Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน - Coggle Diagram
สถานการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
4.1 สถานการณ์พลังงานโลก
ในยุคแรก ๆ มนุษย์ใช้พลังงานส่วนใหญ่เพียงเพื่อการดำรงชีพ ต่อมามีการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในช่วง ศตวรรษที่ 18-19 ยุคของการเปลี่ยนแปลงจากระบบสังคมและเศรษฐกิจฐานการเกษตรกลายไปเป็นสังคมและเศรษฐกิจฐาน อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง ได้นำเอาเชื้อเพลิงถ่านหินน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติมาใช้
พัฒนาอุตสาหกรรมอย่างมากมาย และขยายวงกว้างออกไปทั่วโลก จนเข้าสู่ยุคปัจจุบันความต้องการพลังงานของโลกยังคง สูงขึ้นทุกวัน สถานการณ์พลังงานของโลกจะขึ้นอยู่กับปัจจัยเบื้องต้น ได้แก่จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ปริมาณความต้องการใช้ พลังงานในอนาคต และปริมาณสำรองของแหล่งพลังงานที่มีเหลืออยู่
4.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสถานการณ์พลังงานโลก
4.2.1 การเพิ่มจำนวนประชากรโลก
4.2.2 ปริมาณการใช้พลังงานในปัจจุบันและความต้องการใช้พลังงานในอนาคต
(1) ปีค.ศ. 2040 ความต้องการพลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2010 ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจจะเติบโตเป็นสองเท่า ความเจริญจะกระจายไปทั่วโลกด้วยประชากรเกือบ 9 พันล้านคน
2) ประเทศที่อยู่ในองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD) รวมถึงประเทศในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป จะมีการใช้พลังงานอย่างคงที่ แม้ว่าจะมี อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีมาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนสูง
(3) ความต้องการพลังงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้ายังคงเป็นอันดับหนึ่ง โดยในปี ค.ศ. 2040 การผลิตกระแสไฟฟ้าจะ เพิ่มขึ้นกว่า 40% เพื่อสนองความต้องการบริโภคไฟฟ้าของโลก
(4) ความต้องการถ่านหินจะเข้าสู่จุดสูงสุดและเริ่มลดลงอย่างช้า ๆ เนื่องจากมีการออกนโยบายเพื่อลดการปล่อยก๊าซ โดยกำหนดโทษค่าปรับ สำหรับเชื้อเพลิงที่ปล่อยคาร์บอนปริมาณสูง
(6) ก๊าซธรรมชาติจะเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นและมาแทนที่ถ่านหิน จนเป็นอันดับสองรองจากนํ้ามัน เมื่อถึงปี ค.ศ. 2040 ความต้องการก๊าซธรรมชาติจะสูงขึ้นเป็น 60% ทั้งนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติจะมาจากแหล่งที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น จากชั้นหินนํ้ามัน
(5) เชื้อเพลิงที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายยังคงเป็นนํ้ามัน ก๊าซ และถ่านหิน และยังมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ ของทั้งโลก ทั้งนี้คิดเป็น 80% ของการบริโภคพลังงานในปีค.ศ. 2040
4.2.3 ปริมาณสำรองของแหล่งพลังงานที่มีเหลืออยู่
4.3. สถานการณ์พลังงานของแต่ละภูมิภาค
4.3.1 สหภาพยุโรป จะมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 0.4% โดยเชื้อเพลิงที่ยังคงเป็นที่ต้องการมากที่สุด ยังคงเป็นน้ำมัน (39%) ความต้องการก๊าซจะเพิ่มขึ้นเป็น 27% ส่วนถ่านหินและลิกไนต์จะตกลงไปเป็น 16% ในปี 2030 ยุโรป จำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันถึง 90% ของน้ำมันที่ใช้ทั้งหมด โดย 45% ของน้ำมันที่นำเข้าจะมาจากตะวันออกกลาง ในส่วนของ ก๊าซนั้นปัจจุบัน 40% ของก๊าซที่ใช้ในยุโรปนำเข้าจากรัสเซีย และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึง 60-80% ในปี 2030 สำหรับถ่าน หินนั้นในปี 2030 ยุโรปต้องจำเป็นต้องนำเข้าถ่านหิน 66% ของถ่านหินที่ใช้ทั้งหมด
4.4 สถานการณ์การใช้พลังงานในประเทศไทย
4.4.1 ปริมาณการใช้พลังงานและแหล่งพลังงาน การใช้พลังงานของประเทศไทยเป็นไปในลักษณะเดียวกับการใช้ พลังงานของประเทศต่าง ๆ ในโลก กล่าวคือ พลังงานเชิงพาณิชย์
4.4.2 รายงานสถานการณ์การใช้พลังงานของประเทศไทย
(1) ชัยพร เซียนพาณิชย์ (2011) รายงานว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิล ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การผลิตไฟฟ้าที่ผ่านมาใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในสัดส่วนถึงร้อยละ 72% ทำให้ต้อง พึ่งพาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยเป็นหลัก
2) โชติชัย สุวรรณาภรณ์(2555) กล่าวว่าแนวโน้มการใช้พลังงานในประเทศไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่งที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานรวมกันสูงถึงกว่าร้อยละ 70 และภาคส่วนอื่นๆ รวมกัน อีกประมาณร้อยละ 30
(3) ทวารัฐ สูตะบุตร (2558) รายงานว่า ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ขั้นต้นในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 คาดว่าอยู่ที่ระดับ 2,603 พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2557 เท่ากับ 2.4% ทำให้ ยอดการนำเข้าพลังงาน(สุทธิ) เพิ่มขึ้น 8.6%
4.5 ผลกระทบของพลังงานกับสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน