Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5 ขั้นตอนการสร้าง Brand Identity - Coggle Diagram
5 ขั้นตอนการสร้าง Brand Identity
1. ศึกษาผู้ชม คู่แข่ง รวมถึงจุดแข็งของแบรนด์
Personality (บุคลิกภาพของแบรนด์)
สามารถสร้างภาพลักษณ์หรือบุคคลิกภาพของแบรนด์ได้โดยใช้รูปแบบ สี และภาพ เพื่อแสดงความเป็นแบรนด์ ซึ่งรูปแบบ สี และภาพเหล่านั้นจะสัมพันธ์กับโทนหรืออารมณ์ความรู้สึกของแบรนด์
Mission (มีพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน)
เกี่ยวโยงกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายของคุณ คุณจะไม่สามารถสร้างบุคลิกภาพที่ชัดเจนให้กับธุรกิจได้ จนกว่าคุณจะรู้ว่าธุรกิจนั้นทําเกี่ยวกับอะไร และมีมุมมองในสิ่งที่ทําอย่างไร
Audience (รู้จักผู้ชม)
การเรียนรู้สิ่งที่ลูกค้าของคุณต้องการจากธุรกิจ มีความสําคัญมากต่อการสร้างแบรนด์ให้คนจดจําและหลงรัก
Value Proposition & Competition (รู้คุณค่าหรือจุดแข็งของแบรนด์ และรู้จักคู่แข่ง)
การรู้ว่าอะไรที่ทําให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นในอุตสาหกรรมเดียวกับคุณได้ รู้ว่าสิ่งใดที่คุณสามารถมอบให้ผู้บริโภคโดยที่ธุรกิจเจ้าอื่นทําไม่ได้
การวิเคราะห์ SWOT
Strengths (จุดแข็ง)
จุดเด่นหรือจุดแข็ง ของแบรนด์เองที่ทําให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง เอกลักษณ์ที่ไม่มีคู่แข่งเจ้าใดสามารถเลียนแบบได้
Threats (อุปสรรค)
เป็นข้อจํากัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งธุรกิจจําเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องและพยายามขจัดอุปสรรคต่างๆ
Weaknesses (จุดอ่อน)
จุดด้อย หรือจุดอ่อนของแบรนด์ ที่จะต้องหาวิธีในการแก้ไข
Opportunities (โอกาส)
โอกาสจากสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์หรือส่งเสริมการดําเนินงานขององค์กร
ความแตกต่างระหว่างจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคคือ...
จุดแข็งและจุดอ่อน
เกิดมาจากปัจจัยภายในของธุรกิจ ที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น ชื่อเสียงของแบรนด์ จุดเด่น เอกลักษณ์ที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่ง หรือ คุณภาพสินค้าที่ดี ข้อเสีย ปัญหา หรือต้นทุนที่สูงกว่าคู่แข่ง
โอกาสและอุปสรรค
เป็นปัจจัยที่มาจากภายนอก หมายถึง เราไม่สามารถควบคุมเหตุการ์ณเหล่านั้นได้ เช่น เทรนด์ของธุรกิจชานมไข่มุกที่มาแรง หลายๆเจ้าก็เปิดแบรนด์ของตนเองออกมาแข่งกัน หรือ การปรับภาษีของสินนําเข้าบางอย่างก็อาจส่งผลต่อธุรกิจได้
ตัวอย่าง SWOT Coca-Cola หรือ Coke
Weaknesses (จุดอ่อน)
ความเชื่อต่างๆที่มีต่อเครื่องดื่มน้ําอัดลม ขาดความหลากหลาย มีภาพลบต่อเครื่องดื่มน้ําอัดลม มีหนี้ที่สูงเนื่องจากการเข้าซื้อกิจการอื่นๆ
Opportunities (โอกาส)
การเติบโตของธุรกิจเครื่องดื่ม ความต้องการทางตลาดของน้ําดื่มบรรจุขวดที่เพิ่มขึ้น ราคาของวัสดุการผลิตลดลง
Threats (อุปสรรค)
ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไปด้วยเครื่องดื่มของคู่แข่ง จํานวนคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มน้ําอัดลม ข้อกําหนดทางกฎหมายในการเปิดเผยข้อมูลบนฉลาก
Strengths (จุดแข็ง)
มูลค่าแบรนด์อยู่ที่ $ 77,839 ล้าน เป็นธุรกิจเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการตลาดและการโฆษณาที่แข็งแกร่ง มีช่องทางในการจัดจําหน่ายเครื่องดื่มที่กว้างขวางที่สุด และ มีลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์
2. ออกแบบโลโก้ และเทมเพลตของธุรกิจ
Logo (โลโก้)
แม้ว่าโลโก้จะไม่ได้เป็นทั้งหมดที่แสดงถึง Brand Identity แต่ก็เป็นองค์ประกอบสําคัญในกระบวนการสร้างแบรนด์ โลโก้มักจะเป็นส่วนที่คนจดจําได้ดีที่สุดของแบรนด์ เพราะมีอยู่ทุกที่ ในทุกอย่างตั้งแต่เว็บไซต์ จนถึงนามบัตร
Color & Type (สีและตัวอักษร)
รูปแบบของสี เป็นส่วนที่ช่วยเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ สีช่วยเพิ่มความหลากหลาย ทําให้คุณสามารถออกแบบให้แตกต่าง อย่างเช่นการออกแบบตัวอักษรแบบ “Mix and Match”
ตัวอย่าง Starbucks
แบรนด์เครื่องดื่ม ที่เหล่าพนักงานออฟฟิศและนักศึกษารู้จักกันอย่างดี ในการนําเสนอไม่ว่าจะโลโก้ของแบรนด์หรือการนําเสนอ Brand Identity เอกลักษณ์ของแบรนด์ได้เป็นอย่างดีในทุกๆช่องทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี ซองบรรจุภัณฑ์ แก้ว บัตรสมาชิก เว็บไซต์ คอนเทนต์ต่างๆ
Templates (เทมเพลต)
สําหรับการทําธุรกิจ การส่งอีเมล เอกสาร หรือนามบัตรให้กับผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า เกิดขึ้นทุกวันในการทํางาน การสร้างเทมเพลตที่แน่นอนและสื่อถึงแบรนด์ได้เอาไว้ จะทําให้ธุรกิจของคุณมีภาพลักษณ์และความรู้สึกที่เป็นมืออาชีพ
Consistency (ความสอดคล้อง) ในหลายๆสื่อที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
ตัวอย่าง Netflix ธุรกิจให้บริการสตรีมมิ่งวิดิโอออนไลน์ ที่หลายๆท่านกําลังเป็นสมาชิกในการดูหนัง ซีรี่ย์ต่างๆ หรือซีรี่ย์ชื่อดังที่เราชื่นชอบและติดตามมาทุกภาคซึ่งเป็น Original ของทาง Netflix อย่าง Stranger things ที่เพิ่งปล่อยภาค 3 ออกมาเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
Flexibility (มีความยืดหยุ่น)
ตัวอย่าง VOGUE นิตยสารแฟชั่นชั้นนําของโลก เรื่องของแฟชั่นเป็นอะไรที่เปลี่ยนไปไวมากๆ แต่ VOGUE ได้มีความยืดหยุ่นที่สามารถปรับให้เข้ากับทุกๆแฟชั่นได้ เพราะแฟชั่นไม่มีอะไรที่ตายตัว ถ้าสังเกตุหน้าปกของ VOGUE นั้น ตัวอักษรอาจเปลี่ยนสี หน้าปกอาจเปลี่ยนรูปแบบไปเรื่อยๆแต่ ก็ยังรู้ว่านี้คือนิตยสารแฟชั่นเพราะแบรนด์ได้มีความยืดหยุ่นสามารถปรับไปตาม Mood&Tone ของหน้าปกทุกรูปแบบได้
3. การสื่อสารที่คุณจะใช้ เพื่อเชื่อมต่อกับผู้ชมทางโฆษณาและบนโซเชียลมีเดีย
Language (ภาษา)
ใช้ภาษาที่ตรงกับบุคลิกของแบรนด์ของคุณ เช่น หากเอกลักษณ์ของแบรนด์คือความมีระดับ ภาษาที่ใช้ก็จะไม่ตลกหรือร่าเริงจนเกินเหตุไป เป็นต้น
ตัวอย่าง เมื่อพูดถึงแบรนด์ รถยนตร์ BMW ทุกคนจะเห็นภาพผู้ชายที่ดูสมาร์ท เท่ เป็นนักธุรกิจที่อายุน้อยแต่ประสบความสําเร็จ ขับรถด้วยความเร็ว ดูโฉบเฉียว หรือเราจะนึกถึงเสียงเร่งของเครื่องรถยนต์ที่มีเสียงดุดัน และเสียงล้อรถที่บดกับถนนเวลาดริฟต์รถ นี้ล้วนแตเป็นภาษาที่ทางแบรนด์สื่อสารออกมายังผู้บริโภคว่าแบรนด์ต้องการให้ผู้บริโภคเห็นอะไ
Connection & Emotion (ความสัมพันธ์ และอารมณ์)
ผู้คนมักจะชอบอะไรก็ตามที่มีเรื่องราว โดยเฉพาะเรื่องราวที่เข้าถึงอารมณ์ และสามารถทําให้พวกเขาเปลี่ยนแปลงบางอย่างได้ เอกลักษณ์ของแบรนด์ที่แข็งแกร่งจะสามารถสร้างการเชื่อมโยงทางอารมณ์กับผู้บริโภค ซึ่งอาจเป็นรากฐานที่มั่นคงสําหรับการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับแบรนด์
ตัวอย่าง ไทยประกันชีวิต และ เมืองไทยประกันชีวิต**
ไทยประกันชีวิต** คือวิดีโอที่ถ่ายทอดอารมณ์ เศร้า ซึงกินใจหลายๆคนถึงกับดูแล้วน้ําตาไหล โดยโฆษณาที่ดูแล้วเราจําเนื้อหาในวิดีโอนั้นได้อย่างชัดเจน และทําให้วิดีโอหลายๆตัวของไทยประกันชีวิตได้ดังจนในโลกโซเชียลมิเดียจนมีคนได้นําไปทําเป็นการท้าทายต่อๆกันที่ชื่อว่า TRY NOT TO CRY Challenge ซึ่งทุกคนที่ดูวิดีโอเหล่านี้ต้องพยายามที่จะไม่ร้องไห้
เมืองไทยประกันชีวิ
ต โฆษณาที่เน้นการทําวิดีโอที่ตลก เฮฮา แต่หลายท่านก็ดูแล้วสามารถจดจําได้เช่นกัน เป็นการสร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์อีกรูปแบบหนึ่งที่เชื่อมโยงความรู้สึกของลูกค้าด้วยความตลก และให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เข้าถึงได้ง่ายไม่ว่าคุณจะทําอาชีพอะไรก็ตาม
:
Social Media (โซเชียลมีเดีย)
อีกวิธีที่ดีในการสร้างการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคของคุณ คือสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย มีแพลตฟอร์มบนอินเทอร์เน็ตมากมายที่คุณสามารถใช้เพื่อสร้างเอกลักษณ์ และนําเสนอตัวตนของแบรนด์ได้ ดังเช่น Coca-Cola ที่ใช้ประโยชน์จากรูปภาพปก Facebook สร้างความโดดเด่น และรักษาธีมของแบรนด์คือ “Happiness” ไปพร้อมๆกันด้วย
:
Advertise (การโฆษณา)
ตัวอย่าง Procter & Gamble (P&G) : Thank You, Mom (2012)
บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของโลก กับโฆษณาที่ถ่ายทอดเรื่องราวของเบื้องหลังนักกีฬาโอลิมปิก ปี 2012 ที่เป็นเรื่องราวของคุณแม่ผู้ซึ่งเป็นเบื้องหลังความสําเร็จของทุกๆคนที่ต้องดูแลเราตั้งแต่เล็กๆในเรื่องของ การซักผ้า ทําอาหาร ดูแลบ้าน จนถึงวันที่ประสบความสําเร็จ โฆษณาของ Procter & Gamble (P&G) ได้ทําการตลาดทางอารมณ์ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทรงพลัง และได้เชื่อมโยงความรู้สึกเหล่าคุณแม่ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการซื้อผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
5. มีการติดตามตรวจสอบ
คล้ายกับด้านอื่นๆของการตลาด เป็นเรื่องยากที่คุณจะรู้ว่าสิ่งที่คุณทํา เอกลักษณ์และการออกแบบที่คุณสร้างขึ้นมานั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยปราศจากการติดตาม ชี้วัด อย่างเช่น การใช้เครื่องมือ Google Analytics, การสํารวจ, สังเกตจากความคิดเห็น การพูดคุยโต้ตอบในโซเชียลมีเดีย ฯลฯ เพื่อตรวจสอบและรับรู้ว่าผู้คนพูดคุยและมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ สิ่งนี้จะเป็นโอกาสในการใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงแบรนด์ตามต้องการของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาด หรือเพื่อปรับปรุงเอกลักษณ์ของแบรนด์ก็ตาม
4. รู้ว่าควรหลีกเลี่ยงอะไร
อย่าเลียนแบบคู่แข่ง
คู่แข่งขันของคุณที่ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบเดียวกันกับคุณ อาจมีการสร้างแบรนด์ที่ดี คุณรู้สึกว่าอยากจะทําตาม หยุดความคิดนั้น แต่แนะนําให้คุณพิจารณาสิ่งที่พวกเขาทําสําเร็จ แล้วนํามาวิเคราะห์ต่อยอดเป็นความคิดใหม่ๆของคุณเอง
ตัวอย่าง ZARA และ G2000
ทั้งสองเป็นแบรนด์เสื้อผ้าเหมือนกันแต่มีจุดยืนของแบรนด์ที่ชัดเจนทําให้พวกเขาโดดเด่นในจุดยืนของตนเเอง
G2000
เน้นไปที่ความเป็นทางการน่าเชื่อถือ
ZARA
จะเน้นที่ความเป็นแฟชั่นที่โดดเด่น
อย่าเสียความสอดคล้องกันระหว่างออนไลน์และออฟไลน์
แน่นอนว่า งานสิ่งพิมพ์ออฟไลน์ของคุณ อาจจะดูแตกต่างไปจากในออนไลน์เล็กน้อย แต่เรื่องของ สี ตัวอักษร รูปแบบ และข้อความ ควรจะสอดคล้องกันทั้งออนไลน์และออฟไลน์ค่ะ