Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ใหญ่ ตา หู จมูก ช่องปากและลำคอ, การรักษา, นางสาวภัทรพรรษ์…
การพยาบาลผู้ใหญ่ ตา หู จมูก ช่องปากและลำคอ
ตา Eye
คือ
อวัยวะที่ใช้ในการมองเห็น มี 2 ข้างอยู่ภายในเบ้าตามีรูปร่างค่อนข้างกลม
ประกอบด้วยด้วย 3 ชั้น
1.ชั้นนอก เป็นชั้นของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
เปลือกลูกตา (Sclera)
ทำหน้าที่ห่อหุ้มลูกตาเพื่อรักษาทรงของลูกตา
กระจกตา (Cornea)
มีลักษณะโปร่งแสงทำหน้าที่หักเหแสงร่วมกับเลนส์ตา และช่วยในการโฟกัสภาพ
2.ชั้นกลาง มีหลอดเลือดจำนวนมาก
ม่านตา (Iris)
เป็นแผ่นบาง ๆ ยืดหดได้
มีรูม่านตา (pupil) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงเข้าสู่ตา
เป็นตัวแบ่งช่องที่อยู่ระหว่างเลนส์และกระจกตาภายในช่องทั้งสองมีของเหลวใสเรียกว่า aqueous humor
Ciliary body
ทำหน้าที่สร้างของเหลวที่เรียกว่า aqueous humor ทำหน้าที่ให้อาหารแก่เลนส์และกระจกตา
ไม่มีเลือดมาเลี้ยงโดยตรงและช่วยรักษาความดันในลูกตาให้คงที่
Choroid
เป็นเยื่อบาง ๆ มีเส้นเลือดและเซลล์เม็ดสีจำนวนมาก มีสีน้ำตาล สร้างอาหารมาเลี้ยงจอตาเลนส์และ vitreous body
3.ชั้นใน
จอประสาทตา (Retina)
มีหน้าที่รับภาพจากแก้วตา เป็นพลังงานแสงแล้วแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ส่งต่อไปยังประสาทตาเพื่อส่งต่อไปยังสมองเพื่อแปลงพลังงานไฟฟ้ากลับเป็นภาพให้เห็น
แก้วตา (Lens)
ไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยงไม่มีเส้นประสาทมีชีวิตอยู่ได้โดยอาหารจากสารน้ำในลูกตาและวุ้นตา
วุ้นตา (Vitreous)
เป็นแหล่งอาหารแก้วตา เนื้อเยื่อ Ciliary body และจอตา
การตรวจตา
การดู
ลูกตา
ภาวะตาโปน(Exopthalmos)
จะพบเปลือกตาไม่คลุมขอบตาดำ ทำให้เห็นตาขาวลอยเหนือตาดำ
หนังตา
เปลือกตาตก
ถ้าพบแสดงว่ามีปัญหาจากกล้ามเนื้อลูกตาเสีย
ขนตา
สังเกตว่ามีขนตาม้วนเข้าหรืออกไหม
รูม่านตาและแก้วตา
ใช้ไฟฉายส่องส่องตรงกลางสังเกตรูม่านตา และมองเข้าไปแก้วตาจะเป็นสีดำและใส ในภาวะปกติ
การคลำ
ลูกตา
ปกติจะนุ่ม ถ้าคลำแล้วแข็งบ่งบอกถึงภาวะความดันในลูกตาสูง
ปัญหาที่พบ
ต้อหิน(Glaucoma)
มีลักษณะร่วม
ได้แก่ มีความดันในลูกตา (IOP) มีขั้วตาผิดปกติและสูญเสียลานสายตา (visual field) ร่วมด้วย
สาเหตุ
การคั่งของน้ำเอเควียส ความเสื่อมของเนื้อเยื่อภายในลูกตา ต้อกระจกสุกหรือต้อกระจกสุกงอม เนื้องอกในลูกตา อุบัติเหตุ
ชนิดและอาการ
ต้อหินปฐมภูมิ (Primary glacoma)
ต้อหินชนิดมุมเปิด (open – angle glacoma)
การระบายน้ำเลี้ยงภายในลูกตาลดลง การสร้างน้ำเลี้ยงภายในลูกตาเท่าเดิม
ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้นทีละน้อย เกิดการทำลายประสาทตาช้าๆ โดยแทบไม่มีีอาการปวด
ต้อหินชนิดมุมปิด (angle – closure glacoma)
การระบายน้ำเลี้ยงในลูกตาลดลงทำให้มีแรงกดภายในลูกตาโดยเฉพาะบริเวณขั้วประสาทตา (optic disc)
มีการทำลายของประสาทตาอย่างรวดเร็ว จอประสาทตาขาดเลือด สูญเสียการมองเห็น ปวดตามาก
อาการและอาการแสดง
