังอาหารเช้า เย็น
กลไกลการออกฤทธิ์ เป็นยาปิดตัวรับเบตารุ่นที่สามออกฤทธิ์ทั้งที่ β1, β2 และปิดตัวรับ α1 ด้วย ยายังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการแบ่งตัวของเซลล์ ในขนาดสูงยาสามารถปิดกั้นช่องแคลเซียมได้ด้วย ผลที่ได้คือหลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว ความดันเลือดลดลง หัวใจออกแรงน้อยลง เต้นช้าลง และมีเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้น ยาไม่มีผลกระทบต่อไต ไม่ได้ลดปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงไต และไม่มีผลต่อการขับโซเดียมของไต
อาการข้างเคียง ใจสั่น เหงื่อออก
ลมพิษ อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย
รักษาภาวะหัวใจล้มเหลวและลดความดันโลหิต
Furosemide
FUROSEMIDE 40 MG.TAB รับประทานครั้งละครึ่งเม็ด วันละ1ครั้งหลังอาหารเช้า
ยาขับปัสสาวะ รักษาภาวะบวมเนื่องจากโรคหัวใจล้มเหลว โรคตับหรือโรคไต
ใช้ร่วมกับยาลดความดันอื่นๆ เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง
อาการข้างเคียง ปัสสาวะหรืออจุจาระเป็นเลือด ท้องเสีย ปากแห้ง มีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ การได้ยินลดลง กระหายน้ำมากขึ้น หัวใจเต้นผิดปกติ
กลไกลการออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์ที่ thick ascending limb of Henle's loop โดยยับยั้งปั๊มที่ดูดโซเดียม โพแทสเซียม และคลอไรด์กลับเข้าหลอดเลือด ทำให้เกลือแร่เหล่านี้สูญออกไปทางปัสสาวะและดึงน้ำตามออกไปด้วย ขณะที่ปั๊มอีกด้านยังคงทำหน้าที่ขับโพแทสเซียมออกทิ้งได้ตามปกติ จึงทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมออกไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับน้ำปัสสาวะ นอกจากนั้นยายังออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือดดำของปอด (pulmonary venodilatation) ช่วยให้หลอดเลือดดำของปอดรับปริมาณเลือดหรือน้ำส่วนเกินได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการหอบเหนื่อยจากภาวะน้ำท่วมปอดในระหว่างที่ร่างกายกำลังเร่งขับน้ำทิ้งออกทางปัสสาวะ
ประวัติการใช้สารเสพติด
🚬
11เดือนที่แล้วเคยสูบบุหรี่ 1ซอง/วัน
11 เดือนที่แล้วเคยดื่มแอลกอฮอล์ประมาณ 1-2 แก้ว/อาทิตย์
เคยใช้สารเสพติด คือ ยาK(ketamine)และใบกระท่อม
การประเมินสภาพร่างกาย🩺
21/1/64 เวลา 10.00 น.
