Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ความหมายเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ภาวะที่เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการจากการที่สมองของเด็กหยุดพัฒนาหรือมีการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์
ความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสติปัญญาและการปรับตัว ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของพัฒนาการด้านต่าง ๆ
ร่างกาย อารมณ์ สังคม ภาษา สติปัญญา ซึ่งมีผลต่อการพึ่งตนเองในชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน และการมีส่วนร่วมสังคมของเด็กมีความบกพร่อง
ลักษณะอาการและอาการแสดงเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ความบกพร่องทางสติปัญญา (deficits in intellectual function)
การให้เหตุผล การแก้ปัญหา การวางแผน ความคิดนามธรรม การตัดสินใจ การเรียนรู้ในโรงเรียนหรือการเรียนรู้จากประสบการณ์
ตรวจพบได้ด้วยการประเมินทางคลีนิกและการทดสอบระดับสติปัญญา
ความบกพร่องของการปรับตัว (deficits in adaptive function)
ส่งผลให้บุคคลมีพัฒนาการที่ไม่หมาะสม ไม่สามารถพึ่งพาตนเองและรับผิดชอบต่อสังคมได้
ทำให้มีความจำกัดในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น การสื่อสาร การส่วนร่วมในสังคม และการพึ่งตนเองในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น บ้าน โรงเรียน และชุมชน ซึ่งตรวจพบได้ด้วยการประเมินทางคลีนิกและการทำหน้าที่ในการปรับตัว
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัว
มีพัฒนาการล่าซ้ำ
พัฒนาการที่ล่าช้ากว่าเกณฑ์ในทุกด้าน
ความบกพร่องด้านเชาว์ปัญญา
ระดับเล็กน้อยจะไม่พบอาการหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติจนกว่าจะถึงวัยเรียน
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลางจะพบพัฒนาการล่าช้าเมื่ออายุ 3-5 ปี
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงสามารถเห็นความผิดปกติได้ตั้งแต่ในขวบปีแรก
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาระดับรุนแรงมากสังเกตพบความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเกิด
มีปัญหาด้านพฤติกรรม
พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ และพฤติกรรมก้าวร้าว
ลักษณะผิดปกติของรูปร่างอวัยวะต่าง ๆ
ดาวน์ซินโดรม มีศีรษะขนาดเล็ก ตั้งจมูกแบน ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะผิดปกติที่ปรากฏให้เห็นได้
ระดับความรุนแรง
บกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (mild intellectual disability)
ระดับ IQ 50-69 ความช่วยเหลือเป็นครั้งคราว พบร้อยละ 80
บกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อยในเด็กวัยก่อนเรียนอาจจะไม่เห็นความผิดปกติที่ชัดเจน มักได้รับการวินิจฉัยเมื่อเด็กเข้าสู่วัยเรียนแล้ว
ด้านความคิด
มีความยากลำบากในการเรียนรู้ทักษะเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน การคิดคำนวณและความบกพร่องของความคิดเชิงนามธรรม
ด้านสังคม
มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ด้านทางสังคมกับบุคลอื่น
ขาดความสามารถในการตัดสินใจจึงเสี่ยงต่อการถูกล่อลวง
ด้านการปฏิบัติ
ต้องการความช่วยหลือในการทำกิจกรรมที่มีความซับซ้อน
บกพร่องทางสติปัญญาปานกลาง (moderate intellectual disability)
ระดับ IQ 35-49 ต้องการความช่วยเหลือปานกลาง พบร้อยละ 12
ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยก่อนเรียนซึ่งจะพบว่าเด็กมีการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ล่าช้ากว่าวัยเดียวกัน
ด้านความคิด
ทักษะการสื่อสารการพูด การอ่าน การเขียน ทักษะความคิดการคำนวณ การเข้าใจเวลา และการเงินมีข้อจำกัด
ต้องการความช่วยเหลือในการทำงานในชีวิตส่วนตัวและการดำเนินชีวิต
ด้านสังคม
จะรับรู้ระเบียบทางสังคมได้ไม่ถูกต้อง
มีข้อจำกัดในการตัดสินใจทางสังคม และการสื่อสาร ซึ่งมีผลต่อการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
ด้านการปฏิบัติ
สามารถดูแลตนเองในการรับประทานอาหาร แต่งกาย ขับถ่ายสุขอนามัย และการทำงานบ้าน โดยต้องใช้เวลาในการฝึกมากกว่าเด็กที่มีพัฒนาการปกติ
สามารถฝึกอาชีพการทำงานที่ไม่ต้องอาศัยทักษะได้ แต่ต้องอาศัยการช่วยเหลือจากผู้อื่นและต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
บกพร่องทางสติปัญญารุนแรง (severe intellectual disability)
ระดับ IQ 20-34 ต้องการความช่วยเหลือมาก พบร้อยละ 3-4
ความผิดปกติของพัฒนาการพบได้ตั้งแต่ขวบปีแรก
ด้านความคิด
มีข้อจำกัด ด้านการคิด การใช้ภาษา ต้องช่วยเหลือในการแก้ปัญหา
ตลอดชีวิต
ด้านสังคม
มีข้อจำกัดใการพูด อาจพูดได้เป็นคำ ๆ หรือวลี จะมีสัมพันธภาพกับสมาชิก
ในครอบครัวและผู้คุ้นเคย
ด้านการปฏิบัติ
ต้องการความช่วยเหลือทุกอย่างในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร แต่งตัว อาบน้ำ ขับถ่าย การทำงาน การเล่น ต้องใช้เวลาอย่างต่อเนื่องในการฝึกและช่วยเหลือบางรายพบพฤติกรรมที่เป็นปัญหาร่วมด้วย
บกพร่องทางสติปัญญารุนแรงมาก (profound intellectual disability)
ระดับ IQ < 20 ต้องการความช่วยหลือตลอดวลา พบร้อยละ 1:2
จะพบความบกพร่องทางสติปัญญาตั้งแต่แรกเกิด อาจมีความพิการทางหน้าตาและร่างกายร่วมด้วย
ด้นความคิด และด้านสังคม
มีข้อจำกัดในการเข้าใจสัญลักษณ์ของการสื่อสารด้วยคำพูด หรือท่าทาง
อาจเข้าใจคำหรือท่าทางง่าย ๆ
แสดงความต้องการหรืออารมณ์โดยไม่ใช้ภาษาหรืสัญลักษณ์
สัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกครอบครัวและผู้ดูแลที่คุ้นเคย
มีควาบกพร่องทางร่างกาย และการรับความรู้สึกทำให้ไม่สามารถมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกับคนอื่นได้
ด้านการปฏิบัติ
ต้องพึ่พาผู้อื่นในทุกด้านของการทำกิจวัตรประจำวัน
การดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย ต้องอาศัยการฝึกอย่างมากในการช่วยเหลือตนเอง
สาเหตุของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ปัจจัยทางพันธุกรรม
ความผิดพลาดของการรวมตัวของยีน (genes combine) หรือความผิดปกติเกิดขึ้นที่โครโมโชม
ดาวน์ซินโดรม (down syndrome)
มีความผิดปกติของโครโมโชมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
เด็กจะมีศีรษะเล็กกลม ตั้งจมูกแบน ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ใบหูต่ำกว่าปกติ ริมฝีปากโค้งขึ้น มีลิ้นใหญ่จุกปาก ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะมีหน้าตาคล้าย ๆ กัน
กลุ่มอาการฟลาจิลเอกซ์ (flaggy X syndrome)
มีความผิดปกติของโครโมโชม X ขาดหายไป
เฟนิลคีโตนยูเรีย (phenylketonuria)
โรคที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนสารอาหาร
เฟนิลอลานีน (phenylalanine) ให้เป็นไทโรซีน (tyrosine) ทำให้มีการสะสมเฟนิลอลานินมากกว่าปกติส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง
ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์
มารดามีการใช้แอลกอฮอล์ยาหรือสารเคมีอื่น ๆ
การสูบบุหรี่จะทำให้เพิ่มโอกสการเกิดภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น
การขาดอาหาร สภาพแวดล้อมที่มีสารพิษ และการเจ็บป่วยของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมัน ซิฟิลิส และเอดส์
ระยะคลอด
การคลอดก่อนกำหนด เด็กทารกจะมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กระบวนการคลอดนานผิดปกติ สมองได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
ทารกมีการขาดออกซิเจนชั่วคราว
ระยะหลังคลอด
กโรคที่เกิดในวัยเด็ก เช่น โรคไอกรน โรคอีสุกอีใส โรคหัด อาจนำไปสภาวะเยื่อทหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) และสมองอักเสบ (encephalitis)
ปัจจัยทางจิตสังคม
เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความยากจน
ครอบครัวแตกแยกและผู้เลี้ยงดูมีความผิดปกติทางจิต
ซึมเศร้า หรือติดสารเสพติด
การบำบัดรักษาเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การรักษาโรคทางกาย
อาการชัก หัวใจพิการแต่กำเนิด หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนที่พบในกลุ่มอาการดาวน์
กายภาพบำบัด
ส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
ปรับและควบคุมความตึงตัวกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติ
การใช้เครื่องช่วยและอุปกรณ์พิเศษทางกายภาพบำบัด
กระตุ้นให้เกิดการเรียนรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงตัวอยู่ได้
การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้
จะเน้นการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กและฝึกทักษะที่จำเป็นต่าง ๆ
กิจกรรมบำบัด
การส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กเพื่อใช้ในการหยิบจับสิ่งของ
ฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อให้สามารถทำงานสัมพันธ์กันระหว่างตาและมือ
ส่งเสริมความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน
การดื่มน้ำจากแก้ว
การใช้ซ้อนตักอาหาร
การแปรงฟัน
อรรถบำบัด
ส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสาร
การฝึกพูดต้องกระทำในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี
การบริหารลิ้น การบริหารริมฝีปาก
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
การจัดการศึกษาพิเศษ
การพื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ
การรับส่งเอกสาร การถ่ายเอกสาร การทำงานบ้าน
การให้คำแนะนำครอบครัว
ให้ข้อมูลในเรื่อง สาเหตุ แนวทางการรักษา และการพยากรณ์โรค
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การประเมินสภาพ (assessment)
การรวบรวมข้อมูลเพื่อประเมินปัญหาความผิดปกติ
อาศัยทักษะการปฏิสัมพันธ์กับเด็ก บิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดู และครูร่วมกับการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก และการตรวจต่าง ๆ
การประเมินให้ครอบคลุมทั้งกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ
การประเมินพัฒนาการ (developmental assessment)
การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญาการใช้ภาษา การเข้าใจภาษา และการช่วยเหลือตนเองและสังคม
การซักถามพ่อ แม่ หรือผู้ใกล้ชิด
สังเกตจากพฤติกรรมการเล่นของเด็ก เช่น การเล่นคนเดียว การเล่นกับคนอื่น ลักษณะการเล่น การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ การใช้ภาษา และการเข้าใจภาษา
ใช้แบบคัดกรองพัฒนาการ
แบบคัดกรองพัฒนาการอนามัย 55 (พัฒนาการเด็กปฐมวัย)
คู่มือคัดกรองและส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ
การซักประวัติ
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาการสำคัญ
อายุของมารดา ภาวะสุขภาพของมารดา การดื่มสุรา การใช้สารเสพติด และการได้รับยาอื่น ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ อายุครรภ์ การคลอด ภาวะสุขภาพเด็กแรกเกิด ประวัติการกิน การนอนหลับ การเจริญเติบโต และการได้รับยาในขวบปีแรก
พัฒนาการของกล้ามเนื้อ ด้านสังคม ด้านการใช้ภาษา พฤติกรรมการแยกตัว ความสนใจ ภาวะอารมณ์ และการได้รับวัคซีน
การประเมินด้านร่างกาย (physical assessment)
การตรวจร่างกาย
ผลการตรวจอื่น ๆ
การตรวจสภาพจิต
การตรวจลักษณะทั่วไป สีหน้าท่าทาง การแสดงออก การรับรู้สภาพแวดล้อม กรพูดและการใช้ภาษา อารมณ์ ความคิด และการรับรู้ต่อตนเอง ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การเคลื่อนไหว สติปัญญา ความจำ สมาธิ ภาพลักษณ์ การตัดสินใจและกาปัญหา ความสนใจ
การประเมินด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ
สัมพันธภาพในครอบครัว
ลักษณะนิสัยและบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวแต่ละคน
รูปแบบการติดต่อสื่อสารของบุคคลในครอบครัว
รูปแบบการเลี้ยงดู
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
ตัวอย่างการเขียนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สามารถสื่อสารบอกความต้องการของตนเองได้เนื่องจากพัฒนาการด้านการใช้ภาษาล่าช้า
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากอยู่ไม่นิ่งและการทรงตัวไม่ดี กล้ามเนื้ออ่อนแรง
มีความกพร่องในการช่วยเหลือตนเองที่เหมาะสมตามวัยเนื่องจากพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กล่าช้า
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
กิจกรรมการพยาบาลต่อตัวเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การส่งเสริมพัฒนาการตามความสามารถของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ประเมินพัฒนาการเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
การจัดโปรแกรมการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสำหรับเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาในแต่ละราย
กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
การพิจารณาเรื่องที่สอน ไม่ให้มีความง่ายหรือยากจนเกินไป
วิธีการสอน
คำสั่งที่ใช้ในการสอนในเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
กรณีหลังออกคำสั่ง เด็กไม่สามารถทำตามคำสั่ง
เมื่อเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา สามารถทำตามคำสั่งได้ไม่ว่าจะทำเองหรือได้รับการช่วยเหลือก็ตาม
เมื่อเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญากระทำสิ่งนั้นไม่ถูกต้องตามคำสั่ง ต้องทำการการขัดขวาง เป็นการลดหรือแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ต้องการ
การช่วยเหลือเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาที่มีปัญหาทางจิตเวช
นิเวศบำบัด โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาเพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัว
การปรับพฤติกรรม
การเพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสม ด้วยการให้แรงเสริมทางบวก
การให้แรงเสริมทางลบ
การทำจิตบำบัด
อายุ 0-6 ปี ส่งเสริมพัฒนาการ
อายุ 7-14 ปี ให้การศึกษภาคพิเศษ
อายุ 15-19 ปี ฝึกอาชีพ
การช่วยเหลือครอบครัว
ช่วยให้พ่อแม่ยอมรับลูกและมีความหวัง
ช่วยประคับประคองจิตใจของพ่อแม่
ให้คำปรึกษาพ่อแม่
การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถของเด็ก
ให้แนวทางใการดูแลเด็ก
การกระตุ้นพัฒนาการ
การปรับพฤติกรรม
ช่วยให้สมาชิกของครอบครัวสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกัน
การป้องกันภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ระยะก่อนตั้งครรภ์
วัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ควรได้รับความรู้เกี่ยวกับภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและพัฒนาการ
สาเหตุที่สามารถป้องกันได้ เช่น การฉีดวัคซีน ป้องกันหัดเยอรมัน
การรับประหนอาหารที่มีธาตุไอโอดีน
อายุมารดาที่เหมาะสมกับการตั้งครรภ์
การรับคำปรึกษาก่อนสมรส และการวางแผนครอบครัว
ระยะตั้งครรภ์
ได้รับการตรวจครรภ์สม่ำเสมอ
ฝากครรภ์ตั้งแต่แรก
ระยะคลอด
ทำคลอดในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน
ระหลังคลอด
เด็กจำป็นต้องได้รับความรักความอบอุ่นจากครอบครัว พ่อ แม่ ต้องมีความพร้อมในการเลี้ยงดูได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่
การประเมินผล (evaluation)
ไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
โรคพฤติกรรมเกเร conduct disorder : CD
ความหมายโรคพฤติกรรมเกเร
พฤติกรรมกรรม ก่อกวน เป็นปัญหา และไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรมของตนเองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้
ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคพฤติกรรมเกเร
เกิดกับเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้น
เด็กผู้ชายจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนเด็กผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 14-16 ปี
อาการสำคัญ คือ มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคมในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา
ส่วนใหญ่พ่อแม่มักพาเด็กมาพบจิตแพทย์เพราะเด็กก่อคดี
ขโมยของในห้างแล้วถูกจับได้
มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียน
หนีเรียน
ถ้ามีอาการรุนแรงมากขึ้นจะมีการชิงทรัพย์ จี้ ปล้น ข่มขืน โดยอาการและอาการแสดงจะเปลี่ยนไปตามอายุ
สาเหตุของโรคพฤติกรรมเกเร
ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factor)
ยีนที่ทำให้เกิดอาการโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) จะทำให้เกิดพฤติกรรมเกเรในเวลาต่อมา
มีการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) น้อย พบว่าผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ามักเป็นโรคพฤติกรรมเกเรได้ง่ายกว่า
สมองส่วน paralimbic system ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมเรื่องของแรงจูงใจและอารมณ์มีความผิดปกติ
สารสื่อประสาท (neurotransmitters)
dopamine และ serotonin สูง แต่มี CSF 5HAA (5-hydroxyindoleacetic acid) ต่ำ
ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone hormone) ระดับสูง
การที่ได้รับสารพิษตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
สารตะกั่ว มารดาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์และ/หรือมีการใช้สารเสพติดพวกอนุพันธ์ของฝิ่นรวมทั้งใช้พวกmethadone
สติปัญญาในระดับต่ำและมีผลการเรียนไม่ดี มีการทำงานของสมองด้านการจัดการ
การมีโรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD) หรือป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น ซนอยู่ไม่นิ่ง
ปัจจัยด้านจิตสังคม (psychosocial factors)
ลักษณะพื้นอารมณ์ (temperament)
ตั้งแต่เกิดเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก มีลักษณะซนมากกว่าปกติ มีอารมณ์รุนแรง รับประทานอาหารยาก นอนหลับยาก
วิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่
พ่อแม่ที่มีพยาธิสภาพทางจิต ติดสารเสพติด ถูกทำร้ายในวัยเด็กมากก่อน เช่น มีการลงโทษอย่างรุนแรง หรือการลงโทษมีลักษณะไม่คงเส้นคงวา
ขาดความสม่ำเสมอในการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องระเบียบวินัย
ขาดทักษะในการเลี้ยงดูลูก ไม่สามารถสร้างความผูกพันกับลูกได้
ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ
การถูกทำร้ายร่างกายหรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
การเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทารุณจิตใจทำให้เกิดโรคเครียดหลังผ่านเหตุการร้ายแรง (post-traumatic stress disorder หรือ PTSD)
การไม่รับการยอมรับจากเพื่อนก็มีอิทธิพลอย่างมาก
การมีความขัดแย้งกับเพื่อน
เพื่อนที่ไม่มีปัญหาพฤติกรรมมักจะไม่ยอมรับเด็กกลุ่มนี้
ส่งผลเด็กโรคพฤติกรรมเกเร มีผลการเรียนลดลงและมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในวัยประถม
การบำบัดรักษาโรคพฤติกรรมเกเร
การรักษาทางกาย
การรักษาโรคต่างๆ
การบำบัดการติตยาเสพติด
การรักษาทางยา
พิจารณาใช้ยาประเภท antipsychotics
haloperidol (haldol), risperidone (risperdal) และ olanzapine (zyprexa) ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือมีปัญหาทางสมอง (organic brain)จะรักษาโดยให้ยา propranolol
เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีโรคร่วมพวก โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorders)
รักษาโดยให้ยา lithium
เด็กมีอาการหุนหันพลันแล่น หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่ายอารมณ์ขึ้นๆลงๆ จะรักษาโดยให้ยาพวก selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น fluoxetine (prozac), sertraline (zoloft), paroxetine (paxil) ละ citalopram (celexa)
การรักษาทางจิต
การให้คำปรึกษารายบุคคล
ฝึกให้ด็กมีทักษะในการแก้ไขปัญหาโดยใช้สติปัญญา (cognitive problem-solving skill training) ผ่านการเลียนแบบ (modeling) และการแสดงบทบาทสมมุติ (role playing)
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และทักษะการเข้าสังคม (social and learning skills)
การบำบัดเพื่อเพิ่ม self-esteem เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้มักจะรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำ เช่น การทำจิตบำบัดรายบุคคลและรายกลุ่ม
การรักษาทางสังคม
การบำบัดครอบครัว
ช่วยให้ครอบครัวสามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การอบรมพ่อแม่ (parenting program)
เพื่อแก้ไขพ่อแม่เรื่องความไม่สม่ำเสมอในการออกกฎระเบียบและการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ภายในบ้าน
การรักษาทางอารมณ์
การบำบัดในเรื่อง anger management
ดนตรีบำบัดในกรณีที่เด็กมีอารมณ์โกรธอย่างรุนแรงไม่สามารถควบคุมตนเองได้
หากเด็กมีอาการซึมเศร้า ก็ควรได้รับการบำบัดทางความคิด พฤติกรรม และสติปัญญา (cognitive behavioral therapy หรือ CBT) หรือการบำบัดแบบจิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (interpersonal therapy หรือ IPT) เป็นต้น
การบำบัดทางจิตวิญญาณ
ช่วยให้เด็กเข้าใจตนเอง ค้นพบตนเอง มีจุดมุ่งหมายหรือมีความหวังในชีวิต มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น จิตบำบัดรายบุคคล (individual psychotherapy) และ กลุ่มจิตบำบัด (group psychotherapy)
การพยาบาลโรคพฤติกรรมเกเร
การประเมินสภาพ (assessment)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้จากการสัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรมของเด็กนั้นต้องอาศัยทักษะการปฏิสัมพันธ์กับเด็ก บิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดู และครู และควรใช้เวลาหลายครั้งในการเก็บรวบรวมข้อมูลและไม่ควรนานเกินไปในแต่ละครั้ง
ก่อนที่จะมีการสัมภาษณ์พ่อแม่และ/หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องควรมีการแจ้งให้เด็กทราบด้วย
การประเมินเด็กต้องเป็นไปในลักษณะของการที่ไม่ตัดสินเด็ก เช่น การกระทำแบบนี้ถูกผิด ดี เลว
มีการประเมินทุกมิติทั้งทางกาย วาจา จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม การรู้คิด และสังคม
ประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมที่มีปัญหา ระยะเวลาที่เริ่มมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
พ่อแม่หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องมีการจัดการกับพฤติกรมที่เป็นปัญหานั้นอย่างไร เด็กเคยรับการรักษาหรือไม่/อย่างไร
เด็กมีความวิตกกังวล ก้าวร้ว รู้สึกโกรธ และรู้สึกไม่ป็นมิตรต่อบุคคลต่างๆ มากน้อยเพียงใด
ความสามารถของเด็กในการควบคุมสิ่งเร้าต่างๆ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
พัฒนาการทางด้านศีลธรรมจรรยาว่าเด็กสามารถเข้าใจผลกระทบจากพฤติกรรมของตนเองที่ไปทำร้ายบุคคลอื่นไม่ว่จะเป็นด้วยกาย วาจา ใจหรือไม่อย่างไร
ประเมินครอบครัวของเด็ก เกี่ยวกับความขัดแย้งในชีวิตสมรสของพ่อแม่ การใช้สารเพติดของพ่อแม่ผู้ปกครอง และการมีพฤติกรมต่อต้านสังคมของพ่อแม่ผู้ปกครอง
ประเมินว่าเด็กมีอาการของโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) โรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD) การติดสารเสพติด ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และ โรคทางอารมณ์ผิดปกติ (mood disorders) ร่วมด้วยหรือไม่
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีภาวะเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงเนื่องจากมีกระบวนการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม
มีภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและ/หรือบุคคลอื่นเนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้
มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวซึ่งเป็นตัวแบบของเด็กมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ
มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจกครอบครัวมีวิธีการติดต่อสื่อสารที่ไม่เหมาะสม
มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากขาดความมั่นใจในตนเองและมองโลกในแง่ลบ
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับเด็กและครอบครัวให้เกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือในการรักษา
สื่อสารกับเด็กและครอบครัวให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทีมสหสาขาวิชาชีพ
ฝึกสอนทักษะทางสังคม (social skills training) ในการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา (problem solving skills training) เพื่อให้เด็กสามารถหาวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะะมาใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ ในสถานการณ์ต่างๆ ทางสังคม
สอนให้เด็กรู้จักประเมินการตอบสนองต่างๆ หลังจากที่เด็กมีความขัดแย้งกับบุคคลอื่น
ฝึกทักษะการควบคุมความโกรธ (anger management) โดยสอนให้เด็กรู้จักสังเกตตนเองในขณะที่เริ่มมีอารมณ์โกรธ
ดูแลช่วยเหลือให้ได้รับการอบรมพ่อแม่และฝึกปฏิบัติในการเลี้ยงดูลูกที่เรียกว่า parenting program เพื่อให้พ่อแม่เข้าใจพฤติกรรมของลูก
ฝึกให้พ่อแม่ตั้งความหวังกับลูกอย่างเหมาะสม
ฝึกให้พ่อแม่สามารถเข้าใจ และแปลความหมายของพฤติกรรมต่างๆ ของลูกอย่างถูกต้อง
ฝึกให้พ่อแม่สามารถใช้เทคนิกในการเสริมแรงทางบวกแก่ลูก เช่น การชมเชย การให้รางวัลอย่างเหมาะสมเวลาลูกมีพฤติกรรมที่ดีขึ้น
ฝึกให้พ่อแม่กำหนดขอบเขตพฤติกรรมที่พ่อแม่ไม่ยอมรับไว้อย่างชัดเจน และมีการลงโทษที่สมเหตุสมผล เช่น การตัดสิทธิ์บางอย่างของเด็ก การใช้เวลานอก
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีการสนับสนุนทางอารมณ์ เป็นกำลังซึ่งกันและกัน
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวแสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม และมีขอบเขตที่ชัดเจน
ส่งเสริมให้ภายในครอบครัวมีเสรีภาพในการแสดงออกทางอารมณ์ ไม่ควรใช้บังคับหรือทำให้เด็กต้องเก็บกดสิ่งต่างๆ ไว้ตลอดเวลา
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ เด็กสามารถสื่อสารได้ตามความต้องการอย่างเปิดเผยชัดเจนตรงไปตรงมา
ส่งเสริมดูแลให้ครอบครัวได้รับการบำบัดด้วย ครอบครัวบำบัดจะช่วยให้ครอบครัวสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของปฏิสัมพันธ์ สมารถปรับตัวต่อความเครียดที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและบริบทต่างๆ ของเด็กให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
การประเมินผล (evaluation)
การประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
โรคซน-สมาธิสั้น (attention-deficit/ hyperactivity disorder: ADHD)
ความหมายโรคซนสมาธิสั้น
เริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็ก โดยมีลักษณะการไม่ใส่ใจ ขาดสมาธิ (inattention) และ/หรือ มีอาการซนไม่อยู่นิ่ง (hyperactivity) หุนหันพลันแล่น (impulsivity) ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีลักษณะถาวร (persistent patter)
อาการซนไม่อยู่นิ่ง
การที่มีกิจกรมการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
มีอาการกระวนกระวายกระสับกระส่ายอย่างมาก
อาการหุนหันพลันแล่น
การกระทำที่รีบร้อนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันโดยขาดการคิดไตร่ตรอง
มีโอกาสสูงที่จะเป็นอันตรายต่อตนเอง
ลักษณะอาการและอาการแสดงโรคซนสมาธิสั้น
อาการไม่ใส่ใจ ขาดสมาธิ และ/หรือ อาการซนไม่อยู่นิ่ง หุนหันพลัน
แล่น หลายๆ
อาการเริ่มปรากฎก่อนอายุ 12 ขวบ ที่บ้าน โรงเรียน หรือที่ทำงานสามารถสังเกตพบอาการและอาการแสดง
ส่งผลรบกวนต่อการใช้ชีวิตหรือพัฒนาการ เป็นอุปสรรคหรือทำให้คุณภาพการทำกิจกรรมอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชีวิตในสังคม การเรียน หรือการทำงาน
อาการขาดสมาธิมีตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17
ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป
มักจะไม่สามารถจดจำรายละเอียด หรือขาดความรอบคอบจึงทำผิดพลาดในเรื่องเกี่ยวกับการเรียน การทำงาน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆ
มักจะไม่มีสมาธิในการทำงานหรือการเล่น
มักจะดูเหมือนไม่สนใจฟังเวลาที่พูดด้วยโดยตรง
มักจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและไม่สามารถทำงานเกี่ยวกับการเรียน งานบ้าน หรือทำงานต่างๆตามหน้าที่ให้แล้วเสร็จตามกำหนดได้
มักมีปัญหาในการวางแผนเกี่ยวกับงานหรือการทำกิจกรรมต่างๆ
มักจะหลีกเลี่ยง ไม่ชอบ หรือลังเลที่จะทำงานที่ต้องใช้ความคิด
มักจะทำของที่จำเป็นสำหรับการเรียนหรือการทำงานหายอยู่บ่อยๆ
มักจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งเร้าภายนอกได้ง่าย (สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่อาจจะรวมถึงความคิดที่ไม่สัมพันธ์กับสิ่งที่ทำ)
มักจะลืมบ่อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
อาการซน ไม่อยู่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น มีอาการดังต่อไปนี้ตั้งแต่ 6 อาการขึ้นไป สำหร้บวัยรุ่นตอนปลายและผู้ใหญ่ (อายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป) ต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อาการขึ้นไป
เมื่อนั่งอยู่กับที่มักจะมีอาการกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หรือรู้สึกทรมาน นั่งขยุกขยิกยุกยิกตลอดเวลา ใช้มือหรือเท้าเคาะโน่นเคาะนี่
มักจะลุกจากที่นั่งบ่อยๆ ในสถานการณ์ที่ควรต้องนั่งอยู่กับที่
มักจะวิ่งไปทั่วหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์ที่ไม่เหมาะสม
มักจะไม่สามารถเล่นหรือเข้าร่วมในกิจกรรมสันทนาการได้อย่างเงียบๆ
มักจะยุ่งวุ่นวาย เสมือนหนึ่งขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์อยู่ตลอดเวลา
มักจะพูดมาก พูดไม่หยุด
มักจะโพล่งตอบคำถามก่อนที่จะถามคำถามจบ
มักจะมีปัญหาในการรอคอยให้ถึงตาตนเอง
มักจะขัดจังหวะ หรือสอดแทรกผู้อื่น สำหรับวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่อาจจะเป็นลักษณะการก้าวก่ายหรือการยึดครองสิ่งที่ผู้อื่นกำลังทำอยู่
อาการดังกล่าวมีเป็นเวลานานติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน และอยู่ในระดับที่ไม่สอดคล้องเหมาะสมกับระดับของพัฒนาการและส่งผลทางลบโดยตรงต่อการใช้ชีวิตในสังคมและการเรียน/การทำงาน อาการต่างๆ
สาเหตุของโรคซนสมาธิสั้น
ปัจจัยทางชีวภาพ
พันธุกรรม
ฝาแฝดไข่ใบเดียวกัน (monozygotic twins) ถ้าแฝดคนหนึ่งป่วยด้วยโรคซนสมาธิสั้นโอกาสที่แฝดอีกคนหนึ่งจะป่วยด้วยโรคนี้มีสูงถึงร้อยละ 51
ที่ฝาแฝดไข่คนละใบ (dizygotic twins) ถ้าแฝดอีกคนหนึ่งจะป่วยด้วยโรคซนสมาธิสั้นโอกาสที่แฝดอีกคนหนึ่งจะป่วยด้วยโรคนี้มีร้อยละ 33
พี่น้องท้องเดียวกัน ถ้ามีคนหนึ่งป่วยด้วยโรคซนสมาธิสั้นโอกาสที่พี่น้องคนอื่นจะป่วยด้วยโรคนี้จะสูงกว่าคนปกติ 5 เท่า
ความผิดปกติของโรคนี้น่าจะอยู่บน dopamine receptor D4 (DR D4) กับ dopamine transporter gene
กายวิภาค สรีรวิทยา ของระบบประสาท
สมองถูกทำลาย (brain damage)
กระบวนการที่ควบคุมเรื่องความสนใจ (attention) และสิ่งเร้า (arousal)
มีความผิดปกติของการสื่อสารระหว่างสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา
การยับยั้งการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้ความสนใจ (attention) และการเคลื่อนไหว (motor activity) มีต่ำ ทำให้เกิดอาการอยู่ไม่นิ่ง ซน (hyperactivity) และมีการเปลี่ยนแปลงความสนใจอย่างรวดเร็ว
สมองมีความผิดปกติบริเวณ frontal lobe (เกิดhypofusion ของ striatum & hyperfusion ของ sensorimotor area) รวมทั้งบริเวณ corpus callosum จะมีขนาดเล็กกว่าปกติ
สรีรวิทยาของระบบประสาท
มีการเพิ่มขึ้นของ beta band ซึ่งทำให้เด็กถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าได้ง่ายขึ้น
การไหลเวียนของเลือดในสมองบริเวณ cerebral และอัตราการเผาผลาญ (metabolic rates) บริเวณ frontal lobe areas ลดลง
สารเคมีของระบบประสาท (neurochemical factors)
การที่เด็ก ADHD มีการหมุนเวียนกันของ dopamine และ norepinephrine มีระดับต่ำกว่าปกติ
ปัจจัยก่อนคลอด
หญิงตั้งครรภ์ 3เดือนแรก (first trimester) มีการติดเชื้อ มีการเสพสุรา ยาเสพติด และ/หรือสูบบุหรี่ การคลอดก่อนกำหนด (prematurity) หรือการที่เด็กขาด oxygen ระหว่างคลอด
ปัจจัยทางจิตสังคม
เด็กไม่ได้รับความอบอุ่นเป็นระยะเวลานานๆ (prolonged emotional deprivation) เหตุการณ์ที่ทำให้เด็กรู้สึกเครียด (stressful psychic events) การที่ครอบครัวของเด็กขาดความสมดุลในครอบครัว
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
การที่เด็กมีความผิดปกติของระบบประสาท เช่น สมองอักเสบ (encephalitis) มีอาการชัก มีการสูดหายใจอากาศที่มีมลภาวะเป็นพิษ การรับประทานสารตะกั่ว ส่วนของพวกสีผสมอาหาร วัสดุที่ใช้ในการแต่งกลิ่นแต่งสีหรือที่ใช้ในการถนอมอาหาร
การบำบัดรักษาโรคซนสมาธิสั้น
การรักษาทางยา
การรักษาด้วยยา psychostimulants
เพิ่มการปล่อยหรือยับยั้งการดูดกลับของ dopamine และ norepinephrine ซึ่งช่วยในการขนส่ง signals ระหว่างประสาทต่างๆ
กลุ่มที่มีส่วนผสมของ phentermine กับกลุ่มที่มีส่วนผสมของ methylphenidate ซึ่ง methylphenidate จะช่วยเพิ่มระดับของserotonin ที่อาจทำให้เด็กมีอาการสงบลง
อาการข้างเคียงของยา psychostimulants
อาการปวดศีรษะ อาการปวดมวนในท้อ ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ความอยากอาหารลดลง
น้ำหนักตัวลดลง (แก้ไขโดยการรับประทานยาทันทีหลังรับประทานอาหาร หรือรับประทานของขบเคี้ยวหรือ protein shakes ในระหว่างมื้ออาหาร)
นอนไม่ค่อยหลับ หงุดหงิดกระสับกระส่าย รู้สึกกระวนกระวายใจ อการซึมเศร้า อาการวิตกกังวล มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือด
rebound effect ซึ่งแก้ไขโดยการปรับเพิ่มจำนวนครั้งของยาที่รับประทานหรือเปลี่ยนไปรับประทานยาที่มีฤทธิ์นานกว่านี้
การรักษาโดยกลุ่มยาต้านเศร้า (antidepressants)
ใช้ในกรณีที่ทนอาการข้างเคียงของ methylphenidate ไม่ได้หรือไม่ตอบสนองต่อยาmethylphenidate หรือมีอาการซึมเศร้า อาการวิตกกังวลร่วมด้วย
การรักษาโดยกลุ่มยา alpha-adrenergic agonist
clonidine (catapres) ใช้ methylphenidate กรณีที่เป็น ADHD ร่วมกับ tic หรือ tourette’s disorder
การรักษาโดยกลุ่มยารักษาอาการทางจิต (antipsychotics)
thioridazine (mellaril) haloperidol (haldol) risperidone (risperdal) สำหรับผู้ป่วย ADHD ที่มีความก้าวร้าวหรือมีอาการ tic ร่วมด้วย
การรักษาโดยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม (behavioral/psychosocial intervention)
