Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ผิวหนัง, DSC_2932, guttate…
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน(Psoriasis)
เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยพบ
โรคนี้ได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดทราบเพียงว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ พันธุกรรม ปัจจัยกระตุ้นภายนอก
ทำให้มีผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมีการแบ่งตัวของเซลผิวหนังเร็วผิดปกติโรคสะเก็ดเงินไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะทางผิวหนัง แต่อาจพบมีสัมพันธ์กับโรคอื่นๆได้แก่ โรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และกลุ่ม metabolic syndrome ได้แก่โรคอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน เป็นต้น
ชนิดของสะเก็ดเงิน
1.ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดรอยโรคเป็นผื่นแดงหนา ขอบเขตชัด ขุยหนาสีขาวหรือสีเงินจึงได้ชื่อว่า”โรคสะเก็ดเงิน” พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว แขนขาโดยเฉพาะบริเวณ ข้อศอก และหัวเข่าซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเสียดสี 2. ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) รอยโรคเป็นตุ่มแดงเล็กคล้ายหยดน้ำขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขุย ผู้ป่วยมักมีอายุน้อยกว่า 30 ปี และอาจมีประวัติการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนนำมาก่อน
ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) รอยโรคเป็นตุ่ม
หนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง
ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic
psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง
5.สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis) เป็นโรคสะเก็ดเงินที่มี
รอยโรคในบริเวณซอกพับของร่างกาย
6.สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis) เป็นโรคสะเก็ดเงินบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลักษณะเป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน ขุยลอก
7.เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails) ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมักพบมีความผิด
ปกติของเล็บร่วมด้วย ที่พบบ่อยได้แก่ เล็บเป็นหลุม,
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis) ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินอาจพบ
มีความผิดปกติการอักเสบของข้อร่วมด้วย
การรักษา
สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย หมายถึง ผื่นน้อยกว่า
10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย (ผื่นขนาดประมาณ 1 ฝ่ามือเท่ากับพื้นที่ประมาณ1%) ให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
ยาทาภายนอก มีหลายชนิด ได้แก่
1.ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ (topical corticosteroids)หากใช้ยาที่แรงเกินไปร่วมกับทาเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดผิวหนังบางและเกิดรอยแตก
แอนทราลิน (anthralin, dithranol) มีฤทธิ์ยับยั้งการ
แบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ แต่อาจทำให้ระคายเคือง
อนุพันธ์วิตามิน D (calipotriol) มีฤทธิ์ทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังกลับสู่ปกติข้อเสียของยานี้คือหากทาบริเวณผิวหนังที่บาง
ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitoเป็นยากลุ่มใหม่รักษาผื่นr
ยารับประทาน 1. เมทโทเทรกเสท (methotrexate) เป็นยาที่ได้ผลดีกับสะเก็ดเงิน
เกือบทุกชนิด ออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลผิวหนังที่ผิดปกติ
อาซิเทรติน (acitretin) เป็นยารับประทานในกลุ่ม vitamin A ได้
ผลดีมากสำหรับสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง
ไซโคลสปอริน (cyclosporin) มีฤทธิ์ลดการอักเสบและยับยั้งภูมิคุ้มกันของร่างกาย
Cellulitis
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ) คือ ภาวะติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้มีอาการบวมแดง ปวดรือร้อนบริเวณที่มีการติดเชื้อ บางรายอาจมีไข้หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วยแต่ในกรณีที่รุนแรง การติดเชื้ออาจแพร่กระจายสู่กระแสเลือดและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนบนร่างกาย แต่มักเกิดบริเวณขา
อาการของ Cellulitis มีไข้
มีอาการปวดภายใน 1-2 วันแรกที่เริ่มเกิดอาการ และเจ็บเมื่อถูกกดหรือสัมผัสโดนบริเวณนั้น รู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ เกิดแผล หรือมีผื่นขึ้นบริเวณที่เกิดอาการ และอาจขยายตัวลุกลามไปอย่างรวดเร็ว เกิดรอยบุ๋มบริเวณผิวหนัง ปวดกล้ามเนื้อ
การวินิจฉัย Cellulitis
แพทย์สามารถทำได้โดยซักประวัติ ตรวจร่างกายทั่วไป และตรวจดูบริเวณที่มีอาการ โดยบางกรณีอาจมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอกซเรย์หาสิ่งแปลกปลอมบริเวณที่เกิดอาการ การตรวจเลือดดูการติดเชื้อ และการเจาะนำตัวอย่างของเหลวในบริเวณที่เกิดอาการไปตรวจในห้องปฏิบัติการ
การรักษา Cellulitis
การรักษา Cellulitis ในเบื้องต้น แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานตามความรุนแรงของอาการ แรกเริ่มอาจให้รับประทานยาประมาณ 7-14 วัน แต่ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจต้องรับประทานยานานกว่านั้น
การป้องกัน Cellulitis
ไม่แกะหรือเกาผิวหนัง เพราะบางครั้งการเกาสามารถทำให้เกิดแผลได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคผิวหนังมักจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อมากขึ้น หากมีผิวแห้งควรใช้ครีมทาบำรุงผิว เพื่อให้ผิวมีความชุ่มชื้นและไม่เสี่ยงต่อการแห้งแตกจนทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ร่างกายได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันการบาดเจ็บและการเกิดแผลทุกครั้งที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำงานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์แหลมคม เล่นกีฬาที่มีการปะทะ เป็นต้น
Fasciitis
“แบคทีเรียกินเนื้อ” หมายถึงการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นลึกถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (necrotizing fasciitis) มีอาการและอาการแสดงรุนแรง มักมีไข้ ปวดบวม แดงร้อนและอาการอักเสบร่วมด้วย การวินิจฉัยและรักษาในระยะต้นของโรคจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
ลักษณะอาการแสดงที่พบในระยะแรกคือมีอาการเจ็บปวดบวม แดง ร้อน ที่ผิวหนังอย่างมาก อาการบวมแดงจะลามอย่างรวดเร็ว อาจมีตุ่มน้ำร่วมด้วย ต่อมาสีของผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีม่วงและมีเนื้อตายเกิดขึ้น เมื่อมีเนื้อตายเกิดขึ้นผู้ป่วยอาจมีอาการชามาแทนที่อาการเจ็บปวด มักจะมีไข้สูงและการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดร่วมด้วย
การรักษา
ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล การรักษาเฉพาะคือการใช้ยาต้านจุลชีพในรูปยาฉีดร่วมกับการผ่าตัด การวินิจฉัยโรคและการรักษาตั้งแต่ระยะต้นของโรคสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้
ป้องกันและระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบาดแผลที่สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่สกปรก
ถ้ามีแผลที่ผิวหนัง ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่สกปรก
ถ้าสัมผัสหรือประสบอุบัติเหตุทำให้เกิดแผล ควรล้างทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาดหรือสบู่ทันที ไม่ควรบ่งด้วยเข็มหรือกรีดเปิดแผลด้วยตัวเอง เนื่องจากอุปกรณ์ที่ไม่สะอาดจะส่งเสริมการติดเชื้อให้เพิ่มมากขึ้น
ถ้ามีแผล อาการปวดบวม แดงร้อนที่ผิวหนัง หรือมีไข้ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโดยทันที
ผื่นแพ้ยา Erythema Multiforme
เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากแพ้ยา หลังจากได้รับยาที่แพ้จะเกิดผื่น ลักษณะที่สำคัญคือจะมีผื่นได้หลายรูปแบบในคนคนเดียวกันเริ่มต้นอาจจะเป็นผื่นแดงแบนราบ (erythematous macules ) หรือตุ่มแข็ง ตุ่มน้ำใส และตุ่มพอง
อาการของโรค
ไข้
รู้สึกไม่สบายตัว
คันตามผิวหนัง
ปวดข้อมีผื่นขึ้นซึ่งมีได้หลายรูปแบบ
เป็นผื่นแดงตุ่มเล็กๆ หรือผื่นแดงแบนราบ หรือผื่นแบบลมพิษมีตุ่มน้ำซึ่งมีหลายขนาดพบผื่นที่ลำตัว แข ขา ฝ่ามือ ใบหน้า มักจะเป็นสองข้าง
การรักษาผื่นแพ้ยา Erythema Multiforme
ค้นหาสาเหตุและรักษาต้นเหตุ เช่นการหยุดยาที่แพ้ หรือรักษาโรคติดเชื้อ บริเวณที่เป็นตุ่มน้ำให้ทำความสะอาดและทำแผลรับประทานยาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine 4 mgวันละ 4 ครั้งในรายที่เป็นรุนแรงแพทย์จะรับตัวไว้รักษา และให้ยา steroid
Fungal Infection เชื้อรา
ปัจจัยเสี่ยงที่จะติดเชื้อรา
มีภาวะผิวหนังที่สัมผัสกับสิ่งสกปรกที่มีเชื้อราอยู่ และผิวหนังนั้นเปียกชื้น เช่น ในโรคน้ำกัดเท้า โรคกลาก โรคเชื้อราที่เล็บ คนอ้วน เพราะมักมีเหงื่อมาก เด็กเล็กและผู้สูงอายุ เพราะร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ และมักดูแลรักษาความสะอาดตนเองได้ไม่ดี เป็นต้น
อาการโรคเชื้อรา
ระคายเคือง อาจแสบ เจ็บ อาจมีลักษณะเหมือนการอักเสบ คือ ปวด/เจ็บ บวม แดง ร้อน มีผื่น ซึ่งผื่นจากเชื้อราบางชนิด จะมีลักษณะเฉพาะ เช่น กลาก เกลื้อน แต่ผื่นจากเชื้อราบางชนิดมีลักษณะเหมือนผื่นทั่วไป ไม่จำเพาะ คัน เป็นต้น
วินิจฉัยโรคจากติดเชื้อรา
แพทย์วินิจฉัยโรคจากติดเชื้อราได้เช่นเดียวกับในการวินิจฉัยโรคจากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ ไวรัส คือ จากประวัติทางการแพทย์ต่างๆ เช่น อาการต่างๆ ประวัติการสัมผัสโรค ประวัติการเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน และประวัติการใช้ยาต่างโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะและยาในกลุ่มสเตียรอยด์ จากการตรวจร่างกาย และการตรวจรอยโรค ซึ่งถ้าเป็นโรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อภาย นอกร่างกาย เช่น ผิวหนัง
รักษาโรคเชื้อรา
แนวทางการรักษาโรคเชื้อรา คือ การให้ยาต้านเชื้อรา และการรักษาประคับประคองตามอาการยาต้านเชื้อรา ซึ่งมีได้ทั้งในรูปแบบ ทา กิน และฉีด อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของยา เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียแล้ว ยาต้านเชื้อรายังมีประสิทธิภาพด้อยกว่า ดังนั้นจึงมักจำเป็นต้องใช้ยารักษาในระยะเวลาที่นานกว่าการใช้ยาปฏิชีวนะรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย และตัวยามักมีผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่า เช่น อาการคลื่นไส้อาเจียน การเบื่ออาหาร และการแพ้ยา