Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบเศรษฐกิจ - Coggle Diagram
ระบบเศรษฐกิจ
ระบบแบบทุนนิยม
1.ประชาชนและเอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆได้ตามกฎหมาย
2.ประชาชนและเอกชนมีเสรีภาพในการตัดสินใจ ด้านการผลิต กระจาย และบริโภคสินค้าและบริการ
3.เนื่องจากประชาชนและเอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆและมีเสรีภาพเต็มที่ ผู้ซื้อและผู้ขายใช้กลไกราคาเป็นตัวกำหนดว่าจะมีการผลิตอะไร เท่าไหร่ เพื่อใคร เช่น ถ้ามีความต้องการซื้อ(อุปสงค์) คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ผู้ผลิตก็จะผลิตสินค้านั้นขึ้นมา ให้ผู้ที่ต้องการถ้าผลิตมากเกนไปสินค้าจะล้นตลาด ทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตลงจนถึงจุดดุลยภาพ
4.รัฐจะไม่เข้ามาแทรกแซงหรือบังคับเอกชนในการตัดสินใจด้านการผลิต กระจาย และบริโภคสินค้าและบริการ
ข้อดีของระบบทุนนิยม คือ เป็นระบบที่ผลลัพธ์ว่าผลิตอะไร เท่าไหร่ และเพื่อใคร เป็นไปตามความต้องการของประชาชน และประชาชนและเอกชนก็ได้รับผลประโยชน์ ตอบแทนจากกำลัง ความคิด ความสามารถและความถนัดของตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งก่อให้เกิดการแข่งขัน นวัตกรรม การพัฒนาสินค้า
ข้อเสียของระบบทุนนิยม คือ จะมีความเลื่อมล้ำด้านรายได้สูง ผู้มีปัจจัยการผลิตหรือมีความสามารถมากกว่าจะมีฐานะความเป็นอยู่ที่แตกต่างจากกลุ่มผู้ด้อยโอกาสมาก และยังมีการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง เนื่องจากมีการใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการประชาชนอย่างเต็มที่โดยไม่มีผู้ควบคุมอนุรักษ์ เช่น ถ้ามีความต้องการนำเที่ยวดำน้ำ ก็จะมีการทำทัวร์ดำน้ำมากมายโดยไม่มีการใส่ใจว่าบางฤดูเป็นฤดูวางไข่ของปลา ควรมีการพักทะเลส่วนนั้นบ้าง เป็นต้น
ระบบเศรษฐกิจแบบผสม
ประเทศส่วนใหญ่ในโลกขณะนี้รวมถึงประเทศไทยใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสม นั่นคือมีลักษณะผสมระหว่างทุนนิยมและสังคมนิยม โดยเป็นระบบที่ประชาชนและเอกชนมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนใหญ่ได้ตามกฎหมาย โดยรัฐจะเข้ามาควบคุมเฉพาะส่วนที่มีผลกระทบต่อสังคม เช่น ที่ดินของป่าสงวนรัฐจะปกป้องไม่ให้เอกชนเข้าไปใช้ผลประโยชน์
ข้อดีของระบบผสม คือ ประชาชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและมีอิสระ จึงมีแรงจูงใจให้ขยายการผลิตซึ่งเอื้อต่อการพฒนาประเทศ และในเวลาเดียวกันรัฐก็สามารถเข้าไปดูแลเรื่องความเลื่อมล้ำและคุณภาพชีวิตในสังคมได้ในระดับหนึ่ง
ข้อเสียของระบบผสม คือ ถ้ารัฐเข้าไปควบคุมมากเกินไปก็การเกิดปัญหาการวางแผนทางเศรษฐกิจที่ผิดพลาด เหมือนข้อเสียของระบบสังคมนิยม และการที่ภาครัฐสามารถออกกฎที่มีผลต่อภาคเอกชนมากๆก็อาจก่อให้เกิดการช่อโกงเพื่อผลประโยชน์ได้
ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
รัฐบาลเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตในประเทศ ประชาชนและเอกชนไม่มีสิทธิ์เป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต รัฐบาลไม่ใช้กลไกการตลาดเป็นผู้ตัดสินใจ ว่าจะผลิตอะไร อย่างไร และเพื่อใคร
-
ข้อเสียของระบบสังคมนิยม คือ ประชาชนขาดเสรีภาพในการเลือกบริโภคและประกอบการ ทั้งยังไม่สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์สินทรัพย์ได้เต็มที่ ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงานและประกอบการนอกจากนั้นการที่รัฐบาลเป็นผู้วางแผนควบคุมการผลิตหลายด้าน ทำให้เสี่ยงต่อการวางแผนและคาดคะเนผิดพลาดได้
-
ความหมายของระบบเศรษฐกิจ
คือการรวบรวมตัวกันเป็นกลุ่มของหน่วยเศรษฐกิจประกอบ ด้วย บุคคลหรือสถานที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างในเศรษฐกิจใช้หลักการแบ่งงานทำตามความถนัดมาปฏิบัติตามภายใต้ระเบียบงาน กฎเกณฑ์ นโยบาย และแนวทางในการปฏิรูปที่คลายคลึงกัน เราจะทราบว่าระบบเศรษฐกิจนั้นอยู่ในระบบอะไร พิจารณาได้จากปัจจัย 4 อย่าง ได้แก่
1.ความสามารถของประชาชนและเอกชนในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต
2.เสรีภาพของประชาชนและเอกชนในการเลือกผลิตภัณฑ์และบริโภคสินค้าและบริการ
3.การใช้กลไกราคามากำหนด ประเภท จำนวน และราคาสินค้าและบริการ กลไกการตลาดคือภาวะที่ราคาสินค้าในตลาดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามกำลังความต้องการซื้อ(อุปสงค์) และความต้องการขาย(อุปทาน)
4.บทบาทของรัฐบาลในการจัดการการผลิต การกระจายและการบริโภคสินค้าและบริการ
-