Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิของโรคติดเชื้อและโรคติดต่อในชุมชนทั้งระย…
บทที่ 5 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีพยาธิของโรคติดเชื้อและโรคติดต่อในชุมชนทั้งระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง
3.โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบี่ส์ไวรัส (Rabies Virus)
มีรูปร่างคล้ายกระสุนปืน เมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายคนหรือสัตว์แล้วจะเดินทางไปตามเส้นประสาทเข้าสู่สมอง ที่สำคัญ เมื่อเกิดอาการขึ้นแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องเสียชีวิตทุกราย แต่โรคนี้ป้องกันได้และสามารถทำให้หมดไปจากคนและสัตว์เลี้ยง
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า อาการที่สำคัญ คือ
เริ่มด้วยอาการปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
อาการที่พบได้บ่อย คือ
คันบริเวณบาดแผลที่ถูกกัดซึ่งแผลอาจหายสนิทไปนานแล้ว ต่อมาลุกลามไปที่อื่นๆ ผู้ป่วยจะเกามากจนเลือดออกซิบๆ และมีอาการกลืนลำบากเพราะกล้ามเนื้อที่ลำคอและกล่องเสียงหดเกร็งตัว อยากดื่มน้ำแต่กลืนไม่ได้ทำให้มีอาการกลัวน้ำ น้ำลายฟูมปาก
9.โรคฉี่หนู (Leptospirosis)
มาจากการติดเชื้อแบคทีเรียรูปเกลียว ขนาดเล็ก
ชื่อเลปโตไปร่าอินเทอโรแกนส์ ( Leptospira interrogans)
เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทั้งกับคนและสัตว์ การติดเชื้อในคนมีสาเหตุมาจากการสัมผัสดิน น้ำ อาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เช่น สุนัข วัว ควาย หนู สุกร ม้า สัตว์ป่า เป็นต้น
ลักษณะอาการของโรคฉี่หนู
จะมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่อง หากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำ ย่ำโคลน หรือ การสัมผัสน้ำ แก่แพทย์ผู้รักษาให้ทราบด้วย หากไม่รีบรักษาและปล่อยไว้นานจนอาการมากขึ้น อาจเสียชีวิตได้
5.ไข้หวัดใหญ่ (INFLUENZA)
ไข้หวัดใหญ่"
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus)
โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ ชนิดเอ บี และซี
อาการของโรคไข้หวัดใหญ่
มีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว
ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา
ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร
คัดจมูก มีน้ำมูกใสๆ ไอแห้งๆ
ในเด็กอาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วงได้
โรคติดเชื้อ หมายถึง
โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก(micro-organisms) เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ริกเก็ตเซีย โปรโตซัว หรือ สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่เช่น พยาธิ(Parasites) ความสามารถก่อโรค(Pathogenicity) หมายถึง ความสามารถของเชื้อในการก่อให้เกิดโรค ปกติเป็นคำที่ใช้เปรียบเทียบระหว่างเชื้อต่างชนิดกัน
4.วัณโรค(Tuberculosis หรือ TB)
วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อทางอากาศ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ชื่อว่า
ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis)
โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ติดเชื้อวัณโรคมักไม่แสดงอาการใด ๆ แต่ตัวโรคจะดำเนินต่อไป
อาการ
ไอแห้งๆ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ผิวหนังซือ หน้าเหลือง เหงื่ออกตอนกลางคืน ถ้ามีอาการอย่างน้อย 2 อาการขึ้นไป รีบตรวจหาวัณโรคที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
1.ไวรัสซิกา (Zika virus)
โรคไข้ซิกา
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus)
พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2490 ในป่าซิกา ประเทศยูกันดา ซึ่งไวรัสซิกาเป็นอาร์เอ็นเอสายเดี่ยว (single-stranded RNA) อยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัส (Flavivirus) จำพวกเดียวกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี โดยมียุงลาย (Aedes aegypti) เป็นพาหะนำโรค
อาการ
