Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ผิวหนัง - Coggle Diagram
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
เป็นโรคที่มีการอักเสบเรื้อรังของผิวหนังที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย พบโรคนี้ได้ประมาณร้อยละ 1-2 ของประชากร ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดทราบเพียงว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน
พันธุกรรม
ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
กระตุ้นภายนอก
โรคสะเก็ดเงินไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะทางผิวหนัง แต่อาจพบมีสัมพันธ์กับโรคอื่นๆโรคข้ออักเสบสะเก็ดเงิน และกลุ่ม metabolic syndrome
โรคอ้วน
ภาวะไขมันในเลือดสูง
เบาหวาน
ชนิดของสะเก็ดเงิน
1.ชนิดผื่นหนา (Plaque psoriasis) เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด รอยโรคเป็นผื่นแดงหนาขอบเขตชัด ขุยหนาสีขาวหรือสีเงินจึงได้ชื่อว่า”โรคสะเก็ดเงิน” พบบ่อยบริเวณหนังศีรษะ
ชนิดผื่นขนาดเล็ก (Guttate psoriasis) รอยโรคเป็นตุ่มแดงเล็กคล้ายหยดน้้าขนาดเล็กไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีขุย ผู้ป่วยมักมีอายุน้อยกว่า 30 ปี
ชนิดตุ่มหนอง (Pustular psoriasis) รอยโรคเป็นตุ่มหนองกระจายบนผิวหนังที่มีการอักเสบแดง ในรายที่เป็นมากอาจมีไข้ร่วมด้วย
ชนิดผื่นแดงลอกทั่วตัว (Erythrodermic psoriasis) เป็นสะเก็ดเงินชนิดรุนแรง ผิวหนังมีลักษณะแดงและมีขุยลอกเกือบทั่วพื้นที่ผิวทั้งหมดของร่างกาย
5.สะเก็ดเงินบริเวณซอกพับ (Inverse psoriasis) เป็นโรคสะเก็ดเงินที่มีรอยโรคในบริเวณซอกพับของร่างกาย ได้แก่ รักแร้ ขาหนีบ และใต้ราวนม
6.สะเก็ดเงินบริเวณมือเท้า (Palmoplantar psoriasis) เป็นโรคสะเก็ดเงินบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้าลักษณะเป็นผื่นแดงขอบเขตชัดเจน ขุยลอก
7.เล็บสะเก็ดเงิน (Psoriatic nails) ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินมักพบมีความผิดปกติของเล็บร่วมด้วย ที่พบบ่อยได้แก่ เล็บเป็นหลุม, เล็บร่อน,
ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน (Psoriatic arthritis) ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินอาจพบมีความผิดปกติการอักเสบของข้อร่วมด้วย
การรักษา
แนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน ขึ้นกับความรุนแรงของโรคดังนี้
สะเก็ดเงินความรุนแรงน้อย หมายถึง ผื่นน้อยกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกายให้การรักษาโดยใช้ยาทาเป็นอันดับแรก
สะเก็ดเงินความรุนแรงมากหมายถึง ผื่นมากกว่า10% ของพื้นที่ผิวทั่วร่างกาย พิจารณาให้การรักษาโดยใช้ยารับประทานหรือฉายแสงอาทิตย์เทียม
ยาทาภายนอก
1.ยาทาคอติโคสเตียรอยด์(topical corticosteroids)ส่วนใหญ่นิยมใช้เนื่องจากเป็นครีมขาวใช้ง่าย
น้้ามันดิน (tar)มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังที่ผิดปกติ
แอนทราลิน (anthralin, dithranol) มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนัง
อนุพันธ์วิตามิน D (calipotriol)มีฤทธิ์ท้าให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังกลับสู่ปกติข้อเสียของยานี้คือหากทาบริเวณผิวหนังที่บาง
ยาทากลุ่ม calcineurin inhibitor (tacrolimus,pimecrolimus) เป็นยากลุ่มใหม่รักษาผื่นโรคสะเก็ดเงินบริเวณหน้าหรือตามซอกพับ
ยารับประทาน
เมทโทเทรกเสท (methotrexate) เป็นยาที่ได้ผลดีกับสะเก็ดเงินเกือบทุกชนิดยับยั้งการแบ่งตัวของเซลผิวหนังที่ผิดปกติ รวมถึงมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ผลข้างเคียงได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หากรับประทานยาติดต่อกันนานหลายปีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งได้
อาซิเทรติน (acitretin) เป็นยารับประทานในกลุ่ม vitamin A ได้ผลดีมากส้าหรับสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง
ผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่ ปากแห้งลอก ผิวแห้ง มือเท้าตึงลอก
ไซโคลสปอริน (cyclosporin) มีฤทธิ์ลดการอักเสบและยับยั้งภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ผลข้างเคียง ได้แก่ ขนยาว เหงือกบวม เป็นพิษต่อไต
ผิวหนังติดเชื้อไวรัสViral Infection
โรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส มีด้วย กันหลายโรคแบ่งออกเป็น 2 ได้แก่ DNA และ RNAไวรัสซึ่งสามารถทําให้เกิดโรคได้หลายชนิด เช่น หัด หัดเยอรมัน ไข้สุกใส หูด
โรคเริม (Herpes simplex)
เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรคซึ่งอาจแสดงอาการหรือไม่ก็ได้ เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ผิวหนังทำให้เกิดเป็นโรคเริมครั้งแรกเกิดโรคซ้ำที่ผิวหนังหรือเยื่อบุ การเกิดโรคพบได้ในหลายตำแหน่ง เช่น ที่ริมฝีปากหรือบริเวณอวัยวะเพศ
อาการของโรคเริม
โรคเริมที่เป็นครั้งแรก จะมีระยะฟักตัวประมาณ 3-7 วันหลังได้รับเชื้อ ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ตุ่มน้ำ แตกเป็นแผลตื้นๆ มักมีอาการเจ็บ ปวดแสบร้อน
ปัจจัยใดสามารถกระตุ้นทำให้เริมเกิดเป็นซ้ำ
ความเครียด
รอยถลอกขีดข่วน
การเจ็บป่วยจากโรคอื่น
การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์
การผ่าตัดที่กระทบกระเทือนต่อเส้นประสาท
การรักษาและการปฏิบัติตัวผู้ป่วยโรคเริม
โรคส่วนใหญ่ อาการไม่รุนแรง และหายเองได้ โดยเฉพาะเริมที่กลับเป็นซ้ำ
ผู้ป่วยควรพักผ่อนและดื่มน้ำมาก ๆ
ถ้ามีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อย ๆ และรับประทานยาพาราเซตามอลบรรเทาไข้
ยาต้านไวรัสเช่น acyclovir ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในปมประสาทได้
การรับประทานยาต้านไวรัสเร็วภายใน 48 ชั่วโมงหลังมีอาการนำ จะสามารถลดระยะเวลาการเกิดโรค ลดการแพร่เชื้อ
โรคงูสวัดHerpes Zoster
โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) ที่ซ่อนอยู่ปมประสาทรับความรู้สึกในร่างกาย ได้แสดงอาการและก่อให้เกิดโรคงูสวัดทำให้มีผื่นที่ผิวหนังและกลายเป็นตุ่มน้ำใส ร่วมกับอาการปวดแสบร้อน คันแสบ และตุ่มน้ำนั้นจะแตกออกมา
อาการของโรคงูสวัด
ช่วงของอาการปวดนำ:
โดยทั่วไปอาการปวดจะเกิดขึ้น 4 – 6 วันก่อนที่ผื่นจะปรากฏ
จะเป็นอาการปวดแสบร้อน ชาหรือ รู้สึกปวดเสียวคล้ายหนามแทง และไวต่อสิ่งกระตุ้น
ผู้ป่วยอาจมีไข้ รู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
อาการปวดเฉียบพลัน:
ตุ่มน้ำใสจะเรียงตัวตามแนวประสาท (dermatomes)
อาการปวดนั้นจะเป็นการปวดที่ต่อเนื่อง ปวดแสบร้อน ปวดตุ๊บๆ ปวดแปล๊บ หรือคันร่วมด้วย
ระยะที่เกิดตุ่มใส ประมาณ 7 – 10 วัน และจะค่อยๆดีขึ้นภายใน 2 – 4 อาทิตย์
การป้องกันและการรักษา
การรักษาโรคงูสวัด โดยการให้ยาฆ่าเชื้อไวรัส ยาแก้ปวด และรักษาตามอาการ โดยปรึกษาแพทย์
โรคเชื้อราFungal skin infection :
โรคที่เกิดจากเนื้อเยื่อ และ/หรืออวัยวะต่างๆของร่างกายติดเชื้อรา จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆขึ้นรา (Fungus) เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ทั้ง พืช สัตว์ แบคทีเรีย ไวรัส หรือ โปโตซัว
ติดเชื้อราได้หลายทาง
การหายใจเอาเชื้อราเข้าไป เช่น การติดเชื้อราในระบบทางเดินหายใจ ในไซนัส และในปอด
จากการสัมผัสกับเชื้อราโดยตรงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อราที่ผิวหนัง เช่น จากคลุกคลี และ/หรือใช้ของใช้ร่วมกับคนที่เป็นโรคเชื้อรา
จากการมีเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อราในช่องคลอด และที่อวัยวะเพศชาย
อาการ
ระคายเคือง อาจแสบ เจ็บ
อาจมีลักษณะเหมือนการอักเสบ คือ ปวด/เจ็บ บวม แดง ร้อน
มีผื่น ซึ่งผื่นจากเชื้อราบางชนิด จะมีลักษณะเฉพาะ เช่น กลาก เกลื้อน
อาจเกิดเป็นแผล โดยเฉพาะเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน โดยมักเกิดจากการเกา
รักษาโรคเชื้อรา
แนวทางการรักษาโรคเชื้อรา คือ การให้ยาต้านเชื้อรา และการรักษาประคับประคองตามอาการ
ยาต้านเชื้อรา ซึ่งมีได้ทั้งในรูปแบบ ทา กิน และฉีด อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของยา
ผื่นแพ้ยา Erythema Multiforme
โรคผิวหนังที่เกิดจากแพ้ยา หลังจากได้รับยาที่แพ้จะเกิดผื่น ลักษณะที่สำคัญคือจะมีผื่นได้หลายรูปแบบ เริ่มต้นอาจจะเป็นผื่นแดงแบนราบ หรือตุ่มแข็ง ตุ่มน้ำใส และตุ่มพอง
สาเหตุผื่นแพ้ยา
ร้อยละ 50 เกิดจากแพ้ยา เช่น sulfonamides,barbiturates,NSAIDS,phenyltoin,allopurinol,penicillin
ส่วนที่เหลือเกิดจากติดเชื้อ เช่น เริม mycoplasma วัคซีน เช่น BCG โปลิโอ เชื้อราบางชนิด
อาการของโรค
ไข้
รู้สึกไม่สบายตัว
คันตามผิวหนัง
ปวดข้อ
การรักษาผื่นแพ้ยา
ค้นหาสาเหตุและรักษาต้นเหตุ เช่นการหยุดยาที่แพ้ หรือรักษาโรคติดเชื้อ
บริเวณที่เป็นตุ่มน้ำให้ทำความสะอาดและทำแผล
รับประทานยาแก้แพ้เช่น chlorpheniramine 4 mgวันละ 4 ครั้ง
ในรายที่เป็นรุนแรงแพทย์จะรับตัวไว้รักษา และให้ยา steroid