BT=37.1องศาเซลเซียส PR=96ครั้ง/นาที RR=20ครั้ง/นาที
BP=94/49 mmHg O2=99% MAP=79 น้ำหนัก51kg ส่วนสูง155cm BMI=21.23 kg/m^2(ปกติ (สุขภาพดี อยู่ในเกณฑ์ปกติ 18.50-22.90)
วันที่รับไว้ในความดูแลที่โรงพยาบาลตำรวจวันที่ 13/1/64
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ไม่พบประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
Heart failure/Acute coronary syndrome❤️
ชนิดและลักษณะอาการสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว
https://drive.google.com/file/d/150EryAdqTtcV5wv-i-R4bHMZLskhlrB4/view?usp=drivesdk
https://drive.google.com/file/d/1fmm-CsxMDP694ew8xxiN-KgxPoYP39Vz/view?usp=drivesdk
พยาธิสภาพของโรค
การทำหน้าที่ของหัวใจเพื่อทำให้มีปริมาณเลือดออกจากหัวใจใน 1 นาที
(Cardiac output:CO) เพียงพอความต้องการของร่างกายอาศัยปัจจัยสำคัญ
4 ประการดังนี้
1.ปริมาณเลือดในหัวใจห้องล่างก่อนบีบตัว(Preload)ที่เกิดจากการที่หัวใจห้องล่างคลายตัวเต็มที่เพื่อรับเลือด
2.แรงที่หัวใจห้องล่างซ้ายต้องเอาชนะแรงต้านหรือแรงดันในหลอดเลือดแดง(Afterload)เพื่อผลักเลือดออกจากหัวใจ
3.การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ(Myocardial contractility)หมายถึงความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
4.อัตราการเต้นของหัวใจ(Heart rate)มีความสัมพันธ์กับปริมาณเลือดที่หัวใจบีบตัวในแต่ละครั้ง(Stroke volum:SV)เพื่อให้มี co เพียงพอในภาวะที่SVลดลงอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็วขึ้นเพื่อให้มี co เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ในภาวะปกติในภาวะปกติหัวใจสามารถเพิ่ม co ได้มากถึงห้าเท่าของระยะครับแต่เมื่อใดก็ตามที่การทำหน้าที่ของหัวใจลดลงจนไม่สามารถชดเชยให้มี co เพียงพอกับความต้องการของร่างกายก็จะมีกลไกลการปรับตัวที่ทำหน้าที่ร่วมกันดังนี้
1.ระบบประสาทและฮอร์โมน ถูกกระตุ้น ประกอบด้วย
1.1 Sympathetic nervous system ระบบประสาทซิมพาเทติกจะทำงานมากขึ้นทำให้หลอดเลือดแดงหดตัว
เลือดดำไหลกลับหัวใจเพิ่มขึ้น หัวใจมีความแรงและเร็วในการบีบตัวมากขึ้นเพื่อเพิ่ม co
1.2 Renin-angiotensis-aldosterone system(RASS) ถูกกระตุ้นเมื่อมีการไหลเวียนเลือดไปไตลดลง
ทำให้มีการดูดกลับน้ำและโซเดียมทางไตมากขึ้นเพื่อให้มีปริมาณเลือดเข้าสู่หัวใจเพิ่มขึ้น
1.3 Antidiuretics hormone(ADH) เป็นฮอร์โมนที่เก็บอยู่ในต่อมใต้สมองส่วนหลังทำหน้าที่
เพิ่มการดูดกลับน้ำที่ท่อไตรวมและส่วนปลาย
2.การเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardial hypertrophy)เป็นกระบวนการปรัเฉยโดยเกิดการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของหัวใจ เพื่อให้ร่างกายมีCOเพียงพอ เมื่อมี Preload เพิ่มขึ้นหรือลดลง Afterloadเพิ่มขึ้นหรือContractillityลดลง หัวใจจะทำงานหนักกว่าปกติ จึงมีการประบให้มีขนาดของกล้ามเนื้อหัวใจใหญ่ขึ้น ในช่วงแรกจะยังสามารถทำให้หัวใจบีบตัวดีขึ้นก็ตามแต่ในระยะต่อมาจะทำให้ความสามารถในการยิดและหดของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง ร่างกายจะชดเฉยโดยการกระตุ้นระบบประสาทsympatheticให้มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นเพื่อเพิ่มCO การที่หัวใจที่เต้นเร็วขึ้นจะทำให้ระยะเวลาที่หัวใจห้องล่างคลายตัวเพื่อรับเลือดสั้นลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีปริมาณเลือดเข้าสู้หัวใจขณะคลายตัวลดลง ทำให้SVและCOลดลง เมื่อCOลดลงRASSจะถูกกระตุ้นร่วมกับมีการหลั่งADHมากขึ้น เพื่อให้ไตกักเก็บน้ำและNa ทำให้มีเลือดกลับสู่หัวใจมากขึ้น ซึ่งจะทำให้หัวใจไม่สามารถปรับชดเฉยได้สำเร็จเป็นผลทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ตรวจภาพรังสีปอด(chest X ray) ประเมินขนาดของหัวใจ และการคั่งของน้ำในปอด
การตรวจเลือด เพื่อวินิจฉัยและติดตามอาการ
การตรวจเลือดที่มีความจำเพราะ คือ B-type natriuretic peptide(BNP) ซึ่งสร้างและหลั่งมาจากหัวใจห้องล่าง ระดับBNPที่เพิ่มมากในพลาสมามีความสัมพันธ์กับการลดลงของLVEF เป็นการscreenig test ที่ดีในการตรวจจับภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โดยประเมินร่วมกับอาการเหนื่อยก่อนที่ส่งผู้ป่วยไปทำ Echocardiogram นอกจากนี้ยังมีการตรวจ Cardiac marker ได้แก้ Troponin T และ Troponin I ซึ่งจะมีค่าสูงเมื่อมีอาการกำเริบของหัวใจ
การตรวจคลื่นสะท้อนความถี่สูง
(Echocardiogram) เพื่อประเมินความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ขนาด ความหนา การเคลื่อนไหวของผนังกล้ามเนื้อหัวใจและการทำงานของลิ้นหัวใจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้า(Electrocardigram) กรณีที่หัวใจห้องบนขยาย P wave จะผิดปกติปกติทั้งความสูงและรูปร่าง คือ สูงและกว้างเกิน 2.5 ช่องเล็ก มีคลื่น2ช่วง มีP waveตุ่ม กรณีหัวใจห้องล่างขยายอาจพบ R wave สูงมาก WRS กว้าง T waveหลับหัวและ ST segment ลดลง
การประเมินระดับความดันในหัวใจห้องบนซ้าย Pulmonary capillary wedge pressure:PCWO) ในภาวะที่หัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลวค่านี้จะสูงกว่าปกติ(ค่าปกติ 8-12 mmHg)
สาเหตุ
เกิดจากหลอดเลือดแดงโคโรนารีตีบ จนทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและกล้ามเนื้อหัวใจตาย มีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ มีความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ มีการติดเชื้อที่กล้ามเนื้อหัวใจ มีความดันเลือดสูง ลิ้นหัวใจเออร์ติกหรือพัลโมนิกตีบ โรคปอด ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างหนาตัวขึ้น ลิ้นหัวใจไมตรัลหรือไตคลัสปิดหรือเออร์ติกรั่ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดมากเกินไป ภาวะไตวาย ภาวะเลือดจาง มีการติดเชื้อ ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ มีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไตส่วนเมดัลลา การตั้งครรภ์ ขาดวิตามินบี1
การรักษา
รักษาด้วยยา
•ให้กลุ่มยาดิจิทาลิส เช่น Digoxin,Verapamil,Amiodaroneยาประเภทนี้ทั้งหมดมีผลโดยตรงต่อหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหดตัวแรงขึ้น ซึ่งเป็นผลให้หัวใจสามารถผลักดันเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น
•ให้ยาขับปัสสาวะ เช่น Furosemide,Dopamine
•ให้ยาขยายหลอดเลือดดำ เช่น Nitroglycerin
•ให้ยาขยายหลอดเลือดแดงฝอย เช่น Hydralazine
•ให้ยาเพื่อยับยั้งการทำงานของ Angiotensin-converting enzymes เช่น Enalapril
การรักษอื่นๆ เช่น
•จำกัดน้ำให้ไม่เกิน 1000 ml/day
•รับประทานอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง
•จัดให้ผู้ป่วยอยู่ท่าศรีษะสูง(High Fowler's position)หรือนั่งบนเก้าอี้ห้อยขนลงมา ห้ามยกเท้าสูงเนื่องจากจะทำให้เลือดกลับไปสู่หัวใจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
•บางรายอ่จรักษาโดยการผ่าตัด เข่น การผ่าตัดศ่อมแซมหรือเปลี่ยนผนังหัวใจห้องล่างที่โป่งพอง
การวินิจฉัยโรค
มีประวัติหอบเหนื่อย มีประวัติการเจ็บป่วยที่ชักนำทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ความดันเลือดสูง การติดเชื้อในปอดเป็นต้น การตรวจร่างกายพบหัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดต่ำ ชีพจรเบา ความดันในเลือดฝอยปอด(PCWP)สูงกว่าค่าปกติ(ปกติ8-12 mmHg) ความดันเลือดส่วนกลางสูงกว่าปกติ(ปกติ8-12เซนติเมตรน้ำ) หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง ระดับความรู้สึกตัวลดลง สับสน มึนงง หมดสติ มีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้ หายใจลำบากในตอนกลางคืน ไอแห้งๆมีเสียงwheezing ฟังเสียงปอดพบเสียง creapitation ปัสสาวะออกน้อยมีภาวะบวม เหนื่อยไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้ อาจพบยูเรียในโตรเจนและcreatininสูงขึ้น Potassiumสูงขึ้น ตรวจคลื่นไฟฟ้าพบว่ามีค่า CVP,PCWPมีระดับสูงกว่าค่าปกติ
ภาวะแทรกซ้อน
1.pulmonary edema ภาวะน้ำท่วมปอด
2.Pleural effusion มีน้ำมนช่องเยื่อหุ้มปอด
3.Arrhythmia ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
4.Hepatomegaly ตับโต
5.Multisystem Faliure ภาวะหัวใจล้มเหลวมีผลกับทุกอวัยวะของร่างกาย เช่น ภาวะไตวาย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
-สูบบุหรี่
-ภาวะอ้วน
-ความเครียด
-พันธุกรรม
-อาหารเค็ม
-โรคลิ้นหัวใจ
คำนิยาม
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute coronary syndrome, ACS) หมายถึง กลุ่มอาการโรคหัวใจขาด เลือดที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน ประกอบด้วยอาการที่สําคัญคือ เจ็บหน้าอกรุนแรงเฉียบพลัน หรือเจ็บหน้าอกขณะพัก นานกว่า 20 นาที หรืออาการเจ็บหน้าอกซึ่งเกิดขึ้นใหม่ หรือรุนแรงขึ้นกว่าเดิม
Acute kidney disease🤧
สาเหตุ
1.Prerenal AKI เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด ทำให้ปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงไตลดลง โดยที่ยังไม่เกิดพยาธิสภาพที่ไต การทำงานของglomerulusและtubleยังปกติ ถ้าแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงได้อย่างทันท่วงทีจะทำให้ไตกลับมาทำหน้าที่ได้ดังเดิม สาเหตุPrerenal AKI ได้แก่
-การสูญเสียน้ำ(hypovolemia) ทางไต เช่น ได้รับยาขับปัสสาวะ
ทางเดินอาหาร เช่น ท้องร่วง อาเจียน
มางผิวหนัง เช่น แผลไฟไหม้
-การสูญเสียเลือด(hemorrhage) เช่น การบาดเจ็บ การผ่าตัด
-ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้ cardio output ลดลง เช่น
ภาวะหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจตาย
2.Internal AKI เป็นสาเหตุของไตวายเฉียบพลันที่เกิดจากพยาธิสภาพของไตเอง ทำให้เนื้อไตและหน่อยกรองของไตถูกทำลาย ส่งผลให้อัตราการกรองของไตลดลง
สาเหตุ Interenal AKI ได้แก่
-โรคเนื้อเยื่อไตอักเสบเฉียบพลัน(Acute interstitial nephritis) โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อจากโรคauto immune เช่น โรคลูปัส
-โรคหลอดฝอยในไตอักเสบ(glomerulonephritis) กลไกลที่เกิดโรคส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติในระบบภูมิต้านทาน ทำให้เกิดการอักเสบที่เนื้อไต
-โรคที่มีการตายของเซลล์tubuleของไต(Acute tubular necrosis) เกิดขึ้นโดยอาจเป็นผลตามมาจากการเกิดPerenal AKI จากการที่มีเลือดไปเลี้ยงที่ไตลดลงแล้วแก้ไขไม่ทัน ทำให้tubularขาดเลือดไปเลี้ยงเซลล์ถูกทำลาย
-ความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไต(renal vascular disease) เช่น หลอดเลือดแดงไตตีบ(renal artery stenosis)
3.Postrenal AKI เกิดจากการอุดกลั้นทางเดินปัสสาวะในส่วนที่ต่ำกว่าไตลงมาคือ ท่อไต กระเพราะปัสสาวะและท่อปัสสาวะเป็นสาเหตุให้ปัสสาวะจากไตไหลลงมาได้ไม่สะดวกเกิดการคลั่งของปัสสาวะและการขยายตัวของทางเดินปัสสาวะ
