Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Retained placenta ภาวะรกค้าง - Coggle Diagram
Retained placenta ภาวะรกค้าง
ความหมาย
การที่รกไม่คลอดหรือไม่หลุดออกมาหลังตัวทารกคลอดแล้วภายในประมาณ 30 นาที แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.Retained placenta คือ รกทั้งอันยังไม่คลอดออกมา
2.Retained piece of placenta คือ รกคลอดเพียงบางส่วนมีเศษรกค้างในโพรงมดลูก
การรักษา
การล้วงรก manual removal of placental
เป็นการช่วยเหลือเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยในระยะที่ 3 ของการคลอด กรณีรกไม่คลอดหรือมีการฝังตัวแน่นของรก
ข้อบ่งชี้ของการล้วงรก
1.รกค้างเกิน 30 นาที หลังทารกคลอดและเลือดออกไม่เกิน 400 มิลลิลิตร
2.มีเลือดออกมากหลังทารกคลอดเกิน 400 มิลลิลิตรไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลา
3.สายสะดือขาดและหดกลับเข้าไปในช่องคลอดโดยไม่สามารถตามเข้าไปclampสายสะดือตรงจุดที่ขาดได้
การช่วยเหลือดูแล
ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระเพาะปัสสาวะว่างเปล่า (อาจต้องสวนปัสสาวะ)
ถ้ารกยังค้างอยู่ในโพรงมดลูก(Retained Placenta) ภายหลังจากที่ได้มีการทำ Active management ในระยะที่ 3 ของการคลอดแล้ว (ฉีด Oxytocin 10 Unit เข้ากล้ามเนื้อ หลังทารกคลอดภายใน 1 นาทีและทำ control cord traction)
รายงานแพทย์เพื่อคะเนได้ว่ารกไม่คลอดภายใน 30 นาที ในระยะที่ 3 เพื่อให้การช่วยเหลือโดยการล้วงรก พร้อมกับตามวิสัญญีแพทย์ เพื่อให้ยาสลบขณะทำการล้วงรก
ติดตามประเมินการติดเชื้อและภาวะตกเลือดในระยะหลังคลอด (Late PPH) ดูภาวะของ Involution of uterus โดยประเมินลักษณะน้ำคาวปลา สัญญาณชีพ และระดับยอดมดลูก
ภายหลังล้วงรกประเมินการหดรัดตัวของมดลูก/จำนวนเลือดออกและสัญญาณชีพเพื่อประเมินภาวะตกเลือดหลังคลอดในระยะแรก (Early PPH)
การผ่าตัดมดลูก
เพื่อรักษาอาการเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก เนื้องอก พังผืด เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มะเร็ง ความผิดปกติขณะคลอดหรือภาวะมดลูกหย่อน
มี 4 วิธี
การผ่าตัดมดลูกผ่านผนังหน้าท้องแบบแผลเล็ก (Minilaparotomy Hysterectomy)
การผ่าตัดมดลูกด้วยวิธีการนี้จำเป็นต้องเปิดแผลขนาดประมาณ 5 เซนติเมตรเพื่อทำการผ่าตัดที่มดลูกโดยตรง
การผ่าตัดนี้อาศัยระยะเวลาในการพักฟื้นนานกว่าการผ่าตัดมดลูกแบบช่องคลอดกับช่องท้อง
การผ่าตัดมดลูกโดยใช้กล้องส่องช่องท้อง
(Laparoscopic Hysterectomy)
แพทย์จะทำการเปิดแผลที่หน้าท้องขนาด 0.5-1 เซนติเมตร ประมาณ 3-4 แผล แล้วใส่เครื่องมือผ่านแผลดังกล่าวเข้าไปในช่องท้อง เพื่อทำการผ่าตัดมดลูก
มักทำในกรณีที่มีเนื้องอกมดลูก มีการหย่อนของอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหรือมีภาวะเลือดออกผิดปกติจากมดลูก
การผ่าตัดนี้จะเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องและฟื้นตัวได้เร็ว
การผ่าตัดมดลูกผ่านหน้าท้องแบบปกติ
(Abdominal Hysterectomy)
การผ่าตัดวิธีนี้จะทำก็ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น เนื่องจากต้องเปิดแผลกว้างถึง 15 เซนติเมตร เป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยแต่ก็ต้องอาศัยเวลาในการพักฟื้นนาน และมีโอกาสเกิดแผลเป็นสูง
การตัดมดลูกทางช่องคลอด
(vaginal hysterectomy)
