Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่ 2 Myasthenia gravis - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่ 2
Myasthenia gravis
พยาธิสภาพ
แต่แอนติบอดีที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยเหล่านี้มีผลต่อ NMJ ที่เรียกว่า acetylcholine receptor antibody (AChR Ab) โดยจะจับกับ AChR แล้วกระตุ้นระบบcomplement ตั้งแต่ C3-C9 เกิดเป็น membrane attack complex (MAC) ทำให้ทำลาย AChR โดยตรง จำนวน AChR จึง ลดลง และโครงสร้างของ postsynaptic membrane ผิด ปกติการทำงานของช่องโซเดียมที่เป็นจุดเริ่ม action potential ก็ลดลงด้วย
ร่างกายที่สามารถปรับหรือบรรเทาความผิดปกติที่เกิดขึ้น เช่น มีการสร้าง AChR เพิ่มขึ้น ปลดปล่อย ACh มากขึ้น โดยเชื่อว่าปัจจัยเหล่านี้ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม และมีผลต่อการดำเนินโรค การกำเริบของโรค และก่อให้ เกิดความแตกต่างของโรคระหว่างผู้ป่วยแต่ละราย หรือ กล้ามเนื้อแต่ละส่วนของร่างกาย3,4 AChR Ab ส่วนใหญ่เป็น IgG1 ตรวจพบได้ในผู้ป่วย generalized MG ราวร้อยละ 80-90 แต่พบในผู้ป่วย ocular MG ร้อยละ 30-50 อย่างไรก็ตามอาจมีผลบวก ส่วนน้อยที่จะเป็น modulating และ blocking Ab ซึ่ง จะทําการตรวจหาเมื่อไม่พบ binding Ab เท่านั้น ดังนั้น จึงมักเรียกผู้ป่วย MG ที่ตรวจไม่พบ AChR Ab ว่า“seronegative MG (SNMG)”
บ่อยรองลงไปคือ แอนติบอดีต่อmuscle-specific kinase (MuSK) โดยแอนติบอดีอื่น ๆ นี้จะมีเป้าหมายอยู่ที่ส่วน อื่นของ NMJ หรือกล้ามเนื้อ
ภาะแทรกซ้อน
การหายใจล้มเหลว
การกลืนลำบาก น้ำหนักตัวลด
เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ
ลักษณะสำคัญ
อาการอ่อนแรงของกลา้มเน้ือลายเป็น
แบบไม่คงที่โดยอาการจะแย่ลงเมื่อใช้งานและ ดีขึ้นเมื่อได้
พัก อาการอาจเปลี่ยนแปลงในเวลาเป็น ชั่วโมง หรือเป็นวันผู้ป่วยที่มีMuSK antibody ส่วนรีเฟลกซ์และระบบการรับ
ความรู้สึกจะปกติอาการและอาการแสดงอาจตรวจ
ได้แก่กล้ามเนื้อบริเวณที่
ตาทำให้หนังตาตก เห็นภาพซ้อน ที่ใบหน้าทำให้ปิดตา ไม่สนิทมุมปากดูตกลง ที่คอหอยทำให้กลืนลำบาก สำลัก เสียงขึ้นจมูก ที่กล้ามเนื้อทำให้แกนร่างกายหรือกล้ามเนื้อแขนขาอ่ออนแรง หากรุนแรงเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว เรียกว่า myasthenic crisis
อาการการอ่อนแรงอาจถูกกระตุ้นหรือกำเริบขึ้นมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ การติดเชื้อ ไข้โรคของต่อมไทรอยด์ การตั้งครรภ์และการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อการทำงานของ NMJ
การรักษา
การรักษาเพื่อบรรเทาอาการ
Anticholinesterase inhibitors ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลาย ACh ที่ synaptic cleft ทำให้มีปริมาณ ACh เพิ่มขึ้นในบริเวณ NMJ จึงช่วยบรรเทาอาการอ่อนแรง แต่ไม่ได้รักษาที่ สาเหตุด้านภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติโดยตรง ยาที่นิยมใช้ได้แก่ pyridostigmine bromide มีเฉพาะรูปแบบยาเม็ดรับประทาน ยานี้มีความปลอดภัย และออกฤทธิ์เร็วภายในครึ่งชั่วโมงหลังกินยา และออกฤทธิ์นานประมาณ3-4ชั่วโมง เริ่มต้นด้วยขนาด 30 มก. วันละสามเวลาหลังอาหารและปรับช้า ๆ ตามอาการและ
ผลข้างเคียง ส่วนใหญ่จะใช้ขนาด 60 มก.วันละ3-4 ครั้ง หากจำเป็นอาจปรับได้จนถึงขนาดสูงสุด 120 มก.ทุก 6 ชั่วโมง6 ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการดีขึ้น อาการอ่อนแรง ของกล้ามเนื้อแขนขาและการกลืนจะตอบสนองได้ดีกว่า กล้ามเนื้อตา ถ้าให้ยาในขนาดสูงสุดนานประมาณหนึ่ง สัปดาห์แล้วอาการอ่อนแรงไม่ดีขึ้น แพทย์ควรลดขนาดการที่ผู้ป่วยสามารถลดการใช้ยากลุ่มนี้หรือหยุดยา ได้ แสดงว่ารักษาได้ผลดีและพิจารณาลดยากด ภูมิคุ้มกันได้หากผู้ป่วยยังมีอาการของโรคในขณะที่ได้ รับยานี้เพียงชนิดเดียวในขนาดที่เหมาะสมแล้ว ควร พิจารณาให้ยากลุ่มสเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกันอื่น ร่วมกันเสมอ
การรักษาในระยะยาวด้วยยากดภูมิคุ้มกัน
Prednisolone
เป็นยาในกลุ่ม glucocorticoids ที่มีฤทธิ์ กว้างขวางทั้งในการลดจำนวน lymphocyte ยับยั้งการ ส่งผ่านของแอนติเจน และการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยเซลล์ ชนิดต่าง ๆ ยานี้จึงแนะนำให้ใช้เป็นยาในลำดับแรก6,7 เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีราคาถูกและมีแพร่หลาย แต่ มีผลข้างเคียงที่จะต้องเฝ้าระวังเช่น กลุ่มอาการ Cushing เบาหวาน น้ำหนักเพิ่ม ความดันโลหิตสูง กระดูกพรุน เลือดออกในทางเดินอาหาร ต้อกระจก ต้อหิน เกิดการ ติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย โดยทั่วไปจะเริ่มจากยาในขนาดสูง ประมาณ 0.75-1 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ1-2 ครั้ง หลังจากเริ่ม ยาได้ไม่กี่สัปดาห์ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการดีขึ้นช้า ๆ แต่จะมี ผลการรักษาสูงสุด เมื่อเริ่มยาไป 1-2 เดือน ผู้ป่วยบาง รายอาจมีอาการแย่ลงชั่วคราวได้ใน 1-2 สัปดาห์แรกหลัง เริ่มยา ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรได้รับคำแนะนำในการเฝ้าระวัง
Azathioprine
เป็นยาในกลุ่ม purine antimetabolite จึง ยับยั้งการสร้างและการเจริญของT-cell และ B-cell ยา นี้ออกฤทธิ์ได้ช้าจึงไม ่ใช้เป็นยาในลำดับแรก แต ่ยานี้ สามารถใช้เป็นยาเดี่ยวในการควบคุมโรคระยะยาวหลัง ค่อยๆ ลดและหยุดสเตียรอยด์หรือเป็นยาเสริมกับสเตีย รอยด์เพื่อสามารถลดขนาดยา prednisolone ได้เร็วขึ้น และป้องกันอาการกำเริบขณะลดยา prednisolone อาการของโรคจะดีขึ้นหลังได้azathioprine ประมาณ3-6 เดือนขึ้นไป จนถึง 1 ปีและได้ผลมากที่สุดต้องใช้เวลา มากกว่า1 ปีขึ้นไป ขนาดเริ่มต้นคือ50 มก./วัน รับประทานก่อน นอนเพื่อลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ถ้าผลเลือดปกติให้ เพิ่มขนาดยาครั้งละ 25-50 มก./สัปดาห์จนกระทั่งถึง ขนาดที่ต้องการ คือ2-3 มก./น้ำหนักตัว(กิโลกรัม) ต่อวัน เนื่องจากยานี้มีผลต่อกระดูกของทารกในครรภ์จึงไม่ควร ใช้ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ต้องการมีบุตร ผลข้างเคียงอื่น ที่สำคัญได้แก่ การกดไขกระดูก และตับอักเสบ
Cyclosporine A
มักใช้ร่วมกับ prednisolone ในขนาด 2-4 มก./กก./วัน และไม่เกิน 6 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง ปรับขนาดยาตามระดับยาในเลือด ก่อนได้รับยามื้อต่อไปในช่วงเช้า(troughlevel)ซึ่งจะต้อง เฝ้าระวังการทำงานของไต หากพบว่ามีcreatinine clearance ลดลงจะต้องลดขนาดยาลงหรือหยุดยาเมื่อ ค่าการทำงานลดลงมากกว่าร้อยละ50 และเฝ้าระวังผล ข้างเคียงอื่น ๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเพิ่ม มี ขนดก เหงือกบวม และมือสั่น เป็นต้น
Mycophenolate
มีความนิยมใช้ในโรคนี้เนื่องจากมีผลข้าง เคียงต่ำ ไม่ต้องเจาะระดับยา แต่ควรเฝ้าระวังภาวะเม็ด เลือดขาวต่ำ มักใช้ขนาด 1,000-2,000 มก./วัน แบ่งให้ วันละ2 ครั้งอย่างไรก็ตามการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าได้ ผลไม่ดีนักเมื่อใช้ทดแทนสเตียรอยด์ซึ่งคาดว่าอาจเป็น จากการติดตามผู้ป่วยที่สั้นเกินไป หรือผลจากสเตียรอยด์ที่ดีกว่าที่คาดคิด จึงไม่เห็นความแตกต่าง
Methotrexate
มีการใช้อยู่บ้าง เนื่องจากมีราคาถูกและให้ ง่ายเพียงสัปดาห์ละครั้ง การศึกษาที่เทียบกับยาหลอกใน การเป็นยาเสริม พบว่าไม่ได้ผลในการลดขนาดยาสเตีย รอยด์ลงเมื่อติดตามผู้ป่วยไป 12เดือน1
การรักษาทางภูมิคุ้มกันอื่น ๆ
Intravenous immunoglobulin(IVIg)
มีกลไกการออฤทธฺืหลายอย่าง ทั้งต่อFc receptor บนผิวของเซลล์ในระบบภุมิคุ้มกัน เช่น antigen presenting cell และ phagocytic cell ยับยั้ง AChR Ab ผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบรุนแรงหรือในกรณี MG crisis เช่นเดียวกับ Plasmapheresis IVIg มีภาวะแทรกซ้อนจากการักษาน้อยกว่า แต่เห็นผลช้ากว่า เริ่มได้ผลวันที่ 4-5 และอยู่ได้หลายสัปดาห์ ขนาดมาตรฐานที่ใช้คือ 2 ก./กก. การรักษาแบ่งให้ 4-5 วัน แต่อาจมีผลข้างเคียง คือ ภาวะ he เกิน ปวดศีรษะ ส่วนที่พบน้อยแต่รุนแรงกว่า เช่น การแพ้ยา จึงควรให้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบรุนแรงไม่แนะนำให้ใช้ยาในระยะยาว
Plasmapheresis
ประโยชน์ในผู้ป่วย MG ที่มีอาการรุนแรง หรือในกรณีMG crisis ที่มีอาการกลืนหรือหายใจลำบาก หรือทำก่อนที่จะทำการผ่าตัดหรือฉายแสง เพื่อเตรียมผู้ป่วยและป้องกันไม่ให้อาการอ่อนแรงแย่ลง การรักษานี้ฤทธิ์ได้เร็ว
เนื่องจากวิธีนี้มีราคาแพงและอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน จึงไม่ใช้ในระยะยาว วิธีนี้ทำการโดยใส่สายสวนหลอดเลือดดำและถ่ายเปลี่ยนถ่ายพลาสมาออกมาแล้วให้ fresh frozen plasma หรือ albumin ทดแทน โดยทำวันละครั้ง ปริมาตร 40-50 มล./กก. จำนวน 4-6 ครั้ง ภายในเวลา 7-10 วัน อาจมีผลข้างเคียง คือ การติดเชื้อ เลือดออกง่าย ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อเกร็ง ชาจาก
วินิจฉัย
การตัดชิ้นเนื้อของกล้ามเนื้อไปตรวจแล้วพบว่ามีปริมาณของตัวรับสัญญาณประสาทบนกล้ามเนื้อลดลงแต่ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักสามารถให้การวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องอาศัยการตัดชิ้นเนื้อ
การตรวจเลือดสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ แต่พบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) ที่มีอาการเฉพาะที่ตา จะไม่พบความผิดปกติของผลเลือด ดังนั้นการตรวจพบผลเลือดปกติจึงไม่สามารถตัดการ วินิจฉัยโรคนี้ออกไปได้
การตรวจด้วยวิธีฉีดสารเทนซิลอน (Tensilon มีฤทธิ์ ลดการกําจัดสารสื่อ ประสาทที่รอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ) เข้าไปสู่เส้นเลือดดําจะพบว่าผู้ป่วยโรค กล้ามเนื้ออ่อนแรง (MG) มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงดีขึ้นอย่างชัดเจนทันที เช่น ตรวจพบหนังตา ยกขึ้นได้ปกติหรือกลอกตาได้ปกติทันทีหลังฉีดยาจะช่วยในการยืนยันการวินิจฉัย แต่อาจแปลผลได้ยากในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง การตรวจด้วยนํ้าแข็ง (Ice test) หรือการนอนหลับพัก (Sleep test) อาจช่วยในการวินิจฉัยได้หากผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงดีขึ้นชัดเจนหลังนอนพัก
การตรวจการนํากระแสประสาทจากเส้นประสาทสู่กล้ามเนื้อ (Electromyogram; EMG) แต่วิธีนี้ต้อง อาศัยอุปกรณ์ที่มีความยุ่งยากจึงใช้ในการตรวจไม่บ่อยนัก
การตรวจค้นทางห้องปฏิบัติการ
การนำ prostigmine test (RNS) เป็นการตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นโรคของ neuromuscular junction หรือไม่การตรวจ RNS ในผู้ป่วย MG มีลักษณะ detrimental respond ซึ่งการตรวจจะต้องหยุดยา mestinon อย่างน้อย 6-12 ชั่วโมงอย่างไร ก็ตามผลการตรวจก็มีข้อจำากัดด้านความไว และ ความจำเพาะ ดังนั้นการที่ RNS ให้ผลลบก็ไม่สามารถสรุปว่าผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรค MG ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับ MG แต่ผลการตรวจเบื้องต้นรวมทั้งRNS ให้ผลลบ อาจมีความจำาเป็นต้องตรวจ Ach receptor antibody เพื่อยืนยันว่าเป็น MG
การแนะนำ
การดำเนินารรักษาเป็นสิ่งที่สำคัญ ข้อผิดพลาดพบบ่อยคือการแนะนำวิธีการรักษาด้วยthymectomy เพราะผู้ป่วยเข้าใจว่าผ่าตัดแล้วจะหายขาด ซึ่งร้อยละ 50 ตอบสนองดีหยุดยา Mestinonได้ ร้อยละ 25 สามารถลดยาลง ร้อยละ 25-30 ไม่ตอบสนองต่อการผ่าตัด สามารถเพิ่มขนาดยาได้แต่เพิ่มแล้วมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว กล้ามเนื้อกระตุก ก็ไม่ควรเพิ่มยาอีก
Respiratory failure
ภาวะการหายใจล้มเหลว (respiratory failure) ซึ่งหมายถึงภาวะที่ระบบการหายใจไม่สามารถทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยอาจจะท ให้เกิดการลดลงของออกซิเจนในเลือดแดง (hypoxemia, PaO2 < 60 mmHg) หรือมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด (hypercapnia, PaCO2 > 50 and pH < 7.3) หรือทั้งสองแบบร่วมกันได้
ชนิดของภาวการณ์หายใจล้มเหลว
Type I, Acute hypoxic respiratory failure (AHRF)
Type II, Ventilatory failure
Type III, perioperative respiratory failure
Type IV, Shock
อาการ
หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ เขียว มีอาการซึม หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก และหมดสติ
สาเหตุของโรคทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน
Acute hypoxemic respiratory failure แบ่งสาเหตุการเกิดได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ diffuse pulmonary abnormalities และ focal pulmonary abnormalities
Acute hypercapnic respiratory failure ความผิดปกติที่ทำให้เกิดการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดแบบฉับพลัน เกิดจากภาวะ hypoventilation หรือ dead space เพิ่มขึ้น
การวินิจฉัยและการค้นหาสาเหตุ
การวินิจฉัย acute respiratory failure โดยอาศัยประวัติและตรวจร่างกาย ร่วมกับผล ABG
จำแนกชนิดของ acute respiratory failure
อธิบายความผิดปกติทางพยาธิสรีรวิทยา (pathophysiology)
หาโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุ
การรักษา
แก้ไขภาวะ hypoxemia และ hypercarbia
แก้ไขภาวะเลือดเป็นกรดถ้าภาวะที่เลือดเป็นกรดนั้นก่อให้เกิดอันตราย
รักษา cardiac output ให้อยู่ในระดับปกติหรือเพิ่ม cardiac output ถ้าต่ำ
รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ
ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคหรือการรักษา
โดยการรักษาจะรักษาสาเหตุของภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันอย่างรวดเร็วและถูกต้องและรักษาเพื่อประคับประคองการแลกเปลี่ยนก๊าซ เช่น การตั้งเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม การนอนควํ่าเพื่อลดการ
ถูกกดทับของปอดจากหัวใจและอวัยวะในช่องท้อง เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและกิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่1 เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ข่อมูลสนับสนุน
O: O2=40% (ค่าปกติ95-100%)
O: PS 14 cmH2O (ค่าปกติ 20 cmH2O)
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล : ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
การพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว เพราะอาการหายใจหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน เพื่อรายงานแพทย์พิจารณาการให้ o2
2.จัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อให้กระบังลมชายไม่ควรต่ำกว่า 13.5 g/dL เพื่อทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียงเพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชมเพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชมเพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
ติดตามผล lab hb hct และ Chest X-Rayเพราะเป็นค่าที่แสดงถึงความเข้มข้นของเลือดในร่างกายและ Chest X-ray เป็นการประเมินความก้าวหน้าของการรักษาซึ่งอาจพบฝ้าขาวในปอดลดลงหรือเพิ่มขึ้น
7.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ให้ได้รับออกชิเจนอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่2 เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ของแผลเจาะคอและทางเดินหายใจ
ข้อมูลสนับสนุน
O : On ET tube
O : มีไข้สูง
วัตถุประสงค์:ผู้ป่วยไม่เกิดการติดเชื้อของแผลเจาะคอและทางเดินหายใจ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพ อาการและอาการแสดงทุก4 ชั่วโมงโดยเฉพาะอุณหภูมิกายเพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการผิดปกติ
2.สังเกตลักษณะแผลและอาการบวมแดงของแผลเพื่อประเมินความรุนแรงของอาการ
ทำแผล Tracheostomy tubeอย่างน้อยวันละ2 ครั้ง เช้า – เย็น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
4.ทำแผลโดยใช้ เทคนิคsterile และเช็ดบริเวณแผลรอบท่อจนกว่าเสมหะจะออกหมดและเช็ดให้สะอาด
เปลี่ยนเชือกผูก Tracheostomy tube เมื่อสกปรก หรือทุก 5 วัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ทำความสะอาดInner tubeอย่างน้อยเวรละครั้ง เพื่อป้องกันป้องกันท่ออุดตัน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่3 ความคงทนต่อกิจกรรมต่างๆ ลดลงเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ข้อมูลสนับสนุน = O: แขนขา2ข้างGrade4
วัตถุประสงค์การพยาบาล : ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้และปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้เหมาะสม
กิจกรรมการพยาบาล
จัดเตียงผู้ป่วยไว้ใกล้โต๊ะพยาบาลเพื่อสังเกตอาการรอย่างใกล้ชิด
กระตุ้นให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันและคอยดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยพร้อมทั้งให้ความรู้ถึงประโยชน์ของการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
สังเกตอาการหายใจลำบาก หายใจตื้นเพื่อประเมินภาวะอาการของผู้ป่วย
ตรวจวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงเพื่อประเมินภาวะอาการของผู้ป่วย
วัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงปลายนิ้วมือทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจนของผู้ป่วย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยา Mestinon โดยให้ก่อนการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับประทานอาหาร
สังเกตอาการข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ท้องเสียเพื่อประเมินภาวะอาการของผู้ป่วย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลและกิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่1 เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
O: O2=40% (ค่าปกติ95-100%)
O: PS 14 cmH2O (ค่าปกติ 20 cmH2O)
o : อัตราการหายใจ 16 ครั้ง/นาที
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล : ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
การพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว เพราะอาการหายใจหอบ ชีพจรเร็ว ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด เขียว แสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน เพื่อรายงานแพทย์พิจารณาการให้ o2
2.จัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา เพื่อให้กระบังลมชายไม่ควรต่ำกว่า 13.5 g/dL เพื่อทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียงเพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการทำกิจกรรม ทำให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชมเพราะการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน