Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต, นางสาวจิราภรณ์ แก้วขวาน้อย รหัส…
บทที่ 2 การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
ความหมายของภาวะวิกฤต
ภาวะวิกฤต (crisis) หรือภาวะวิกฤตทางอารมณ์ (emotional crisis) ภาวะชั่วคราวที่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลเผชิญกับเหตุการณ์ที่ตนประเมินและรับรู้ว่ามีความคุกคาม ทำให้เกิดความสูญเสียหรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ภาวะวิกฤตทางอารมณ์
1)สถานการณ์วิกฤต (situation crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ แล้วส่งผลเสียต่ออารมณ์ทางจิตใจ เช่น การเสียคนรักจากอุบัติเหตุ การสอบตก ฯลฯ
2)พัฒนาการวิกฤตหรือวัยวิกฤต (maturation crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามช่วงวัยต่างๆตามกระบวนการเจริญเติบโต (life cycle change) เช่น การแยกออกไปสร้างครอบครัวของตนเอง
3)ภาวะวิกฤตที่เกิดจากภัยพิบัติ (disaster crisis)
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด จากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างเอง ส่งให้เกิดผลเสียต่างๆและความตึงเครียดอย่างรุนแรงต่อตัวบุคคลหรือชุมชนและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เช่น ไฟไหม้บ้าน อุทกภัย ฯลฯ
ลักษณะอาการและอาการแสดงของบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
แบ่งเป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 ระยะที่มีความเครียด ความวิตกกังวลมากขึ้น เพราะแก้ปัญหาแล้วไม่ได้ผล
อาการ : สับสน สมาธิลดลง เจ็บหน้าอก ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกผิดและละอาย (guilt and shame) รู้สึกโกรธ (anger)
ระยะที่ 2 ระยะฉุกเฉิน พยายามใช้ทักษะแก้ปัญหา เช่น การลองผิดลองถูก (trial and error attempts)
อาการ : รู้สึกขาดที่พึ่งและหมดหนทาง (helplessness) รู้สึกลังเล (ambivalence)
ระยะที่ 3 ระยะที่อยู่ในภาวะที่อ่อนไหว (vulnerable state) ได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ
ระยะที่ 4 ระยะที่บุคคลไม่สามารถรับความตึงเครียดวิตกกังวล (stress and anxiety) ที่มากขึ้นอีกต่อไป (intolerable level) นับเป็นจุดแตกหัก (breaking point) ทำให้บุคคลนั้นสูญเสียความสามารถ
สาเหตุการเกิดภาวะวิกฤตของบุคคล
1)เหตุการณ์วิกฤต (Negative Events)
2)การรับรู้ต่อเหตุการณ์วิกฤต
3)การแก้ไขปัญหา
ลักษณะการแก้ปัญหา
แบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา (problem focus coping)
แบบมุ่งเน้นอารมณ์ (emotion focus coping)
การพยาบาลบุคคลที่มีภาวะวิกฤต
1)การประเมินภาวะสุขภาพ
เพื่อรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติสุขภาพ
2)การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล ช่วยให้บุคคลที่มีภาวะวิกฤตมีพฤติกรรมการปรับตัวที่เหมาะสม สามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันได้ปกติ
3)การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะสั้น
ลดความเครียด ลดอาการและอาการแสดงที่เป็น
วัตถุประสงค์การพยาบาลระยะยาว
ฝึกทักษะการเผชิญปัญหา เตรียมความพร้อมแหล่งสนับสนุนช่วยเหลือทางสังคมที่เหมาะสม
4)การปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อให้การพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และวัตถุประสงค์การพยาบาล
5)การประเมินผลการพยาบาล
ประเมินผลลัพธ์การปฏิบัติการพยาบาล จากการบอกกล่าวของบุคคลผู้ที่มีภาวะวิกฤตเอง หรือครอบครัวของผู้มีภาวะวิกฤต หรือการสังเกต
นางสาวจิราภรณ์ แก้วขวาน้อย
รหัส 180101041 คณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3