การวินิจฉัยโรค
ระดับของค่า BUN,Creatinine และค่า eGFR จะสูงขึ้นกว่าปกติ
ผู้ป่วยมีภาวะ oliguria(ปัสสาวะออกน้อย)
มีประวัติการขาดน้ำ เสียเลือด
ตรวจปัสสาวะพบว่าปัสสวาะมีความเข้มข้นสูง ระดับของโซเดียมในปัสสาวะต่ำ ค่าความถ่วงจำเพาะและosmolarity ของปะสสาวะสูง
การตรวจพิเศษ เช่น การทำ renal ultrasonography,CT sacnหรือ MRI
มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง มีอาการบวมที่ขาและที่เท้า
อาการ
ปัสสาวะลดลงหรือไม่ปัสสาวะเลย
มีอาการบวมที่ร่างกายบริเวณส่วนปลายคือ ส่วนที่เท้าและขา
สับสน ซึมลง
หัวใจเต้นผิดปกติ
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เวียนศรีษะ
หลักการรักษาและการดูแล
แก้ไขความไม่สมดุลของสารน้ำและElectrolyte
ดูแลโดยการบันทึกสารน้ำเข้า-น้ำออก,ชั่งน้ำหนักทุกเช้าโดยชั่งด้วยเครื่องชั่งตัวเดิมและเวลาเท่าเดิม,ติดตามผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
รักษาภาวะการติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนที่พบ
ดูแลโดยให้ยาAntibioticตามแผนการรักษาของแพทย์
ควบคุมภาวะโภชนาการ ดูแลโดยให้คำแนะนำให้ผู้ป่วยเลือกอาหารที่มีPotassiumต่ำ เช่น แอปเปิ้ล องุ่น
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะน้ำท่วมปอด ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถส่งผลให้เกิดของเหลวส่วนเกินภายในร่างกายล้นไปในช่องเยื่อหุ้มปอดจนกลายเป็นภาะน้ำท่วมปอด
เจ็บหน้าอก เมื่อร่างกายไม่สามารถขับของเสียออกจากร่างกายได้ ของเสียจะคั่งอยู่ในกระแสเลือด หากของเสียเหล่านั้นเข้าสู่หัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจนทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอกได้
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ภาวะไตวายจะทำลายสมดุลของสารต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะโพแทสเซียมที่ตกค้างเพราะร่างกายไม่สามารถขับออกไปจากร่างกายได้ หากร่างกายมีโพแทสเซียมสะสมในเลือดมากเกินไป อาจกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อทุกส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ และส่งผลให้หัวใจหยุดเต้นได้
ไตถูกทำลายอย่างถาวร ในภาวะไตวายเฉียบพลัน ไตอาจยังไม่ถูกทำลาย แต่ถ้าได้รับการรักษาที่ล่าช้าก็จะทำให้ไตถูกท้าลายอย่างถาวรและกลายเป็นไตวายเรื้อรังได้
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ค่า BUN ที่สูงกว่าค่าปกติ(8.9-20.6mg/dL)
ค่าCreatinineที่สูงกว่าปกติ(0.73-1.18mg/dL)
ค่าALT(SPGT)ที่สูงกว่าปกติ(0-55U/L)
ค่าPotassiumที่สูงกว่าปกติ(3.5-5.1mmol/L)
ค่าCO2ต่ำกว่าค่าปกติ(22-29mmol/L)
ค่าeGFRลดลง
ตรวจพิเศษ
การตรวจ ultrasound CT scan
Pulmonary edema🫁
สาเหตุ
โดยทั่วไปน้ำท่วมปอดจะมีสาเหตุมาจากภาวะหัวใจล้มเหลว หรืออาจเกิดจากหัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถสูบฉีดเลือดที่มาจากปอดไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ตามปกติ ซึ่งภาวะดังกล่าวทำให้เกิดแรงดันเพิ่มขึ้นและย้อนกลับไปที่ปอด นอกจากนั้น ภาวะหลอดเลือดแดงตีบ กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม ลิ้นหัวใจผิดปกติ และความดันโลหิตสูง ก็สามารถทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายทำงานบกพร่องได้
การวินิจฉัยโรค
วินิจฉัยจากอาการหรืออาการแสดง เช่น มีอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ไอมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู หัวใจเต้นเร็ว
