Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวทางการดูแลรักษา เบาหวานขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
แนวทางการดูแลรักษา
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
การพยาบาลระยะตั้งครรภ์
ให้ข้อมูลคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตรวจ และผลการตรวจคัดกรอง การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานตามแนวปฏิบัติ
ให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารตามหลักโภชนบบัดประสานงานในการส่งไปพบนักโภชนาการ หรือพยาบาลผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
3.แนะนำเกี่ยวกับรูปแบบของการออกกำลังกายที่เหมาะสมและพักผ่อนให้เพียงพอ
แนะนำและสอนเกี่ยวกับทักษะการฉีดอินซูลินด้วยตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
แนะนำและสอนเทคนิคการเจาะเลือดจากหลอดเลือดฝอยปลายนิ้วมือ เพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (self-monitoring of blood glucose)
บอกให้ทราบเกี่ยวกับความสำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
7.ติดตามผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดในระบบการบันทึกของโรงพยาบาลและสมุดบันทึกประจำตัว
ให้คำแนะนำในการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ เช่น การนับทารกดิ้น การตรวจด้วยอัลตราซาวด์ การตรวจด้วยเครื่องอิเลกทรอนิกส์ (NST)
แนะนำให้มาตรวจครรภ์ตามนัดเพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือด ประเมินสุขภาพของมารดาและทารกในครรภ์
10.ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
การพยาบาลระยะคลอด
แนะนำเกี่ยวกับการเตรียมคลอดปกติ การชักนำการคลอด หรือการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง
กรณีเตรียมผ่าตัด คลอด แนะนาให้ฉีดอินซูลินในตอนเย็น หรือก่อนนอนตามปกติ และให้งด อินซูลินในตอนเช้าของวันผ่าตัด
เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลทุก 1-2 ชวั่ โมง โดยค่าระดับน้ำตาลในเลือด ควรอยู่ระหว่าง 80-120 มก./ดล.เพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่าและภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดาตามแผนการรักษา เช่น NSS, 5% D/NSS, เป็นต้น
กรณีมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายในการรักษา ดูแลให้ได้รับการฉีดอินซูลิน หรือให้อินซูลินทางหลอดเลือดดา 1-2 ยูนิต ต่อชั่วโมง ตามแผนการรักษา
6.ส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และติดตามประเมิน สุขภาพทารกในครรภต์ามแนวปฏิบัติ
7.วางแผนช่วยเหลือการคลอดเพื่อป้องกันการคลอดติดไหล่ (shoulder dystocia) และการบาดเจ็บ จากการคลอด
การดูแลระยะหลังคลอด
1.ติดตามประเมินการเสียเลือดในระยะคลอด ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และภาวะกระเพาะปัสสาวะเต็ม เพื่อเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
2.ติดตามประเมินอาการแสดงของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำกว่าปกติ ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่นานอาจเป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ที่แฝงอยู่แล้วเพิ่งตรวจพบครั้งแรกระหว่างตั้งครรภ์
3.ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 30 นาทีใน 1 ชั่วโมงแรก และอีก 1 ชั่วโมงถัดมา หลังจากนั้นประเมินทุก 2-4 ชั่วโมง ตามอาการเปลี่ยนแปลง
4.ให้คำแนะนำในการดูสุขภาพหลังคลอด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย
5.แนะนำให้มาตรวจสุขภาพหลังคลอดตามนัด 6 สัปดาห์ และตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดที่คลินิกเบาหวาน
6.กรณีมีปัจจัยเสี่ยง บอกให้ทราบเกี่ยวกับโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
7.ให้คำแนะนำในการวางแผนครอบครัว โดยแนะนำให้ใช้ ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำ โดยใช้เอสโรเจนและโปรเจสเตอโรนน้อยที่สุด การใส่ห่วงอนามัยไม่แนะนำ เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน ถ้ามีบุตรเพียงพอแล้วแนะนำให้ทำหมัน