Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบบริการสุขภาพจิตเเละจิตเวช, จัดทำโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 37, น…
ระบบบริการสุขภาพจิตเเละจิตเวช
หลักการพื้นฐานของการพยาบาลจิตเวช
คุณลักษณะของพยาบาลจิตเวช
1.ต้องรอบรู้ในเรื่องทางสังคมและทฤษฎีทางด้านจิตเวชและจิตวิทยา และต้องมีความรู้ที่มากกว่าผู้ที่ไม่ได้ศึกษาโดยตรง เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วย
2.มีความใจกว้างยอมรับในพฤติกรรมของผู้รับบริการหรือ ผู้ป่วยทางด้านจิต
3.มีความเสมอต้นเสมอปลายทั้งการกระทำและคำพูดเป็นที่ไว้วางใจเป็นที่พึ่งทางด้สนจิตใจของผู้ป่วยและค่อยเป็นที่ปรึกษา
4.สามารถแยกแยะว่าตัวเองเป็นพยาบาลและนั้นคือผู้ป่วยมีความเป็นตัวเองนับถือ,ชื่นชมและเห็นคุณค่าในตัวเอง
เจตคติต่อการเจ็บป่วย
2.มองว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในตนเอง ต้องรู้จักการให้เกียรติกัน
3.พยาบาลต้องควรให้กำลังใจ เข้าใจและทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจและให้ความร่วมมือในการรักษา
1.มองและเชื่อว่าร่างกายกับจิตใจสัมพันธ์กันถ้าร่างกายดีจิตใจก็ดี ถ้าจิตใจไม่ดีร่างกายก็จะไม่ดี
4.มีมุมมองที่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนนั้นมีความต้องการพื้นฐาน ซึ่งพยาบาลนั้นก็ควรใส่ใจในเรื่องความต้องการที่ดีให้กับผู้ป่วย
5.มองการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ พยาบาลนั้นควรระมัดระวังการสื่อสารทั้งคำพูดและท่าทางกับผู้ป่วยและยังต้องเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ป่วย
6.มีมุมมองว่าการรับรู้ความจริงนั้นอาจมีผลต้อความรู้สึกของผู้ป่วยในปัจจุบัน
7.ตระหนักรู้ในตนเอง พยาบาลต้องระมัดระวังความรู้สึกของตนเองซึ่งอาจมีผลต่อผู้ป่วย
8.คนเราต้องเห็นคุณค่าในตนเอง พยาบาลต้องสอนให้ผู้ป่วยรู้จักคุณค่าและอัตมโนทัศน์ในตนเอง
9.พยาบาลต้องมีความเข้าใจความคิด ความรู้สึก อารมณ์ ปฏิกิริยาที่มองพฤติกรรมของผู้ป่วย
10.พยาบาลต้องคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ป่วย
11.พยาบาลต้องคาดการ์ณให้ได้ว่าพฤติกรรมของผู้ป่วยนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร ต้องช่วยเหลืออย่างไร
12.พยาบาลต้องเข้าใจ ความเครียดนั้นเกิดได้ทั้งจากภายในและภายนอกต้องรู้จักยอมรับและเข้าใจ
13.บุคุลนั้นมีการเผชิญกับความเครียดแตกต่างกันมีกลไกการปรับตัวแตกต่างกัน
14.พยาบาลควรเสริมสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยไว้วางใจผู้อื่น
15.พยาบาลควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมการฟิ้นฟูสภาพของผู้ป่วย
16.การเจริญเติบโตและการพัฒนาของมนุษย์มีผลมาจากการซับซ้อนประสบการณ์ชีวิตของแต่บุคคล
17.การเจ็บป่วยอาจมาจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างและมีผลต่อความเจ็บป่วย
18.พยาบาลต้องช่วยประคับประคองด้านอารมณ์และหาทางช่วยและทำให้ผู้ป่วยยอมรับข้อจำกัดภาพลักษณ์ของตนเอง
19.พยาบาลต้องบำบัดเพื่อให่ฃ้ผู้ป่วยกลับสู่สภาวะที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสติปัญญา
20.การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นอิทธิพลจากความร่มมือของผู้ป่วยและครอบครัว
หลักการพยาบาลจิตเวช
1) Patient need to be accepted exactly as they are
ผู้ป่วยต้องการการยอมรับในสภาพที่เขาเป็นอยู่
คือการรับรู้และยอมรับในพฤติกรรมที่ pt แสดงออก
การกระทำ
คำพูด
ความคิด
ยอมรับว่า pt เป็นบุคคลหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิด มีศักดิ์ศรี เหมือนกับคนอื่นๆ
