Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ และ ความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน …
ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ
และ ความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน
ลักษณะที่สำคัญของบริการสุขภาพปฐมภูมิ
เป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านสุขภาพที่ผสมผสานทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคการรักษา และฟื้นฟูสภาพ โดยพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม
เป็นบริการสุขภาพด่านแรกที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย ทั้งในด้านภูมิศาสตร์ จิตวิทยา และด้านเศรษฐกิจ
เน้นบทบาทการให้บริการสุขภาพในเชิงรุกเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการเพิ่มศักยภาพการพึ่งตนเองของประชาชน
ร่วมดูแลสุขภาพกับประชาชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนป่วย ขณะป่วย และช่วงฟื้นฟูสภาพพร้อมกับการจัดททำระบบข้อมูลของประชาชนตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต
ทำหน้าที่ประสานกับหน่วยบริการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการที่ต่อเนื่อง รอบด้าน อาทิ สถานพยาบาลเฉพาะด้านต่าง ๆ หน่วยงานสังคมสงเคราะห์ และหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น
บริการสุขภาพปฐมภูมิที่พึงประสงค์
ยุติธรรม เท่าเทียม เข้าถึงได้ (Equity - Accessibility)
มีคุณภาพ (Quality) ทั้งด้านการแพทย์และการดูแลแบบองค์รวม
มีประสิทธิภาพ (Efficiency) ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
โปร่งใส ตรวจสอบได้(Social Accountability) บริหารจัดการด้วยหลักธรรมมาภิบาล
ตอบสนองความต้องการของประชาชน (Responsiveness)
โครงสร้างระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ
การจัดเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิโดยให้หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิเป็นหน่วยบริการประจำ
(Autonomous Contracting Unit for Primary Care: CUP)
ระบบสุขภาพระดับอำเภอ (District Health System : DHS)
เป้าหมายที่สำคัญคือการทำให้ระบบบริการปฐมภูมิมีความเข้มแข็ง
อยู่ภายใต้การกำกับของ
คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (District Health Board)
ระบบสุขภาพระดับอำเภอ
เป้าหมายร่วมเพื่อ
สุขภาวะของประชาชน
เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถพึ่งตนเองได้และชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน
2.สถานะสุขภาพของประชาชนในอำเภอดีขึ้น สามารถจัดการปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และมีศักยภาพพอที่จะเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการสุขภาพที่เข็มแข็ง มีพลังในการขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะในอำเภอและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
มีบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ ผู้ให้บริการมีความสุขในการทำงาน
หลักการดำเนินงาน
1.การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ (Unity District Health Team) ของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับ Working relationship
การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (Community participation) เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในระดับอำเภอในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ร่วมคิด ร่วมรับรู้ร่วมดำเนินการ และร่วมประเมินผล
การทำงานจนเกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการและผู้ให้บริการเอง (Appreciation and Quality) เป็นคุณค่าที่เกิดขึ้นทั้งฝ่ายผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
ทีมหมอครอบครัว
ระดับอำเภอ
แพทย์และสหวิชาชีพ
มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษา พี่เลี้ยง ให้การสนับสนุนวิชาการ พัฒนาศักยภาพทางคลินิกให้ทีมตำบล ชุมชน รวมถึงสนับสนุนทรัพยากรทุกประเภทที่จำเป็นเพื่อให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่ดีที่สุดกับครอบครัวในเขตรับผิดชอบ
ระดับชุมชน
ภาคประชาชนในพื้นที่นั้น
ช่วยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ทั้งในยามที่ต้องไปรับการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต าบลหรือที่โรงพยาบาลชุมชน
ระดับตำบล
บุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล/ศูนย์
แพทย์ชุมชน/ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง/ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาล/คลินิกชุมชนอบอุ่น)
มีบทบาทหน้าที่เป็นหมอครอบครัว ดูแลปัญหาสุขภาพด้านการรักษาพยาบาล ประสานส่งต่อผู้ป่วยที่เกินขีดความสามารถ ผสมผสานกับงานด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการดำนินงานระบบสุขภาพระดับอำเภอแยกเป็น
บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะทีมระดับอำเภอ
มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ
ประสานงานช่วยเหลือ สนับสนุนกับทีมระดับตำบล
บริหารจัดการธนาคารอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการท างานในพื้นที่
เป็นผู้จัดทำแผนการจำหน่ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน (Discharge plan)
บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะ Case manager ระดับตำบล ทำบทบาทเป็นผู้ปฏิบัติ
จัดการข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้องทุกครอบครัวในความรับผิดชอบ
ช่วยเหลือ สนับสนุนหมอครอบครัวในความรับผิดชอบและติดตามประเมินผลในครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
ประสานทีมสนับสนุนระดับตำบล เพื่อสนับสนุนหมอครอบครัวในเขตรับผิดชอบ
ประสานทีมสหวิชาชีพจากทีมระดับอำเภอเข้าดูแลร่วมกับทีมระดับตำบล ในกรณีที่ทีมดูแลในระดับตำบลต้องการสนับสนุนให้ร่วมดูแลผู้ป่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ
ประสานการให้คำปรึกษาส่งต่อกับทีมระดับอำเภอ
บทบาทของพยาบาลวิชาชีพในฐานะทีมหมอครอบครัว ทำงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ
ด้านการดูแลความเจ็บป่วยในครอบครัว
พัฒนา/จัดการ/กำกับ/ดูแลด้านสุขภาพและสังคมที่เกี่ยวข้องครอบครัว
การดูแลที่บ้านในครอบครัวที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงและเข้าถึงบริการได้ยาก
ประยุกต์ความรู้ในการดูแลเพื่อให้ตรงตามความต้องการของครอบครัวมากที่สุด และสร้างทางเลือกในการดูแล
ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ข้อมูลจาก Evidence-based practice และยึดหลักความคุ้มทุน คุ้มค่า เหมาะสมตามบริบทของครอบครัว
สนับสนุนพลังอำนาจครอบครัว ทำการสอน/การฝึก/การเป็นพี่เลี้ยงในการปฏิบัติการดูแลครอบครัวให้มีศักยภาพในการดูแลตนเองเท่าที่เป็นไปได้ตามบริบท
ให้คำปรึกษา/แนะนำด้านสุขภาพแก่ครอบครัวที่รับผิดชอบ เพื่อให้ครอบครัวดูแลตนเองได้และมีการให้ค าปรึกษาผ่านเทคโนโลยีที่ครอบครัวสามารถใช้ได้
มีการประสานและปฏิบัติงานแบบเป็นหุ้นส่วน ทั้งในทีมด้านสุขภาพ ทีมด้านสังคมและผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในชุมชน บนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาทักษะ
การพิทักษ์สิทธิ์ครอบครัวในความรับผิดชอบ ประสานผ่านประชาชนโดยตรง
ทำหน้าที่ประสานงานการส่งต่อและติดตามภายหลังจนปัญหาด้านนั้น ๆ ยุติลง
ความจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชน
หลักการ
ใช้เครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือของกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยผ่านกระบวนการความจำเป็นพื้นฐาน
ใช้ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานเป็นแนวทางในการคัดเลือกโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ
สภาพปัญหาที่แท้จริงของหมู่บ้าน/ชุมชน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ประชาชนสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง และครอบครัวให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างน้อยผ่านเกณฑ์ความจำเป็นพื้นฐาน โดยมีเครื่องชี้วัดความจำเป็นพื้นฐานเป็นเครื่องมือ
เครื่องชี้วัดข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชําติฉบับที่ 12
หมวดที่ 1 สุขภาพ มี 7 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 2 สภาพแวดล้อม มี 7 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 3 การศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 4 การมีงานทำและรายได้ มี 4 ตัวชี้วัด
หมวดที่ 5 ค่านิยม มี 8 ตัวชี้วัด