Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทาจิตเวชโรคพฤติกรรมเกเร,…
บทที่ 4 การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่มีการเจ็บป่วยทาจิตเวชโรคพฤติกรรมเกเร
อาการและอาการแสดง
มีอาการสำคัญ คือ มีการล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น
หรือฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ของสังคมในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา
เด็กก่อคดี เช่น ขโมยของในห้างแล้วถูกจับได
เด็กผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 14-16 ปี
ปัญหาเกี่ยวกับการเรียน เช่น หนีเรียน
เด็กผู้ชายจะเริ่มแสดงอาการช่วงอายุ 10-12 ปี
พฤติกรรมไม่เชื่อฟัง เช่น ไม่กลับบ้าน ขโมยของ โกหก ชกต่อย หรือเสพยาเสพติด
มักเกิดกับเด็กโตหรือวัยรุ่นตอนต้น
โรคพฤติกรรมเกเร (conduct disorder หรือ CD) อยู่ในกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติของพฤติกรรม เริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็กหรือวัยรุ่น มีพฤติกรรม ก่อกวน เป็นปัญหา และไม่สามารถควบคุมอารมณ์และพฤติกรมของตนเองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นได้ โดยที่พฤติกรรมที่มีลักษณะละเมิดสิทธิของผู้อื่น พฤติกรรมที่ทำให้ตนนั้นมีความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับมาตรฐานต่างๆ ของสังคมหรืผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า
สาเหตุและการบำบัดรักษา
การบำบัดรักษา
การรักษาทางสังคม
การอบรมพ่อแม่ (parenting program)
การบำบัดครอบครัว
การรักษาทางอารมณ์
การบำบัดในเรื่อง anger management
ดนตรีบำบัดในกรณีที่เด็กมีอารมณ์โกรธอย่างรุนแรง
ไม่สามารถควบคุมตนเองได
การรักษาทางจิต
ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะการเรียนรู้และทักษะการเข้าสังคม
การบำบัดเพื่อเพิ่ม self-esteem
การให้คำปรึกษารายบุคคล
การบำบัดทางจิตวิญญาณ
เป็นการช่วยให้เด็กเข้าใจตนเอง ค้นพบตนเอง
มีจุดมุ่งหมายหรือมีความหวังในชีวิต
การรักษาทางกาย
เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและมีโรคร่วมพวก โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorders) รักษาโดยให้ยา lithium
ใช้ยาประเภท antipsychotics
risperidone (risperdal)
olanzapine (zyprexa)
haloperidol (haldol)
สาเหตุ
ปัจจัยทางชีวภาพ (biological factor)
สารสื่อประสาท (neurotransmitters) พบระดับของ dopamine และ serotonin สูง แต่มี CSF 5HAA (5-hydroxyindoleacetic acid) ซึ่งสัมพันธ์กับความก้าวร้าวและความรุนแรงอยู่ในระดับต่ำ
ฮอร์โมนเพศชาย (testosterone hormone) ระดับสูง
สมองส่วน paralimbic system ควบคุมเรื่องของแรงจูงใจและอารมณ์มีความผิดปกติ
การที่ได้รับสารพิษตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา
มีการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system หรือ ANS)
สติปัญญาในระดับต่ำและมีผลการเรียนไม่ดี
ยีนที่ทำให้เกิดอาการโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD) จะทำให้เกิดพฤติกรรมเกเรในเวลาต่อมา
การมีโรคความผิดปกติของการเรียนรู้ (learning disorders หรือ LD)
ปัจจัยด้านจิตสังคม (psychosocial factors)
วิธีการเลี้ยงดูของพ่อแม่
ขาดความสม่ำเสมอในการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ
ไม่สามารถสร้างความผูกพันกับลูกได้
การลงโทษมีลักษณะไม่คงเส้นคงวา
ครอบครัวที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในระดับต่ำ
ถูกทำร้ายในวัยเด็กมากก่อน
ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ
อาจทำให้สมองส่วน hippocampus เล็กลง (hippocamp ทำหน้าที่
ในการบันทึกความทรงจำและการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม
การเผชิญกับเหตุการณ์ที่ทารุณจิตใจทำให้เกิดโรคเครียดหลังผ่านเหตุการร้ายแรง (post-traumatic stress disorder หรือ PTSD)
การถูกทำร้ายร่างกายหรือการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ลักษณะพื้นอารมณ์ (temperament)
รับประทานอาหารยาก
มีอารมณ์รุนแรง
ตั้งแต่เกิดเป็นเด็กที่เลี้ยงยาก
มีลักษณะซนมากกว่าปกติ
นอนหลับยาก
การไม่รับการยอมรับจากเพื่อนก็มีอิทธิพลอย่างมาก
ส่งผลให้มีผลการเรียนลดลงและมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว
เด็กก็จะมีสัมพันธภาพกับเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรมเพิ่มมากขึ้น
การมีความขัดแย้งกับเพื่อน
การพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (nursing diagnosis)
มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่องเนื่องจากขาดความมั่นใจในตนเองและมองโลกในแง่ลบ
มีการติดต่อสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจกครอบครัวมีวิธีการติดต่อสื่อสารที่ไม่เหมาะสม
มีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากครอบครัวซึ่งเป็นตัวแบบของเด็กมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่มีประสิทธิภาพ
มีภาวะเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและ/หรือบุคคลอื่นเนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธได้
มีภาวะเสี่ยงต่อการใช้ความรุนแรงเนื่องจากมีกระบวนการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสม
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล (planning and implementation)
สอนให้เด็กรู้จักประเมินการตอบสนองต่างๆ
ดูแลช่วยเหลือให้ได้รับการอบรมพ่อแม่และฝึกปฏิบัติในการเลี้ยงดูลูกที่เรียกว่า parenting program
ฝึกสอนทักษะทางสังคม (social skills training)
ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา (problem solving skills training) ทักทักษะการควบคุมความโกรธ (anger management)
ฝึกให้พ่อแม่ตั้งความหวังกับลูกอย่างเหมาะสม
สื่อสารกับเด็กและครอบครัวให้ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ทีมสหสาขาวิชาชีพ
ฝึกให้พ่อแม่สามารถเข้าใจ และ่สามารถใช้เทคนิกในการเสริมแรงทางบวกแก่ลูก
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดกับเด็กและครอบครัวให้เกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือในการรักษา
ส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีการสนับสนุนทางอารมณ์
ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมและบริบทต่างๆ
การประเมินสภาพ (assessment)
การประเมินทุกมิติทั้งทางกาย วาจา จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม การรู้คิด และสังคม
ประเมินระดับความรุนแรงของพฤติกรรมที่มีปัญหา
การประเมินเด็กต้องเป็นไปในลักษณะของการที่ไม่ตัดสินเด็ก
ประเมินครอบครัวของเด็ก
การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ สังเกตพฤติกรรมของเด็ก
ประเมินว่าเด็กมีอาการของโรคสมาธิสั้น
(attention deficit hyperactivity disorder หรือ ADHD)
การประเมินผล (evaluation)
พฤติกรรมต่างๆที่เป็นปัญหาลดลงหรือไม
พยาบาลจะต้องนำผลที่ประเมินได้มาปรับแผนการพยาบาล
การประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไป
ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
นางสาวอรอุมา มะลัยคำ พยบ.ปี3 รหัสนักศึกษา 180101026