วิธียอมรับ pt โดยการใช้คำพูด (Verbal)
กระตุ้นให้ pt ระบายความรูสึกไม่สบายใจ ความคับข้องใจต่างๆ
การใช้พฤติกรรมแสดงการยอมรับ (Non-Verbal)
การแสดงออกทางสีหน้า สายตา ท่าทีจริงใจ รับฟัง นั่งเป็นเพื่อน ให้ความช่วยเหลือ
2.) Self-unerstanding is uses as a therapeutic tools
ความเข้าใจตนเอง เป็นเครื่องมือในการรักษา
การเข้าใจและรับรู้ในการกระทำ ความคิด และอารมณ์ของตนเอง
พยาบาลต้องใช้ความเข้าใจเป็นเครื่องมือในการรักษาผู้ป่วย เป็นพื้นฐานส่งเสริมความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้อื่น
3.) Consistency can be used to contribute to the patient security
ความสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจ
การปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ทำให้ pt เกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นคง เกิดความไว้วางใจ เชื่อถือในตัว nurse
4.) Reassurance must be given in a suitable and in an acceptable manner
การให้กำลังใจควรทำอย่างเหมาะสมในท่าทีที่ยอมรับผู้ป่วย
เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ต้องเข้าใจความรู้สึกของ pt มีไหวพริบที่จะให้กำลังใจในเวลาที่เหมาะสม และไม่ให้กำลังใจมากไปเพราะจะทำให้หมดคุณค่า
5.) Change in patient behavior through emotional experirience not by rational interpretation
พฤติกรรมptจะเปลี่ยนได้เมื่อptมีประสบการณ์ทางอารมณ์ แต่จะไม่เปลี่ยนด้วยการให้เหตุผล
6.) Avoiding increase in patient anxiety
หลีกเลี่ยงการเพิ่มความวิตกกังวลให้กับผู้ป่วย สร้างความระมัดระวังในการกระทำที่จะไม่ไปสร้างความกระทบกระเทือนใจ pt
7.) Observation of mentally ill patient directed to ward " Why" of behavior
การสังเกตผู้ป่วยด้วยการใช้คำถามกับตนเองว่า "ทำไม" จึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น
8.) Realistic nurse-patient - relationship
สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและพยาบาล ต้องเป็นไปด้วยความจริงใจ และถูกต้องตามแบบของวิชาชีพ
คือจะต้องมีระยะเวลาเริ่มต้น ระยะของการสร้างสัมพันธภาพ และระยะสิ้นสุดสัมพันธภาพ
9.) Nursing care centered on patient as aperson not on control of symptoms
การพยาบาลต้องคำนึงถึงความเป็นบุคคลและปัญหาของผู้ป่วย ไม่ใช่เพื่อการควบคุมอาการของผู้ป่วย และปฏิบัติด้วยความเหมาะสม
10.) Routines and procedures explained at patients level of undderstanding
กิจวัตรประจำวันหรือกิจกรรมต่างๆ ควรอธิบายตามระดับความเข้าใจของผู้ป่วย คำนึงถึงสภาพของความพร้อมของผู้ป่วย ใช้ภาษาง่ายๆ
11.) Verbal and physical force avoided if possible
หลีกเลี่ยงโดยใช้คำพูดหรือกำลังบังคับผู้ป่วยโดยไม่จำเป็น
12.) Many procedures modifiend but basic principle unaltered
วิธีการต่างๆ ในการให้การพยาบาลเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แต่หลักการต้องคงเดิม
ระบบการดูเเลอย่างต่อเนื่อง
ขอบเขตของงานสุขภาพจิตเเละจิตเวชในระบบสาธารณสุขของประเทศไทย
การบูรณาการงานสุขภาพจิตเข้าสู้ระบบบริการสาธารณสุขเเต่ละระดับ (กรมสุขภาพจิต,2552)
สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
3.บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ(Primary Medical Care Level : PMC)
เป็นบริการรักษาพยาบาลระดับเเรกที่ให้บริการโดยบุคลากรสาธารณสุข (ระดับตำบล)
พนักงาน
อนามัย
พยาบาล
นักวิชาการสาธารณสุข
