Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยโรคตาหูคอจมูก - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยโรคตาหูคอจมูก
ตา
โรคต้อหิน
เป็นกลุ่มโรคที่มีลักษณะร่วม ได้แก่ มีความดันในลูกตา (IOP) มีขั้วตาผิดปกติ และสูญเสียลานสายตา (visual field)
ความดันของลูกตาอยู่ ประมาณ 10 – 20 mmHg
สาเหตุ
เนื้องอกในลูกตา
การใช้ยาที่มีสารฮอร์โมนพวกคอร์ติโคสเตียรอยด์ติดต่อเป็นเวลานาน
ความผิดปกติของ trabecular meshwork ตั้งแต่กำเนิด
มีการคั่งของน้ำเอเควียสจากมีโครงสร้างตาผิดปกติ
ชนิด
ต้อหินทุติยภูมิ (Secondary glacoma)
. ต้อหินแต่กำเนิด (Congenital glacoma)
ต้อหินปฐมภูมิ (Primary glacoma)
ต้อหินชนิดมุมปิด (angle – closure glacoma)
ต้อหินชนิดมุมเปิด (open – angle glacoma)
อาการและอาการแสดง
ระยะเฉียบพลัน
ปวดศีรษะมาก ปวดตามากสู้แสง
ไม่ได้ ตามัวลงคล้ายหมอกมาบัง บางคนมองเห็นแสงสีรุ้งรอบ ๆ ดวงไฟ
ระยะเรื้อรัง
ผู้ป่วยอาจไม่
รู้สึกอาการอะไรเลย บางคนรู้สึกมึนศีรษะ ตาพร่ามัว รู้สึกเพลียตา
การพยาบาลผู้ป่วยต้อหิน
ตาแดง น้ำตาไหล ปวดตามาก ตามัวลง หรือตาสู้แสงไม่ได้ให้มาตรวจก่อนวันนัด
สอนวิธีการหยอดตาอย่างมีประสิทธิภาพ
เตรียมตัวก่อนการยิงเลเซอร
แนะนำให้ใส่แว่น หลีกเลี่ยงการขยี้ตา หลังทำเลเซอร์
อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษา
โรคต้อกระจก
อาการและอาการแสดง
มองเห็นภาพซ้อน เนื่องจากแก้วตาที่ขุ่นจะท าให้การหักเหของแสง
เปลี่ยนไป
การมองเห็นลดลง รู้สึกว่าสายตาสั้นลง
ตามัว ลงช้า ๆ โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด
การรักษา
Intracapsular cataract extraction (IICE)
Extracapsular cataract extraction (ECCE)
Phacoemulsification with Intraocular Lens (PE C IOL)
สาเหตุ
เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ (Secondary cataract)
ต้อหิน โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ พาราไทรอยด์ พิษสารเคม
ความผิดปกติโดยกำเนิด (Congenital cataract)
ต้อกระจกที่ยังไม่สุก (immature cataratc)
ต้อกระจกที่สุกแล้ว (mature cataratc)
ระยะนี้เหมาะสม
กับการผ่าตัดมากที่สุด
ต้อกระจกที่สุกเกินไป (hypermature cataract)
การเสื่อมตามวัย (Senile cataract) วัยชรา
เป็นภาวะแก้วตา (Lens) ขุ่น เป็นผลการเปลี่ยนแปลงโปรตีนภายในแก้วตา ไม่ยอมให้แสง
ผ่าน ทำให้เกิดอาการตามัว มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก
หลีกเลี่ยงการไอจามแรง ๆ การก้มศีรษะต่ำกว่าระดับเอว
เน้นกลางคืนปิดฝาครอบตา กลางวันใส่แว่นตาสีชาหรือสีดำ
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยไม่นอนทับบริเวณตาที่ได้รับการผ่าตัด
จอประสาทตาลอก
ภาวะที่เกิดการแยกหรือลอกตัวของชั้นจอประสาทตาด้านในออกจากชั้นของจอประสาทตาด้านนอก
สาเหตุ
มีการเสื่อมของจอประสาทหรือน้ าวุ้นตา (vitreous)
การผ่าตัดเอาแก้วตาออกชนิด intracapsular cataract extraction
ได้ถึงร้อยละ 10-20
การได้รับอุบัติเหตุถูกกระทบกระเทือนบริเวณที่ตา หรือของแหลมทิ่ม
แทงเข้าตาถึงชั้นของจอประสาทตา
แบ่งเป็น 2 ชนิด
ชนิดที่เกิดจากรูหรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา
ชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง
ชนิดไม่มีรูขาดที่จอประสาทตา
อาการและอาการแสดง
มองเห็นแสงจุดดำหรือเส้นลอยไปลอยมา (floater)
มองเห็นแสงวูบวาบคล้ายฟ้าแลบ (flashes of light)
การรักษา
เห็นแสงวาบคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชถ่ายรูป ควรรีบพบ
จักษุแพทย์เพื่อทำการรักษา
Cryocoagulation (การจี้ด้วยความเย็น)
การฉีดก๊าซเข้าไปในตา (Pneumatic retinopexy)
การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา (Scleral buckling)
การผ่าตัดน้ำวุ้นลูกตา (Pars plana vitrectomy)
การพยาบาล
ระยะหลังผ่าตัด
ดูแลให้นอนคว่ าหน้าหรือนั่งคว่ าหน้าให้ได้อย่างน้อยวันละ 16 ชั่วโมง
ดูแลให้ได้รับการวัดความดันลูกตาจากแพทย์หลังผ่าตัดประมาณ 4-
6 ชั่วโมง
ระยะก่อนผ่าตัด
ดูแลให้ผู้ป่วย Absolute bed rest
หลีกเลี่ยงขยี้ตา ส่ายศีรษะและใบหน้าแรง
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค แผนการรักษา การผ่าตัด
เมื่อกลับบ้าน
ควรทำความสะอาดใบหน้าโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ าบิดหมาด ๆ เช็ดหน้าเบา ๆ เฉพาะข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด
อุบัติเหตุทางตา
อันตรายจากสารเคมี(chemical injury)
ชนิดของสารเคมีที่พบ
สารกรด
สารด่าง
อาการและ
อาการแสดง
ปวดแสบปวดร้อนระคายเคืองตามาก
การมองเห็นจะลดลงถ้าสารเคมีเข้าตาจำนวนมาก
สายตาสู้แสงไม่ได้ ทำให้ผู้ป่วยพยายามจะหลับตาตลอดเวลา
การรักษา
การล้างตาโดยเร็วที่สุดหากเป็นไปได้
ผู้ป่วยควรได้รับการล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมากอาจมากกว่า 5 ลิตร
ถึงโรงพยาบาลจะได้รับการล้างตาให้โดยทันทีโดยอาจต้องมี
การถ่างขยายเปลือกตาแล้วหยอดยาชาก่อนเพื่อให้สามารถล้างตาได้สะดวก
ล้างตาให้ผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด โดยใช้ Normal saline หรือ sterile
water โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที
เลือดออกในช่องม่านตา
เกิดจากการได้รับบาดเจ็บจากวัตถุไม่มีคมบริเวณตา ทำให้มีการฉีกขาดของเส้นเลือดบริเวณม่านตา
การแบ่งระดับของเลือดที่ออกในช่องหน้าม่านตา
Grade 2 มีเลือดออก 1/3 ถึง 1/2 ของช่องหน้าม่านตา
Grade 3 มีเลือดออก 1/2 ถึงเกือบเต็มช่องหน้าม่านตา
Grade 1 มีเลือดออกน้อยกว่า1/3 ของช่องหน้าม่านตา
Grade 4 มีเลือดออกเต็มช่องหน้าม่านตา
ภาวะแทรกซ้อน
Rebleeding
Increase intraocular pressure
Blood stain cornea
การรักษา
โดยให้นอนศีรษะสูงประมาณ 30-45 องศา
ปิดตาทั้งสองข้าง
ให้ได้รับยาแก้ปวด paracetamol และ diazepam
การพยาบาล
ปิดตาทั้ง 2 ข้างที่มีเลือดออกด้วยผ้าปิดตา (eye pad) และที่
ครอบตา (eye shield) ไขหัวเตียงสูง 30-45 องศา
ถ้าผู้ป่วยปวดตาต้องติดตามประเมินอาการปวดตาของผู้ป่วยภายหลัง
รับประทานยาแก้ปวดแล้ว 30 นาที
แนะนำให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ไม่ควรลุกจากเตียงประมาณ 3 – 5วัน
แผลที่กระจกตา
สาเหตุ
อุบัติเหตุ (trauma)
ใบข้าวหรือใบอ้อยทิ่มบริเวณกระจกตา
กระจกตามีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่ำ
มีความผิดปกติของกระจกตา
โรคขาดวิตามินเอ
การแพ้ยา
ตาปิดไม่สนิทขณะหลับ (Lagophthalmos)
การใส่เลนส์สัมผัส (Contact lens)
อาการและอาการแสดง
จะมีอาการปวดตา (pain) เคืองตา (foreign body sensation)
กลัวแสง (photophobia) น้ำตาไหล (lacrimation) ตาแดงแบบใกล้ตาดำ
การรักษา
ขูดเนื้อเยื่อของแผลไปย้อมและเพาะเชื้อ
ให้รับประทานวิตามินซีรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
บรรเทาอาการปวดโดยให้รับประทานยาแก้ปวด paracetamolหากมีอาการปวดมากพิจารณาให้ยาบรรเทาปวดกลุ่ม NSAID
ความผิดปรกติของจอประสาทตาจากโรคเบาหวาน
ปัจจัยที่ทำให้เกิด
การควบคุมระดับน้ำตาล
การมีความผิดปกติที่ไตจากเบาหวาน
ความยาวนานของการเป็นโรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง
การตั้งครรภ
อาการและอาการแสดง
เบาหวานระยะรุนแรง (Proliferation diabetic
retinopathy=PDR)
อาการสำคัญที่ผู้ป่วยมัก
มาพบแพทย์คือตามัว
เบาหวานระยะแรก (Non-Proliferation diabetic
retinopathy=NPDR)
การรักษา
การรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ (Panretinal
photocoagulation=PRP) ทำในกรณีที่จุดรับภาพส่วนกลางบวม
การฉีดยาเข้าในน้ำวุ้นตา (Intravitreal pharmacologic injection)
การผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Vitrectomy) กรณีที่โรครุนแรงจนมีเลือดออกใน
น้ำวุ้นตา และ/หรือมีพังผืดดึงรั้งจอประสาทตาหลุดลอก
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่เพื่อลดอัตราการเกิด
ความผิดปกติของจอประสาทตาจากโรคเบาหวาน
แนะนำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจจอประสาทตาอย่าง
น้อยปีละ 2 ครั้ง
ออกกำลังกาย รับประทานยาหรือฉีดยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
อย่างสม่ำเสมอ
จมูก
การได้กลิ่น
จมูกเป็นอวัยวะรับสัมผัสกลิ่น เช่นกลิ่นอาหาร และสารเคมีอื่นๆ ในโพรงจมูกจะมีเซลล์รับสัมผัสกลิ่น
เลือดกำเดา
สาเหตุ
เป็นภาวะที่เลือดออกมาทางจมูก จากการฉีกขาดของหลอดเลือดที่เยื่อบุจมูก รวมไปถึงการติดเชื้อ การมีเนื้องอกในช่องจมูกด้วย
อาการและอาการแสดง
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหน้า
พบบริเวณที่เรียกว่า kiesselbach plexus or little area เป็นบริเวณที่มีหลอดเลือดมารวมมาก พบมากในเด็กและคนหนุ่มสาว
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหลัง
มักพบในผู้สูงอายุที่มีโรค HT หรือกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดทำให้เลือดออกง่ายหยุดยาก
การรักษา
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหน้า
การใช้สารเคมีหรือไฟฟ้า
การใช้ Anterior nasal packing คือกอซที่มียาปฎิชีวนะเข้าไปอุดตำแหน่งเลือดออก
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหลัง
Arterial ligation
posterior nasal packing
Arterial embolization
Laser photocoaulation
skin graft to nasal septum and lateral nasal wall
การพยาบาล
จัดท่านอนศีรษะสูง 45-60 องศา
ห้ามดึงกอซออกเอง
อธิบายให้ทราบว่าอาจมีอาการหูอื้อได้ แต่จะหายเมื่อนำตัวกดห้ามเลือดออก
ถ้าไอจามให้เปิดปากด้วย
นอนพักนิ่งๆ 2-3ชม.หลังเอาตัวกดห้ามเลือดออก
ห้ามยกของหนักการออกกำลังกายโดยใช้แรงมากๆอย่างน้อย4-6สัปดาห์หลังมีเลือดออก
ริดสีดวงจมูก
สาเหตุ
โรคภูมิแพ้ ซึ่งจะมีการอักเสบของเยื่อบุจมูกเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน เมื่อมีการอักเสบนาน ๆ เยื่อบุจมูกจะมีการบวม
ดสีดวงจมูกทั้งนี้การอักเสบเรื้อรังจะมี 2 แบบ
เยื่อบุอักเสบจากภูมิแพ้
เยื้อบุอักเสบชนิดไม่แพ้
อาการ
ถ้าขนาดไม่โตมากคนไข้อาจจะไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าเยื่อบุจมูกบวมมาก ๆ อากาศผ่านจมูกไม่ได้ คนไข้จะมีอาการคัดแน่นจมูก
ไม่ได้กลิ่น
คนไข้อาจจะมีอาการคัน จาม น้ำมูกไหล
การรักษา
การให้ยา
ยา สเตียรอยด์ มีทั้งชนิดกินและชนิดฉีดพ่นเข้าไปในจมูก
การผ่าตัด
คนไข้กลับมามีอาการเหมือนเดิม ในกรณีนี้แพทย์จะพิจารณา การผ่าตัดให้กับคนไข้
nasal polyp คือการใช้ลวดคล้องแล้วดึงออก
antrochonal poly ทำผ่าตัด caldwell-luc operation
โรคไซนัสอักเสบ
สาเหตุ
เกิดจากเยื่อบุไซนัสติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินหายใจ เมื่อเกิดการติดเชื้อเนื้อเยื่อในโพรงไซนัสจะมีอาการบวม
ผลิตสารคัดหลั่งเมือกเหลวขึ้นมามากจนเกิดการอุดตันจนกลายเป็นหนองอักเสบหรือน้ำมูกเขียวข้น คนไข้โรคไซนัสอักเสบมักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล
อาการ
หายใจติดขัด อึดอัด คัดจมูก
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือคนรอบข้างบอกว่ามีกลิ่น
มีน้ำมูกหรือมีเสมหะที่มีลักษณะข้น สีเหลืองหรือเขียวในลำคอ หรือไหลลงคอ
ปวดบริเวณหัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม จมูกบริเวณระหว่างคิ้ว และรอบๆ กระบอกตา
ชนิด
ไซนัสอักเสบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute) การอักเสบจะกินเวลาราว 4-12 สัปดาห์
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง (Chronic) การอักเสบจะเกิดขึ้นต่อเนื่องราว 12 สัปดาห์ขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้
ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน (Acute) มักเกิดร่วมกับการเป็นหวัด การอักเสบมักกินเวลาราว 2-4 สัปดาห์
ไซนัสอักเสบซ้ำซ้อน (Recurrent) การอักเสบจะเกิดขึ้นมากกว่า 3 ครั้งใน 1 ปี โดยแต่ละครั้งจะมีอาการนานกว่า 10 วัน
การรักษา
ให้ยาแก้ปวด, ให้ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือและให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
ยาต้านจุลชีพชนิดแรกที่ควรให้ คือ amoxicillin และควรให้เป็นระยะเวลา 10-14 วัน (ถ้าแพ้ penicillin อาจพิจารณาให้ trimethoprim
ภาวะแทรกซ้อน
ทางตา อาการที่ต้องสงสัย ได้แก่ ตาบวม เจ็บตา กลอกตาแล้วเจ็บ มองเห็นภาพซ้อนหรือ เห็นภาพไม่ชัด
ทางสมอง อาการที่ต้องสงสัย ได้แก่ ปวดศีรษะ มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
คอ
tonsillitis + Adenoiditis
สาเหตุ
beta-hemolytic streptococci or staphylococi พบได้มากถึง30เปอร์เซ็น และพวกแบคทีเรียตัวอื่น รวมทั้งไวรัส
การอักเสบเรื้อรัง เช่นมีภาวะภูมิแพ้ หอบหืด โพรงอากาศข้างจมูกอักเสบ
ต่อมอดีนอยด์อักเสบมักพบว่าเป็นการเกิดต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลันมาก่อน
อาการและอาการแสดง
ไข้ ไอ เจ็บคอ กลืนลำบาก
รายที่ต่อมอีนอยด์อักเสบด้วยจะพบอาการที่เป็นผลมาจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้น
อาการหายใจทางปาก
อาการของช่องหูชั้นกลางอักเสบ
การพูดเสียงขึ้นจมูก
การผ่าตัด
มีการกลับซ้ำของภาวะทอลซินอักเสบประมาณ4-5ครั้ง/ปี
มีภาวะบวมโตของต่อมทั้ง2นี้จนขัดขวางการหายใจ
รักษาด้วยยาแล้วไม่ได้ผล
มีอาการกลืนลำบาก
มีอาการอื่นๆ สูญเสียการได้ยิน ไข้รูมาติค
การพยาบาลหลังผ่าตัด
แนะนำให้รับประทานของเย็น เช่นไอศกรีม น้ำเย็นหรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง เพื่อช่วยลดอาการบวมในลำคอ
งดการใช้เสียงการทำงานหรือกิจกรรมใดๆที่ต้องออกแรงมากๆอย่างน้อย 7 วันเพื่อรอแผลหาย
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหลังผ่าตัดเพราะจะเป็นระคายเคืองเคืองในแผลในลำคอทำให้มีเลือดออก
หู
กลไกการได้ยิน
การได้ยินเสียงผ่านทางอากาศ
การได้ยินเสียงผ่านกระดูก
การตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของหู
Tuning fork test
Rinne test
เป็นการคัดกรองโดยจําแนกประเภทของการสูญเสีย
การได้ยิน
Weber test
เพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีปัญหาการนําเสียงบกพร่อง
Audiometry
การตรวจวัดระดับการได้ยินเสียงการตรวจชนิดนี้จะใช้ตรวจกับเด็กโตอายุประมาณ 4 ปีขึ้นไป หรือผู้ใหญ่ที่สามารถให้ความร่วมมือในการตรวจได้
Auditory Brain Stem Response (ABR)
การตรวจวัดคลื่นจากประสาทหูและก้านสมองเมื่อปล่อยเสียงกระตุ้นผลที่ได้จะช่วยบ่งชี้ภาวะหูเสื่อม
Tympanometry
การตรวจดูการทำงานของหูชั้นกลาง ผลที่ได้จะช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยความผิดปกติของหูชั้นกลาง เช่น ภาวะมีน้ำเหลือง
Vestibular Function Test
Romberg,s Test
Gait Test
Unterberger,s Test
ตรวจดู Nystagmus
คืออาการตากระตุก โดยการทํา Head
Shaking เพื่อดูอาการเวียนศีรษะ
การสูญเสียการได้ยิน
ภาวะที่มีความบกพร่องในกลไกของการได้ยิน ทําให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการฟัง หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด หรือมีเสียงดังในหู
ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน
แบบการนําเสียงทางอากาศบกพร่อง
ความผิดปกติของหูชั้นนอก
เยื่อแก้วหู และหูชั้นกลาง
ความบกพร่องที่สมองส่วนกลาง
ผู้ป่วยได้ยินแต่ไม่สามารถแปลความหมายของสัญญาณนั้นได้
แบบประสาทหูเสื่อม
เกิดจากความผิดปกติในอวัยวะ
รูปหอยโข่งในหูชั้นใน
การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม
เกิดจากความผิดปกติในระบบการนําเสียงร่วมกับประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง
สาเหตุ
การนําเสียงทางอากาศบกพร่อง
ประสาทหูเสื่อม
เป็นตั้งแต่กําเนิด
เกิดภายหลัง
Noise induced hearing loss เกิดจากเสียงดังมาก
Drug induced hearing loss เกิดจากยากลุ่ม Aminoglycoside
Presbycusis พบในคนชรา
Infection ติดเชื้อจากหูชั้นใน น้ําไขสันหลัง การติดเชื้อหูชั้นกลาง
Trauma อุบัติเหตุบริเวณศีรษะทําให้เกิดการแตกของกระดูก
temporal ผ่านหูชั้นใน
โรคที่พบบ่อยจากการได้ยินและการทรงตัว
ขี้หูอุดตัน (Cerum Impaction or Impacted Cerumen)
พยาธิสภาพ
ขี้หูถูกสร้างโดยต่อมสร้างขี้หูจะเคลื่อนออกมาด้านนอกได้เอง ส่วนมากเกิดจากขี้หูสร้างมากผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
หูอื้อ ปวดหู
สาเหตุ
ภาวะปกติขี้หูสามารถอุดตันอยู่ในส่วนของช่องหูชั้นนอกและมีสี
และปริมาณที่มากน้อยได้แตกต่างกัน แต่บางครั้งเกิดปัญหาขี้หูอุดตัน
การรักษา
ล้าง ใช้เครื่องดูดหรือการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วย
สิ่งแปลกปลอดในหูชั้นนอก (Foreign body)
อาการและอาการแสดง
หูอื้อ รําคาญ สูญเสียการได้ยิน บางรายมีอาการมึนงงเวียนศีรษะจนถึงอัมพาตของใบหน้า
การรักษา
สิ่งมีชีวิตใช้แอลกฮอล์70% หรือยาหยดประเภทน้ํามันหยอดแล้วคีบออก
สิ่งไม่มีชีวิต ใช้น้ําสะอาดหรือเกลือปราศจากเชื้อหยอดจนเต็มหูแล้วเทน้ําออก
ของแข็งใช้เครื่องมือแพทย์คีบออก
สาเหตุ
ในเด็กเล็กมักพบของเล่นชิ้นเล็ก ลูกปัด หรือเมล็ดผลไม้ยัดใส่รูหู
ในผู้ใหญ่มักพบเป็นเศษชิ้นส่วนของไม้พันสําลีหรือพวกแมลง
เยื่อแก้วหูฉีกขาดเป็นรูทะลุ
การรักษา
ทิ้งไว้เฉยๆ อย่างชะล้าง ไม่ต้องหยอดหู แต่ทานยากันการติดเชื้อ อาการจะหายเองใน1เดือน ถ้า2เดือนไม่หายให้ทำการซ่อมแซมเยื่อแก้วหู
อาการหรืออาการแสดง
เจ็บปวดแบบเฉียบพลัน สูญเสียการได้ยิน มีเสียงดังในหู
สาเหตุ
เกิดจากของมีคม เช่นกิ๊บติดผมหรือสำลีปั่นหูที่ใช้แคะขี้หู หรือการกระทบกระเทือนแรงๆเช่น ถูกตบตี
โรคหูน้ำหนวก
สาเหตุ
หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (acute otitis media)
ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที ทำให้หนองในหูชั้นกลางดันเยื่อแก้วหูทะลุออกมา
เยื่อแก้วหูทะลุจากการบาดเจ็บ (traumatic tympanic membrane perforation)
ใช้ไม้พันสำลีปั่นช่องหู แล้วมีอุบัติเหตุกระแทก ทำให้ไม้พันสำลีนั้น กระแทกเยื่อแก้วหูจนทะลุเป็นรู และรูนั้นไม่สามารถปิดได้เอง
เยื่อบุผิวหนังของหูชั้นนอก (squamous epithelium)
ยื่อแก้วหูทะลุ ทำให้กลไกในการป้องกันการติดเชื้อของหูชั้นกลางเสียไป หูชั้นกลางมีการอักเสบได้ง่าย
มีน้ำเข้าหู
น้ำเข้าหูก็จะทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุหูชั้นกลาง ทำให้มีของเหลวหรือหนองไหลออกจากหูชั้นกลาง
การไหลของของเหลว
มูกหรือหนองผ่านรูทะลุตลอดเวลา เนื่องจากยังมีการติดเชื้อในหูชั้นกลางอยู่
มีการอุดตันของรูเปิดของท่อยูสเตเชียน
อาการ
หูอื้อ หรือหูตึง ซึ่งอาจเกิดจากการนำเสียงเสีย จากการทำลายกระดูกหู (ค้อน,ทั่ง,โกลน)
มีหนองหรือของเหลวไหลออกจากช่องหู เป็นๆหายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการเป็นหวัดหรือน้ำเข้าหู
อาจมีอาการเนื่องจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น เวียนศีรษะ
ผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการปวดหรือมีไข้ นอกจากมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
อาการแสดง
ตรวจพบว่าเยื่อแก้วหูมีรูทะลุขนาดต่างๆ ถ้ามีขี้ไคลร่วมด้วยจะเห็นเป็นสารสีขาวคล้ายไข่มุก
บนเยื่อแก้วหู อาจเห็นแผ่นแคลเซียมขาวๆ ซึ่งเรียกว่า myringosclerosis
อาจพบของเหลว ซึ่งอาจเป็นน้ำใสๆ, มูก หรือหนองในหูชั้นกลาง
การรักษา
ให้ยาต้านจุลชีพชนิดรับประทานและชนิดหยอดหู
ทำการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหู (myringoplasty)
โรคหินปูนเกาะฐานกระดูกโกลน
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัด อาจเกิด Measle virus หากมีประวัติ
ในครอบครัวถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominate
อาการและอาการแสดง
หูอื้อ บางรายมีอาการเวียนศีรษะบ้าน
หมุนในขณะเปลี่ยนท่าทางของศีรษะ
พยาธิสภาพ
มีการเพิ่มของ osteoblastic และ osteoclasvtic
activity บริเวณ stapes footplate ทําให้เกิด otosclerosis
การรักษา
ใช้เครื่องช่วยฟัง เหมาะสําหรับสูญเสียการฟังไม่มาก
วิธีการผ่าตัด แพทย์จะนํากระดูกหูที่มีพยาธิสภาพออกและใส่วัสดุ
เทียมเข้าไปเพื่อทําหน้าที่ในการส่งผ่านเสียงแทน
การบาดเจ็บจากแรงดันต่อหู
อาการและอาการแสดง
ปวดหู แน่นหู หรือสูญเสียการได้ยินแบบ
CHL ร่วมกับมีประวัติขึ้นเครื่องบินหรือดําน้ํา
พยาธิสภาพ
เมื่อความดันในหูชั้นกลางมีความแตกต่างจากบรรยากาศภายนอก เยื่อเมือกจะบวม มีการสร้างของเหลวจากต่อมเมือก มีเส้นเลือดฉีกขาด ทําให้เกิดของเหลวหรือเลือดคั่งในหูชั้นกลาง
สาเหตุ
ผลการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศหรือความดันในหูชั้น
กลางและโพรงกกหู มักเกิดในภาวะที่ท่อ Eustachain
ส่วนมากเกิดจากการเดินทางโดยเครื่องบิน
การป้องกันไม่ให้เกิด
เป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดมากกว่าการรักษาภายหลัง
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางระบบประสาท กรณีสงสัยรอยโรคของเส้นประสาท
การตรวจการได้ยินด้วยส้อมเสียง (Tuning fork) เพื่อแยกโรคหู
การตรวจทางร่างกายทางหู คอ จมูก การส่องกล้องดูหู (Otoscope)
การซักประวัติ
อาการนํา เช่น หูอื้อ เสียงดังในหู หรือการได้ยินลดลง
อาการร่วม เช่น ปวดหู น้ําออกหู คันหู มีเสียงดังในหู
ประวัติในอดีต เช่น การใช้ยาที่มีพิษต่อหู อุบัติเหตุที่ศีรษะ การผ่าตัดใบหู
การผ่าตัดหู
การตกแต่งหูชั้นกลาง รวมทั้งปะแก้วหูและตกแต่งกระดูกหู
การผ่าตัดเอา mastoid air cell ออกรวมทั้งซ่อมแซม conductive mechanism
การผ่าตัดตกแต่งแก้วหู ปะเยื่อแก้วหู
การผ่าตัดเปิดเข้าไปในหูชั้นกลาง เพื่อดูว่าจะทำอะไรต่อไป
การผ่าตัดstapes bone และ footplate ออก
การผ่าตัดบริเวณหูชั้นกลาง เพื่อลดการกดของfacial nerve ลง
การผ่าตัดซ่อมแซมกระดูกหูในช่องหูชั้นกลาง
การพยาบาลผู้ป่วยก่อน/หลังผ่าตัดกระดูกหูแลกระดูกmastoid
ห้ามก้มมากๆ ห้ามออกแรงยกของหนักมากๆนาน2สัปดาห์
ห้ามสั่งน้ำมูก2-3สัปดาห์หลังการผ่าตัด
เวลาไอจามควรเปิดปากทุกครั้ง
หลังผ่าตัด2สัปดาห์ดูแลอย่าให้น้ำเข้าหู
โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด โรคเวียนหัวขณะเปลี่ยนท่า
สาเหตุ
จากความเสื่อมตามวัย อุบัติเหตุโดยเฉพาะการบาดเจ็บ
อุบัติเหตุบริเวณศีรษะ โรคหูชั้นใน การติดเชื้อ
อาการ
อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน รู้สึกโครงเครง หรือสูญเสียการทรงตัว
ผู้ที่เป็นโรคนี้มักไม่มีอาการหูอื้อหรือเสียงดังในหู
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ
การตรวจร่างกาย
การสืบค้นเพิ่มเติม
การรักษา
การรักษาด้วยยา ได้แก่ ให้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ
การทํากายภาพบําบัด เป็นการขยับศีรษะและคอ
การผ่าตัด มักทําในกรณีที่ผู้ป่วยรักษาด้วยยาและทํากายภาพไม่ได้ผล
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ถ้าอาเจียนมาก อาจมีการสูญเสียน้ําและเกลือแร่ในร่างกายมากอาจช็อกได้
ถ้าเวียนศีรษะมากอาจล้มได้ ควรรีบนั่งลงหรือนอนนิ่งๆไม่เคลื่อนไหว ถ้าเกิดมีอาการขณะขับรถหรือทำงานควรหยุดรถข้างทาง ไม่ควรดำน้ำ ว่ายน้ำหรือกระโดดปีนป่ายจากที่สูง
การปฎิบัติตนป้องกันอาการกำเริบ
นอนหนุนหมอนสูง หลีกเลี่ยงการนอนราบ เลี่ยงการนอนด้านหูมีอาการลง
ตื่นนอนตอนเช้าควรลุกช้าๆและนั่งบนขอบเตียงก่อน
เวลาทำอะไรควรทำอย่างช้าๆทำอะไรค่อยๆ
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
สาเหตุ ไม่ทราบชัดเจน
อาการ ประสาทหูเสื่อมผู้ป่วยมีการได้ยินแบบประสาทเสียงเสีย มีเสียงดังในหู และเวียนศีรษะ บ้านหมุน
การรักษา ให้ยาบรรเทาอาการ และการผ่าตัด
หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเรือ
พยายามอย่ากินหรือดื่มหนัก
จำกัดความเค็ม
กินยาขยายหลอดเลือด ฮิสตามีน
การปฎิบัติพยาบาล
ขณะเวียนศรีษะควรนอนพักนิ่งๆ บนเตียง
จัดสิ่งแวดล้อมต่างๆให้เหมาะสมและสามารถช่วยผู้ป่วยพักผ่อนได้มากขึ้น
ไม่ควรทำงานที่หนักเกินไป และไม่เดินไปในที่ๆเกิดอันตราย เช่นการขึ้นที่สูง
ประสาทหูเสื่อมฉับพลัน
สาเหตุไม่ทราบชัดเจน
การรั่วของน้ำในหูชั้นใน
การอุดตันของเลือดไปเลี้ยงหูชั้นใน
อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
การบาดเจ็บ
อาการและอาการแสดง
การได้ยินลดลงในหูข้างใดข้างหนึ่งอย่างฉับพลัน
บางรายมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย
หูอื้อ
การรักษา
ในกรณีที่ทราบสาเหตุรักษาตามสาเหตุ
ในกรณีไม่ทราบสาเหตุมักมีอาการหายได้เองสูง
ยาวิตามิน บำรุงประสาทหูที่เสื่อม
หูตึงจากสูงอายุ
สาเหตุ อายุเพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยส่งเสริมเช่นมีโรคที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงหูชั้นในลดลง การใช้ยา การสูบบุหรี่
อาการและอาการแสดง การได้ยินลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเท่าๆกันทั้งสองข้าง
การรักษา ใช้เครื่องช่วยฟังเป็นหลัก จำกัดแคลอรี่ ลดปริมาณไขมันในร่างกาย