Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วย ที่มีปัญหาระบบผิวหนัง, image, image, image,…
บทที่ 6
การพยาบาลผู้ป่วย
ที่มีปัญหาระบบผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน
(Psoriasis)
ชนิดของ
สะเก็ดเงิน
1.ชนิดผื่นหนา พบบ่อยที่สุด ขุยหนาสีขาวหรือสีเงิน พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ ลำตัว แขนขา
ชนิดผื่นขนาดเล็ก รอยโรคเป็นตุ่มแดงเล็กคล้ายหยดน้ำขนาดเล็ก
ชนิดตุ่มหนอง รอยโรคเป็นตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง
ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง ผิวหนังมีลักษณะแดงมีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิว
5.สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ เป็นผื่นแดงเรื้อรังและมักไม่ค่อยมีขุย พบในบริเวณซอกพับของร่างกาย
6.สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า ลักษณะเป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า
7.เล็บสะเก็ดเงิน มีความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย เช่น เล็บเป็นหลุม, เล็บร่อน เล็บหนา
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน มีความผิดปกติการอักเสบของข้อร่วมด้วย ซึ่งพบได้ทั้งข้อใหญ่ ข้อเล็ก
การรักษา
ยาทา
ภายนอก
1.ยาทาคอติโคสเตียรอยด์ นิยมใช้เนื่องจากเป็นครีมขาวใช้ง่าย
และตอบสนองต่อการรักษาดี ไม่ควรใช้แรงหรือระยะยาว
น้ำมันดิน ประสิทธิภาพดี กลิ่นเหม็น เวลาทาอาจทำให้เปื้อนเสื้อผ้า
ผลข้างเคียงเกิดรูขุมขนอักเสบหรือระคายเคือง
แอนทราลิน อาจทำให้ระคายเคืองผิวหนังรวมถึงผิวหนังบริเวณที่ทายามีสีคล้ำขึ้น
อนุพันธ์วิตามิน D หากทาบริเวณผิวหนังที่บาง อาจมีการระคายเคืองได้ และยามีราคาแพง
ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor เป็นยากลุ่มใหม่ รักษาบริเวณหน้า
หรือตามซอกพับ ยามีราคาแพง
ยารับประทาน
เมทโทเทรกเสท ได้ผลดีกับสะเก็ดเงินเกือบทุกชนิด ผลข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน ใช้นานหลายปีเสี่ยงตับแข็ง
อาซิเทรติน ได้ผลดีมากสำหรับสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง ผลข้างเคียง ปากแห้งลอก ผิวแห้ง ระดับไขมันในเลือดสูง และอาจทำให้เกิดตับอักเสบ ห้ามใช้ตอนตั้งครรภ์
ไซโคลสปอริน ใช้กรณีสะเก็ดเงินรุนแรงปานกลางถึงมาก ผลข้างเคียง ขนยาว เหงือกบวม เป็นพิษต่อไต และความดันโลหิตสูง
พิจารณาให้กรณีสะเก็ดเงินรุนแรงปานกลางถึงมาก
การฉายแสงอาทิตย์เทียม
ได้ผลดีในการรักษา ปัจจุบันที่ใช้รังสี 2 ชนิด
คือรังสีอัลตราไวโอเลต A และ Bต้องมารับการรักษา 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
เป็นเวลา 3 เดือนต่อเนื่อง ให้ผลดี 70 - 80% ผลข้างเคียงน้อย
ยาฉีดกลุ่มชีวภาพ
เป็นยาใหม่ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อยู่ในรูปยาฉีด
สัปดาห์ละ 2 ครั้ง บางชนิด ฉีดห่างกันทุก 3 เดือน ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
การรักษาโรคสะเก็ดเงินเป็นการรักษาให้โรคสงบ แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากมีสิ่งมากระตุ้นโรคจะสามารถกำเริบได้อีก
สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย ผื่นน้อยกว่า10% ให้การรักษาโดยใช้ยาทา แจ่หากความรุนแรงมากพิจารณา
ให้การรักษาโดยใช้ยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียม หรืออาจใช้ร่วมกันระหว่างยารับประทาน
หรือฉายแสงอาทิตย์เทียมและยาทา
เป็นโรคไม่ติดต่อที่มีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังลักษณะของโรคคือผื่นสีแดงค่อนข้างหนาและมีขุยสีขาวคล้ายรังแคติดที่ผิวผู้ป่วยจะมีการแบ่งตัวของเซลผิวหนังเร็วผิดปกติ
แพ้ยา
Steven Johnson disease
กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
ผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวผิดปกติชนิดรุนแรง พบได้ไม่บ่อย โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการตอบสนองของร่างกายต่อยาบางชนิด
อาการ ระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตามมาด้วยผื่นแดงเจ็บปวด จากนั้นผื่นจะลุกลามและกลายเป็นแผลพุพองในที่สุด
การรักษา ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หยุดรับประทานยาที่คาดว่าอาจเป็นสาเหตุ หลังจากนั้นจะรักษาแบบประคับประคอง ร่างกายของผู้ป่วยจะค่อย ๆ สร้างผิวหนังใหม่ทดแทนผิวหนังที่เกิดความผิดปกติ ใช้เวลารักษานาน
Erythema Multiforme
ผื่นแพ้ยา
เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากแพ้ยา จะมีผื่นได้หลายรูปแบบในคนคนเดียวกัน เริ่มต้นอาจจะเป็นผื่นแดงแบนราบ หรือตุ่มแข็ง ตุ่มน้ำใส และตุ่มพอง ตรงกลางผื่นอาจจะมีตุ่มน้ำหรือเลือดออกทำให้มีลักษณะเหมือนม่านตา ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรค ผื่นส่วนใหญ่จะขึ้นตามหลังมือ หลังเท้า แขน ขา ฝ่ามือ มักจะเป็นทั้งสองข้าง ลำตัว และหน้า ผู้ป่วยที่อาการหนัก เรียก Stevens-Johnson-Syndromes
การรักษา ค้นหาสาเหตุและรักษาต้นเหตุ เช่นการหยุดยาที่แพ้ หรือรักษาโรคติดเชื้อ โดยบริเวณที่เป็นตุ่มน้ำให้ทำความสะอาดและทำแผล รับประทานยาแก้แพ้
ผิวหนัง
Epidermis หนังกำพร้า เป็นชั้น
นอกสุดของผิวหนัง มีความหนา
ประมาณ 0.05-0.1 มิลลิเมตร
Dermis หนังแท้ มีเส้นเลือด
และเส้นประสาทมาเลี้ยงจำนวนมาก
นอกจากนี้ ยังมีรยางค์ของผิวหนัง
ได้แก่ ขน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ
และกล้ามเนื้อเรียบ
Hypodermis ผิวหนังชั้นไขมัน
ประกอบด้วยเซลล์ไขมัน
เรียกว่า adipocytes ซึ่งจะอยู่
กันเป็นก้อน และกั้นด้วย
ผนังเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ซึ่งมี
collagen หลอดเลือด
หลอดน้ำเหลืองเป็นส่วนประกอบ
โรคจากการ
ติดเชื้อแบคทีเรีย
Bacterial Infection
โรคติดเชื้อของผิวหนังและ
ชั้นใต้ผิวหนังลึกถึงระดับพังผืด,
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า
(Necrotizing fasciitis)
สาเหตุ ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกัน เชื้อแบคทีเรียมีทั้งชนิดที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน โดยพบว่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่สำคัญ คือ เชื้อสเตร็ปโตค็อกคัส กลุ่มเอ
อาการ ระยะแรกอาการไม่ชัดเจน ต่อมาผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อจะเริ่มบวม แดง ร้อนอย่างชัดเจน กดแล้วเจ็บ สีของผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ผู้ป่วยจะมีอาการชาของผิวหนัง
ติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงที่ผิวหนังชั้นลึกทำให้เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ มีความรุนแรงมาก
การรักษาโรค หัวใจสำคัญคือการวินิจฉัย
โรคให้เร็วและผ่าตัดเพื่อเอาเนื้อเยื่อที่มี
การติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อที่เน่าตายออก
ให้มากที่สุด ร่วมกับการให้ยา
ต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ
โรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ
(Cellulitis)
ติดเชื้อบริเวณผิวหนังหรือ
เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่งผลให้มี
อาการบวมแดง ปวด หรือร้อน
บริเวณที่มีการติดเชื้อ บางราย
อาจมีไข้หรืออาการอื่น ๆ ร่วมด้วย
มักเกิดบริเวณขา
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการติดเชื้อ
แบคทีเรียที่อาจเข้าสู่ร่างกายผ่านทาง
รอยแผล รอยแตก หรือผิวหนังที่บอบบาง
อาการ คือ บริเวณที่ติดเชื้อ
จะมีอาการบวม แดง และมี
แนวโน้มขยายเป็นบริเวณกว้าง
มีไข้ มีอาการปวดภายใน 1-2 วันแรก
รู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณแผล
เกิดแผลละอาจขยายตัว
ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
การรักษา เบื้องต้นให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน แต่หากอาการไม่ดีขึ้นผู้ป่วยอาจต้องรับยาปฏิชีวนะชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดโดยตรง หากมีอาการรุนแรงมาก ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่ตายออกไปและดูดหนองออกจากแผล
ผิวหนังติดเชื้อไวรัส
viral infection
Herpes
โรคเริม
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Herpes simplex หรือ HSV สามารถรับเชื้อจากการติดต่อโดยการสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค เกิดโรคที่ผิวหนังหรือเยื่อบุพบได้บ่อยๆ คือ บริเวณริมฝีปาก หรือ บริเวณอวัยวะเพศ
อาการ จะเริ่มจากพบตุ่มพองใสๆ เล็กๆ ที่บริเวณผิวหนัง ตุ่มใสจะเริ่มพองและปวดแสบปวดร้อน และเริ่มแตกออก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย
การรักษา เน้นการรักษาตามอาการ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน โดยเฉพาะในบริเวณอวัยวะสำคัญ เช่น ดวงตา
Herpes Zoster
โรคงูสวัด
เกิดจากติดเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) ชนิดเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดอีสุกอีใส พบมากในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
อาการ ปวดตามตัว คันผิวหนัง เมื่อผ่านไปประมาณ 1-5 วันจะมีผื่นแดงอยู่เป็นกลุ่ม ต่อมาเป็นตุ่มน้ำใส ต่อมาผื่นจะตกสะเก็ดและหายไปใน 2-3สัปดาห์ ซึ่งอาจจะทิ้งรอยแผลเป็นไว้
การดูแลรักษา หายเองใน 2-3สัปดาห์ โดยรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาบรรเทาอาการปวด หรือลดไข้ ถ้าตุ่มกลายเป็นหนองเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนก็จะให้ยาปฏิชีวนะ
Varicella,
Chickenpox
อีสุกอีใส
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส “ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์” (Varicella zoster virus – VZV) โดยเชื้อนี้จะก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใสในผู้ที่เพิ่งติดเชื้อเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นเชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้นหรือภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะเจริญเติบโตขึ้นใหม่ก่อให้เกิดโรคงูสวัด
อาการ เริ่มจากมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และมีผื่นขึ้นเริ่มจากลำตัว ใบหน้า และลามไปแขนขา ลักษณะผื่นตอนแรกจะเป็นผื่นแดง มักมีอาการคันร่วมด้วย ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็ว และตกสะเก็ด ในที่สุดสะเก็ดจะหลุดหายไปเองในเวลา 5-20 วัน
BURN
แผลไฟไหม้
แผลบริเวณผิวหนัง เกิดจาก
ความร้อนเผาทำลายเซลล์
เนื้อเยื่อตามร่างกาย หรือสัมผัส
กับแสงแดดจ้าเป็นเวลานาน
สัมผัสไอร้อนหรือสารเคมี
ที่เป็นอันตรายบางชนิด
การรักษา รีบดับไฟหรือปิด
ต้นตอของความร้อน แล้วจึง
ให้แผลได้รับความเย็น เช่น
ให้น้ำไหลผ่าน หรือใช้ผ้าเย็น
วางบนแผล ใช้ผ้าสะอาดปิด
แผลไว้ โดยไม่ทาครีมขี้ผึ้งใดๆ
ที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
รับประทานยาแก้ปวด
ทำแผลวันละครั้ง ไม่ให้ติดเชื้อ
Fungal Infection
เชื้อรา
Tinea Infections
โรคกราก
เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่น มีขุย และคันบริเวณลำตัว ผื่นเป็นวงแหวน
ตรงกลางผื่นจะไม่มีขุย ส่วนขอบผื่นจะเป็นขุย ขนาดของผื่นพบได้ตั้งแต่ขนาดเล็กจนกระทั่ง
ใหญ่สาเหตุ โดยเชื้อรามักจะพบอยู่ในสุนัข แมว โดยจะอยู่บนเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
การรักษา ใช้ครีมรักษาเชื้อรา
ทาวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 สัปดาห์
ผื่นมักจะหายใน 2 สัปดาห์ หลังจาก
ผื่นหายให้ทาครีบหรือ
รับประทานยาต่ออีก 1 สัปดาห์
เพื่อรักษาเชื้อที่ยังหลบซ่อนอยู่
นางสาวณัฐธยาน์ บุญศรี
UDA6280003