Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีทางการพยาบาลของ เพบพลาว(Peplau) - Coggle Diagram
ทฤษฎีทางการพยาบาลของ
เพบพลาว(Peplau)
เพบพลาวให้ความสำคัญตามความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่จำเป็นต้องได้รับอย่างเพียงพอ ทั้งความต้องการทางสรีระ และการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ซึ่งมีลักษณะคู่ขนานไปกับแรงผลักดัน ความพึงพอใจ และความมั่นคงของ Sullivan
พยาบาลจิตเวชต้องมีความเข้าใจตนเอง และมีความตระหนักในตนเองอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อใช้ตนเองเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจระบบความเป็นตนเองของผู้ป่วยเคารพ
ซึ่งกันและกันในฐานะบุคคล
แนวคิดเกี่ยวกับมโนมติทางการพยาบาล
สุขภาพ (Health)
เป็นการเปลี่ยนแปลงของบุคคลไปในทางที่ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งภาวะสุขภาพจะเกิดขึ้นได้เมื่อความเครียดในบุคคลลดลงและถ่ายทอดออกมาเป็นพลังในทางสร้างสรรค์ พลังนี้จะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมซึ่ง
พฤติกรรมท่ีก่อให้เกิดภาวะสุขภาพที่ดีจะเป็นพฤติกรรมท่ีทำให้บุคคลรู้สึกพึงพอใจ
สิ่งแวดล้อม (Environment)
เป็นปัจจัยภายนอกนอกตัวบุคคล สิ่งแวดล้อมสำคัญท่ีมีผลต่อสุขภาพของบุคคล คือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล สัมพันธภาพระหว่างพยาบาลและผู้ใช้บริการ เป็นหน้าท่ีหลักที่พยาบาลต้องรับผิดชอบและดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้บริการบรรลุเป้าหมายของการมีภาวะสุขภาพท่ีดี
บุคคล (Person)
เป็นระบบตัวตนซึ่งประกอบด้วยลักษณะและความต้องการทางชีวเคมี สรีระ และสัมพันธภาพ บุคคลที่มีวุฒิภาวะจะสามารถผสมผสานความต้องการและประสบการณ์อย่างมีแบบแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามความคาดหวังท่ีต้ังไว้ แต่หากกระบวนการผสมผสานนี้ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากถูกขัดขวางก็อาจทำให้เกิดความไม่พึงพอใจ คับข้องใจ เครียด และวิตกกังวล บุคคลจึงพยายามหาหนทางให้ตนเองสมหวังซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นๆ
การพยาบาล (Nursing)
เป็นกระบวนการระหว่างบุคคลเพราะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต้ังแต่สองคน โดยพยาบาลใช้ความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วยในการให้การพยาบาล และบำบัดทางจิตเวช
การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
Therapeutic Nurse-Patient Relationship
แบ่งออกเป็น 4 ระยะ
ระยะเริ่มต้น ( Orientation phase )
เป็นระยะที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าเกิดปัญหา และต้องการความช่วยเหลือ พยาบาลจะต้องสร้างความไว้วางใจกับผู้ป่วย ช่วยผู้ป่วยในการค้นหาปัญหา หรือความต้องการการช่วยเหลือน้ัน ช่วยให้ทำความเข้าใจกับปัญหา และตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุให้เกิดความรู้สึกดังกล่าว
ระยะระบุปัญหา ( Identification phase )
เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อผู้ท่ีสามารถแก้ไขปัญหาหรือให้ความช่วยเหลือเขาได้ สามารถระบุได้ว่าใครควรเป็นผู้ช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา และเริ่มรู้สึกว่ามีความสามารถในการจัดการกับปัญหา พยาบาลจะช่วยให้ผู้ป่วยได้สำรวจ ความรู้สึกของตน ก่อให้เกิดความเข้มแข็ง และสามารถตอบสนองความต้องการที่เกิดขึ้น
ระยะดำเนินการแก้ปัญหา ( Exploitation phase )
เป็นระยะของการให้ความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหาของผู้ป่วย พยาบาลต้องทำความเข้าใจ ให้การยอมรับ ห่วงใย เอาใจใส่ ไม่ตัดสินหรือใช้อารมณ์กับผู้ป่วย และช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ตนเองที่ดีขึ้น ค้นพบความสามารถของตนเองเพื่อนำมาพัฒนาความสามารถในการปรับตัวและแก้ปัญหาให้ได้มากที่สุด
ระยะสรุปผล ( Resolution phase )
เป็นระยะสุดท้ายของการพยาบาลที่ปัญหาของผู้ป่วยได้รับการแก้ไขแล้ว โดยความร่วมมือจากทั้งผู้ป่วยและพยาบาล เป็นการยุติสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด ซึ่งบางครั้งการยุติสัมพันธภาพอาจทำได้ยากเนื่องจากความต้องการพึ่งพาเพราะสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดมักมีความต่อเนื่อง ถ้าการยุติสัมพันธภาพสำเร็จลงด้วยดี ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ อิสระโดยไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากพยาบาล แสดงว่าผู้ป่วยเกิดการพัฒนาและเป็นความสำเร็จของการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทุกระยะด้วย
บทบาทพยาบาลในการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
1) บทบาทคนแปลกหน้า (Stranger role) เป็นบทบาทท่ีพยาบาลและผู้ป่วยพบกันคร้ังแรกซึ่งเป็นคนแปลกหน้าต่อกัน พยาบาลจำเป็นต้องสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น
2) บทบาทแหล่งสนับสนุน (Role of the resource person) เป็นบทบาทที่พยาบาลทำหน้าท่ีให้ความรู้หรือข้อมูลเฉพาะ ตอบคำถาม แปลข้อมูล และให้ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ป่วย
3) บทบาทผู้สอน (Teaching role) เป็นบทบาทที่พยาบาลกระทำร่วมกับบทบาทอื่นๆ โดยให้คำแนะนำและอบรมความรู้แก่ผู้ป่วย
4) บทบาทผู้ให้คำปรึกษา (Counseling role) เป็นบทบาทที่พยาบาลช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจความหมายของสภาพการณ์ในปัจจุบัน ให้คำแนะนำและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
5) บทบาทผู้ทดแทน (Surrogate role) เป็นบทบาทท่ีพยาบาลเป็นตัวแทนของผู้ป่วยในเรื่องต่างๆ โดยพยาบาลจะแสดงบทบาทนี้ในภาวะท่ีผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้
6) บทบาทผู้นำ (Leadership role) เป็นบทบาทท่ีพยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยให้ทำหน้าที่ ตามเป้าหมายของการบำบัด
7) บทบาทของผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค (Technical expert role) เป็นบทบาทที่พยาบาล
ให้การดูแลด้านร่างกายผู้ป่วยและการใช้เครื่องมือต่างๆ