การฝึกอบรมพ่อแม่ในการดูแลเด็ก ADHD (parent management training) เพื่อให้สามารถเลี้ยงดูเด็ก ADHD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การให้ความรู้แก่พ่อแม่เกี่ยวกับโรคและวิธีการบำบัดรักษา ADHD เพื่อพ่อแม่จะได้มีทัศนคติที่ดีต่อเด็กและมีความรู้ความมั่นใจในการดูแลแก้ไขปรับพฤติกรรมของเด็ก
สอนเทคนิคต่างๆ ในการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก โดยที่ไม่ไปลดความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก
แนะนำพ่อแม่ให้จัดทำตารางกิจวัตรประจำวันของเด็ก เนื่องจากเด็ก ADHD มักจะลืมและไม่ใส่ใจในเรื่องต่างๆ รวมทั้งให้
ให้คำแนะนำพ่อแม่ในการจัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กโดยลดสิ่งเร้าที่จะมากระตุ้นหรือเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กให้น้อยที่สุด เช่น การจัดมุมทำการบ้านให้เด็กให้เป็นบริเวณที่เงียบสงบ พ่อแม่ประกบตัวต่อตัวเวลาสอนการบ้านเด็ก
ให้คำแนะนำพ่อแม่และบุคคลอื่นในบ้านในการพยายามควบคุมอารมณ์ อย่าตวาดตำหนิเด็กหรือลงโทษอย่างรุนแรงเมื่อเด็กทำผิด
ให้คำแนะนำพ่อแม่เรื่องไม่ควรเปรียบเทียบเด็กกับพี่น้องหรือเด็กอื่นเพราะจะเป็นการทำลายความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก
การให้ความช่วยเหลือเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียน (school focused intervention)
ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กขณะอยู่ที่โรงเรียนทั้งในเรื่องผลการเรียน พฤติกรรมของเด็กขณะอยู่ในห้องเรียนสัมพันธภาพระหว่างเด็กกับเพื่อนๆ ฯลฯ ควรนำไปใช้เพื่อประกอบในการวินิฉัยโรคและวางแผนให้การช่วยเหลือเด็ก
ให้คำแนะนำคุณครูเกี่ยวกับโรค ADHD เพื่อจะได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวเด็ก โดยเฉพาะพฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นปัญหาว่าเป็นความผิดปกติ มิใช่เรื่องของความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบคุณครู อันจะทำให้คุณครูมีทัศนคติที่ดีต่อเด็ก
ให้คำแนะนำคุณครูเกี่ยวกับเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในการปรับพฤติกรรมเด็ก และการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียน
การจัดให้เด็กนั่งหน้าชั้นหรือนั่งใกล้คุณครูมากที่สุด
การจัดให้เด็กนั่งอยู่ห่ามกลางเด็กที่เรียบร้อย ตั้งใจเรียน ไม่พูดคุยกันเองระหว่างเรียน
การจัดให้เด็กนั่งกลางห้องหรือไกลจากประตู หน้าต่าง เพื่อลดโอกาสที่เด็กจะถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากสิ่งเร้านอกห้องเรียน
คุณครูควรให้เวลาที่ใช้ในการสอบสำหรับเด็กที่เป็น ADHD นานกว่าปกติ
การให้ความช่วยเหลือโดยมุ่งเน้นที่ตัวเด็กเป็นสำคัญ (child focused intervention)
การฝึกทักษะทางสังคม (social skill training)
รู้จักรอคอย รับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา รู้ว่าอะไรเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมและไม่เหมาะสม
การช่วยเหลือเป็นพิเศษในเด็กที่มีปัญหาทางด้านการเรียน เช่น การเรียนซ่อมเสริม หรือเข้าร่วมในโครงการการศึกษาพิเศษ
การบำบัดทางจิตเป็นรายบุคคลในเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ร่วมด้วย เช่น มองตัวเองในแง่ลบ หรือมีความวิตกกังวล
การพยาบาลโรคซนสมาธิสั้น
การประเมินสภาพ (assessment)
การประเมินเมื่อเด็กอยู่ที่โรงเรียน
ควรมีการประเมินว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไรบ้างขณะอยู่ในห้องเรียน
ลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อน
ผลการเรียนป็นอย่างไร
มีพฤติกรมอะไรบ้างที่ทั้งพ่อแม่ คุณครูและ/หรือตัวเด็กเองมองว่าเป็นปัญหา
ผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมต่างๆ ของโรคที่มีต่อการเรียนและสัมพันภาพที่มีกับเพื่อนและครูมีอะไรบ้าง
ความรู้ความเข้าใจของคุณครูเกี่ยวกับโรค
การประเมินที่โรงพยาบาล
การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์สั้นๆ พ่อแม่และคุณครูที่เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับเด็ก
การจำแนกและการสำรวจเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นปัญหาในปัจจุบัน
ประเมินตัวเด็กว่ามีพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมตามวัยหรือไม่
ประเมินระยะเวลาที่เด็กเริ่มมีอาการของโรค รูปแบบของอาการต่างๆ ในปัจจุบัน (pattern of the current symptoms)
ประเมินว่ามีปัจัยใดที่ทำให้เด็กมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
ประเมินการรักษาที่เด็กได้รับมาก่อนหน้านี้
การประเมินเกี่ยวกับรูปแบบการรับประทานอาหาร กรนอน และการทากิจกรรมต่างๆ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บ
ไม่สามารถทำตามบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองต่ำเป็นระยะเวลานาน
วิธีการเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ
การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายบกพร่อง
แบบแผนการนอนไม่เหมาะสม
ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง
ปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมกับบทบาทของตน
วิธีการเผชิญปัญหาของครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพ
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับพ่อแม่และเด็ก และคุณครู เพื่อให้เกิดความไว้วางใจและประสานความร่วมมืออันดีระหว่างโรงพยาบาล บ้าน และโรงเรียนในการแก้ไขปัญหาของเด็ก
ให้ความรู้ คำแนะนำแก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูเกี่ยวกับโรค การดูแลเด็ก การปฏิบัติต่อเด็ก การวางระเบียบวินัยให้แก่เด็ก แผนการบำบัดรักษา รวมถึงยาการออกฤทธิ์ของยาและอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติเมื่อเกิดอาการต่างๆ เหล่านั้น ฯลฯ
กำหนดพฤติกรรมของเด็กที่ความคาดหวังร่วมกันระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู ทีมสหสาขาวิชาชีพ และสื่อสารกับเด็ก พ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครูให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่คาดหวังที่ได้กำหนดไว้ว่าต้องการให้เด็กทำพฤติกรรมอะไรบ้าง
ดูแลให้เด็กได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกับการรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม
ติดตามและประเมินผลการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา การรักษาด้วยการปรับพฤติกรรมและการรักษาทางจิตสังคม อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้น รวมทั้งทัศนคติจากพ่อแม่ผู้ปกครอง คุณครู และตัวเด็กเอง เพื่อการปรับปรุงปรับเปลี่ยนแผนการปฏิบัติการพยาบาลให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การประเมินผล (evaluation)
การประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่ พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม่ ทั้งในแง่ความรุนแรงและความถี่ในการเกิดพฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหา
ภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ความหมายของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
กลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ที่มีความบกพร่องของพัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสารร่วมกับความผิดปกติของพฤติกรรม และความสนใจหมกหมุ่นในบางเรื่อง มีพฤติกรรมซ้ำๆ ซึ่งแสดงอาการในระยะต้นของพัฒนาการ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ร่างกายภายนอกจะมีลักษณะเหมือนกับเด็กทั่วไป แต่เด็กจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างจากเด็กปกติทั่วไป
อาการต่างๆ จะเป็นก่อนอายุ 36 เดือนแต่จะไม่ชัดเจนและจะปรากฏให้เห็นในระยะต้นๆ ของการพัฒนาการวัยเด็กตอนต้น
มีความบกพร่องด้านการสื่อสารและด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในหลายบริบท
มีความผิดปกติทางอารมณ์และทางสังคม
ไม่สามารถตอบสนองปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคลอื่นได้ไม่มีการสบสายตา
มีความบกพร่องด้านการสื่อสาร
ไม่สามารถผสมผสานระหว่างการสื่อสารแบบวัจนภาษากับอวัจนภาษาหรือมีความบกพร่องในการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษากายในการสื่อสาร
ไม่มีการแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง หรือการใช้น้ำเสียง ไม่มีการสบสายตา
มีความบกพร่องในการสร้าง รักษา และเข้าใจในสัมพันธภาพ
ไม่ความผิดปกติในการเข้าหาหรือเริ่มต้นมีปฏิสัมพันธ์บุคคลอื่น,
ไม่สามารถเลียนแบบการกระทำของผู้อื่นได้
มีแบบแผนพฤติกรรม ความสนใจ หรือกิจกรรมที่จำกัดซ้ำๆ
ไม่มีประโยชน์และไม่สามารถหยุดหรือยืดหยุ่นพฤติกรรมดังกล่าวได้อย่างน้อย 2 ข้อ
มีการแสดงกิริยาบางอย่างซ้ำ (mannerism) เช่น การสะบัดมือ การหมุนตัว การหมุนต้นคอ การโยกตัว ใช้วัตถุให้มีการเคลื่อนไหวซ้ำๆ หรือใช้คำพูดซ้ำๆ
ยึดติดกับสิ่งเดิม กิจวัตรประจำวันเดิม หรือแบบแผนการสื่อสารเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่มีความยืดหยุ่น
มีความสนใจที่จำกัดในขอบเขตที่จำกัดหรือเฉพาะเจาะจง หมกหมุ่นกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือเพียงบางส่วนของวัตถุมากเกิน
มีการตอบสนองต่อการรับสัมผัสสิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้น (เช่น แสง สี เสียง สัมผัส เป็นต้น) มากหรือน้อยกว่าบุคคลทั่วไป
สาเหตุของของภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ปัจจัยทางพันธุกรรม
ในคู่ฝาแฝดแท้ (ไข่ใบเดียวกัน) ที่มีคนหนึ่งมีภาวะออทิซึมสเปกตรัมแล้วแฝดอีกคนมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 95
สำหรับในคู่ฝาแฝดเทียม (ไข่คนละใบ) จะมีโอกาสเกิดภาวะออทิซึมสเปกตรัมลดลง ร้อยละ 30
ปัจจัยทางสมอง
มีช่องว่างในสมอง (ventricle) มีขนาดใหญ่กว่าปกติ
มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น ความไม่สมดุลของสารสื่อประสาทประเภทซีโรโทนิน (serotonin)
ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและระยะหลังคลอด
อายุพ่อแม่ พบว่า เด็กที่เกิดกับพ่อแม่ที่มีอายุมากขึ้น เด็กที่คลอดก่อนกำหนด อายุครรภ์น้อยกว่า 33 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตราฐานมีความเสี่ยงสูงในการเป็นภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ภาวะที่ไม่เข้ากันของภูมิคุ้มกันระหว่างมารดาและทารก (immunological incompatibility) ทำเกิดการเซลล์ประสาทของทารก
ภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และการคลอด เช่น เลือดออกในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ติดเชื้อหัดเยอรมัน ได้รับสารตะกั่ว เป็นต้น
การบำบัดรักษาภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การรักษาทางยา
ยา methylphenidate
ที่ใช้บรรเทาอาการขาดสมาธิ พฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปมา
ยา haloperidol กับ risperidone
ใช้บรรเทาอาการหงุดหงิด พฤติกรรมวุ่นวาย ก้าวร้าว พฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
ยา fluoxetine
บรรเทาอาการซึมเศร้า ลดพฤติกรรมซ้ำๆ
lorazepam
ใช้บรรเทาอาการวิตกกังวล
พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร
โดยการทำอรรถบำบัด (speech therapy)
กรณีที่เด็กไม่สามารถสื่อสารด้วยคำพูดได้นักอรรถบำบัด
กลวิธีการรับรู้ผ่านการมองเห็น (visual strategies) ด้วยการกระตุ้นการสื่อสารในเด็กผ่านโปรแกรมการแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (picture exchange communication system: PECS)
เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสารที่สำคัญ ให้เด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้าให้มีพัฒนาการที่กลับมาใกล้เคียงกับเด็กที่มีพัฒนาการปกติมากที่สุด
พัฒนาด้านทักษะทางสังคม (social skills)
การฝึกเด็กให้ใช้ภาษาทางกายให้เหมาะสม สบสายตาบุคคลอื่นเวลาต้องการสื่อสาร กระตุ้นความเข้าใจในอารมณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น
พฤติกรรมบำบัด (behavioral therapy)
มีเทคนิคทางพฤติกรรมบำบัดทั้งการให้แรงเสริมทางบวก การให้แรงเสริมทางลบ การให้รางวัล และการลงโทษ เพื่อให้เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy: CBT)
ส่งเสริมทักษะทางสังคม และการรับรู้อารมณ์ที่แสดงออกทางสีหน้า
ศิลปะบำบัด (art therapy)
ช่วยพัฒนาด้านจิตใจ เสริมสร้างสมาธิ สร้างจินตนาการ และการสื่อสารผ่านงานศิลปะ
ดนตรีบำบัด (music therapy)
ช่วยเสริมทักษะการปรับตัวทางสังคมเพิ่มขึ้น และส่งเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลอื่นและเด็ก นอกจานี้ดนตรีบำบัดยังสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้ด้วย
การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา (educational rehabilitation)
การจัดโปรแกรมการศึกษาแบบรายบุคคล (individualization education program) จำเป็นต้องออกแบบให้เหมาะสมกับความสามารถ ความบกพร่อง และความสนใจของเด็กแต่ละคน
การให้คำแนะนำครอบครัว
การเสริมพลังอำนาจให้กับครอบครัวเด็กออทิซึมสเปกตรัม ให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับภาวะออทิซึมสเปกตรัมที่ถูกต้อง
การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ (vocational rehabilitation)
เพื่อให้เด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมสามารถพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด ลดภาระการดูแลของครอบครัวและสังคมให้มากที่สุด
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
การประเมินสภาพ (assessment)
การซักประวัติ
ประวัติการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงปัจจุบัน ประวัติเกี่ยวกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อ ด้านสังคม ด้านการใช้ภาษา พฤติกรรมการแยกตัว ความสนใจ ภาวะอารมณ์ และการได้รับวัคซีน
การประเมินทางร่างกาย
การประเมินพัฒนาการ การซักถามบิดามารดา ผู้เลี้ยงดู บุคคลใกล้ชิด เพื่อช่วยในการประเมินความสามารถที่แท้จริงของเด็ก
การสังเกตพฤติกรรม โดยเฉพาะการเล่นของเด็ก
การใช้แบบคัดกรองพัฒนาการตามช่วงวัย แบบคัดกรองโรคกลุ่มพัฒนาการผิดปกติรอบด้าน (pervasive developmental disorders screening questionnaire: PDDSQ)
PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ 1-4 ปี
PDDSQ ที่ใช้คัดกรองเด็กที่มีอายุ 4-18 ปี
การประเมินสภาพจิต
การประเมินทางด้านจิตสังคม และด้านจิตวิญญาณ
สัมพันธภาพในครอบครัว
รูปแบบการติดต่อสื่อสารของบุคคลในครอบครัว
รูปแบบการเลี้ยงดู เช่น รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเข้มงวดเคร่งครัด แบบปกป้อง แบบตามใจ เป็นต้น
การเรียน ประเมินความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีพฤติกรรมก้าวร้าว เนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
มีความบกพร่องด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น เนื่องจากมีพฤติกรรมแยกตัว
เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เนื่องจากมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง เนื่องจากขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เนื่องจากมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารซ้ำซาก
การวางแผนและการปฏิบัติทางการพยาบาล (planning and implementation)
ในการช่วยเหลือในการปรับตัวในชีวิต
การฝึกกิจวัตรประจำวัน
ฝึกทักษะการสื่อความหมาย
เลียนแบบกิริยกำทางต่าง ๆ, เลียนแบบการออกเสียง, รู้จักความหมายของเสียง และสามารถแยกความหมายของเสียง
ฝึกทักษะทางสังคม
ฝึกเลียนแบบสีหน้าต่าง ๆ พร้อมกับดูหน้าตัวเองในกระจกเปรียบเทียบกับรูปภาพ
แก้ไขพฤติกรรมที่ไม่หมาะสม ปัญหาพฤติกรรมที่ไม่รุนแรง มักสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรม
เด็กทำพฤติกรรมใดแล้วได้ผลที่เด็กพอใจก็จะมีแนวโน้มที่เด็กจะกระทำพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก แต่ถ้าผลไม่เป็นที่พึงพอใเด็กก็จะหลีกเลี่ยงไม่ทำพฤติกรรมนั้น
เด็กเรียนรู้จากตัวอย่างหรือตัวแบบ เพราะฉะนั้นถ้าอยากให้เด็กมี
พฤติกรรมใด ผู้ใหญ่ก็ควรแสดงพฤติกรรมนั้นเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี
เด็กแต่ละคนจะเข้าใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยวิธีการแตกต่างกัน การเลือกวิธีการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนก็มีความสำคัญ "แรงเสริม" จั
การเพิกเฉยหรือทำเป็นไมใส่ใจกับพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เช่น เมื่อเด็กอยากได้ของเล่นก็จะมีพฤติกรรมลงไปนอนดิ้นที่พื้น
การแยกให้อยู่ตามลำพังชั่วคราว (time out หรือจำกัดการเคลื่อนไหวบางอย่างเป็นการนำเด็กออกจากสถานการณ์ที่เด็กชอบชั่วคราว
แนวทางการปรับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาที่พบบ่อย
พฤติกรรมแยกตัว ไม่สนใจเล่นกับเด็กอื่น ๆ
พยายามพาเด็กไปเล่นกับเด็กอื่นหรือพาเด็กไปร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเด็กวัยเดียวก้นเมื่อมีโอกาส
ให้แรงเสริมเสริมทางบวก เมื่อเด็กเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น เดินเข้าไปหาเด็กอื่น จะต้องให้ทันทีเพื่อให้คงพฤติกรรมนั้นต่อไป
พฤติกรรมไม่สบตา
เรียกชื่อทุกครั้งเมื่อต้องการพูดคุยกับเด็กหรือต้องการให้เด็กละสายตาจากการมองแบบไร้จุดหมาย หากเด็กไม่หันมาเมื่อเรียกชื่อ ให้จับหน้าเด็กเบา ๆ ให้หันมาลสบตา
ฝึกให้เด็กสบตาคนอื่น โดยใช้กิจกรรมการเล่นในการฝึกทักษะ เช่น เล่นหูเล่นตา กระพริบตา ทำตาโต หรี่ตา เพื่อให้เด็กสนใจมองสบตา
ให้แรงเสริมทางบวกทันที เช่น ชมเชยเมื่อเด็กรู้จักสบตาแม้ทำได้เพียงชั่วครู่หรือให้รางวัลที่เด็กชอบ
พฤติกรรมซน อยู่ไม่นิ่ง
ฝึกให้เด็กนั่งเก้าอี้ในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เล่นของเล่นกินข้าว ทำการบ้าน เป็นต้น และเพิ่มระยะเวลาการนั่งทำกิจกรรม
ถ้าเด็กยังนั่งไม่ครบตามเวลาที่กำหนดหรือทำกิจกรรมไม่เสร็จพยายามลุกเดิน ให้จับมือเด็กไว้เบา ๆ พร้อมบอกว่า "นั่งลง" เมื่อเด็กเริ่มทำได้ให้รางวัลเพื่อเป็นการเสริมแรง
พาเด็กไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อปลดปล่อยพลังงานในร่างกาย เช่น ปลูกต้นไม้ ออกกำลังกาย เล่นกลางแจ้ง เป็นต้น
ลดสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กไม่มีสมาธิ เช่น การดูโทรทัศน์ตามลำพังเนื่องจากภาพในโทรทัศน์เป็นภาพที่เคลื่อนหวเร็ว หากจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงดูคอยให้คำแนะนำหรือพูดคุยกับเด็กด้วย
สอนระเบียบวินัยให้กับเด็ก เช่น เก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จนำเสื้อผ้าที่ใส่แล้วไปใส่ตะกร้า วางรองเท้าในที่เก็บ เป็นต้น
อารมณ์ฉุนเฉียว
เมื่อเด็กมีอารมณ์ฉุนเฉียวให้จับมือเด็กไว้เบา ๆ แสดงสีหน้าเรียบเฉย พร้อมบอกเด็กว่า "ลุกขึ้น" ออกแรงดึงเล็กน้อย ถ้าเด็กต้านไม่ควรดึงเด็กขึ้นมา แต่ยังจับมือเด็กไว้ และไม่ตำหนิพฤติกรรมของเด็ก
ไม่ควรให้ของที่เด็กต้องการเมื่อเด็กแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวควรให้เมื่อเด็กมีอารมณ์สงบลงแล้ว และอาจให้แรงเสริมทางบวกร่วมด้วย
พฤติกรรมก้าวร้าว
เมื่อเด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าวให้จับมือเด็กไว้ด้วยสีหน้าเรียบเฉยเพื่อให้เด็กหยุดทำพฤติกรรมแล้วพาเด็กไปอยู่ในมุมหรือห้องที่งียบสงบ ไม่มีของเล่น ของที่เด็กชอบ หรือของที่อาจเป็นอันตรายกับเด็ก
ไม่ตำหนิ ดุด่า ประชดประชัน เนื่องจากเด็กอาจไม่เข้าใจสิ่งที่ต้องการให้เด็กทำ แต่ต้องบอกสิ่งที่เด็กควรทำ เช่น เด็กที่กำลังตบหน้าตัวเอง ให้จับมือเด็ก ด้วยสีหน้าสงบบอกเด็กว่า "เอามือลง"
หากครั้งใดที่เด็กอารมณ์ดีหรือไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ควรรีบให้รางวัลเพื่อเป็นสิ่งเสริมแรง
การพยาบาลช่วยเหลือครอบครัวเด็กที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
แสดงความเข้าใจยอมรับความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีลูกที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัม
ช่วยลดความรู้สึผิดหรือกล่าวโทษกันของพ่อแม่ ด้วยการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ให้พ่อแม่เห็นความสำคัญของการร่วมมือกันในการดูแลลูก การมีอารมณ์ขัน และอดทน
ช่วยลดความวิตกกังวลของพ่อแม่ ด้วยการให้ความช่วยเหลือปัญหาที่พ่อแม่ต้องเผชิญ การให้คำแนะนำในการดูแลลูกซึ่งจะต้องสมารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีความชัดเจนและมีเหตุผล
การประเมินผลทางการพยาบาล (evaluation)
การประเมินผลหลังให้การพยาบาลตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ในเกณฑ์การประเมินผล