Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ การบริหารการพยาบาล,…
หน่วยที่ 9
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพ
การบริหารการพยาบาล
ด้านเศรษฐกิจ
1 เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
นโยบายปิดเสรีทางการค้า (Free trade policy) และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทั้งในระดับอวิภาคีและพหุภาคี รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจที่ใช้เทคโนโลยีและความรู้เป็นฐาน ทำให้การแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศทวีความเข้มข้นมากขึ้น ประเทศคู่แข่งทางการค้าต่างพยายามพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงสุด รวมทั้งใช้ต้นทุนที่ต่ำที่สุด เพื่อให้ผลผลิตสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งด้านราคาและคุณภาพผลผลิต
2 เศรษฐกิจภายในประเทศ
การดำเนินธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ --> มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศและผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งรายได้ของประชาชน ทำให้ต้นทุนสินค้าเวชภัณฑ์ยา วัสดุการแพทย์และบริการสุขภาพมีราคาสูงขึ้น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง อัตราการจ้างงานลดลง
ผลจากการที่รัฐบาลพัฒนาประเทศตามทฤษฎีความทันสมัย (Modernization theory) --> ทำให้ประเทศไทยต้องพึ่งพิงปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศ ได้แก่ เงิน น้ำมันเชื้อเพลิง วัตถุดิบ เครื่องจักรกล และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นต้น
ด้านสังคม
1 ค่านิยมวัฒนธรรมตะวันตก
ประชาชนปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตจากแบบดั้งเดิม (Traditional lifestyle) เป็นวิธีการดำเนินชีวิตตามประเทศตะวันตก (Western lifestyle) เช่น ค่านิยมบริโภคอาหารจานด่วน (Fast food) อาหารสำเร็จรูป อาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์ และดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น ซึ่งอาหารและเครื่องดื่มดังกล่าวมีผลเสียต่อสุขภาพคือ ทำให้เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังทำให้เยาวชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางเพศตามอารยธรรมตะวันตก ซึ่งเยาวชนที่ขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการตั้งครรภ์ ทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาคือ การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ การทำแท้ง การตายของมารดาและทารกจากการทำแท้ง รวมทั้งจำนวนบุตรทู่กทอดทิ้งจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
2 โครงสร้างประชากร
โครงสร้างประชากรในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงจากอดีต ประชากรวัยเด็กมีจำนวนลดลง ประชากรวัยทำงานและวัยผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุถูกบุตรหลานทอดทิ้งมีจำนวนเพิ่มขึ้น และปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น
3 ปัญหาสุขภาพของประชาชน
2) การเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ
3) การเจ็บป่วยจากความเครียด
1) การเจ็บป่วยจากมลภาวะและสิ่งแวดล้อม
4) การเจ็บป่วยจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
5) การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุ
ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
Information and Communication Technology = ICT มีประโยชน์ต่อการดำเนินพันธกิจของทุกองค์การดังนี้
องค์การธุรกิจนำมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและการให้บริการ
สถานศึกษานำมาใช้เป็นสื่อกลางในการจัดการศึกษาระบบทางไกล
รัฐบาลนำมาใช้เป็นสื่อกลางในการบริหารประเทศ
องค์การบริหารสุขภาพนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและให้บริการรักษาพยาบาล
ความก้าวหน้าของวิทยาการด้านเทคโนโลยีสุขภาพ
ทำให้โรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนได้นำอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยมาใชในการตรวจรักษาโรคและให้บริการพยาบาล เช่น การนำเครื่อง MRI มาใช้ในการเอกซเรย์ การผ่าตัดและรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์ และการรักษาด้วยยาที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งช่วยให้ประชาชนได้รับการวินิจฉัยโรค และการปฏิบัติการพยาบาลด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีความทันสมัย การวินิจฉัยโรคมีความแม่นยำขึ้นและบริการรักษาพยาบาลมีความสะดวกรวดเร็วขึ้น
ความก้าวหน้าของวิทยาการด้านระดับโมเลกุล (Nanotechnology)
ความรู้และความก้าวหน้าของวิทยาการระดับโมเลกุลเป็นประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาล โดยนำมาใช้ผลิตเครื่องจักรโมเลกุลที่ประกอบด้วยอะตอมของธาตุต่าง ๆที่สามารถส่งผ่านเข้าไปในร่างกายเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง หรือขจัดไขมันที่อุดตันในเส้นเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัด
ด้านการเมืองนโยบาย
การปฏิรูประบบการบริหารประเทศการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบันมีความแตกต่างจากอดีต
การปฏิรูประบบการบริหารราชการ
การปฏิรูปการศึกษา
การปฏิรูประบบสาธารณสุข
การปฏิรูประบบการดูแลสุขภาพ (Health care reform) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 82 กำหนดไว้ว่า“รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง”
นโยบายเมืองไทยสุขภาพดี (Healthy Thailand)
นโยบายส่งเสริมประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพแห่งเอเชีย (Thailand as Excellent Health of Asia) นโยบายส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพแห่งเอเชีย
นางสาวจีราพรรณ์ บุรีแก้ว 60440101002