เป็นการผ่าตัดเอามดลูกออกจากร่างกายโดยไม่มีแผลภายนอกร่างกาย เจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบอื่นและมีภาวะแทรกซ้อนที่น้อยการผ่าตัดนี้มักทำกรณีที่มีมดลูกหย่อน มดลูกมีขนาดเล็กและไม่มีพังผืดในช่องท้อง
สาเหตุ
สาเหตุส่งเสริม
มดลูกมีลักษณะผิดปกติเช่นมีผนังกั้นภายในโพรงมดลูก หรือเรียกว่า Bicornuate uterus
ทำคลอดรกก่อนรกลอกตัว
เคยทำหัตถการที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะรกค้าง เช่น เคยผ่าท้องทำคลอดหรือผ่าตัดเอาเนื้องอกออกจากโพรงมดลูก(Myomectomy) หรือเคยขูดมดลูกมาก่อน
เคยมีประวัติรกค้าง
รกเกาะแน่น (Placenta adherent) ไม่สามารถหลุดลอกออกมาได้เพราะมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
มารดาอายุมาก เคยตั้งครรภ์หลายครั้ง
ขาดกลไกของการลอกตัว
รกปกติแต่มดลูกไม่หดรัดตัว รกจึงไม่ลอก หรือลอกตัวได้ไม่สมบูรณ์ อาจเนื่องมาจากการคลอดที่ล่าช้า การให้ยาสลบ หรือได้รับยาระงับปวดมากเกินไป มารดาอ่อนเพลีย กระเพาะปัสสาวะเต็ม
รกผิดปกติ ถึงแม้มดลูกจะมีการหดรัดตัวได้ดีตามปกติ แต่ก็ไม่สามารถลอกออกมาได้ ได้แก่
-รกเกาะแน่น(Placenta adherent)
-รกเกาะลึก(Placenta accreta)
-รกแบน(placenta membranacea)
-รกน้อยชนิด Placenta succenturiata หรือ placenta spurium
ขาดกลไกของการขับดัน ให้รกที่ลอกตัวแล้วผ่านออกมาภายนอก
รกลอกตัวแล้ว และผ่านโพรงมดลูกออกมาอยู่ในช่องคลอดแล้วแต่ไม่สามารถผ่านออกมาภายนอกเนื่องจากผู้คลอดไม่เบ่งขับไล่ออกมาตามธรรมชาติของการคลอดเองของรก หรือผู้คลอดไม่ผลักไล่รกที่ลอกตัวแล้วให้คลอดออกมา
รกลอกตัวแล้วแต่ไม่สามารถผ่านออกมาจากโพรงมดลูกส่วนบนได้ เนื่องมาจากการหดรัดตัวที่ผิดปกติของมดลูก เช่น cervical cramp และ constriction ring เป็นต้น
ชนิดของภาวะรกค้าง
มี 3 ชนิด
Placenta accreta
คือ รกค้างที่มีการฝังอยู่แค่บริเวณชั้นผิวๆ เป็นการเกาะแน่นของ Chorionic villi กับผนังมดลูกชั้นเยื่อบุ
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด
Placenta increta
รกฝังตัวเกาะลึกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก (Myometrium)
Placenta percreta
รกมีการฝังตัวตลอดความหนาของกล้ามเนื้อมดลูกหรือทะลุออกมานอกตัวมดลูก ถ้า Chorionic villi ไชทะลุกล้ามเนื้อมดลูกออกไปถึงเยื่อบุช่องท้องอาจอันตรายถึงชีวิต แต่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย
การวินิจฉัย/ประเมิน
การวินิจฉัย
1.จากอาการ เเละอาการเเสดง
2.ตรวจยืนยันจาก USG เพื่อดูชิ้นส่วนของรก หรือการฝังตัวของรกทีผิดปกติ
การประเมิน
การคลอดรก
การบาดเจ็บของช่องคลอดและแยกภาวะมดลูกแตก
การหดรัดตัวของมดลูก
การเเข็งตัวของเลือด
การพยาบาล
ช่วยเหลือการคลอดรกที่ลอกแล้วแต่ค้างอยู่ภายในช่องคลอด
ตรวจดูอาการแสดงต่าง ๆ ของรกที่ลอกตัวสมบูรณ์แล้ว ถ้ามีแสดงว่ารกลอกตัวแล้วแต่ขาดกลไกธรรมชาติที่จะให้รกคลอดออกมาเองซึ่ง ได้แก่ แรงเบ่งหรือขาดการช่วยเหลือการคลอดรกดังนั้นเพียง แต่แพทย์ช่วยเหลือการคลอดรกด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งแล้วรกก็จะคลอดออกได้โดยง่าย
ช่วยเหลือการคลอดรกที่ยังค้างอยู่ภายในโพรงมดลูก
ถ้าตรวจดูแล้วปรากฏว่าไม่มีอาการแสดงของรกลอกตัวสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงรกถูกผลักดันมาอยู่ในช่องคลอดแล้วรกอาจจะยังไม่ลอกตัวหรือลอกตัวแล้วแต่ส่วนของมดลูกหดตัวรัดเอาไว้ไม่ให้เคลื่อนผ่านออกมาห้ามทำ Modified crede maneuver คือ ดันมดลูกให้รกคลอดเป็นอันขาด แต่ควรปฏิบัติดังนี้
4.1 ตรวจการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกถ้าไม่มีการหดรัดตัวหรือมีการหดรัดตัว แต่ไม่แข็งเต็มที่ควรทำดังนี้
4.1.1 สวนปัสสาวะเราพบได้เสมอที่การมีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะทำให้มดลูกหดตัวได้ไม่ดีเป็นเหตุให้รกไม่อาจลอกตัวได้สมบูรณ์
4.1.2 ถ้าสวนปัสสาวะแล้วมดลูกยังไม่หดรัดตัวดีขึ้นควรใช้ฝ่ามือคลึงเบา ๆ ที่ยอดมดลูกเพียงเพื่อเป็นการกระตุ้นให้มดลูกรัดตัวดีขึ้นห้ามคลึงเคล้นด้วยความรุนแรงเป็นอันขาดเพราะอาจเกิดการหดรัดตัวที่ผิดปกติ
4.2 ถ้าปฏิบัติดังกล่าวแล้วรกยังไม่ลอกตัวในเวลาอันสมควรแสดงว่า
4.2.1 รกลอกตัวแล้ว แต่ไม่อาจผ่านโพรงมดลูกออกมาได้
4.2.2 รกลอกตัวเองไม่ได้ตามธรรมชาติ
4.3 ผู้ทำคลอดอาจสอดนิ้วมือเข้าไปในช่องคลอดเพื่อตรวจดูสภาพของปากมดลูกหรือส่วนของกล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างว่ามีการหดรัดตัวจนขัดขวางการเคลื่อนต่ำของรกหรือเปล่า
4.4 อาจลองทำคลอดรกด้วยวิธีดึงสายสะดือ แต่ถ้าลองดึงดูแล้วรกยังติดอยู่ห้ามดึงต่อไปด้วยกำลังแรงเพราะสายสะดืออาจขาดหรือมดลูกปลิ้นหรือมีเศษรกค้างอยู่ภายในมดลูกได้
ผลกระทบต่อภาวะรกค้างของมารดา/ทารก
ทารก
1.ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดาล่าช้า
2.การสร้างเสริมพันธภาพระหว่างมารดาและทารกล่าช้า
มารดา
1.มีโอกาสเกิดภาวะ ตกหลอดหลังคลอดเนื่องจากรกไม่รอกตัว และมดลูกไม่หดรัดตัว
2.เมื่อเกิดภาวะรกค้างทำให้เกิดการติดเชื้อหลังคลอดได้ เนื่องจากการค้างของรกหรือชิ้นส่วนของรกภายในโพรงมดลูก หรือจากการล้วงรก
มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการถูกตัดมดลูกทิ้งเนื่องจากรกฝังตัวลึกกว่าปกติ (Placenta accretc)
ถ้าถูกตัดมดลูกทิ้ง (hysterectomy) จะทำให้หมดโอกาสที่จะตั้งครรภ์ต่อไปโดยเฉพาะผู้คลอดที่อายุน้อยและต้องการบุตรอีก
อาการและอาการแสดง
รกค้างบางส่วน
มีอาการตกเลือดหลังคลอด
ปวดท้องน้อย เนื่องจากมดลูกพยายามบีบตัว
ขับเศษรกออกมา
มีเลือดออกกระกริบกระปรอย
มีสิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอด หรือน้ำคาวปลา
มีกลิ่นเหม็น
รกค้างทั้งรก
เลือดไหลไม่หยุดหลังจากคลอดทารก
อ่อนเพลีย
ซีดและขาดเลือด
อ้างอิง
ปกรณ์ จักษุวัชร และ เฟื่องลดา ทองประเสริฐ . ความผิดปกติของรก
(Placental abnormalities). สืบค้นเมื่อ วันที่ 16
มกราคม 2563 จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1174:placental-abnormalities&catid=45&Itemid=561
ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย.การดูแลรักษาภาวะรกค้าง.สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564 จาก
http://wops.moph.go.th/ngo/oddh/cd/nurse/pramot/CPG_retained%20pla.pdf
สุทิศา กาลรักษ์.ความหมายรกค้าง.สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2564 จาก
http://www.msdbangkok.go.th/dowload%20file/Personal/Succeed/RN/1151_Sutisa.pdf
.
ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์.(2562).การพยาบาลสูติศาสตร์เล่ม3. พิมครั้งที่ 16 . นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.
ศศิวิมล ศรีสุโข. Overview in Abdominal Hysterectomy. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563 จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=894:overview-in-abdominal-hysterectomy&catid=45&Itemid=561