-อาการที่พบบ่อยได้แก่ มีไข้ มักเป็นไข้ต่ำๆ มีผื่นแดงตามบริเวณลำตัวและแขนขา รวมถึงอาจมีผื่นที่ฝ่ามือได้ เยื่อบุตาอักเสบ(ตาแดงแต่ไม่มีขี้ตา) ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาจมีต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วงซึ่งโดยปกติแล้วอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง บางรายอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท (Guillain-Barre syndrome) ซึ่งพบได้ราว 24:100,000 โดยร้อยละ 80 ของผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสซิกาจะไม่แสดงอาการก็ได้
2.Tetanus :โรคบาดทะยัก
โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อที่อยู่ในดิน ในฝุ่น ในปุ๋ย
ชื่อเชื้อ Clostridium tetani
เชื้อนี้จะเข้าร่างกายทางแผลซึ่งอาจจะถูกมีดบาด หรือเข็มหรือตะปูตำเมื่อเชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายจะสารสารพิษหรือ toxin ที่เรียกว่า tetanospasmin
อาการของโรคบาดทะยัก
หลังจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคบาดทะยักเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยอาจแสดงอาการติดเชื้อได้ตั้งแต่ 3-21 วันหรืออาจนานกว่านั้น แต่โดยเฉลี่ยมักมีอาการภายใน 10-14 วัน ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการอย่างรวดเร็วมักจะแสดงถึงการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าและรักษาได้ยากกว่า
6.โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
ชื่อเชื้อ :Corona virus
**
อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้
ปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บคอ ท้องเสีย ตาแดง ปวดศีรษะ สูญเสียรได้กลิ่น และรับรส
ตรวจโควิดแบบ RT-PCR
ใช้เวลา 24-48 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เก็บตัวอย่างด้านหลังโพรงจมูก นำส่งห้องปฎิบัติการ และทำการตรวจ
ตรวจโควิดแบบ Rapid test** ใช้เวลาเพียง 10-30 นาทีก็ทราบผล แต่มีความคลาดเคลื่อนสูงเพราะต้องตรวจหลังหลับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน
วิธีป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจาม
สวมหน้ากากอนามัยเมื่อเว้นระยะห่างไม่ได้
ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปาก
ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
เก็บตัวอยู่บ้านเมื่อรู้สึกไม่สบาย
หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์
7.โรคมาลาเรีย (Malaria)
เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัวชนิด พลาสโมเดียม (Plasmodium)
ที่นำโดยยุงก้นปล้องเพศเมีย เชื้อพลาสโมเดียม (Plasmodium) ที่ก่อโรคในคนมีอยู่ 5 ชนิด (Species) คือ Plasmodium falciparum ทำให้เสียชีวิตมากที่สุดและในประเทศไทยพบเชื้อชนิดนี้บ่อยที่สุด Plasmodium vivax พบเชื้อชนิดนี้รองลงมา Plasmodium ovale Plasmodium malariae และ Plasmodium knowlesi ซึ่งเป็นเชื้อมาลาเรียชนิดที่สามารถถ่ายทอดจากลิงไปสู่คนได้โดยยุงก้นปล่อง
การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรีย
การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียที่ไม่มภาวะแทรกซ้อนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการรุนแรงการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียรุนแรง / มีภาวะแทรกซ้อนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้มาลาเรียกลุ่มที่รักษาล้มเหลว
8.ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)
*เกิดจากเชื้อ : hepatitis virus
ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) คือ การที่ตับมีอาการอักเสบ และติดเชื้อ หากพูดถึงไวรัสตับอักเสบ คนส่วนใหญ่คงคุ้นหูกับ “โรคไวรัสตับอักเสบบี” เพราะพบบ่อยในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านอย่าง AEC แต่ความจริงแล้วไวรัสตับอักเสบมีหลายสายพันธ์ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี ดี และอี ซึ่งไวรัสตับอักเสบดี และอี
การวินิจฉัยโรคตับอักเสบจากไวรัส
ตรวจเลือดสมรรถภาพตับ (Liver Function test) เอนไซม์ SGOT(AST) & SGPT(ALT) สูงกว่าปกติ ค่า มากกว่าร้อยจน ถึงเป็นพัน ๆ ค่าของบิลิรูบิน (Bilirubin) สูงกว่าปกติด้วย ถ้าผู้ป่วยมีดีซ่าน (Jaundice)
ตรวจเลือดว่าเป็นไวรัสชนิดใด เช่น IgM Anti HAV HBsAG ; IgM Anti Hbc etc. Anti HCV.