การตรวจระดับออกซิเจนในเลือด
การตรวจX-rayปอด
การตรวจEchocardiogram
การตรวจคลื่นไฟฟ้าเพื่อตรวจหาความผิดปกติของจังหวะการเต้นของหัวใจหรือหาสัญญาณของภาวะหัวใจขาดเลือด
ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ค่าNaสูงกว่าปกติ(136-145mmol/L)
ค่าCO2ต่ำกว่าปกติ(22-29mmol/L)
การรักษาและการดูแล
การรักษาภาวะน้ำท่วมปอดจะขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ในเบื้องต้นหากผู้ป่วยมีปัญหาในการหายใจและมีระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำ แพทย์อาจให้ออกซิเจน ซึ่งแพทย์จะเฝ้าดูอาการและรักษาระดับออกซิเจนในร่างกายของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และหากน้ำท่วมปอดจากสาเหตุอื่น ๆ แพทย์ก็จะรักษาภาวะดังกล่าวและรักษาน้ำท่วมปอดไปพร้อมกัน
ดูแลโดยประเมินค่าสัญญาณชีพ ความดันโลหิต และค่าO2 ที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง
ยาที่ใช้รักษาภาวะน้ำท่วมปอด
กลุ่มยาลดแรงดันที่เกิดจากของเหลวเข้าไปในหัวใจและปอด เช่น ยาไนโตรกลีเซอริน และยาขับปัสสาวะฟูโรซีไมด์
กลุ่มยาขยายหลอดเลือดและลดความดันในหัวใจห้องล่างซ้าย เช่น ยาไนโตรปรัสไซด์ เป็นต้น
มอร์ฟีน ซึ่งอาจนำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มและหรือในผู้ป่วยที่มีอาการวิตกกังวล
ยารักษาความดันโลหิต แพทย์อาจให้ใช้ยาลดความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงจากน้ำท่วมปอด หรือให้ยาเพื่อเพิ่มความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ
อาการและอาการแสดง
หายใจไม่อิ่มขณะทำกิจกรรมต่างๆ
หายใจลำบากหรือหายใจลำบากเมื่อนอนราย
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากภาวะหัวใจวาย
อ่อนเพลีย หรือมีอาการบวมที่บริเวณส่วนปลายของร่างกาย ส่วนมากจะบวมที่ขาและเท้า
ไอพร้อมกับมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู
เปรียบเทียบทฤษฎีกับข้อมูลของผู้ป่วย📚
สาเหตุ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
อาจจะเกิดจากที่ผู้ป่วยได้รับสารเสพติดเข้าไปในร่างกายเกินขนาด มีผลต่อระบบประสาทsympathetic ให้หลั่งnorepinephrienออกมากระตุ้น
หลอดเลือดมีผลทำให้หลอดเลือดตีบ/หดตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้น้อยลง อาจทำให้เนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสียหาย เมื่อขาดเลือดและออกซิเจนนานเข้าก็เกิดความเสียหายทำให้กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายจะหยุดทำงานทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะหัวใจวายได้
อาจจะเกิดการที่ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสบางตัวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเกิดการล้มเหลวทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เมื่อขาดเลือดนานๆก็จะทำให้เกิดความเสียหายกับกล้ามเนื้อหัวใจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน และเกิดภาวะหัวใจวายในที่สุด
ภาวะน้ำท่วมปอด
เกิดจากที่ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจข้างซ้ายล้มเหลว ซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวลดลง ทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลงส่งผลให้เลือดคั่งค้างในหัวใจห้องล่างซ้ายมากขึ้น ความดันเลือดห้องล่างซ้ายจึงสูงขึ้น ดังนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจึงบีบเลือดส่งมายังหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง ปริมาตรเลือดและความดันจากหัวใจห้องบนซ้ายจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ เลือดที่ปอดฟอกแล้วก็จะไหลเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายได้น้อยลง เป็นผลทำให้ความดันเลือดในหลอดเลือดฝอยสูงขึ้น เมื่อแรงดันในของเหลวในหลอดเลือดฝอยที่ปอดสูงขึ้นทำให้ของเหลวออกจากหลอดเลือดฝอยที่ปอดเข้าสู่ถุงลมทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำท่วมปอด
ไตวายเฉียบพลัน
สาเหตุที่เกิดก่อนไต(pre-renal failure)เกิดจากการที่หัวใจวาย ทำให้มีการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ หัวใจห้องล่างซ้ายไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงที่ไตได้ ทำให้ลดอัตราการกรองของไตหรือเกิดการอุดตันในท่อไตจากเซลล์ทำให้ความดันในท่อไตเพิ่มมากขึ้น เป็นผลทำให้ไตถูกทำลาย เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ภาวะหัวใจวาย
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ
ค่า Tropoonin T สูงผิดปกติ(0-0.014) ได้0.206ng/mL
การตรวจพิเศษ
ผลการตรวจEcho พบว่ามีค่า LVEF ที่ต่ำกว่าปกติ(50%) ได้48% แสดงถึงประสิทธิภาพการ่ำงานของหัวใจสุบฉีดเลี้ยงไปเลี้ยงทั่วร่างกายลดลง
และลิ้นหัวใจTricuspid valveและMitral valve มีการรั่วเล็กน้อย(mild regigurtation)
การตรวจEKG ผลคือ abnormol EKG มี Mild ST elevatation,Trachycardia(ผลตรวจวันที่14/1/64)
ภาวะไตวายเฉียบพลัน
ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
BUN 42.6 mg/dL สูงกว่าปกติ
Creatinine 2.22 mg/dL สูงกว่าปกติ
ALT(SPGT) 584 U/L สูงกว่าปกติ
ภาวะน้ำท่วมปอด
ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
Na 149mmol/L สูงกว่าปกติ
Co2 11.3mmol/L ต่ำกว่าปกติ
Lactate 11.8 mmol/L สูงกว่าค่าปกติ
การวินิจฉัยโรค
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ซักประวัติ อาการสำคัญ 4ชั่งโมงก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น
ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ แน่นหน้าแลอก หายใจลำบาก เหนื่อยหอบนอนราบไม่ได้ ฟังเสียงปอดทั้งสองข้างพบเสียง creapitation
ผลตรวจEchocardiography report พบลิ้นหัวใจTricuspid valve และMitral valve รั่วเล็กน้อย(Mild Regurgitation)
และมีค่า LVEF 48% ที่ต่ำกว่าค่าปกติ50%
การตรวจEKG ผลคือ abnormol EKG มี Mild ST elevatation,Trachycardia(ผลตรวจวันที่14/1/64)
ภาวะน้ำท่วมปอด
มีภาวะหัวใจล้มเหลว
มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ฟังเสียงปอดทั้งสองข้างที่ Upper lobe และMiddle lobe พบว่ามีเสียง crepitation ทั้ง 2 lobe
ภาวะไตวายเฉียบพลัน
มีภาวะหัวใจล้มเหลวและมีภาวะน้ำท่วมปอด
10 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ หัวใจเต้นผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
ภาวะหัวใจวาย
มีอาการแสดงถึงหัวใจซีกซ้ายล้มเหลว มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ไม่วามารถนอนราบได้ จุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ
ภาวะไตวายเฉียบพลัน
มีอาการแสดงที่เป็นผลมาจากมีภาวะหัวใจวาย คลื่นไส้ อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นเณ้ว
ภาวะน้ำท่วมปอด
มีอาการแสดงที่เป็นผลมาจากมีภาวะหัวใจวาย หายใจลำบาก ไม่สามารถนอนรายได้
สารเสพติด
ระบบประสาทSympathetic
หลั่งสารnorepinephrien
กระตุ้นหลอดเลือด
หลอดเลือดหดตัว/บีบตัว
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและO2
กล้ามเนื้อหัวใจเกิดความเสียหาย
กล้ามเนื้อหัวใจตาย/ทำงานได้น้อยลง
หัวใจวาย❌🫀