Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้วิถีล้านนา - Coggle Diagram
ราชภัฏเชียงใหม่ภายใต้วิถีล้านนา
ประวัติศาสตร์ล้านนา
ดินแดนล้านนา หมายถึง อาณาบริเวณที่ประกอบด้วยเมืองกลุ่มหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติหรือทางวัฒนธรรม ในอดีตรัฐโบราณไม่มีอาณาเขตชัดเจน แต่ในยุคสมัยที่อาณาจักรล้านนาเจริญรุ่งเรือง เคยมีอิทธิพลแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางถึงดินแดนเชียงรุ่ง สิบสองพันนา และรัฐฉานตอนใต้ สำหรับดินแดนที่สำคัญของล้านนาอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ประกอบด้วยเมืองน้อยใหญ่ ซึ่งแบ่งตามสภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ออกเป็นสองกลุ่มคือ
กลุ่มเมืองล้านนาตะวันตก ซึ่งเป็นแกนสำคัญ; เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา ที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น ส่วนกลุ่มเมืองล้านนาตะวันออก; แพร่และน่าน ทั้งสองเมืองมีประวัติความเป็นมาคล้ายกันคือ ในสมัยแรกเริ่มต่างมีฐานะเป็นรัฐอิสระ มีราชวงศ์ของตนเอง และมีความใกล้ชิดกับอาณาจักรสุโขทัย
การก่อสร้างอาณาจักรล้านนา
ดินแดนล้านนา เริ่มในต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อสถาปนานครเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๙ นับถึงปัจจุบันเชียงใหม่มีอายุกว่า ๗๐๐ ปี การศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนาตามพัฒนาการแบ่งได้ ดังนี้
สมัยแว่นแคว้น-นครรัฐ
ล้านนาสมัยรัฐอาณาจักร (พ.ศ.๑๘๐๔-๒๑๐๑)
ล้านนาสมัยพม่าปกครอง (พ.ศ.๒๑๐๑-๒๓๑๗)
ล้านนาสมัยเป็นเมืองประเทศราชของไทย (พ.ศ. ๒๓๑๗-๒๔๒๗)
ภูมิศาสตร์ล้านนา
คือ วิชาที่ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติกับสังคมที่ปรากฏในดินแดนต่าง ๆ ของโลกการเคลื่อนย้าย ภูมิภาค ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับพื้นที่ประเด็นการศึกษาภูมิศาสตร์ ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง สถานที่
การล่มสลายของอาณาจักร
อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัย "พญาแก้ว" เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่ทัพเชียงตุงในการทำสงครามขยายอาณาจักร ไพร่พลในกำลังล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับปีนั้นเกิดอุทกภัยใหญ่หลวงขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้บ้านเรือนราษฎรเสียหายและผู้คนเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก สภาพบ้านเมืองเริ่มอ่อนแอเกิดความไม่มั่นคง หลังจาก "พญาแก้ว" สิ้นพระชนม์ก็เกิดการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ระหว่างขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อนครเชียงใหม่ศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองขึ้นต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของเชียงใหม่จึงแยกตัวเป็นอิสระ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการอีกต่อไป ในยุคนี้ล้านนาถูกเข้าแทรกแซงอำนาจจากอาณาจักร์ล้านช้างและอยุธยาซึ่งล้านช้างเป็นฝ่ายชนะในการแทรกแซงล้านนา ส่งผลให้ล้านช้างได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือหัวเมืองล้านนาทุกหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองแต่ละหัวเมืองได้ยอมอ่อนน้อมและอยู่ภายใต้อำนาจ ส่งผลให้อาณาจักร์ล้านนากลายเป็นรัฐในอารักขาของล้านช้างในที่สุดในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งพระเจ้าโพธิศาลราชได้กลายเป็นจักรพรรดิที่อยู่เบื้องหลังของการรวมล้านนาเข้าไว้กับล้านช้างในช่วงสั้นๆโดยให้บุตรชายได้ปกครองเมืองเชียงใหม่ส่วนตนครองเมืองหลวงพระบางต่อไป ซึ่งเมืองหลวงพระบางในช่วงนี้มีอำนาจเหนือแคว้นล้านนาทุกหัวเมือง หลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าบุเรงนองแห่งหงสาวดีได้ทำศึกมีชัยชนะไปทั่วทุกทิศานุทิศ จนได้รับการขนานนามพระเจ้าผู้ชนะสิบทิศ พระเจ้าบุเรงนองได้ทำศึกยึดครองนครเชียงใหม่ไปประเทศราชได้สำเร็จ รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้พระเมกุฏิสุทธิวงศ์ ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมาพระเจ้าเมกุฎิทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้งมหาเทวีวิสุทธิ ผู้มีเชื้อราชวงศ์มังราย ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระมารดาของพระเจ้าเมกุฏิ[8][9] ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน จนกระทั่งมหาเทวีวิสุทธิสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ และอีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่ และเตรียมเสบียงอาหารเพื่อไปทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรล้านนาในฐานะเมืองขึ้นของพม่า มีการกบฏแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เชียงใหม่อย่างเดียว แต่เมืองอื่น ๆ ในล้านนาก็ด้วย จนกระทั่งราชวงศ์นยองยาน สถาปนาอาณาจักรรัตนปุระอังวะอีกครั้งจึงหันมาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เชียงใหม่ภายใต้การปกครองของพม่าใช้เวลายาวนานถึง 200 กว่าปี แต่ก็มีบางช่วงที่สลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของอยุธยา เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และก็มีบางสมัยที่เป็นอิสระแต่ถูกครอบงำและถูกปกครองโดยกษัตริย์ลาวนามว่า องค์คำ จากอาณาจักรหลวงพระบางร่วม 30 กว่าปี
ตำนานเมืองเชียงใหม่: กำเนิดล้านนาและการสร้างเมืองเชียงใหม่
พญามังราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มน้ำแม่กก น้ำแม่อิง และแม่น้ำปิงตอนบน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญามังรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมน้ำแม่กกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขายลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้ ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเลเหมาะแก่การค้าขายและการป้องกันพระนคร มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็นทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน (แคว้นหริภุญชัย) พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบเข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากพญามังรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ (แม่น้ำปิง) โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาเขตบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน
ความเป็นชาติพันธุ์และชุมชนท้องถิ่น
ชาวล้านนาในปัจจุบันมีที่มาจากการผสมผสานและดำรงชีพอยู่ร่วมกันมาของชนชาติต่าง ๆ ในบริเวณแอ่งที่ราบที่ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวล้านนา ได้แก่ ชาวไทลื้อ ชาวไทเขิน ชาวไทยวน ชาวไทใหญ่ ชาวเม็ง (มอญ) ชาวลัวะ จากบริเวณแอ่งที่ราบขึ้นสู่บริเวณภูเขาสูงก็จะพบกลุ่มชนชาติต่างๆ ตั้งหมู่บ้านกระจายอยู่ทั่วไปตามพื้นที่สูงในดินแดนล้านนา ได้แก่ กะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) เมี่ยน ม้ง อาข่า ลาหู่ ลีซู นอกจากนี้ ยังมีชนบางกลุ่มที่อยู่ในบริเวณชายขอบของล้านนา ได้แก่ ขมุ มลาบรี (ตองเหลือง) และยังมีชนอีกกลุ่มหนึ่งที่ถูกนำตัวเข้ามาจากประเทศพม่าเมื่อประมาณสิบปีที่แล้วเพื่อจุดประสงค์สำหรับการท่องเที่ยวและยังคงเป็นกลุ่มชนที่ไม่ได้รับการรับรองและสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายไทยคือ ปาดอง (กะเหรี่ยงคอยาว)
ไทยวน หรือคนเมืองในกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ไต-กะได อาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยเฉพาะลุ่มแม่น้ำปิงในเมืองเชียงใหม่ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา หลังจากได้อพยพโยกย้ายมาจากเมืองเชียงแสน อันเป็นแหล่งต้นกำเนิดของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยวน และบางกลุ่มได้อพยพเคลื่อนย้ายไปอยู่ภูมิภาคภาคอื่น ๆ ของประเทศด้วยเหตุผลทางการเมือง การปกครอง และภาวะสงคราม เช่น จังหวัดสระบุรี ราชบุรี นครราชสีมา เป็นต้น
ไทลื้อ เรียกชื่อตนเองว่า ลื้อ แต่เดิมมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในเขตสิบสองปันนา และได้ถูกกวาดต้อนมาตั้งแต่ยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” และตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนล้านนาของประเทศไทยบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำปาง และ ลำพูน การแต่งกายและลักษณะบ้านเรือนของไทลื้ออาจถือได้ว่าเป็นต้นแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์พื้นเมืองของชาวไทยล้านนาแบบหนึ่ง เช่นเดียวกับ ไทยอง มิใช่ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ แต่เป็นชื่อเรียกของเมืองคือ “เมืองยอง” ดังนั้น “ยอง” จึงมิใช่ชื่อเรียกชาติพันธุ์ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อเช่นเดียวกัน
ไทใหญ่ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่รัฐฉาน สหภาพพม่า จากประวัติความเป็นมาไทใหญ่เป็นสาขาหนึ่งของกลุ่มตระกูลไตหรือไท เรียกตนเองว่า “ไตโหลง” หมายถึง “ไตหลวง” อันเป็นที่มาของชื่อชนชาติที่เป็นทางการว่า “ไทใหญ่” เป็นตระกูลไทกลุ่มใหญ่มากกว่าไทกลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากพรมแดนที่แบ่งแยกแคว้นฉานกับล้านนาไทยในอดีตกาลไม่ชัดเจน ไทใหญ่จึงอพยพไปมาระหว่างสองฟากฝั่งแม่น้ำเมยและสาละวิน กลายเป็นชุมชนไทใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน แม้จะต้องทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดมา แต่ไทใหญ่ก็มิได้ละทิ้งเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมโดยเฉพาะการแต่งกาย และยังคงยึดถือปฏิบัติงานบุญ ประเพณีสำคัญ สืบต่อกันมาได้เป็นอย่างดี
ไทเขิน มีชื่อเรียกตัวเองว่า ไทขึน หรือ ไทเขิน คำว่า “ขึน” เป็นชื่อเรียกแม่น้ำสายหนึ่งในเมืองเชียงตุง ประวัติความเป็นมากล่าวถึงการอพยพไทเขินจากเมืองเชียงตุงมาสู่ดินแดนล้านนาไทยเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ จนกลายเป็นชุมชนไทเขินในเมืองเชียงใหม่ หลายแห่งด้วยกัน ในปัจจุบันการแต่งกายและการใช้ชีวิตได้ผสมผสานกลมกลืนไปกับไทใหญ่และไทลื้อจนยากที่จะแยกลงไปให้ชัดเจนได้ กล่าวได้ว่า ภาษาพูดตลอดจนถึงอักขระวิธีการเขียนของไทเขินนั้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิธีการเขียนของชาวไทกลุ่มอื่นเป็นอันมาก ปัจจุบันคนทั่วไปมักจะรู้จักความสวยงามของงานหัตถกรรมเครื่องเขินบริเวณถนนวัวลายมากกว่าที่จะรู้จักไทเขิน ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์งานประณีตศิลป์อันสวยงามชนิดนี้
ลัวะ หรือ ละว้า (Lua or Lawa) เรียกตัวเองว่า ละเวือะ ตามประวัติความเป็นมากล่าวว่า ลัวะได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำปิงเมื่อ 1,300 กว่าปีมาแล้ว ถิ่นอาศัยของลัวะในปัจจุบันมักอยู่บนภูเขาสูงของล้านนาไทย ลัวะเป็นชนเผ่าพื้นเมืองก่อนชาติพันธุ์ไท เป็นเจ้าของพื้นที่ดั้งเดิมก่อนการสร้างชาติรัฐล้านนา ในอดีตลัวะเคยมีวิวัฒนาการที่เจริญรุ่งเรือง มีการสร้างบ้านแปลงเมือง มีระบบการปกครอง มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตเป็นอัตลักษณ์เป็นของตนเอง เมื่อถูกชาติพันธุ์ไทรุกรานจึงถอยร่นสู่ที่ราบเชิงเขาและสันเขา ปัจจุบันตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย และน่าน