Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ผิวหนัง, 5aebfccd449b020f641f720…
บทที่ 6 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ผิวหนัง
Herpes Simplex
เริมเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Herpes Simplex Virus (HSV)โรคนี้สามารถติดต่อได้โดยการสัมผัสและทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย บริเวณที่ติดเชื้อเริมจะเป็น
ตุ่มน้้าใสเล็กๆรวมกันเป็นกลุ่ม ตุ่มนี้จะแตกออกภายใน 2-3 วัน กลายเป็นแผลตกสะเก็ด จะหายได้เอง
ภายใน 2-3 วัน
เชื้อเริม หรือ Herpes มี 2 ชนิด
1.Herpes Simplex Virus (HSV-1) มักเกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป พบได้ในเด็ก
และผู้ใหญ่ เชื้อตัวนี้ไม่ได้ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดต่อโดยการสัมผัส
2.Herpes Simplex Virus (HSV-2) เชื้อมักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ และติดต่อโดยเพศสัมพันธ์
อาการ
การเป็นครั้งแรก เริ่มด้วยอาการปวดแสบปวดร้อนต่อมาจะมีอาการบวม และอีก 2-3 วัน จะ
มีตุ่ทน้้าใสเกิดบนฐานสีแดง ตุ่มน้้าแตกออกใน 24 ชั่วโมง และตกสะเก็ด ตุ่มอาจจะรวมเป็นกลุ่มใหญ่ และเป็นแผลท้าให้ปวดมาก แผลจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ต้าแหน่งที่พบบ่อย
ได้แก่ ริมฝีปาก ตา ตัว และก้น เมื่อแผลแห้งแล้วจะไม่ติดต่อ ระหว่างที่เป็นผื่น ต่อมน้้าเหลืองใกล้ๆอาจจะโต และอาจจะมีไข้ปวดเมื่อยตามตัว
ระยะปลอดอาการ ช่วงนี้เชื้ออยู่ในร่างกายโดยที่ไม่เกิดอาการอะไร เชื้ออาจจะแบ่งตัวและ
สามารถติดต่อได้ โดยเฉพาะเชื้อที่อวัยวะเพศแม้ว่าจะไม่มีผื่น
วิธีการรักษา
ใช้ยารับประทานเพื่อลดความรุนแรง ลดความถี่ และลดระยะเวลาที่เป็น การให้ยามี 2
ลักษณะ คือ การให้ยาตั้งแต่เริ่มมีอาการปวดแสบ ปวดร้อน โดยที่ยังไม่มีผื่นขึ้น และการให้ยาเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้้าในรายที่เป็นซ้้าบ่อย หรือมีโรคประจ้าตัว
การท้าแผลในขณะที่โรคยังมีอาการปวดแสบปวดร้อน โดยใช้น้้ายา Burow's Solution
ประคบผื่น
ยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้
HERPES ZOSTER
โรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิดอีสุกอีใส พบมากในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ มักเกิดบริเวณผิวหนังตามร่างกาย
อาการของโรคงูสวัด
มีอาการปวดตามตัว ก่อนมีผื่น 2-3 วัน มักจะไม่มีไข้ หรือมีไข้ต่ำๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ มีอาการทางผิวหนัง อาจจะคันผิวหนัง บางคนมีอาการปวดแสบปวดร้อน เสียวที่ผิวหนัง สำหรับคนที่เป็นบริเวณใบหน้าจะมีอาการปวดศีรษะ เห็นแสงจ้าไม่ได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด
เคยเป็นโรคไข้สุกใสมาก่อน
อายุมาก เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
มีความเครียดทางอารมณ์
การดูแลรักษา
แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาบรรเทาอาการปวด หรือลดไข้ ถ้าตุ่มกลายเป็นหนองเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนก็จะให้ยาปฏิชีวนะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรืองูสวัดขึ้นที่บริเวณหน้า หรือมีอาการปวดรุนแรงตั้งแต่แรกที่มีผื่นขึ้น แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสภายใน 2-3 วัน หลังเกิดอาการ เพื่อลดความรุนแรง และช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น รวมทั้งช่วยลดอาการปวดแสบ ปวดร้อนในภายหลังได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น เป็นโรคเอดส์ หรือเป็นงูสวัดชนิดแพร่กระจายทั้งตัว แพทย์จะให้ยาต้านไวรัสชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ รวมถึงต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่เป็นงูสวัดขึ้นที่ตา ต้องรักษาร่วมกับจักษุแพทย์ ซึ่งจะได้รับยาต้านไวรัสชนิดทาน และหยอดตาเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา
การป้องกัน
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสตั้งแต่ก่อนเป็น
ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผื่น และตุ่มโรคของผู้ป่วยงูสวัด โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใสหรือไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป
Chickenpox, Varicella
โรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดต่อผ่านทางลมหายใจ ไอ และจาม การสัมผัสกับผู้ป่วยหรือใช้ของร่วมกัน มักจะระบาดในปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน ช่วงเดือน มกราคม-เมษายน พบมากในเด็กวัย 5-9 ปี ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella Virus) มีระยะฟักตัว 10-21 วัน คนไข้จะสามารถแพร่เชื้อโรคได้ตั้งแต่ก่อนที่จะมีอาการ 2 วัน จนถึงมีตุ่มน้ำแตกกลายเป็นสะเก็ด
อาการ
ระยะไข้ ประมาณ 1-2 วัน ไม่ว่าจะเป็นไข้สูงหรือต่ำ มีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวและปวดกล้ามเนื้อ
ระยะผื่นขึ้น จะขึ้นเป็นผื่นแดงเม็ดเล็ก ๆ ต่อมากลายเป็นเม็ดใส และเพิ่มปริมาณมากขึ้นภายใน 3 - 5 วัน พบผื่นบริเวณลำตัวก่อนลามไปคอ ใบหน้า ศีรษะ แขน ขา ทั่วลำตัว เนื้อเยื่อในช่องปาก และลำคอ ตุ่มอาจเป็นหนองเมื่อติดเชื้อแบคทีเรีย
3.3. ระยะตกสะเก็ด ภายใน 1 - 3 วัน สะเก็ดแผลจะค่อย ๆ ลอก จางหายไปประมาณ 2 สัปดาห์
วิธีรักษา
ถ้ามีอาการไข้ ให้เช็ดตัวกินยาลดไข้พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาแอสไพริน
ทายาแก้คัน หรือยาบรรเทาอาการคัน
ตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการเกาซึ่งจะทำให้แผลเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ใช้น้ำเกลือ (สำหรับล้างแผล) เช็ดแผลเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
ใช้สบู่ยาฟอกตัวอาบน้ำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง
ผู้ใหญ่ หรือเด็กอายุเกิน 12 ปีขึ้นไป และเด็กทารก จะใช้ยาต้านไวรัสในการรักษาร่วมด้วย เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้สามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้บ่อย
ถ้าเกิดอาการเหมือนแน่นหน้าอก หายใจเร็ว ไข้ไม่ลด ปวดศรีษะ ตุ่มเป็นหนอง จะต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลเพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เช่น ภาวะปอดอักเสบ สมองอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด
Stevens-Johnson Syndrome (กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน)
คือความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อเมือกบุผิวชนิดรุนแรงที่พบได้ไม่บ่อย โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อหรือการตอบสนองของร่างกายต่อยาบางชนิด ในระยะแรกผู้ป่วยมักมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ตามมาด้วยผื่นแดงที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด จากนั้นผื่นจะค่อย ๆ ลุกลามและกลายเป็นแผลพุพองในที่สุด
สาเหตุ
ปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของ Stevens Johnson Syndrome อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าการติดเชื้อและการใช้ยาบางชนิดอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ได้ การใช้ยา ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติทันทีหลังจากใช้ยาหรือหลังหยุดใช้ยาไปแล้วนาน 2 สัปดาห์ ประเภทยาที่อาจก่อให้เกิด Stevens Johnson Syndrome
ยาต้านการติดเชื้อ เช่น เพนิซิลลิน โคไตรม็อกซาโซล
ยาระงับอาการปวด เช่น พาราเซตามอล ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน
ยากันชักหรือยารักษาอาการป่วยทางจิต เช่น ฟีโนบาร์บิทัล เฟนิโทอิน เซอร์ทราลีน
การวินิจฉัยกลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
การวินิจฉัย Stevens Johnson Syndrome จะทำโดยแพทย์ผิวหนัง โดยเริ่มจากตรวจดูอาการ ตรวจร่างกายเบื้องต้น สอบถามประวัติทางการแพทย์
รวมถึงประวัติการใช้ยา จากนั้นอาจมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย เช่น การตรวจเลือด การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ เป็นต้น
การรักษากลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสัน
แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยหยุดรับประทานยาที่คาดว่าอาจเป็นสาเหตุและกลุ่มยาใกล้เคียงทันที หรืออาจให้หยุดใช้ยาทุกชนิดที่ไม่จำเป็นต่อผู้ป่วยมากนัก
ประคบเย็นเพื่อช่วยให้ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดออกง่ายขึ้น จากนั้นจึงใช้ผ้าพันแผลปลอดเชื้อพันรอบผิวหนังบริเวณที่มีอาการ
ให้น้ำและสารอาหารผ่านทางจมูก ช่องท้อง หรือหลอดเลือด เนื่องจากการสูญเสียผิวหนังส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหารมากกว่าปกติ
ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติบริเวณดวงตา แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา
ให้ยาปฏิชีวนะ หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด