Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 7 การประกันคุณภาพ และตัวชี้วัดคุณภาพบริการการพยาบาล,…
หน่วยที่ 7
การประกันคุณภาพ และตัวชี้วัดคุณภาพบริการการพยาบาล
7.1 ความหมายของคุณภาพและคุณภาพการบริการ
คุณภาพการดูแลทางการแพทย์
1.ความพึงพอใจของผู้รับบริการ (customer satisfaction) อันเกิดจากความสามารถในการตอบสนองความจําเป็นและความต้องการ
2.ภาวะปราศจากข้อผิดพลาด (zero defect) ทําสิ่งใดถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรก (right the first time)
3.การปฏิบัติที่สอดล้องกับมาตรฐาน (standards) ซึ่งอาจหมายรวมถึงมาตรฐานวิชาชีพ องค์ความรู้ทางวิชาการ จริยธรรม และแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับทั่วไป
4.คุณภาพชีวิต (quality of life) การเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย นั่นคือการเกิดผลลัพธ์
ที่ดี และพึงประสงค์ต่อสุขภาพในภาพรวม ไม่เพียงแต่หายจากโรคภัยเท่านั้น
7.2 องค์ประกอบและตัวชี้วัดของคุณภาพ
7.2.1 องค์ประกอบของคุณภาพในลักษณะที่เป็นคุณสมบัติอันเนื่องมากจากวิธีการปฏิบัติของผู้
ให้บริการกับผู้รับบริการ
1) คุณภาพด้านเทคนิค (technical quality)
2) คุณภาพด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการ (interpersonal หรือ functional quality)
7.2.2 คุณภาพในลักษณะของทฤษฎีระบบ (System theory)
1)โครงสร้าง(structure)
2) กระบวนการ (process)
3) ผลลัพธ์ (outcome)
7.3 การประกันคุณภาพทางการพยาบาล
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง กิจกรรมการควบคุมคุณภาพในฝ่ายบริการพยาบาลโดยการกําหนดของฝ่ายบริการพยาบาล กองการพยาบาล หรือสภาการพยาบาล เพื่อให้มีความมั่นใจว่าการบริการพยาบาลได้บริการดําเนินตามหลักวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ
การประกันคุณภาพภายนอก หมายถึง การดําเนินการตามระบบการควบคุมคุณภาพภายในรวมทั้งการตรวจสอบและประเมินผลทั้งหมด โดยหน่วยงานภายนอก เพื่อประกันว่า โรงพยาบาลนั้นดําเนินการของผู้ประกอบวิชาชีพ และวิธีการบริหารจัดการนั้นสามารถให้ผู้บริการกับผู้ใช้บริการได้อย่างมีคุณภาพ
7.4 มาตรฐานการพยาบาล (Nursing standard)
มาตรฐาน หมายถึง ข้อความที่บอกสถาณการณ์และการกระทําที่กระทําต่อผู้ป่วย โดยที่ระบบงานจะต้อง
เอื้ออํานวยหรือให้อํานาจผู้ปฏิบัติงานได้กระทําตามที่กําหนดในมาตรฐาน
มาตรฐานการพยาบาล หมายถึง ข้อความที่อธิบายหรือกําหนดกิจกรรมที่ให้ประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการด้าน
สุขภาพให้ได้รับบริการทางการพยาบาลที่ดี
7.5 การควบคุมคุณภาพบริการพยาบาล
QC ย่อมาจาก Quality Control หมายถึง การควบคุมคุณภาพ กระบวนการตรวจสอบสินค้าในระหว่างการผลิตทุกขั้นตอนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด โดยเป็นการกํากับตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบกระบวนการผลิต รวมทั้งคุณภาพของผลผลิตที่ได้รับ
7.5.1 การรับรองคุณวุฒิของผู้ประกอบวิชาชีพ (Professional credentialing) เป็นกระบวนการ
ทบทวนคุณวุฒิ การศึกษาและฝึกอบรม ประสบการณ์ที่ผ่านมา
7.5.2 การทบทวนการเสียชีวิตและความพิการ (Mortality and morbidity review)
1) การทบทวนสถิติ(Statistic review)
2) การทบทวนเป็นราบบุคคล (Individual cases)
7.5.3 การตรวจสอบตามเกณฑ์ (Criteria audit) เป็นกระบวนการที่เลือกการปฏิบัติงานเรื่องที่สําคัญ มาเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่กําหนดไว้ล่วงหน้า
7.5.4 การตรวจพิสูจน์ศพ (Autopsy) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการตรวจสอบการวินิจฉัยโรคทางคลินิกและให้ข้อมูลป้อนกลับแก่แพทย์ผู้รักษา
7.5.5 การตรวจเนื้อเยื่อ (Tissue audit) เป็นวิธีการตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยาเพื่อยืนยันความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคทางคลินิก
7.5.6 การทบทวนการใช้บริการ (Utilization review) เป็นกระบวนการในการทบทวนการใช้เตียง
ห้องผ่าตัด เลือดหรือยา เพื่อประเมินถึงการใช้ทรัพยากร
7.5.7 การสํารวจความพึงพอใจ (Patient satisfaction)
7.5.8 การรายงานเหตุการณ์พิเศษ (Incident reporting)
7.5.9 หน่วยรับข้อร้องเรียน (Health Complaints Units) เป็นวิธีการที่คอยรับและสอบสวนเรื่องร้องเรียนของผู้รับบริการเกี่ยวกับการให้บริการสุขภาพ
7.6 การพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล
การบริการพยาบาล เป็นบริการที่แตกต่างจากบริการอื่นๆ เพราะเป็นบริการที่ต้องสัมผัสสัมพันธ์กับบุคคล ซึ่งมีชีวิตจิตใจและร่างกายที่เป็นปัจจัยทําให้เกิดการเจ็บป่วยถึงกันและกันได้
รูปแบบการดําเนินงานประกันคุณภาพและปรับปรุงคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล
ตรวจสอบค่านิยมและปรัชญาของโรงพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล ชุมชน บุคลากร พยาบาล และผู้รับบริการในเรื่องสุขภาพ
กําหนดมาตรฐานทุกระดับคือ ระดับโครงสร้าง ระดับกระบวนการ ระดับผลลัพธ์ โดยจะต้องมีเครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบมาแล้ว
กําหนดวิธีการวัดให้ค่าของสิ่งที่วัดได้
วิเคราะห์ผลและแปลผลโดยบ่งชี้จุดเด่นจุดด้อยให้ชัดเจน พร้อมทั้งหาวิธีแก้ไขจุดด้อยต่อไปด้วย
นําจุดด้อยมาพิจารณาแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
พิจารณาแนวปฏิบัติหลายแนวทางเลือกแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุด
นําแนวทางที่เลือกไปปฏิบัติ
กิจกรรมคุณภาพการบริการ
ระบบ ISO 9000
การทําแนวทางการปฏิบัติ (Practice guidelines)
การจัดการคุณภาพทั้งองค์การ (Total Quality Management: TQM)
1) การยึดมั่นในจุดมุ่งหมายขององค์การ (constancy of purpose)
2) คุณภาพอยู่เหนือสิ่งใด (quality first)
3) การมุ่งให้ความสําคัญกับผู้รับบริการ (customer focus)
4) การให้ความสําคัญกับกระบวนการหรือระบบการให้บริการ (process or system orientation)
5) ความมุ่งมั่นของผู้นําองค์การ (leadership commitment)
6) การจัดการข้ามหน้าที่และการทํางานเป็นทีม (cross-functional management and teamwork)
7) การส่งเสริมพลังอํานาจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน (worker empowerment)
8) การจัดการโดยอาศัยข้อเท็จจริง การใช้สถิติ และความเข้าใจต่อความแปรปรวน
9) การเรียนรู้และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (learning and continuous improvement)
10) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดส่งวัตถุดิบ (supplier partnership)
กิจกรรม 5 ส.
ส.1 คือสะสาง
ส. 2 คือสะดวก
ส. 3 คือสะอาด
ส. 4 คือสุขลักษณะ
ส. 5 คือสร้างนิสัย
กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Quality Control circle: Q.C.C.)
Hospital Accreditation (HA)
(1) การมีมาตรฐานโรงพยาบาลที่ใช้เป็นกติการ่วมกัน เป็นมาตรฐานเชิงระบบที่ส่งเสริมการพัฒนา
(2) การที่โรงพยาบาลใช้มาตรฐานเพื่อการประเมินและพัฒนาตนเอง อย่างสอดคล้องกับบริบทของ
ตน และ มีหลักคิดหรือ core values ที่เหมาะสมกํากับ
(3) การประเมินจากภายนอกในลักษณะของกัลยาณมิตร เพื่อยืนยันผลการประเมินตนเอง เพื่อช่วย
ค้นหา จุดบอดที่ทีมงานมองไม่เป็น และเพื่อกระตุ้นให้เกิดมุมมองที่กว้างขวางขึ้น
(4) การยกย่องชื่นชมด้วยการมอบประกาศนียบัตรรับรอง หรือการมอบกิตติกรรมประกาศใน
ความสําเร็จ
นายณํฐนันท์ วาจาสัตย์ รหัสนักศึกษา 60440101039