Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เตียง 15 ภาวะหัวใจล้มเหลว Congestive heart failure (CHF) …
เตียง 15 ภาวะหัวใจล้มเหลว
Congestive heart failure (CHF)
เข้ารับบริการวันที่ 23 มกราคม 2563
ข้อมูลพื้นฐาน
อาการปัจจุบัน
ผู้ป่วยชายไทย รูปร่างผอมสูง มีสีผิวคล้ำ ผิวหนังชุ่มชื้น รู้สึกตัวดี
ช่วยเหลือตัวเองได้ดี มองเห็นปกติ conjunctiva แดงดี มี jugular venous pressure( JVP ) หายใจ room air เหงือกสีชมพูดี สามารถรับประทานอาหารเองได้ มีอาการไอแห้งบ่อยๆ On injection plug ที่ข้อมือซ้าย มีแผลผ่าตัดลูกกระสุนปืนที่บริเวณท้องข้างซ้ายล่าง แผลแห้งดี ไม่มีdischarge สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำเองได้ ปลายเท้าดำ
อาการสำคัญ
หายใจหอบเหนื่อย หายใจไม่ออก 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน
5 วันก่อนมาโรงพยาบาล กินน้ำมากขึ้น ปัสสาวะออกลดลง ไม่มีไข้ ไอ เสมหะ ไม่มีใจสั่น ไม่มีแน่นหน้าอก ขาทั้งสองข้างบวม
2 วันก่อนมาโรงพยาบาล แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก มีอาการขาบวม อัณฑะบวม ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ
ไปโรงพยาบาลนวมินทร์ พ่น Bero 1 NB ส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลสินแพทย์ Dx.CHF
1วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หายใจแล้วมีเสียงวี๊ดในคอ จึงมาโรงพยาบาลตำรวจทันที
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจขาดเลือด(Ischemic heart disease)
โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease) stage 3
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)
ประวัติการแพ้ยา
Colchicine เมื่อแพ้จะมีอาการท้องเสีย
พยาธิสรีรวิทยา
ภาวะหัวใจล้มเหลว(Congestive Heart Failure)
อาการ
หัวใจข้างขวาล้มเหลว มีอาการบวม(Edema) ตามส่วนต่างๆ เท้า ข้อเท้า ก้นกบ ตับโต จากการมีเลือดคั่งในหลอดเลือดในตับ (Ascites) หลอดเลือดดำที่คอโป่ง อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น จุกแน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา หรือบริเวณลิ้นปี่ เป็นผลมาจากตังโตจากการมีน้ำคั่ง
หัวใจข้างซ้ายล้มเหลว มีอาการหัวใจเต้นเร็ว การเต้นของชีพจรไม่สม่ำเสมอ ผิวหนังเย็นชื้น เนื่องจากหลอดเลือดหดตัว ความดันsystolic ลดลง แต่ความดันdiastolic สูงขึ้น ฟังหัวใจได้ยินเสียงสาม(s) หรือเสียงคล้ายม้าควบ(Galop rhythm) จะได้ยินชัดเจน บริเวณ mitral valve เสียงนี้เกิดจากมีแรงต้านขณะเลือดถูกส่งเข้าสู่หัวใจห้องล่าง ผู้ป่วจะมีอาการทางสมอง เช่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ มึนงง
มีอาการเหนื่อยล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการเหนื่อยง่ายเมื่อออกแรง หอบในท่านอนราบ (Orthopnea) มีภาวะปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema)
ความหมาย
ภาวะหัวใจล้มเหลว คือภาวะที่หัวใจไม่สามารถจะบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในขณะนั้น แม้ว่าจำนวนเลือดในห้องหัวใจจะมีปริมาณเพียงพอ
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำงานในการเติมเลือด(filling) หรือการสูบเลือด(ejection) ออกจากหัวใจห้องล่าง อาการแสดงสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ หายใจขัด(dyspnea) และอ่อนช้า(fatigue) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถออกกำลังกายหรือออกแรงหนักๆได้และมีการคั่งของน้ำตามที่ต่างๆ ซึ่งไปสู่การเกิดภาวะน้ำคั่งในปอด(pulmonary congestion) น้ำคั่งในช่องท้อง(splanchnic congestion) และอาหารบวมน้ำ(peripheral edema) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเหนื่อยหอบขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่มีการคั่งของน้ำร่วม
ข้อมูลผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับพยาธิสภาพ
ผู้ป่วยมีประวัติหอบเหนื่อย มีการเจ็บป่วยที่ชักนำในเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว คือผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นไตวายเรื้อรัง ซึ่งขณะเป็นมีอาการ เหนื่อย หายใจลำบาก มี jugular venous pressure
ระดับความรุนแรง
Functional class I
ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆสามารถกระทำกิจกรรมปกติ(ordinary physical activity) ได้โดยไม่มีอาการ
Functional class II
ผู้ป่วยมีข้อจำกัดบ้างเพียงเล็กน้อย (Slight limitation) ในการกระทำกิจกรรมปกติ โดยผู้ป่วยมักมีอาการเมื่อกระทำที่ต้องออกแรงมากๆจะมีอาการ
Functional class III
ผู้ป่วยมีข้อจำกัดมากพอสมควรในการกระทำกิจกรรมปกติ โดยมีอาการหายใจลำบาก หรือ หอบเหนื่อยอย่างรวดเร็วเมื่อกระทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกแรงมาก แต่จะไม่มีอาการขณะพัก (no symtoms at rest)
Functional class VI
ผู้ป่วยมีข้อจำกัดอย่างมากในการกระทำกิจกรรมปกติ มีอาการเหนื่อยหอบขณะพัก (symptoms at rest)
Bradycardia
ภาวะที่อัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งน้อยกว่าการเต้นของหัวใจในอัตราปกติ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใหญ่จะมีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักอยู่ที่นาทีละ 60-100 ครั้ง ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที ถือว่าประสบภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ภาวะนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะในกรณีที่หัวใจเต้นช้าจนไม่สามารถสูบฉีดเลือดและนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ
โดยทั่วไปแล้ว หัวใจมีอยู่ 4 ห้อง แบ่งเป็น หัวใจสองห้องบนหรือ Atria และหัวใจสองห้องล่างหรือ Ventricles ตัวกำหนดจังหวะหรือ Sinus Node ซึ่งอยู่หัวใจห้องบนขวา ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ โดยจะผลิตกระแสไฟฟ้าที่ช่วยให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจ กระแสไฟฟ้าจะเดินทางผ่านหัวใจห้องบน เพื่อให้บีบตัวและลำเลียงเลือดไปหัวใจห้องล่าง โดยต้องผ่านกลุ่มเซลล์ AV Node ซึ่งถ่ายทอดสัญญาณไฟฟ้าไปยังกลุ่มเซลล์ของหัวใจห้องล่างซ้ายและขวา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการบีบตัวและลำเลียงเลือดที่บริเวณดังกล่าว หัวใจห้องล่างขวาจะลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนน้อยไปที่ปอด ส่วนหัวใจห้องล่างซ้ายจะลำเลียงเลือดที่มีออกซิเจนมากไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หาก Sinus Node ปล่อยกระแสไฟฟ้าช้ากว่าปกติ หยุดปล่อยกระแสไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ หรือปล่อยกระแสไฟฟ้าแล้วไม่สามารถไปกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวได้ จะส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง
Pulmonary Hypertension
ภาวะความดันเลือดในปอดสูง คือ ภาวะที่หลอดเลือดในปอดมีความต้านทานเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันเฉลี่ยหลอดเลือดแดงปอด (Mean Pulmonary Arterial Pressure) มีค่าสูงกว่า 25 มิลลิเมตรปรอท ในขณะพัก ส่งผลให้หัวใจห้องขวาต้องทำงานหนักขึ้น การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายทำได้น้อยลง ถือว่าเป็นภาวะที่มีอันตรายร้ายแรง หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
Diabetes mellitus
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมน “อินซูลิน” หรือประสิทธิภาพการทำงานของ “อินซูลิน” ลดลง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย หรือผลิตได้น้อยมาก และมักตรวจพบตั้งแต่วัยเด็ก หรือเริ่มเข้าวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มักต้องรับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบมากในผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ในประเทศไทย (ประมาณร้อยละ 95) และผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ทั่วโลก
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น ตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลินได้ แต่อาจผลิตในปริมาณที่ไม่เพียงพอ เพราะอินซูลินที่ผลิตออกมาไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า ภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ
อิเล็กโทรไลต์
Sodium(Na) 135 (ค่าปกติ 136-145) ต่ำกว่าปกติ
Co2 16.3 (ค่าปกติ 22-29) ต่ำกว่าปกติ
ค่าการทำงานของไต
*Bun 21.4 (ค่าปกติ 8.9-20.6) สูงกว่าปกติ
Creatinine 1.69 (ค่าปกติ 0.73-1.18) สูงกว่าปกติ
Direct Bilirubin 0.65 (ค่าปกติ 0.0-0.5) สูงกว่าปกติ
Calcium 8.2 (ค่าปกติ 8.8-10.6)ต่ำกว่าปกติ
Co2 15.7 (ค่าปกติ 22-29) ต่ำกว่าปกติ
Coagulation test,Complete blood count
*PT 13.5(ค่าปกติ 10.3-12.8) สูงกว่าปกติ
INR 1.17(ค่าปกติ 0.88-1.11) สูงกว่าปกติ
*APTT 33.0 (ค่าปกติ 22.4-30.6) สูงกว่าปกติ
Hb 10.2 (ค่าปกติ 12.8-16.1)ต่ำกว่าปกติ
Hct 31.8 (ค่าปกติ 38.2-48.3) ต่ำกว่าปกติ
RBC 3.37 (ค่าปกติ 4.03-5.55) ต่ำกว่าปกติ
Neutrophill 95.0 (ค่าปกติ 48.1-71.2) สูงกว่าปกติ
Lymphocyte 3.1 (ค่าปกติ 21.1-42.7) ต่ำกว่าปกติ
Monocyte 1.2 (ค่าปกติ 3.3-10.2) ต่ำกว่าปกติ
Eosinophill 0.2 (ค่าปกติ 0.4-7.2) ต่ำกว่าปกติ
Platelet Count 109 (ค่าปกติ 154-384) ต่ำกว่าปกติ
MPV 11.7(ค่าปกติ 7.5-11.3) สูงกว่าปกติ
การตรวจสวนหัวใจ Cardiac Catheterization Angiography
คือการสอดสายสวนขนาดเล็กผ่านหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบจนกระทั่งปลายสายไปถึงหลอดเลือดหัวใจแล้วฉีดสารทึบรังสีเข้าในหลอดเลือดหัวใจ พร้อมกับเอ็กซเรย์ด้วยความเร็วสูง บันทึกภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้นเพื่อตรวจหลอดเลือดหัวใจว่ามีการตีบตันตำแหน่งไหน มากน้อยเพียงใด รวมทั้งการฉีดสารทึบรังสีเข้าในห้องหัวใจเพื่อตรวจการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ การรั่วของลิ้นหัวใจ วัดความดันในห้องหัวใจ
การดูแลก่อนการสวนหัวใจ
นอนโรงพยาบาลก่อนทำการสวนหัวใจล่วงหน้า 1 วัน เพื่อเจาะเลือดตรวจ,เอกซเรย์,ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ,ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง ความถี่สูง
ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง
ทำความสะอาดโกนขนบริเวรขาหนีบซ้ายและขวาหรือแขนซ้ายและขวา หลังจากนั้นให้ทำความสะอาดร่างกายและสระผม
งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน(24.00 น.) ก่อนวันตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนตรวจ
ให้สารน้ำตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินชีพจรส่วนปลาย (หลังเท้า)
เช้าวันตรวจให้งดน้ำและพอาหาร แต่ให้รับประทานยาตามปกติ ยกเว้นยาขับปัสสาวะและยาเบาหวาน
ไม่ควรนำของมีค่า ฟันปลอม และไม่สวมแว่นไม่สวมรองเท้า ไม่ใส่ชุดชั้นในเข้าไปในห้องสวนหัวใจ
ก่อนไปห้องสวนหัวใจท่านจะได้รับประทานยาผ่อนคลายความเครียดและยาฉีดป้องกันการแพ้ยาป้องกันการแพ้สารทึบแสง หรืออื่นๆตามแผนการรักษาของแพทย์
เตรียมเอกสารสิทธิบัตรของท่านในการรักษาให้เรียบร้อย
ท่านจะต้องปัสสาวะก่อนไปห้องสวนหัวใจ
การดูแลหลังการสวนหัวใจ
ให้นอนหงายราบห้ามยกศรีษะ ห้ามงอขาข้างขวา(แขนขวา) หรือข้างที่ใส่สายสวนหัวใจและจะมีการวางหมอนทรายทับแผลไว้ เป็นเวลา 4 ชั่วโมงเพื่อห้ามเลือด
เมื่อกลับถึงหอผู้ป่วยถ้าไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ให้ดื่มน้ำ หรือ น้ำหวานได้ทันที และสามารถรับประทานอาหารได้ ในท่านอนจนกว่าจะครบ 4 ชั่วโมงหลังจากการทำจึงลุกขึ้นรับประทานได้หากมีข้อสงสัยติดต่อ ศูนย์ประสานงานโรคหัวใจ
ผู้ป่วยสามารถลุกนั่งบนเตียงได้เมื่อครบ 4 ชั่วโมงและเดินได้ครบ 24 ชั่วโมง หรือวันรุ่งขึ้น หลังใส่สายสวนหัวใจ
ถ้ารู้สึกอุ่นๆ บริเวณขาหนีบอาจเกิดจากมีเลือดออกจากแผลให้รีบแจ้งพยาบาลทราบทันทีเพื่อให้การแก้ไข
ถ้ามีแผลบวม ปวดแผล ชาที่ขา หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ให้แจ้งพยาบาลทันที
ห้ามไอ จามแรงๆ หรือเบ่งเพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผลบริเวณขาหนีบได้
ผลการตรวจสวนหัวใจ
ผู้ป่วยไม่มีหลอดเลือดหัวใจตีบ
Pulmonary Hypertension
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 1 ผู้ป่วยมีภาวะน้ำเกิน(Fluid Volume Excess )เนื่องจาก cardio output ลดลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง และจากมีการคั่งของเลือดดำบริเวณส่วนปลายจากภาวะ CHF
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยมีประวัติหายใจเหนื่อยหอบ
ผู้ป่วยมีอาการบวม(edema)
ค่าBUN 21.4mg/dL (ค่าปกติ 8.9-20.6) สูงกว่าปกติ
ค่าcreatinine 1.69 mg/dL (ค่าปกติ 0.73-1.18) สูงกว่าปกติ
ค่า Sodium(Na) 135 mmol/L (ค่าปกติ 136-145) ต่ำกว่าปกติ
ค่า Co2 16.3 mmol/L (ค่าปกติ 22-29) ต่ำกว่าปกติ
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีสมดุลน้ำและอิเล็คโทรไลต์
ผู้ป่วยไม่มีภาวะน้ำเกิน
เกณฑ์การประเมินผล
อาการบวมตามแขนขา ลดลง
ค่าอิเล็กโทรไลต์ ค่าBUN Creatinine อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ปริมาณสารน้ำเข้า-ออก เท่ากัน
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมินการบวมแขนขา ก้นกบ กระบอกตา
2.ประเมินสัญญาณชีพ ทุก4ชั่วโมง
3.ฟังเสียงปอดและเสียงหัวใจทุกๆ2-4 ชั่วโมง
ประเมินเสียงหายใจที่ผิดปกติ เสียงแทรก
เช่น crepitation wheezing
สังเกตอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว
นอนราบไม่ได้ ไอเสมหะเป็นฟองหรือมีสีชมพู
ประเมินเสียงหัวใจที่ผิดปกติ เช่น เสียงฟู่ที่มากขึ้น หรือเกิดใหม่
4.จำกัดน้ำในแต่ละวันตามแนวการรักษา อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความสำคัญ แบ่งปริมาตรน้ำที่ควรได้รับในแต่ละมื้อ
ควบคุมการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำอย่างเข้มงวด
5.บันทึกปริมาณน้ำเข้าและออก สังเกตความสมดุล
6.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ติดตามผลของยา และสังเกตอาการข้างเคียง
7.ชั่งน้ำหนักทุกวัน โดยใช้เครื่องชั่งเดิม เวลาเดิม ซึ่งมักชั่งในตอนเช้าหลังตื่นนอน สวมเสื้อผ้าคล้ายของเดิม
8.จำกัดโซเดียมในอาหารและเครื่องดื่ม จัดให้รับประทานอาหารจืด ลดเกลือหรือจำกัดเกลือในอาหาร จัดอาหารให้มีโปแตสเซียมเพียงพอต่อผู้ป่วย
การประเมินผล
ผู้ป่วยแขนขาบวมลดลง
ผู้ป่วยมีค่าอิเล็กโทรไลต์ ค่าBUN Creatinine อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผู้ป่วยมีสมดุลของสารน้ำ ปริมาตรน้ำเข้า-ออก เท่ากัน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 7 ผู้ป่วยมีความทนต่อกิจกรรมลดลง
เนื่องจากปริมาตรเลือดที่หัวใจส่งออกต่อนาทีลดลง
จากความไม่สมดุลของการได้รับและความต้องการใช้ออกซิเจน
จากการเหนื่อยล้า หรือจากอิเล็คทรอไลต์
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยบอกว่าเหนื่อย เมื่อขยับร่างกายหรือทำกิจกรรมหนักๆ functional class ระดับ 3
ผู้ป่วยเหนื่อยเมื่อพูดมาก
ผู้ป่วยเป็น congestive heart failire
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีความทนต่อกิจกรรมในระดับปานกลางถึงมาก โดยไม่มีอาการหายใจลำบาก เจ็บปวด หรือหัวใจเต้นผิดปกติ
ผู้ป่วยไม่เหนื่อยจนเกินไป
เกณฑ์การประเมินผล
มีความทนต่อกิจกรรมเพิ่มขึ้นตามขีดความสามารถ โดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือ หายใจลำบาก หรือ เหนื่อยล้าอย่างมากเกิน
ชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต ขณะทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรม อยู่ในเกณฑ์ปกติ ยอมรับได้
สามารถปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องการหรือการดูแลตนเองได้รับการตอบสนอง
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.วางแผนกับผู้ป่วยถึงกิจกรรมที่ควรทำได้ค่อยๆเพิ่มกิจกรรมหรือลดกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม
2.ประเมินสัญญาณชีพและติดตามการตอบสนองนะบบไหลเวียนเลือด และปอดต่อการทำกิจกรรม ก่อนและหลังการทำกิจกรรม สังเกตอาการหัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจลำบาก
3.จัดให้มีกิจกรรมในช่วงที่ร่างกายมีการใช้ออกซิเจนไม่มาก
4.กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการพักสลับกับการทำกิจกรรม หรือจัดให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนก่อนและหลังการทำกิจกรรม
5.จัดให้มีการพักผ่อนที่เพียงพอ
6.ประเมินปัจจัยอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เหนื่อยล้า
การประเมินผล
ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้เพิ่มขึ้น
ค่าelectrolyte อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 4 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เนื่องจาก ได้รับยาต้านเกล็ดเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยได้รับ Aspirin
PT 13.5(ค่าปกติ 10.3-12.8) สูงกว่าปกติ
INR 1.17(ค่าปกติ 0.88-1.11) สูงกว่าปกติ
Platelet Count 109 (ค่าปกติ 154-384) ต่ำกว่าปกติ
APTT 33.0 (ค่าปกติ 22.4-30.6) สูงกว่าปกติ
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่เกิดอันตรายจากภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก
ผู้ป่วยทราบเกี่ยวกับปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงการเกิดอันตราย
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีเลือดออกที่ใด
ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองในการเฝ้าระวังภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพของผู้ป่วย ประเมินภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก บาดแผลตามร่างกาย
5.ดูแลความสะอาดในช่องปากหลังรับประทานอาหารทุกครั้ง ทาริมฝีปากด้วยวาสลีน
2.ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลเบามือ ระมัดระวังการพยาบาลที่อาจเกิดอันตรายและเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก ได้แก่ การโกนขน การเจาะเลือด การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ
3.จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายต่างๆ หรืออุบัติเหตุต่างๆ ได้แก่การตกเตียง การกระทบกระแทก การถูกของมี ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลได้
4.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาอย่างเหมาะสม
6.อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า ผู้ป่วยจะเกร็ดเลือดต่ำ เป็นผลข้างเคียงจากยา ทำให้เลือดออกง่ายหยุดยาก
7.แนะนำการดูแลตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ การทำความสะอาดร่างกาย การแปรงฟันควรใช้แปรงสีฟัน
การประเมินผล
ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองและเฝ้าระวังภาวะเลือดออกง่ายหยุดยากได้
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างระมัดระวังและปลอดภัย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2 ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังทำหัตถการสวนหัวใจ ได้แก่ เลือดออกที่แผล(bleeding) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดส่วนปลาย ปฏิกิริยาการแพ้ และภาวะไตวายเฉียบพลัน
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยได้รับการทำหัตถการสวนหัวใจผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ Femoral Artery
Pain score = 5
คลำชีพจร dorsalis pedis ไม่ได้
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการสวนหัวใจ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลจัดขาให้ตรง ใช้หมอนเล็ก ๆ รองเพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบาย เน้นย้ำให้ผู้ป่วยเหยียดขาข้างทําหัตถการให้ตรง ห้ามงอขา 6 ชั่วโมงหลังทำ หรือกดทับโดยให้นำถุงทรายวางทับไว้ 2 ชั่วโมง สามารถลุกเดินได้ในวันถัดไป เพื่อป้องกันbleeding
ประเมินอาการเจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น ประเมินสัญญาณชีพโดยวัดทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง หลังจากนั้นทุก 1 ชั่วโมง จนกว่าสัญญาณชีพจะคงท่ี
3.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
4.ประเมินความอิ่มตัวของออกซิเจนที่นิ้ว สังเกตสีผิวและความอุ่น อาการปวด อาการช้าต่อเนื่อง
6.ประเมินการไหลเวียนของหลอดเลือดส่วนปลาย
5.ติดตามอาการคลื่นไส้อาเจียน มีผื่นขึ้น เหนื่อยหอบ ความดันโลหิตต่ำ เพื่อประเมินปฏิกิริยาการแพ้
การประเมินผล
ผู้ป่วยปลอดภัยจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถารสวนหัวใจ
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการสวนหัวใจ ได้แก่ เลือดออกที่แผล(bleeding) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดส่วนปลาย ปฏิกิริยาการแพ้ และภาวะไตวายเฉียบพลัน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 5 ผู้ป่วยเสี่ยงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
ค่าO2 saturation = 95%
ผู้ป่วยมีประวัติเป็น COPD เดิม
ผู้ป่วยมาด้วยอาการหายใจลำบาก
ฟังปอดได้ยินเสียง wheezing
ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย เมื่อลุกเดิน
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซ
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนเพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีอาการหายใจลำบาก
ผู้ป่วยไม่มีภาวะcyanosis
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสภาพทั่วไป สัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
2.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษา เพื่อขยายหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ
3.ดูแลผู้ป่วยหากออกซิเจนต่ำ ควรดูแลให้ออกซิเจน cannula 5 lpm
4.ให้ความรู้ผู้ป่วยเรื่องการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ
5.จัดท่านอนหัวสูง เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานของปอดได้เต็มที่
การประเมินผล
ผู้ป่วยอาการหายใจลำบากลดลง
ค่าO2 saturation อยู่ในระดับปกติ 90-100%
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 3 ผู้ป่วยมีภาวะ Hyperglycemia เนื่องจากผลข้างเคียงจากการได้รับยา
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยได้รับยา Prednisolone
ผู้ป่วยมีค่า DTX 250
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ
เกณฑ์การประเมิน
ระดับน้ำตาลในเลือด อยู่ในเกณฑ์ปกติ 80 -200 Mg
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพ ทุก4ชั่วโมง
2.ประเมินค่าระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหาร
6.ให้ยาตามแผนการรักษาและประเมินผลของยา
การประเมินผล
ผู้ป่วยมีปริมาตรเลือดที่หัวใจส่งออกต่อนาทีเพียงพอ และเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้เพียงพอ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 6 ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยได้รับยา Prednisolone
Neutrophil มีค่า 95.0 % (ค่าปกติ 48.1 - 71.2) สูงกว่าปกติ
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยติดเชื้อภายในโรงพยาบาล
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยไม่มีไข้หรืออาการแสดงว่าติดเชื้อ
ค่า Neutrophil อยู่ในเกณฑ์ปกติ
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.กำชับผู้ป่วยให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง ขณะนอนหรือเดินผ่านพื้นที่ส่วนกลางของสาธารณะ
2.ให้ผู้ป่วยล้างมือบ่อยๆเพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อ
3.อธิบายผู้ป่วยให้เข้าใจถึงผลข้างเคียงของยาที่ได้รับ และข้อปฏิบัติขณะได้รับยา
4.ทำความสะอาดและจัดสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ เพื่อให้ปราศจากเชื้อ
5.ใช้หลัก aseptic technique ในการพยาบาลแก่ผู้ป่วย
6.ใช้หลัก personal hygiene
7.แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ไม่ควรกินผักดิบ
8.เฝ้าระวังผลข้างเคียงจากยา พร้อมแนะนำผู้ป่วยและญาติ
การประเมินผล
ผู้ป่วยปลอดภัย ปราศจากเชื้อ
ค่า Neutrophil อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ยาที่ผู้ป่วยใช้
INHALEX FORTE 4 ML.
IPRATOPIUM+FENOTERAL (12.5+31.25)/100ML SOL 4 ML.
ข้อบ่งใช้
รักษาผู้ป่วย Chronic bronchitis และ Emphysema
ยาขยายหลอดลม
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
อาการข้างเคียง
ปากแห้ง คอแห้ง ปัสสาวะขัด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ คลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย ปวดศีรษะ
SERETIDE DC EVO 25/250 MCG. 120 DOSES
SALMETEROL+FLUTICASONE (25/250) MDI 120
ข้อบ่งใช้
ควบคุมอาการหอบหืด ป้องกันการเกิดหลอดลมหดเกร็งจากโรคอุดกั้นของทางเดินหายใจและจากการออกกำลังกาย รักษาระยะยาวเพื่อควบคุมหลอดลมหดเกร็งร่วมกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD) ซึ่งประกอบด้วย ถุงลมโป่งพอง(Emphysema) และหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis)
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
ผู้ที่แพ้ ( hypersensitivity) โปรตีน จากนม และ acute episode of athma or COPD
อาการข้างเคียง
ปวดศีรษะ ไอ มือสั่น เวียนศีรษะ คอแห้ง ระคายคอ
คอหอยอักเสบ อาจพบใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้
แสบยอดอก ไม่สบายในท้อง ท้องเสีย
CHLOVAS-40 TAB.
ATORVASTATIN 40 MG. TAB.
ข้อบ่งใช้
1.เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล แอลดีแอล (LDL)และไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยเพิ่มไขมันดี เอชดีแอล (HDL) ได้บ้าง
2.เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
ในคนที่มีความเสี่ยงสูง : หรือใช้ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ของผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองแล้ว
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
1.ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติเคยแพ้ยาหรือส่วนประกอบของยานี้
2.ห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่กำลังมีการทำงานของตับผิดปกติ
หรือมีระดับเอนไซม์ตับสูงกว่าค่าปกติ
อาการข้างเคียง
-ท้องเสีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
-หากได้รับยานี้แล้วเกิดอาการผิดปกติ
เช่น เกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นสีแดงหรือสีเข้มผิดปกติ
LORAZEP 1 MG. TAB.
LORAZEPAM 1 MG. TAB.
ข้อบ่งใช้
ลดความวิตกกังวล นอนไม่หลับที่มีสาเหตุมาจากความวิตกกังวล ระงับอาการชัก และใช้รักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาโรคจิตประสาท
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
อาการข้างเคียง
ง่วงซึม อ่อนแรง สับสนมึนงง หัวใจเต้นช้า หรือหัวใจหยุดเต้น เห็นภาพซ้อน มีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและความอยากอาหาร อาจเพิ่มหรือลด ปากแห้ง มีน้ำลายมาก ประจำเดือนผิกปกติ ผื่นคัน แพ้แสง ตับและไตเสียหน้าที่
SENOLAX TAB.
SENNOSIDES TAB.
ข้อบ่งใช้
-ใช้เป็นยาระบาย (ยาแก้ท้องผูก)
บำบัดรักษาอาการท้องผูกในช่วงระยะเวลาสั้น
-อาจใช้ยานี้สำหรับเตรียมลำไส้หรือขับถ่ายของเสียจากลำไส้ก่อนการผ่าตัดหรือส่องกล้อง
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน,
มีภาวะลำไส้อุดตัน, มีอาการปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ, มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้, เป็นไส้ติ่งอักเสบ
อาการข้างเคียง
การใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานานและใช้ในขนาดสูงจะทำให้มีอาการปวดท้องหรือถ่ายท้องรุนแรงจนเกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ได้ โดยเฉพาะโพแทสเซียม เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงและหัวใจเต้นผิดปกติ
B-ASPIRIN EC 81 MG. TAB.
ASPIRIN 81 MG. TAB.
ข้อบ่งใช้
ใช้เป็นยาป้องกันการรวมตัวของเกล็ดเลือด ลดความเสี่ยงของrecurrent transient ischemic attacks หรือ CVA ในผู้ป่วยลดความรุนแรง หรือป้องกัน Acute MI ลดความเสี่ยงของMI ในผู้ป่วยที่มี Unstable angina
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
-ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก
-ไม่ควรหักแบ่งยา เพราะตัวยาถูกเคลือบไว้ จะถูกปลดปล่อยออกมาและระคายเคืองกระเพาะอาหาร
-ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคหืด สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยที่แพ้
อาการข้างเคียง
ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำลายหนัาที่ของเกล็ดเลือด
อาจมีเลือดกำเดาออก เลือดแข็งตัวช้า หูอื้อ เวียนศีรษะ
หากแพ้จะมีอาการบวม ผื่นคัน ผิวหนังลอก อาจเกิดอาการพิษตั้งแต่น้อยจนรุนแรง ได้แก่ หอบ มีเสียงในหู การได้ยินไม่ชัดเจน วิงเวียน สับสน ปวดศีรษะ กระหายน้ำ หายใจเร็ว
GLIZIDE 5 MG. TAB.
ข้อบ่งใช้
ควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับการควบคุมอาหารในผู้ป่วย Non-insulin-dependent diabetes
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
ผู้ที่มีประวัติแพ้ยา หรือผู้ที่มีกรดในเลือดสูง ห้ามใช้
อาการข้างเคียง
-เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
-แพ้ยา มีผื่นคันตามผิวหนัง หรือตุ่มพองและลอก
-คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีการหลั่งกรดเพิ่ม ปวดท้อง
-อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ หรือเกิดคอพอกได้
-มีไข้ ผื่นแดงคล้ำ
ISOTRATE 10 MG. TAB.
ISOSORBIDE DINITRATE 10 MG.TAB.
ข้อบ่งใช้
ใช้บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก (angina) ที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน รวมทั้งใช้รักษา angina pectoris ระยะยาวเพื่อเป็นการป้องกันด้วย
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยา nitries หรือ nitrates โลหิตจางอย่างรุนแรง ความดันโลหิตในกะโหลกศีรษะสูง ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมอง และต้องระมัดระวังในการใช้ยานี้กับหญิงมีครรภ์ มารดาให้นมบุตร
อาการข้างเคียง
ปวดศีรษะ มึนงง อ่อนเพลีย กระสับกระส่ายกับระบบไหลเวียน ใจสั่น ชีพจร ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า กับระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้อาเจียน ผิวแดง ซีด มีผื่นขึ้น
OMEPRAZOLE CAPSULES 20 MG.(GPO)
OMEPRAZOLE 20 MG.CAP.
ข้อบ่งใช้
1.ใช้ป้องกันหรือรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และอาการแสบร้อนกลางอกจากหลอดอาหารอักเสบเนื่องจากกรดไหลย้อน
2.ใช้ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจากภาวะเครียดหรือจากการกินยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
3.ใช้รักษาอาการจุกเสียดท้อง แน่นท้องหลังรับประทานอาหารเนื่องจากอาหารไม่ย่อยและมีกรดมากเกิน
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
1.ห้ามใช้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้หรือ เคยแพ้ส่วนประกอบอื่นในตำรับยานี้หรือยาตัวอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน
2.ระวังการใช้ในผู้ที่มีภาวะตับบกพร่องรุนแรง
อาการข้างเคียง
ยานี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่สำคัญ เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ ปวดหัว
หากมีอาการบวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ผื่นลมพิษ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ให้หยุดยาทันที
XANDASE 10L MG.TAB.
ALLOPURINOL 100 MG.TAB.
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาโรคGout ภาสะ hyperuricemia ทั้งระยะ primary และ secondary เป็นต้น
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
ต้องระวังการใช้ยากับผู้ที่มีความไวต่อยา allopurinol และ ต้องใช้ยานี้ด้วยความระวังระวังกับผู้ป่วยที่มีอาการต้อกระจก โรคตับ และไต
อาการข้างเคียง
อาจเกิดภาวะโลหิตจาง (aplastic anemia) เม็ดเลือดขาวต่ำ (agranulocytosis) มีอาการทางระบบ CNS ปวดหัว
MEPTIN 25 MCG. MINI TAB.
PROCATEROL 25 MCG.TAB.
ข้อบ่งใช้
ขยายหลอดลม รักษาอาการหอบในผู้ป่วยโรคหืด
อาการข้างเคียง
เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ มือสั่น ปวดศีรษะ กล้ามเนื้อเกร็ง
PREDNISOLONE 5 MG.TAB..
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาข้อต่ออักเสบและใช้รักษาอาการแพ้อย่างรุนแรง หอบหืด และความบกพร่องของการสร้าง ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
อาการข้างเคียง
ยามีฤทธิ์กดการทำงานของต่อมหมวกไต ห้ามหยุดยาอย่างทันทีหลังจากใช้เป็นระยะเวลานาน เกิดลักษณะ ของผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์นานๆที่เรียกว่ากลุ่มอาการ Cushing คือ บวม ท้องลาย สิวเม็ดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า สิวสเตียรอยด์ ผิวเข้มขึ้น ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย ขนขึ้นตามตัวติดเชื้อง่ายขึ้น
ยานี้มีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกัน ดังนั้นจึงต้องระวังผู้ป่วยติดเชื้อได้ง่าย
ยานี้จะมีผลข้างเคียงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
ข้อห้ามใช้/ข้อควรระวัง
-ห้ามในผู้ประวัติแพ้ยาเพรดนิโซโลน( Prednisolone) แลกโตส(Lactose) หรือยาอื่น
-ห้ามในผู้ตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร
-ห้ามใช้ในผู้ป่วยCushings syndrome อีสุกอีใส หัด เริม วัณโรคโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ชัก ตับ ไต เบาหวาน
SPIRIVA COMBO PACK
TIOTROPIUM 18 MCG. PACK 30
อาการข้างเคียง
อาจเกิดอาการปากแห้งและวิงเวียนศรีษะ
ปัสสาวะติดขัด
การหายใจอาจแย่ลงอย่างรุนแรง และฉับพลัน หากคุณมีอาการหายใจแย่ลง ควรใช้ยาพ่นบรรเทาอาการฉับพลันและรับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที
ดวงตามีอาการปวด บวม หรือแดง การมองเห็นเปลี่ยนแปลง (เช่น มองเห็นรุ้งรอบๆ แสงในตอนกลางคืน มองเห็นไม่ชัด)
ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ)
ข้อบ่งใช้
ใช้ในการรักษาโรคปอด เช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ หรือถุงลมโป่งพอง จำเป็นต้องใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันอาการหายใจติดขัด ไทโอโทรเปียม โบรไมด์ช่วยในการผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจทำให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
Problem list
โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
Bradycardia
Dyspnea
Wheezing both lungs
โรคGout
Chronic Kidney Disease stage 3
Urine output ออกน้อย
Coronary Angiogram
Pulmonary Hypertension