Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลชุมชน บทบาทของพยาบาลชุมชนในการดูแลสุขภาพ …
แนวคิดและหลักการของการพยาบาลชุมชน บทบาทของพยาบาลชุมชนในการดูแลสุขภาพ
คุณภาพและมาตรฐานของการพยาบาลชุมชน
แนวคิดและหลักการพยาบาลชุมชน
เป็นการปฏิบัติที่สะท้อนปรัชญาความเชื่อและค่านิยมพื้นฐานในการดูแลสุขภาพในชุมชน โดยใช้กระบวนการพยาบาลประเมินภาวะสุขภาพที่บ้านและชุมชนเน้นการมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัวและชุมชนตลอดจนผู้นําชุมชนมาเป็นผู้ดูแลสุขภาพคนในชุมชน รวมทั้งการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพชุมชนโดยใช้หลักการสาธารณสุขมูลฐาน
กลุ่มเป้าหมายของการพยาบาลชุมชน
กลุ่มเป้าหมายในการให้การพยาบาลชุมชนเน้นการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยมีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน ทุกเพศ ทุกกลุ่มวัยตั้งแต่เกิดจนระยะสุดท้ายของชีวิต ทั้งกลุ่มที่มีภาวะสุขภาพดีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพที่อยู่ในชุมชน
การให้บริการพยาบาลชุมชน
การให้บริการพยาบาลชุมชนมักจะเป็นการจัดบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ (primary care) โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นบริการด่านหน้าดูแลการเข้าสู่ระบบบริการทางการแพทย์ (Gate Keeper) ของระบบบริการสุขภาพ ให้บริการที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางการพยาบาลผสมผสานกับศาสตร์ทางการแพทย์และสาธารณสุข พฤติกรรมศาสตร์ จิตวิทยา และสังคมศาสตร์เพื่อให้บริการทั้ง 4 มิติ ทั้งส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพแก่ผู้ป่วยและครอบครัวในชุมชน
หลักการพยาบาลชุมชน
The recognized need of individuals, families and communities จัดบริการรายบุคคล ครอบครัว และชุมชน
Knowledge and understanding of the objectives and policies of the agency facilities goal achievement รู้และเข้าใจวัตถุประสงค์และนโยบายขององค์กรจะนําไปสู่ความสําเร็จ
CHN considers the family as the unit of service. ครอบครัวเป็นหน่วย บริการของการพยาบาลชุมชน ครอบครัวเป็นหน่วยหนึ่งและเป็นช่องทางที่สําคัญในให้บริการสุขภาพ
Respect for the values, customs and beliefs of the clients เคารพในความเชื่อและวัฒนธรรม ประเพณีของผู้รับบริการ เคารพในค่านิยมขนบธรรมเนียมและความเชื่อของผู้รับบริการ
CHN integrated health education and counseling as vital parts offunctions บริการผสมผสานของการให้สุขศึกษาและการให้คําปรึกษา
Collaborative work relationships with the co-workers and members of the health team facilities accomplishments of goals การทํางานร่วมกันของทีมสุขภาพจะนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมาย
Periodic and continuing evaluation provides the means for assessing the degree to which CHN goals and objectives are being attained ประเมินผลงานเป็นระยะและต่อเนื่อง มีการประเมินระดับของการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการทํางานเป็นระยะและต่อเนื่อง
Continuing staff education program quality services to client and are essential to upgrade and maintain sound nursing practices in their setting บุคลากรควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ควรมีการพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลชุมชนอย่างต่อเนื่อง
Utilization of indigenous and existing community resources maximizing the success of the efforts of the Community Health Nurses การทํางานที่ เชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
Active participation of the individual, family and community in planning and making decisions for their health care needs, determine, to a large extent, the success of the CHN programs เน้นการสร้างการมีส่วนร่วมและการตัดสินใจของบุคคลครอบครัวและชุมชน
Supervision of nursing services by qualified by CHN personnelprovides guidance and direction to the work to be done การนิเทศติดตามบริการพยาบาลจากกรอบมาตรฐานของการพยาบาลชุมชน
Accurate recording and reporting serve as the basis for evaluation ofthe progress of planned programs and activities and as a guide for the future actions การบันทึกและรายงานที่ถูกต้องเป็นพื้นฐานของการประเมินความก้าวหน้าและเพื่อวางแผนแก้ไขในอนาคต การบันทึกและการรายงานที่ถูกต้อง
หน้าที่และบทบาทของพยาบาลชุมชน
หน้าที่ของพยาบาลชุมชน (Responsibilities of Community Nurses)
การประเมินปัจจัยกําหนดสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเป้าหมาย ระบุปัญหาสุขภาพ จัดการแก้ไขปัจจัย สาเหตุของปัญหาสุขภาพ
ด้านบริการ ความรับผิดชอบลักษณะบริการเป็นบริการครบถ้วน (comprehensive care) ผสมผสานบริการ 4 มิติ เน้นการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค การรักษาเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพ และการดูแลอย่างต่อเนื่อง (continuum of care)
ด้านการบริหาร จัดการให้การดําเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งกําลังคน เวลาและงบประมาณ จัดทําแผนงานพัฒนาสุขภาพชุมชน
ด้านวิชาการ จัดการข้อมูลสุขภาพและใช้ข้อมูลเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ศึกษาวิจัย มาพัฒนาสุขภาพชุมชน
บทบาทของพยาบาลชุมชน (Roles of Community Nurses)
ผู้ให้การดูแลสุขภาพ (health care provider)
ผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ (health educator
เป็นที่ปรึกษา (counselor)
ผู้ประสานงาน (coordinators)
ผู้พิทักษ์ผลประโยชน์และสิทธิผู้ใช้บริการ (advocate)
ผู้จัดการดูแล (care Manager)
ผู้นํา/ผู้นําการเปลี่ยนแปลง ( leader/change agent)
ผู้วิจัยและนวตกร (researcher/innovator)
รูปแบบการจัดบริการพยาบาลชุมชน (Service Profile)
ในสถานบริการสุขภาพ
การดูแลในภาวะสุขภาพปกติ (wellness care)
การให้การรักษาโรคเบื้องต้น (primary medical care)
บริการสุขภาพอย่างต่อเนื่อง (continuing care)
นอกสถานบริการสุขภาพ
การพยาบาลสาธารณสุข
การพยาบาลครอบครัว
การพยาบาลอาชีวอนามัย
การพยาบาลอนามัยโรงเรียน
การพยาบาลที่เชื่อมต่อ (Interface services)
อื่นๆ ได้แก่ งานพยาบาลจิตเวชชุมชน (community mental health nursing) งานพยาบาลขององค์กรเอกชนต่างๆ
การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการพยาบาลชุมชน
การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลชุมชน
Hospital Accreditation (HA) การพัฒนามาตรฐานโรงพยาบาลและสถาน
บริการอย่างเป็นระบบ
การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพสําหรับชุมชน (Health Promotion for the Community
การเสริมพลังชุมชน (Community Empowerment)
กระบวนการดูแลผู้ป่วย เป็นการดูแลต่อเนื่อง (Continuity of Care, COC)
การประกันคุณภาพการพยาบาล (quality assurance in nursing, QA) เป็นกระบวนการดําเนินงานอยางมีแบบแผนและมีกิจกรรมที่เป็นขั้นตอน ต่อเนื่อง เป็นระบบในการวัดและประเมินคุณภาพบริการพยาบาล
Primary Care Award (PCA) เป็นระบบพัฒนาคุณภาพหน่วยปฐมภูมิ เพื่อให้
เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิและผู้บริหาร
เกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลติดดาว (รพ.สต.ติดดาว) โดยมาตรฐาน ประกอบด้วย 5 หมวด (สํานัก
สนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ, 2562)
หมวดที่ 1 การนําองค์กรและการจัดการดี (บริหารดี) มีภาวะผู้นํา มีแผนปฏิบัติ การด้านสุขภาพ มีระบบบริหารการจัดการที่สําคัญ
หมวดที่ 2 การให้ความสําคัญกับประชากร ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ประสานงานดี ภาคีมีส่วนร่วม) เช่นมีข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ดําเนินงานโครงการร่วมกัน สร้างชุมนและภาคี เครือข่ายเข้มแข็ง
หมวดที่ 3 การมุ่งเน้นทรับพยากรบุคคล (บุคลากรดี) วิเคราะห์ ประเมิน สร้างความสุข และความพึงพอใจในคนทํางาน
หมวดที่ 4 การจัดบริการครอบคลุมประเภทและประชากรทุกกลุ่มวัย (บริการดี) การจัดบริการตามสภาพปัญหาของพื้นที่ การจัดบริการในสานบริการ ทันตสาธารณสุข แพทย์แผนไทย บริการ ในชุมชน rationale drug use (RDU), long term care (LTC)
หมวดที่ 5 ผลลัพธ์ (ประชาชนมีสุขภาพดี) ประกอบไปด้วย บทบาทของบุคคลและครอบครัวในการดูแลตนเอง ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัด นวัตกรรมการวิจัยและการจัดการความรู้
มาตรฐานการบริการพยาบาลในชุมชน
จําแนกตามการจัดบริการพยาบาล
หมวดที่ 1 การจัดบริการพยาบาลในชุมชน
มาตรฐานการบริการพยาบาลอนามัยหญิงตั้งครรภ์
มาตรฐานการบริการพยาบาลมารดาและทารกหลังคลอด
มาตรฐานการบริการพยาบาลเด็กปฐมวัย 0-5 ปี
มาตรฐานการบริการพยาบาลเด็กวัยเรียนและวัยรุ่น
มาตรฐานการบริการพยาบาลกลุ่มวัยทํางาน
มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้สูงอายุ
มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
มาตรฐานการบริการพยาบาลกลุ่มประชากรย้ายถิ่น
มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยที่ต้องดูแลพิเศษ
หมวดที่ 2 การจัดบริการพยาบาลในสถานบริการ
มาตรฐานการบริการพยาบาลตรวจรักษาโรคเบื้องต้น
หมวดที่ 3 การจัดบริการพยาบาลต่อเนื่อง
มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน