Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 มโนทัศน์ของความผิดปกติทางสุขภาพ และจิตเวช - Coggle Diagram
บทที่ 1
มโนทัศน์ของความผิดปกติทางสุขภาพ และจิตเวช
Stress diathesis model
พันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจง ส่งผลให้เกิดจุดอ่อน เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคได้ ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบสลางประการหรือสถานการณ์ความเครียดจะก่อให้เกิดพฤติกรรมมที่ผิดปกติ
Case formulation
4 P's จากตัวผู้ป่วยหรรือสิ่งรอบตัว
ปัจจัยเสี่ยง (predisposing factors) สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ตัวบุคคล
ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ (precipitation factors) สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น การใช้สารเสพติด ,การนอนหลับเปลี่ยนแปลง ,สัมพันธภาพล้มเหลว
ปัจจัยที่ทำให้อาการคงอยู่ (perpetuation factors) สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม เช่น การไม่ไปรักษา ,การรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง ,การไม่ยอมรับความเจ็บป่วย
ปัจจัยการปกป้อง (protective factors) สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ความเชื่อ ทัศนคติ พฤติกรรม ช่วยให้ปรับตัวต่อสถานการณ์ เช่น มีงานทำ ,ครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดี ,มีความสามารถในการแก้ปัญหา
ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคทางจิตเวช มีหลากหลายทั้งปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (bio-psycho-social-spiritual factors)
1) ปัจจัยทางกายหรือชีวภาพ (Biological factors) คือปัจจัยสาหตุทางด้านร่างกายที่ส่งผลให้ เกิดโรคทางจิตเวช
2)ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุจากภายในของมนุษย์ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือโรคทางจิต ส่วนใหญ่มา จากการเลี้ยงดู ความคิด ความเชื่อที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ และประมวลมาเป็นแบบแผนของบุคลิกภาพ หรือพฤติกรรมที่ใช้ในการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆของชีวิต ซึ่งบุคลิกภาพหรือ ความสามารถในการปรับตัวของแต่ละบุคคลต่างกัน
3) ปัจจัยทางด้านสังคม(social factors)ปัจจัยที่เป็นสาเหตุจากลักษณะสิ่งแวดล้อมทางกายภาพการอบรมเลี้ยงดูความรักใคร่ในครอบครัวการศึกษาปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมการเมืองและศาสนาที่ทำให้เกิดปัญหาโรคทางจิต
4) ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
ปรัชญาชีวต (Philosophy of Life) เป็นแนวคิดที่สำคัญ ในดำเนินชีวิต เป็นการให้ความหมายแก่สิ่งที่สำคัญในชีวิตสะท้อนออกมาให้เห็นได้ในพฤติกรรมบางอย่างของมนษุย์
สิ่งที่นับถือหรือที่พึ่งทางใจ (concept of deity)ได้แก่ศาสนาหรือสิ่งที่บุคคลเลื่อมใสศรัทธาซึ่งเป็นเครื่องมือช่วยนําไปสู่การพัฒนาระดับของจิตให้ทําให้บุคคลมีสิ่งยึดเหนี่ยวและนําทางชีวิตไปใน หนทางที่สงบสุข
อาการวิทยาและเกณฑ์การจําแนกโรคทางจิตเวช
1) อาการแสดง (signs) คือ สิ่งที่ผู้ตรวจได้จากการสังเกตและทําการตรวจ เช่น การแสดงออกทางสี หน้าที่จํากัด (restricted affect) การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเชื่องช้า (psychomotor retardation)
2) อาการ (symptoms) คือ ประสบการณ์ที่ผู้ป่วยได้รับ ซึ่งจะถูกบอกเล่าโดย
ผู้ป่วยเอง ได้แก่ มี อารมณ์เศร้า รู้สึกหมดเรี่ยวแรง
3) กลุ่มอาการ (syndrome) คือ อาการและอาการแสดงหลาย ๆ อย่างที่พบร่วมกัน แล้วถูกเรียก ด้วยชื่อเฉพาะกลุ่มอาการ กลุ่มอาการหนึ่ง ๆ อาจพบได้ในหลายโรค ดังน้ันกลุ่มอาการจึงมีความจําเพาะน้อย กว่าคําว่าโรค (disease) บางชนิดที่ทราบพยาธิสภาพและสาเหตุที่ชัดเจน
4) โรคทางจิตเวช (psychiatric disorder หรือ mental disorder) หมายถึง กลุ่มอาการและอาการ แสดงที่เป็นความผิดปกติของพุทธิปัญญา (cognition) การควบคุมอารมณ์ (mood) หรือพฤติกรรม (behavior) ที่สะท้อนถึงความผิดปกติทางจิต (psychological) ทางชีววิทยา (biological) หรือกระบวนการ ทางพัฒนาการ (developmental process) ซึ่งส่งผลให้การทําหน้าที่ทางจิตมีความบกพร่อง กลุ่มของ mental disorder นี้มักทําให้เกิดความทุกข์ทรมาน (distress) หรือทุพพลภาพ (disability) ทางสังคม การประกอบอาชีพ หรือการทําหน้า ที่ในประเด็นอื่น ๆ ที่สําคัญ เป็นต้น
กลุ่มของอาการและอาการแสดงทางจิตเวช
ความผิดปกติของความรู้สึกตัว (disturbance of consciousness)
ชนิดที่ 1 ความผิดปกติของระดับความรู้สึกตัว (disturbance of level of consciousness) มักเกิดจากสมองมีพยาธิสภาพ
ชนิดที่ 2 ความผิดปกติของการคงความใส่ใจ (disturbance of attention) ความใส่ใจ (attention) คือ ความพยายามในการรวมความสนใจไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของประสบการณ์ ณ เวลานั้น ๆ ความผิดปกติของความใส่ใจ
ชนิดที่ 3 ความผิดปกติของการถูกชักจูง (disturbance of suggestibility) การถูกชักจูง คือ การยินยอมปฏิบัติตามความคิด ความเชื่อ ทัศนคติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ความผิดปกติของพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (disturbance of motor behavior)
การเคลื่อนไหวเป็นแง่มุมหนึ่งของจิตใจ เกิดจากการรวมกันของ
แรงขับ (drives) ,แรงกระตุ้น (impulse) ,แรงจูงใจ (motivations)
,ความปรารถนา (wishes) ,สัญชาตญาณ (instincts) ,ความกระหายอยากได้ (cravings)
ความผิดปกติของการพูด (disturbance of speech)
poverty of speech การพูดมีปริมาณคำน้อยมากอาจตอบคำถามด้วยคำพยางค์เดียว
cluttering พูดเป็นจังหวะติดๆขัดๆมีช่วงที่พดูเร็วและกระตุกไปกระตุกมา
pressure of speechพูดมากพูดเร็วและเร่งขึ้นเรื่อยๆ และมักพบว่า พูดเสียงดังด้วย
ความผิดปกติของอารมณ์ (disturbance of emotion)
สภาวะอารมณ์ (emotion) เป็นความรู้สึกที่ซับซ้อน ที่มีองค์ประกอบจาก ทั้งทางจิต ทางกายและทางพฤติกรรม
อารมณ์ที่แสดงออก (affect) สภาวะอารมณ์ที่ปรากให้ผู้อื่นสังกตได้
อารมณ์ (mood) สภาวะอารมณ์ (emotion) ที่คงอยู่นาน เป็นประสบการณ์ ภายในเฉพาะตัวที่มีผลต่อการรับรู้และพฤติกรรมของบุคคลนั้น
ความผิดปกติของความคิด (disturbance of thinking)
ชนิดที่ 1 ความผิดปกติโดยรวมของความคิด(general disturbance in form or process of thinking)
ชนิดที่ 2 ความผิดปกติของกระบวนการคิด (disturbances in form of thought)
ชนิดที่ 3 ความผิดปกติของเนื้อหาความคิด (disturbance of content of thought)
ความผิดปกติของการรับรู้สัมผัส(disturbance of perception)
การรับรู้ (perception) คือ กระบวนการทางจิตที่เริ่มต้ังแต่การที่ ระบบประสาทรับรู้ถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า แล้วดาเนินไปจนบุคคลเกิด ความตระหนักรู้(awareness)ถึงสิ่งเร้าการรับรู้ที่ผิดปกติ
ชนิดที่1 การรับรู้ผิดปกติแบบประสาทหลอน(hallucination)เป็นการรับรู้แบบผิดพลาด(false)
ชนิดที่2 การรับรู้ผิดปกติแบบประสาทลวง(illusion)
ชนิดที่ 3 การรับรู้ผิดปกติที่เป็นปรากฎการณ์ conversion และ dissociation
ชนิดที่ 4 ความผิดปกติของการรับรู้ที่เกิดความผิดปกติของพุทธปัญญา(cognition)
ความผิดปกติของความจำ (disturbance of memory)
ชนิดที่ 1 immediate memory ความจำสิ่งที่เพิ่งรู้มาเมื่อสังเกตุเป็นวลาหลายวินาทีหรือหลายนาที
ชนิดที่ 2 recent memory ความจาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 วันก่อน
ชนิดที่ 3 recent past memory ความจาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2-3 เดือนก่อน
ชนิดที่ 4 remote memory ความจาเหตุการณ์ในอดีตผ่านที่นานแล้ว
เกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวช
International Classification of Disease and Related Health Problem 10 th Revision (ICD 10)
•ได้รับการตีพิมพ์ในปี1992
•พัฒนาขึ้นโดยองคก์ารอนามัยโลก(World Health Organization) •ระบบICDนี้ป็นระบบที่ใช้เป็นทางการทั่วโลก
•เป็นการจัดระบบจำแนกโดยอาศัย สาเหตุของโรคและการดำเนินโรค
•ใช้ระบบตัวอักษรร่วมกับตัวเลขตั้งแต่ A00 - Z99 โดยความผิดปกติทางจิต และพฤติกรรม (mental and behavioral disorders จะเริ่มที่ F00-F99
Diagnostic and Statistical Manual of
Mental Disorder 5 th edition (DSM V)
พัฒนาโดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association หรือ APA)
เริ่มใช้ในปคริสต์ศักราช 1994 ปัจจุบันใช้มีตีพิมพลสุดในป ค..ศ. 2013มี-- ความความแตกต่ำงกันบ้างกับ ICD 10 แต่โดยภาพรวมแล้วมีความคล้ายคลึงกัน
เป็นการจาแนกโรคโดยอาศัยอาการและอาการแสดงเป็นหลัก
โดยการประเมินผู้ป่วยในหลายค้นแบ่งออกเป็น 5
3 แกนแรกเป็นการวินิจฉัยโรคที่เป็นทางกาi
2 แกนหลังเป็นข้อมูลส่วนที่เพิ่มเติมใช้ในการรักษาและพยากรณ์โรค