Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 4
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทางจิตเวช
เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (intellectual disability) ปัจจุบันถูกนำมาใช้แทนคำว่า ภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation) หมายถึง ภาวะที่เกิดขึ้นในระยะพัฒนาการจากการที่สมองของเด็กหยุดพัฒนาหรือมีการพัฒนาอย่างไม่สมบูรณ์
ลักษณะอาการและอาการแสดง
1.ความบกพร่องทางสติปัญญา (deficits in intellectual function)
เช่น การให้เหตุผล การแก้ปัญหา การวางแผน
2.ความบกพร่องของการปรับตัว (deficits in adaptive function) ส่งผลให้บุคคลมีพัฒนาการที่ไม่หมาะสม ไม่สามารถพึ่งพาตนเองและรับผิดชอบต่อสังคมได้
3.ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและการปรับตัว
1) มีพัฒนาการล่าซ้ำ
2) มีความบกพร่องด้านเชาว์ปัญญา
3) มีปัญหาด้านพฤติกรรม
4) มีลักษณะผิดปกติของรูปร่างอวัยวะต่าง ๆ
ระดับความรุนแรงของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) บกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย (mild intellectual disability) ระดับ IQ 50-69 ต้องการความช่วยเหลือเป็นครั้งคราว
ด้านความคิด เด็กจะมีความยากลำบากในการเรียนรู้
ด้านสังคม เด็กจะไม่มีวุฒิภาวะ มีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ ด้านทางสังคมกับบุคลอื่น
ด้านการปฏิบัติ สามารถดูแลตนเองได้เหมาะสมตามวัย อาจต้องการความช่วยหลือในการทำกิจกรรมที่มีความซับซ้อน
2) บกพร่องทางสติปัญญาปานกลาง (moderate intellectual disability) ระดับ IQ 35-49 ต้องการความช่วยเหลือปานกลาง
ด้านความคิด ทักษะการสื่อสารการพูด การอ่าน การเขียนมีข้อจำกัด ต้องการความช่วยเหลือในการทำงานในชีวิตส่วนตัวและการดำเนินชีวิต
ด้านสังคม จะรับรู้ระเบียบทางสังคมได้ไม่ถูกต้อง
ด้านการปฏิบัติ สามารถดูแลตนเองในการรับประทานอาหาร แต่งกาย
โดยต้องใช้เวลาในการฝึกมากกว่าเด็กที่มีพัฒนาการปกติ
3) บกพร่องทางสติปัญญารุนแรง (severe intellectual disability) ระดับ IQ 20-34 ต้องการความช่วยเหลือมาก พบร้อยละ 3-4
ด้านความคิด มีข้อจำกัด ด้านการคิด การใช้ภาษา ต้องช่วยเหลือ ในการแก้ปัญหาตลอดชีวิต
ด้านสังคม มีข้อจำกัดใการพูด อาจพูดได้เป็นคำ ๆ หรือวลี
จะมีสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวและผู้คุ้นเคย
ด้านการปฏิบัติ ต้องการความช่วยเหลือทุกอย่างในการทำกิจวัตรประจำวัน
4) บกพร่องทางสติปัญญารุนแรงมาก (profound intellectual disability) ระดับ IQ < 20 ต้องการความช่วยหลือตลอดวลา
ด้นความคิด และด้านสังคม มีข้อจำกัดในการเข้าใจสัญลักษณ์ของการสื่อสารด้วยคำพูด หรือท่าทาง อาจเข้าใจคำหรือท่าทางง่าย ๆ
ด้านการปฏิบัติ ต้องพึ่พาผู้อื่นในทุกด้านของการทำกิจวัตรประจำวัน
การดูแลสุขภาพ ความปลอดภัย ต้องอาศัยการฝึกอย่างมากในการช่วยเหลือตนเอง
สาเหตุของเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีนที่มีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ดาวน์ซินโดรม (down syndrome) มีความผิดปกติของ
โครโมโชมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
กลุ่มอาการฟลาจิลเอกซ์ (flaggy X syndrome) มีความผิดปกติของ
โครโมโชม X ขาดหายไป
เฟนิลคีโตนยูเรีย (phenylketonuria) เป็นโรคที่ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนสารอาหาร
เฟนิลอลานีน (phenylalanine) ให้เป็นไทโรซีน (tyrosine) ทำให้มีการสะสมเฟนิลอลานินมากกว่าปกติส่งผลต่อพัฒนาการของสมอง
2) ปัจจัยในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์ จากการศึกษาพบว่า ในระหว่างการตั้งครรภ์ถ้ามารดามีการใช้แอลกอฮอล์ยาหรือสารเคมีอื่น ๆ
ระยะคลอด พบว่า การคลอดก่อนกำหนด เด็กทารกจะมีน้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน กระบวนการคลอดนานผิดปกติ สมองได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
ระยะหลังคลอด พบว่า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคที่เกิดในวัยเด็ก
3) ปัจจัยทางจิตสังคม พบว่า เด็กที่เติบโตมาท่ามกลางความยากจน ครอบครัวแตกแยกและผู้เลี้ยงดูมีความผิดปกติทางจิต
การบำบัดรักษา
การรักษาโรคทางกาย ที่เป็นสาเหตุและความผิดปกติที่อาจพบร่วมด้วย เช่น อาการชัก
หัวใจพิการแต่กำเนิด หรือภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนที่พบในกลุ่มอาการดาวน์ เป็นต้น
กายภาพบำบัด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่
การจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในทุก ๆ ด้าน
กิจกรรมบำบัด เป็นการบำบัดที่ช่วยแก้ไขปัญหาที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในดำเนินชีวิต
อรรถบำบัด เป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสาร โดยฝึกเด็กให้ใช้กล้ามเนื้อในการพูด
โรคพฤติกรรมเกเร (conduct disorder หรือ CD)
ลักษณะอาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงมักเกิดกับเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้น โดยเด็กผู้ชายจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 10-12 ปี ส่วนเด็กผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 14-16 ปี โดยมีอาการสำคัญ คือ
มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคม
สาเหตุของโรคพฤติกรรมเกเร
ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factor)
ยีนที่ทำให้เกิดอาการโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) จะทำให้เกิดพฤติกรรมเกเรในเวลาต่อมา
มีการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS) น้อย พบว่าผู้ที่มีชีพจรเต้นช้ามักเป็นโรคพฤติกรรมเกเรได้ง่ายกว่า
สมองส่วน paralimbic system ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมเรื่องของแรงจูงใจและอารมณ์มีความผิดปกติ
สารสื่อประสาท (neurotransmitters) พบว่าเด็กที่มีพฤติกรรมเกเรจะมีระดับของ dopamine และ serotonin สูง แต่มี CSF 5HAA (5-hydroxyindoleacetic acid) ซึ่งสัมพันธ์กับความก้าวร้าวและความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ
ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone hormone) ระดับสูงมีความสัมพันธ์กับการมีพฤติกรรมก้าวร้าว
การที่ได้รับสารพิษตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
สติปัญญาในระดับต่ำและมีผลการเรียนไม่ดี
การมีโรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD)
ปัจจัยด้านจิตสังคม (psychosocial factors)
ลักษณะพื้นอารมณ์ (temperament) ตั้งแต่เกิดเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก
มีลักษณะซนมากกว่าปกติ มีอารมณ์รุนแรง รับประทานอาหารยาก
นอนหลับยาก
วิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ที่เป็นผลมาจากการที่พ่อแม่ ที่มีพยาธิสภาพทางจิต ติดสารเสพติด
ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ
การไม่รับการยอมรับจากเพื่อนก็มีอิทธิพลอย่างมาก การมีความขัดแย้งกับเพื่อน
การบำบัดรักษาโรคพฤติกรรมเกเร
การรักษาทางกาย
การรักษาโรคต่างๆ ที่พบร่วมกับพฤติกรรมเกเร เช่น การบำบัดการติตยาเสพติด
การรักษาทางยา
พิจารณาใช้ยาประเภท antipsychotics เช่น haloperidol (haldol), risperidone (risperdal) และ olanzapine (zyprexa) ในกรณีที่เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันตรายต่อผู้อื่น
เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีโรคร่วมพวก โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorders)จะรักษาโดยให้ยา lithium
เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาหรือมีปัญหาทางสมอง (organic brain)จะรักษาโดยให้ยา propranolol
การรักษาทางจิต
การให้คำปรึกษารายบุคคล
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และทักษะการเข้าสังคม
การบำบัดเพื่อเพิ่ม self-esteem
การบำบัดครอบครัว
การอบรมพ่อแม่ (parenting program)
การรักษาทางอารมณ์ เช่น การบำบัดในเรื่อง anger management หรือดนตรีบำบัด
การบำบัดทางจิตวิญญาณ เป็นการช่วยให้เด็กเข้าใจตนเอง ค้นพบตนเอง มีจุดมุ่งหมายหรือมีความหวังในชีวิต มีสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