Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ที่มีภาวะเสียสมดุลสารน้ำเกลือแร่ และกรด-ด่าง, image,…
บทที่ 7 การพยาบาลผู้ที่มีภาวะเสียสมดุลสารน้ำเกลือแร่ และกรด-ด่าง
สารน้ำ (fluid)
สารน้ำ (fluid) ในร่างกาย หมายถึง น้ำและสารประกอบ ที่ละลายอยู่ในน้ำได้แก่ อิเลคโทรลัยท์ทั้งประจุบวกและลบ รวมถึงโปรตีน กลูโคลและไขมันน้ำเป็นส่วนประกอบหลักของสารน้ำในร่างกาย
กลไกปกติของสมดุลน้ำ
กลไกการระเหยของน้ำเป็นกลไกการควบคุมของสมองใหญ่ (Cerebrum)
การควบคุมโดยฮอร์โมน Antidiuretic hormone (ADH) ถูกสร้างจากต่อมใต้สมอง
หน้าที่ของสารน้ำในร่างกาย
ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย
เป็นให้ความชุ่มชื้นต่อเนื้อเยื่อของร่างกายเช่นปากตาจมูก
หล่อลื่นข้อและป้องกันอวัยวะภายใน
ป้องกันภาวะท้องผูกและช่วยขับของเสียผ่านทางไต
ละลายเกลือแร่และสารอาหาร
นำอาหารและออกซิเจนไปสู่ร่างกายและเนื้อเยื่อ
การประเมินสมดุลของเหลว
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจร่างกาย
การซักประวัติ
ภาวะขาดน้ำ Hypovolemia
สาเหตุ
primary dehydration จะเกิดจากการได้รับไม่พอ ไม่ว่าจะเกิดจากการดื่มเองไม่ได้หรือไม่มีน้ำดื่มหรือ เกิดการบาดเจ็บรุนแรงหมดสติ
secondary dehydration เกิดจากการเสียน้ำที่มีการเสียอิเลคโทรลัยท์ด้วย โดยเฉพาะการสูญเสียโซเดียมเช่น การเกิดการอาเจียน
อาการ
ท้องร่วง หรือมีการขับปัสสาวะออกมากไม่มีแรง
ผิวหนังแห้ง
คอแห้งไม่มีน้ำลาย
ริมฝีปากแห้งน้ำหนักลด
หัวใจเต้นเร็ว กระวนกระวาย
การพยาบาล
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ น้ำหนักตัวระดับความรู้สึก
ประเมินระดับความรุนแรงของสภาวะขาดน้ำ
ให้สารน้ำและเกลือแร่ทดแทน
ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ
บันทึกปริมาณน้ำเข้าน้ำออก
ภาวะน้ำเกิน Hypervolemia
water intoxication เป็น ภาวะที่มีน้ำในร่างกายมากกว่า60%ของน้ำหนักตัว ECF มากกว่าปกติ60%ของน้ำหนักตัว ECF มากกว่าปกติ
อาการ
หายใจถี่ เกิดจากของเหลวส่วนเกินเข้าสู่ปอด ทำให้ความสามารถในการหายใจตามปกติลดลง
ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
น้ำหนักเพิ่มอย่างรวดเร็ว
อาการบวมที่เห็นได้ชัดเจนในแขน ขา เท้า ข้อเท้า ข้อมือ และใบหน้า
การพยาบาล
ประเมินอาการบวม ภาวะน้ำเกิน
บันทึกสัญญาณชีพ น้ำหนักตัว
บันทึกปริมาณน้ำเข้าออก I/O
ดูแลให้ยาขับปัสสาวะ
สาเหตุ
ผู้ป่วยที่มีภาวะขาดโซเดียม
การได้รับน้ำมากเกินไป
มีการอุดกันของทางเดินปัสสาวะ
มีการหลั่ง ADH มากกว่าปกติ
ภาวะบวม Edema
อาการ
ผิวหนังตึงและมีความมันวาว
เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบวมและโป่ง โดยเฉพาะบริเวณขาและแขน
ช่วงท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น
กรณีที่ปอดบวมน้ำ อาจทำให้เกิดอาการไอหรือมีปัญหาในการหายใจ
สาเหตุ
ภาวะ Alb ในเลือดต่ำ
มีการคั่งของโซเดียม สูญเสีย vascular permeability
ภาวะ nephrotic syndrome เกิดจากไตผิดปกติ
การพยาบาล
ตรวจร่างกายทั่วไป
ให้ยาขับปัสสาวะ
ภาวะที่เลือดมีระดับของแคลเซียมเกิน Hypercalcemia
เป็นภาวะที่อาจทำให้กระดูกของผู้ป่วยอ่อนแอลง ทำให้เกิดนิ่วในไต และส่งผลต่อการทำงานของสมองและหัวใจได้ เนื่องจากมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ
อาการ
อาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร หรือท้องผูก