ต้อหินระยะเฉียบพลัน
มีอาการปวดศีรษะมาก ปวดตามากสู้แสงไม่ได้ ตามัวลงคล้ายหมอกมาบัง บางคนมองเห็นแสงสีรุ้งรอบ ๆ ดวงไฟ
ต้อหินระยะเรื้อรัง
ความดันของลูกตาสูงขึ้นเล็กน้อย แทบไม่มีอาการปวด บางคนรู้สึกมึนศีรษะ ตาพร่ามัว รู้สึกเพลียตา
ต้อหินทุติยภูมิ (Secondary glacoma)
เกิดจากความผิดปกติภายในลูกตา โรคทางกายภาพทำให้น้ำเอเควียสลดลง
ต้อหินแต่กำเนิด (Congenital glacoma)
เกิดจากมีdevelopment anormalies
การรักษา
ต้อหินระยะเฉียบพลัน
ต้องรีบลดความดันในลูกตาให้ลงสู่ระดับปกติ โดยแพทย์จะให้ยาหยอดตา และยากินหรือยาฉีด จนความดันลดลงสู่อาการปกติ จึงนัดผ่าตัด
ต้อหินระยะเรื้อรัง
แพทย์จะไม่ให้ยาหยอดตาและยากิน แต่จะควบคุมความดันลูกตาให้อยู่ในระดับปกติพร้อมนัดมาตรวจเป็นระยะ ๆ
การพยาบาล
อธิบายให้เข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษา
การเตรียมตัวก่อนการยิงเลเซอร์ เวลายิงจะไม่รู้สึกเจ็บภายใน 24ชั่วโมงแรก หลังยิงเลเซอร์อาจมีอาการปวดศีรษะหรือตามัวลงเล็กน้อย
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ตาแดง ตามัวลง หรือตาสู้แสงไม่ได้ให้มาตรวจก่อนวันนัด
สอนวิธีการหยอดตาอย่างมีประสิทธิภาพ แนะนำให้ใส่แว่น หลีกเลี่ยงการขยี้ตา หลังทำเลเซอร์
ต้อกระจก(Cataract)
คือ
เป็นภาวะแก้วตา (Lens) ขุ่น ลักษณะโปร่งใสเหมือนกระจกในภาวะปกติเป็นทึบแสง ตามัว ภาพไม่ชัด
สาเหตุ
การเสื่อมตามวัย (Senile cataract)
ต้อกระจกที่ยังไม่สุก (immature cataratc)
เป็นระยะที่ตาขุ่นไม่มาก อาจเป็นตรงกลางขุ่นรอบๆยังใสหรือตรงกลางใสรอบๆขุ่น จะรู้สึกว่าตามัวเพียงเล็กน้อย
ต้อกระจกที่สุกแล้ว (mature cataratc)
เป็นระยะที่ตาขุ่นทั้งหมด ไม่พบเงาม่านตาและวัดสายตาได้ ระยะนี้เหมาะสมกับการผ่าตัดมากที่สุด
ต้อกระจกที่สุกเกินไป (hypermature cataract)
เป็นต้อกระจกที่สุก
มากจนขนาดเลนส์เล็กลง ระยะนี้ทำผ่าตัดค่อนข้างยาก
อาการและอาการแสดง
ตามัว ลงช้า ๆ โดยไม่รู้สึกเจ็บปวด มองเห็นภาพซ้อน ความสามารถในการมองเห็นลดลง รู้สึกว่าสายตาสั้นลง
การรักษา
ชนิดของการผ่าตัด
Intracapsular cataract extraction (IICE)
คือ การผ่าตัดนำแก้วตาที่ขุ่นพร้อมทั้งเปลือกหุ้มเข้าตาทั้งหมดในเวลาเดียวกัน มีผลต่อสายตาการมองถ้าไม่ใส่เลนส์เข้าไปแทน
Extracapsular cataract extraction (ECCE)
คือ การผ่าตัดเอา แก้วตาที่ขุ่นออกพร้อมทั้งเปลือกหุ้มเข้าตาด้านหน้า โดยเหลือเปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลัง
Phacoemulsification with Intraocular Lens (PE C IOL)
เป็นการผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้คลื่นเสียงหรืออัลตราซาวด์ที่มีความถี่สูงเข้าไป สลายเนื้อแก้วตาแล้วดูดออกมาทิ้ง และจึงนำแก้วตาเทียมใส่เข้าไปแทน
การพยาบาล
จัดท่านอน
ไม่ให้นอนทับตาข้างที่ผ่าตัด
หลีกเลี่ยงการไอจามแรง ๆ การก้มศีรษะต่ำกว่าระดับเอว ทานอาหารอ่อน เลี่ยงการเบ่งอุจจาระ
กลับบ้าน
ระวังน้ำเข้าตา ไม่ยกของหนักเกิน 5 Kg. ไม่ควรใช้สายตานานเกิน 1 ชั่วโมง เน้นกลางคืนปิดฝาครอบตา กลางวันใส่แว่นตาสีชาหรือสีดำ
จอกระจกตาลอก (Retinal detachment)
คือ
ภาวะที่เกิดการแยกหรือลอกตัวของชั้นจอประสาทตาด้านในและด้านนอก
ชนิด
จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากรูหรือรอยฉีกขาดที่จอประสาทตา(Rhegmatogenous retinal detachment)
จอประสาทตาลอกชนิดที่เกิดจากการดึงรั้ง (Tractional retinaldetachment)
จอประสาทตาลอกชนิดไม่มีรูขาดที่จอประสาทตา (Nonrhegmatogenous retinal detachment or exudative retinaldetachment)
อาการ
เห็นแสงจุดดำหรือเส้นลอยไปลอยมา (floater) มองเห็น
แสงวูบวาบคล้ายฟ้าแลบ (flashes of light)
การรักษา
Cryocoagulation (การจี้ด้วยความเย็น)
วิธีการชนิดนี้จะทำเมื่อจอประสาทตาฉีกขาดเป็นรู
การฉีดก๊าซเข้าไปในตา (Pneumatic retinopexy)
เป็นวิธีการฉีดก๊าซเข้าไปในช่องน้ำวุ้นลูกตา
การผ่าตัดหนุนจอประสาทตา (Scleral buckling)
การผ่าตัดน้ าวุ้นลูกตา (Pars plana vitrectomy)
การพยาบาล
ก่อนการผ่าตัด
ดูแล Absolute bed rest ไม่ขยี้ตา ไม่ก้มหน้า ให้ข้อมูลต่างๆ
หลังผ่าตัด
วัดความดันลูกตาจากแพทย์หลังผ่าตัดประมาณ 4-6 ชั่วโมง ดูแลให้นอนคว่ำหน้าหรือนั่งคว่ำหน้าให้ได้อย่างน้อยวันละ 16ชั่วโมง(การฉีดแก๊ส) ประเมินอาการท้องผูก
กลับบ้าน
ทำความสะอาดใบหน้าโดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ดตาข้างที่ผ่าตัดวันละ 1 ครั้ง หลังการผ่าตัด 2 เดือนแรก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หักโหม
อุบัติเหตุทางตา
สารเคมี
อาการ
ปวดแสบปวดร้อน มองเห็นลดลง พยายามจะหลับตาตลอดเวลา(blepharospasm)
การรักษา
ล้างตาโดยเร็วที่สุด เมื่อมาถึงโรงพยาบาลจะได้รับการล้างตาให้โดยทันทีโดยอาจต้องมีการถ่างขยายเปลือกตาแล้วหยอดยาชาก่อนเพื่อให้สามารถล้างตาได้สะดวก หากเกิดภาวะ corneal abrasion อาจได้รับการป้ายยาterramycin ointment และปิดตาแน่น 24 ชั่วโมง การรักษาด้วยการผ่าตัด
การพยาบาล
ล้างตาโดยใช้ Normal saline หรือ sterile water โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที บรรเทาอาการปวด
เลือดออกช่องหน้าม่านตา
คือ
มีการฉีกขาดของเส้นเลือดบริเวณม่านตา
การตรวจ
ใช้ Slit lamp
Grade 1 มีเลือดออกน้อยกว่า1/3
Grade 2 มีเลือดออก 1/3 ถึง 1/2
Grade 3 มีเลือดออก 1/2 ถึงเกือบเต็ม
Grade 4 มีเลือดออกเต็มช่องหน้าม่านตา
การรักษา
Absolute bed rest นอนศีรษะสูงประมาณ 30-45 องศา ปิดตาทั้งสองข้าง
ให้แก้ปวด paracetamol และ diazepam เพื่อให้ได้พักผ่อน
การพยาบาล
แนะนำให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ไม่ควรลุกจากเตียงประมาณ 3 –5 วัน ปิดตาทั้ง 2 ข้างที่มีเลือดออกด้วยผ้าปิดตา (eye pad) และที่ครอบตา (eye shield) เช็ดตาทุกวันตอนเช้า
หลังทานยาแก้ปวดไปแล้ว 30 นาที ยังปวดอยู่และยังมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ให้รีบรายงานแพทย์
โรคเบาหวานขึ้นตา
การรักษา
การรักษาด้วยการยิงเลเซอร์ (Panretinal photocoagulation=PRP)
ทำในกรณีที่จุดรับภาพส่วนกลางบวม
การฉีดยาเข้าในน้ำวุ้นตา (Intravitreal pharmacologic injection)
ได้แก่ ยากลุ่ม steroid และยา กลุ่ม Anti VEGF เพื่อรักษาโรคจุดกลาง รับภาพจอประสาทตาบวมจากเบาหวาน
การผ่าตัดน้ำวุ้นตา (Vitrectomy)
กรณีที่โรครุนแรงจนมีเลือดออกในน้ำวุ้นตา เพื่อพยายามยับยั้งโรคและป้องกันไม่ให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร
การพยาบาล
ควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่ ตรวจจอประสาทตาอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ออกกำลังกาย
แผลที่กระจกตา(Corneal ulcer)
อาการ
มีอาการปวดตา เคืองตา ตาสู่แสงไม่ได้ น้ำตาไหล ตาพร่ามัว
การรักษา
หาเชื้อที่ก่อโรค กำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลที่กระจกตา บรรเทาอาการปวดโดยการใช้ยา
การพยาบาล
แยกเตียง ของใช้และยาหยอดตาเป็นของส่วนตัว เช็ดตาวันละ1-2ครั้ง ใช้ที่ครอบพลาสติกครอบตา หยอดตาตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด
หู Ear
กลไกการได้ยิน
ได้ยินเสียงผ่านทางอากาศ (Air conduction pathway)
การได้ยินเสียงผ่านกระดูก (bone conduction pathway)
การตรวจร่างกาย
ตรวจดูอาการปวดหู มีของเหลวไลออกมา หูอื้อ มีเสียงดังในหู วิงเวียนศีรษะ สังเกตอาการบวม แดง ฝี
ตรวจช่องปาก เหงือกและฟัน สังเกตฟันคุด ก้อนเนื้อ หรืออาการเคี้ยวปวดที่เกิดจากข้อต่ออักเสบ
ตรวจจมูก สังเกตไวนัสอักเสบ
ตรวจคอและลำคอ สังเกตต่อมน้ำเหลืองบวมโต กล่องเสียงและหลอดลม
Tuning fork test
Weber test
ตรวจเพื่อวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีปัญหาการนําเสียงบกพร่อง ตรวจผ่านการนําเสียงกระดูก
Rinne test
จําแนกประเภทของการสูญเสียการได้ยิน โดยเปรียบเทียบที่หูข้างเดียวกัน ผ่านการนําเสียงทางอากาศ
Speech Audiometry
Speech reception threshold
ตรวจเสียงพูดระดับต่ำสุดที่ได้ยินและเข้าใจ
Speech discrimination
ประสิทธิภาพของหูในการแยกเสียงและความหมายของคำพูด
Vestibular Function Test
Romberg"sTest
การยืนตรง ส้นเท้าและปลายเท้าชิด
Unterberger's Test
การยืนตรง ส้นเท้า ปลายเท้าชิด ยื่นมือตรงไปข้างหน้า หลับตา ย่ำซอยเท้าอยู่กับที่
Gait Test
เดินตามแนวเส้นตรงระหว่างจุด 2 จุด แล้วหมุนตัวเร็ว ๆ กลับมาที่เดิม
ปัญหาที่พบ
การสูญเสียการได้ยิน(Hraring loss)
ประเภท
แบบการนําเสียงทางอากาศบกพร่อง
(Conductive Hearing Loss; CHL)
เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นนอก เยื่อแก้วหู และหูชั้นกลาง
แบบประสาทหูเสื่อม
(Sensorineural Hearing Loss; SNHL)
เกิดจากความผิดปกติในอวัยวะ รูปหอยโข่งในหูชั้นใน
การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed Hearing Loss)
ความบกพร่องที่สมองส่วนกลาง (Central Hearing Loss)
เกิดจากความผิดปกติของสมอง
อาการ
หูอื้อ เสียงดังในหู ปวดหู มีน้ำในหู เวียนหัวบ้านหมุน
ขี้หูอุดตัน (Cerum Impaction)
อาการ
หูอื้อ ปวดหู
การรักษา
ใช้การล้าง ใช้เครื่องดูดหรือการใช้เครื่องมืออื่น ๆ ช่วย
สิ่งแปลกปลอดในหูชั้นนอก (Foreign body)
อาการ
เด็ก
เอามือจับหูบ่อย ๆ ร้องกวน และไม่ยอมดูดนม
ผู้ใหญ่
หูอื้อ รําคาญ สูญเสียการได้ยิน มีอาการมึนงงเวียนศีรษะจนถึงอัมพาตของใบหน้า
การรักษา
เป็นสิ่งมีชีวิตใช้แอลกฮอล์ 70% หรือยาหยดประเภทน้ํามันหยอดลงไป
เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ใช้น้ําสะอาดหรือเกลือปราศจากเชื้อหยอดจนเต็มหูแล้วเทน้ําออก
เยื่อแก้วหูฉีกขาด
อาการ
เจ็บปวดเฉียบพลัน สูญเสียการได้ยิน เสียงดังในหู มีเลือดออกหู
การรักษา
ทิ้งไว้เฉยๆไม่ต้องเอาลิ่มเลือดออก ทานยากันการติดเชื้อ อาการต่างๆจะหายไป1-2 เดือน ถ้าไม่หายต้องซ่อมแซมเยื่อแก้วหู
โรคหูน้ำหนวก
Acute Otitis media
อาการ
หูอื้อ เหือนมีน้ำขังในหูตลอดเวลา
การรักษา
ปรับความดันของหู โดยการหายใจเข้าเต็มที่ บีบจมูก หุบปากแล้วเบ่งลมหายใจออก
Chronic Otitis media
อาการ
เยื่อแก้วหูทะลุ มีของเหลวไหลเป็นหนอง หูอื้อ
การรักษา
ทานยาปฎิชีวนะ ยาแก้ปวด ยาลดการคัดแน่นจมูก ทำการผ่าตัด Tympano-Mastoidectomy
โรคหินปูนเกาะฐานกระดูกโกลน
อาการ
หูอื้อ เวียนศีรษะบ้านหมุนในขณะเปลี่ยนท่าทาง มีเสียงดังในหู
การรักษา
ใช้เครื่องช่วยฟัง เหมาะสําหรับคนที่สูญเสียการฟังไม่มาก
การบาดเจ็บแรงดันต่อหู
อาการ
ปวดหู แน่นหู หรือสูญเสียการได้ยินแบบCHL ร่วมกับมีประวัติขึ้นเครื่องบินหรือดําน้ํา
การรักษา
การป้องกันไม่ให้เกิด Otitic baratrama เป็นสิ่งที่สําคัญที่สุดมากกว่าการรักษาภายหลัง
การผ่าตัดหู
การพยาบาล
ถ้าเวียนศีรษะ ให้นอนพัก นอนตะแคงข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด ห้ามก้มมากๆห้ามยกของหนักประมาณ 2 สัปดาห์
ถ้าไม่มีอาการคลื่นไส้ทานอาหารอ่อนได้ โดยเคี้ยวข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด
ตัวกดห้ามเลือด แพทย์จะนำออกหลังผ่าตัด24-48 ชั่วโมง
คำแนะนำ
ห้ามสั่งน้ำมูก 2-3 สัปดาห์
เวลาไอหรือจาม ต้องเปิดปาก
ห้ามยกของหนักเกิน 5 กิโลกรัม
หลังผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์อย่าให้น้ำเข้าหู
โรคหินปูนหูชั้นในหลุด BPPV
อาการ
เวียนศีรษะบ้านหมุน รู้สึกโครงเครง หรือสูญเสียการทรงตัว กไม่มีอาการหูอื้อหรือเสียงดังในหู
การรักษา
ให้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะ
การทํากายภาพบําบัด เพื่อเคลื่อนตะกอนหินปูนออกจากอวัยวะควบคุมการทรงตัว
การผ่าตัด มักทําในกรณีที่ผู้ป่วยรักษาด้วยยาและทำกายภาพไม่ได้ผล
การปฏิบัติตัว
นอนหนุนหมอนสูง ลุกจากเตียงช้า ๆ หลีกเลี่ยงการก้มเก็บสิ่งของ
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
อาการ
ประสาทหูเสื่อม มีการเสียการได้ยินแบบประสาทเสียงเสีย หูอื้อ ได้ยินไม่ชัดเจน แน่นในหูมีเสียงดังในหูและ อาการเวียนศีรษะ
การรักษา
ขณะเวียนศีรษะ
ควรหยุดเดินหรือนั่งพัก หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเรือ
ลดการทานอาหารเค็ม หลีกเลี่ยงชา คาเฟอีน บุหรี่ ความเครียด
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในเรื่องการเคลื่อนไหว
ขณะมีอาการ ควรนอนพักอยู่บนเตียงนิ่งๆ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพักผ่อน
ไม่ควรทำงานหนักเกินไป หรือเดินทางไปในที่ที่อันตราย
ประสาทหูเสื่อมฉับพลัน
อาการ
หูอื้อ การได้ยินลดลง อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย
การรักษา
ส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาประสาทหูที่เสื่อมให้คืนกลับมาได้ ส่วนใหญ่ก็จะรักษาตามอาการ
ในกรณีไม่ทราบสาเหตุ มักมีอาการหายได้เองสูง
หูตึงจากสูงอายุ
อาการ
การได้ยินลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปเท่า ๆ กันทั้งสองข้าง
จมูก Nose
เลือดกำเดา(Epistaxis)
อาการ
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหน้า
ส่วนใหญ่พบในเด็กและวัยหนุ่มสาว
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหลัง
ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุที่มีโรค HT
การรักษา
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหน้า
ใช้ไฟฟ้าจี้จุดที่เลือดออก
ใช้ Anterior nasal packing อุดตำแหน่งที่เลือดออก
เลือดออกจากผนังกั้นจมูกส่วนหลัง
ใช้ Posterior nasal packing อุดช่องคอหลังโพรงจมูก
Arterial ligation ผูกหลอดเลือดแดงที่มีภาวะเลือดออก
การพยาบาล
อ้าปากเวลาไอจาม ไม่สั่งน้ำมูก นอนศีรษะสูง 30-45 องศา ห้ามดึงผ้าก๊อซออกเอง หลังการนำตัวกดเลือดออกควรนอนนิ่งๆ 2-3 ชั่วโมง
ริดสีดวงจมูก(Nasal polyp)
อาการ
คัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยสะดวกเป็นเรื้อรัง
การรักษา
การกำจัด
Medical polypectomy
คือ การใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก
Surgical polypectomy
ใช้
Snaring
(ลวดคล้องแล้วดึงออก)หรือ
ESS
ทำ
Antrochonal poly
การรักษาโรคที่เกิดร่วม
หาสาเหตุที่ทำให้เกิดริดสีดวงจมูกให้เจอ
แนะนำการทำความสะอาดโพรงจมูก ด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อ
การให้ยาเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ
Sinusitis
อาการ
เจ็บบริเวณโพรงอากาศข้างจมูก คัดจมูก มีข้องเหลวไหลออกจากจมูก
การรักษา
ไม่นิยมให้ยาหยอดจมูก ส่วนมากให้ยาปฏิชีวนะและยารักษาตามอาการ
การพยาบาลหลังผ่าตัด
จัดท่านอนศีรษะสูง 30-45 องศา เพื่อลดอาการบวม หายใจสะดวกมากขึ้น
ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวด
ป้องกันการติดเชื้อ โดยให้บ้วนปากบ่อยๆ เลี่ยงการแปรงฟันบริเวณแผล
ช่องปากและลำคอ
Tonsillitis + Adenoiditis
อาการ
ไข้ ไอเจ็บคอ หายใจทางปาก หุชั้นกลางอักเสบ เสียงขึ้นจมูก
การผ่าตัดTonsillectomy + Adenoidectomy
รักษาด้วยยาไม่ได้ผล
มีอาการกลับไปเป็นซ้ำ 4-5 ครั้ง/ปี
กลืนลำบาก หายใจลำบาก
การพยาบาลหลังผ่าตัด
ทานอาหารที่เป็นของเย็น หลีกเลี่ยงรสเปรี้ยวเผ็ดร้อน
งดการใช้เสียงการทำงานหรือกิจกรรมใดๆที่ต้องออกแรงมากๆ
หลีกเลี่ยงแหล่งชุมชนป้องกันการรับเชื้อ
การรักษา
ใช้เครื่องช่วยฟัง การจํากัดแคลอรี่ช่วยลดปริมาณไขมันในร่างกาย
นางสาวภัทรพรรษ์ เทพราชา เลขที่67 รหัส 62111301069