กล้ามเนื้อกระตุก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
การทำงานของสมองเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการบางอย่าง เช่น เหนื่อย อ่อนเพลีย หรือสับสน
สาเหตุ
ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง
การเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
การพยาบาล
ให้สารน้ำหรือของเหลวเข้าทางหลอดเลือด
ใช้ยาขับปัสสาวะ
หากไตได้รับความเสียหาย ผู้ป่วยบางรายอาจต้องได้รับการฟอกไตด้วย
ภาวะที่ร่างกายมีระดับของโซเดียมเกิน Hypernatremia
เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณโซเดียมในเลือดเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งโซเดียมนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายหลายด้าน เช่น ควบคุมปริมาณของน้ำในเซลล์ภายในร่างกายให้สมดุล
อาการ
ปัสสาวะน้อยผิดปกติ
ร่างกายอ่อนแรง ง่วงซึม
หายใจเร็วกว่าปกติ
สาเหตุ
การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
การดื่มน้ำในปริมาณน้อยจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การเสียน้ำออกจากร่างกายเป็นปริมาณมาก เช่น เสียเหงื่อจากการออกกำลังกาย ท้องเสีย
การพยาบาล
การดูแลอาการด้วยตนเอง หากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้โดยดื่มน้ำ
การรักษาโดยแพทย์ แพทย์อาจให้น้ำเกลือเข้าทางกระแสเลือดโดยตรง
ภาวะที่ร่างกายมีโปรแตสเซียมต่ำHypokalemia
ภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยท้องผูก อ่อนล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
สาเหตุ
อาเจียนหรือท้องเสียอย่างหนัก
เหงื่อออกมากเกินไป
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
อาการ
อ่อนล้า ภาวะหายใจล้มเหลว
เป็นเหน็บชา
กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือปวดเกร็ง
หน้ามืด เป็นลม
การพยาบาล
บริโภคอาหารเสริมโพแทสเซียม
ภาวะที่มีระดับของโปแตสเซียมสูงHyperkalemia
ภาวะที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของไต เช่น ไตวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง
การพยาบาล
รับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ ควรจำกัดปริมาณโพแทสเซียมที่ได้รับไม่เกิน 2,000-3,000 มิลลิกรัมต่อวัน
สาเหตุ
มักเกิดจากความผิดปกติของไต เช่น โรคไตเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน
อาการ
อ่อนเพลีย คลื่นไส้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นเหน็บชาตามร่างกาย
ภาวะที่มีระดับของแคลเซียมต่ำ Hypocalcemia
ภาวะที่ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อาจเกิดขึ้นได้หากร่างกายสูญเสียแคลเซียมปริมาณมาก
อาการ
เวียนศีรษะ
มีอาการชา เสียวหรือปวดคล้ายถูกเข็มแทงตามใบหน้า ปาก มือ หรือเท้า
เป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุก
สาเหตุ
การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในวัยเด็ก
การขาดสารอาหารหรือร่างกายดูดซึมสารอาหารผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถได้รับวิตามิน
การพยาบาล
เพิ่มระดับแคลเซียมในร่างกายให้
รับประทานยาหรืออาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มระดับแคลเซียมให้อยู่ในภาวะปกติ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต
รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ชีส นมถั่วเหลือง โยเกิร์ต เนย ถั่วลิสง ผลไม้ ผัก