มีเเพทย์เวชปฏิบัติออกตรวจรักษาเป็นระยะ
โดยบริการสุขภาพจิตในระดับปฐมภูมิได้เเก่การคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต
การให้การปรึกษา
การผสมผสานการดูเเลสุขภาพจิตในงานอื่น
เช่นการฝากครรภ์
4.บริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ(Secondary Medical Care Level : SMC)
ดำเนินการโดยโรงพยาบาลชุมชน
ให้บริการรักษาผู้ป่วยนอก วินิจฉัยเเละรักษาโรค จิตเวชที่พบบ่อย ติดตามดูเเลรักษาผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังอย่างต่อเนื่อง
ให้การปรึกษาเเนะนำเเละช่วยเหลือหน่วยบริการสาธารณสุขมูลฐานเเละหน่วยบริการปฐมภูมิ
2.บริการสาธารณสุขมูลฐาน(Primary Health Care Service Level : PHC)
ดำเนินการโดยประชาชนเอง หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่ได้รับการคัดเลือกจากชุมชน
ให้บริการสาธารณสุขมูลฐาน
ให้สุขภาพจิตศึกษา
คัดกรองปัญหาสุขภาพจิต
โรคจิต
ออทิสติก
โรคซึมเศร้า
5.บริการสุขภาพระดับตติยภูมิ(Tertiary Medical Care Level : TMC)
ให้บริการเฉพาะทางโดยผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์คณะเเพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
โดยมีจิตเเพทย์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพให้บริการจิตเวช ครบวงจร
ตรวจประเมิน
วินิจฉัย
บำบัด ฟื้นฟู
ส่งเสริม สนับสนุน
1.การดูเเลสุขภาพด้วยตนเองในระดับครอบครัว
เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพจิตที่ดี
ให้การดูเเลรักษาผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องเเละมีประสิทธิภาพ
ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขในสังคม
เครือข่ายเเละบริการสุขภาพจิตชุมชน
เป้าหมาย
ดูเเลรักษาผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่อง
สนับสนุนให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินอยู่ในชุมชนได้
มีการจัดตั้งชมรมญาติเเละผู้ป่วยจิตเวช
เพื่อให้การช่วยเหลือซึ่งกันเเละกัน
เป็นตัวเเทนในการเรียกร้องสิทธิให้ปุ้ป่วย
ให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหาเเละจัดหาเเหล่งสนับสนุนที่เหมาะสมด้วยตัวเอง
ความร่วมมือของชุมชนเป็นปัจจัยสำคัญเห่งความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรมสุขภาพจิตชุมชน
ลักษณะการจัดบริการสุขภาพจิตเเละจิตเวช
3.บริการจิตเวชฉุกเฉิน (Emergency services)
เป็นบริการตรวจรักษาตลอด 24 ชั่วโมง แก่ผู้ที่มีปัญหาทางจิตที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินหรือตกอยู่ในภาวะวิกฤตและต้องการการช่วยเหลือโดยด่วน
เช่น ผู้ป่วยเอะอะ อาละวาด พยายามจะฆ่าตัวตาย ผู้ติดสารเสพติด มีปัญหาทางจิตเรื้อรังและผู้ป่วยที่มีอาการกำเริบ
4.บริการผู้ป่วยเฉพาะยางเวลา (Partial hospitalization services)
4.1บริการโรงพยาบาลกลางวัน (Day hospital)
คือ ผู้ป่วยจะมาโรงพยาบาลในเวลากลางวันและกลับไปอยู่บ้านในช่วงเวลากลางคืน
4.2 บริการโรงพยาบาลกลางคืน (Night hospital)
คือ การบริการให้ผู้ป่วยอยู่โรงพยาบาลเฉพาะในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันผู้ป่วยสามารถไปปฏิบัติงานหรือทำกิจกรรมได้ตามปกติ ช่วยลดความรู้สึกสูญเสีย ส่งเสริมการใช้ชีวิตแบบไม่พึ่งพิงผู้อื่นมากเกินไป ช่วยให้เห็นคุณค่าของตัวเอง
2.บริการผู้ป่วยนอก (Out-patient services)
เป็นการให้บริการแก่ผู้ป่วยจิตเวชที่ไม่จำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ให้การรักษาแบบระยะสั้นหรือเป็นผู้ป่วยเก่าที่นัดมารับยาหรือต้องการคำแนะนำ
5.บริการให้คำปรึกษาและการศึกษา (Consultation and education services)
โดยบริการให้คำปรึกษา แนะแนว จัดฝึกอบรมเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลากรในหน่วยงานต่างๆในชุมชน ให้มีความรู้ทางสุขภาพติตและจิตเวช และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตส่วนบุคคล ครอบครัวและชุมชน ให้ลดภาวะความเสี่ยงหรือการเผชิญความกดดัน
1.บริการผู้ป่วยใน (In-patient services)
เป็นการให้บริการแก่ผู้ที่มีปัญหาทางจิตที่เกิดขึ้นรุนแรงและจำเป็นต้องรับไว้รักษาที่โรงพยาบาล เพื่อให้การบำบัดรักษาด้วยการให้ยา การทำจิตบำบัดรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
กรมสุขภาพจิตเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบนโยบายเเละยุทศาสตร์ สุขภาพจิตระดับประเทศ
สนับสนุนทางวิชาการเเละเทคโนโลยีเเก่หน่วยบริการสุขภาพในระบบสาธารณสุข
ให้บริการจิตเวชเฉพาะทางในโรงพยาบาล หรือสถาบันจิตเวชศาสตร์
ปัจจุบันกรมสุขภาพประกอบด้วย
โรงพยาบาลจิตเวชเเละสถาบันจิตเวชซาสตร์ทั้งสิ้น 17 เเห่ง
ให้บริการทั้ง
ผู้ป่วยใน
ผู้ป่วยนอก
ผู้ป่วยจิตเวชยุ่งยากซับซ้อน
ฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง
โรงพยาบาลเเละสถาบันจิตที่ให้บริการเฉพาะเด็กเเละวัยรุ่น 4 เเห่ง
สถาบันที่มีความเชี่ยวชาญด้านนิติเวช 1 เเห่ง
บริการอื่นๆ
4.การบริการติดตามผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการจำหน่าย (Follow up care for discharge client)
มีการส่งต่อเครือข่ายในชุมชน
เช่น สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลใกล้บ้านเพื่อให้การดูแลต่อเนื่อง
5.บริการบำบัดรักษาโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ได้รับยาและสารเสพติด (Alcohol and drug abuse and dependence service)
3.การตรวจคัดกรอง (Screening)
ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ให้การรักษาโดยเร็วเพื่อป้องกันการป่วยเรื้อรัวและส่งต่อไปรักษา
6.บริการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ (Training program for health profession)
เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจและวิธีปฏิบัติงานในด้านสุขภาพจิต แก่บุคลากรสาขาวิชชาชีพต่างๆ
2.บริการสุขภาพจิตใจในผู้สูงอายุ (Service of elderly)
ตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุปกติ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิตและพยาธิสภาพของสมอง
7.บริการศึกษาค้นคว้าวิจัยและการประเมินผล (Research and evaluation)
เพื่อหาแนวทางการป้องและส่งเสริมสุขภาพจิตและการจัดบริการสุขภาพที่เหมาะสม
1.บริการสุขภาพจิตเด็ก (Service of children)
ตรวจวินิจฉัย บำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพเด็กที่มีปัญหาทางจิต อารมณ์ พฤติกรรม ความคิดและสติปัญญาบกพร่อง
8.การดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน (Psychiatric home care
เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยต่อเนื่องจากโรงพยาบาลสู่บ้านและสังคม โดยผสมผสานการดูแลบุคคล ครอบครัว และชุมชนในการพึ่งพาตนเอง ดูแลตัวเองในการเผชิญกับปัญหา การปรับตัวเพื่ออาศัยอยู่ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการดูแลต่อเนื่องตลอดชีวิต ส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ การสนับสนุนการช่วยเหลือตนเอง
ลักษณะและขอบเขตงาน 4 มิติ
2) การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตหรือรักษาภาวะทางสุขภาพจิตให้ดี (Prevention or Maintenance of Mental Health)
มนุษย์มีทั้งการเจริญเติบโตการพัฒนาการตามวัย (Growth and Development)
ปัญหาสุขภาพจิตจึงเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย
ปัจจัยที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต
การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
ความรับผิดชอบตามหน้าที่ของบุคคลในสังคม
ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้เกิดความขัดแย้ง ความคับข้องใจ ความเครียด และวิตกกังวลได้
การปฏิบัติการพยาบาล
ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สุขภาพจิตดีอยู่เสมอ
ให้ความรู้ ช่วยเหลือ แนะนำในเรื่อง
การปรับตัว (Adaptation and Adjustment)
การเผชิญปัญหา(Coping)
การลดความวิตกกังวล ลดความเครียด
ช่วยเหลือบุคคลในภาวะวิกฤต
3) การบำบัดรักษา (Therapeutic or Restoration of Mental Health)
เป็นการป้องกันขั้นที่ 2 (Secondary prevention
บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตหากไม่ขจัดให้หมดไปอาจทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคจิต โรคประสาทได้
การปฏิบัติการพยาบาล
ให้คำแนะนำช่วยเหลือให้ได้รับการรักษาทันท่วงที
เพื่อไม่ให้สุขภาพจิตเสื่อมหรือลุกลาม
กิจกรรมทางการพยาบาล เช่น
การสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
การให้ยา
การดูแลทางด้านร่างกาย
เช่น การทำความสะอาดร่างกาย
1.การส่งเสริมสุขภาพจิต (Promotiom of Mental Health)
เป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตขั้นต้น
Primary Prevention
หลักการ
สุขภาพจิตที่ดี เกิดจาก
การได้รับความรัก ความอบอุ่น
จากบิดา มารดา ผู้เลี้ยงดู บุคคลรอบๆตัว
สุขภาพที่ดี
ความไว้วางใจผู้อื่น การแสดงออกที่เหมาะสม
เชื่อมั่นในตนเอง ยอมรับตนเอง
มีความมั่นคงทางด้านจิตใจ
การปฏิบัติการพยาบาล
ให้ความรู้ประชาชนเรื่องสุขภาพจิต
เช่น
ให้ความรู้และคำแนะนำก่อนสมรสในการมีคู่ครองที่เหมาะสม
โรคทางพันธุกรรม
การให้กำเนิดทารกที่บิดามารดามีความพร้อมการเลี้ยงดู
พัฒนาการของบุคคลทุกวัย
ความต้องการและการตอบสนองความต้องการของบุคคล
4) การฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitation of Mental Health)
เป็นการป้องกันขั้นที่ 3 (Tertiaryprevention)
ผู้ป่วยที่เจ็บป่วยทางจิตใจ
จะขาดความสนใจตนเองและสิ่งแวดล้อม
ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
การตัดสินใจไม่ดี
ขาดความสามารถในการเข้าสังคม
ขาดการดูแลช่วยเหลือตนเอง
การปฏิบัติการพยาบาล
ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษา
การบำบัดทางความคิด
การจัดกลุ่มกิจกรรมบำบัด
การรักษาบำบัดอื่นๆ ร่วมกับบุคลากรในทีมจิตเวช
บทบาทพยาบาล
ระดับพื้นฐาน
1) เป็นผู้จัดสรรสิ่งแวดล้อมเพื่อการรักษา คือสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับบุคคล
บุคลากรในทีมพยาบาลทุกคนต้องมีเจคติที่ดีต่อผู้รับบริการ ยอมรับพฤติกรรม ผู้รับบริการ
พยาบาลมีหน้าที่จัดสภาพหอผู้รับบริการให้คล้ายกับบ้าน
คำนึงถึง
สบาย
สะดวก
เป็นสัดส่วน
สวยงาม
ถูกสุขอนามัย
2)เป็นเสมือนตัวแทนของแม่
หน้าที่ในการเลี้ยงดูหรือบำรุงเลี้ยงให้ผู้บริการมีความสุขสบายได้รับอาหารเพียงพอ
คอยดูแลช่วยเหลือผู้รับบริการช่วยตัวเองจนสามารถเป็นตัวของตัวเองได้
คอยดูแลห้ามปรามไม่ให้ผู้รับบริการทะเลาะวิวาทกัน จำกัด พฤติกรรมผู้รับบริการที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
คอยประคับประคอมจิตใจในระยะต้น ๆ ให้เรียนรู้ประสบการณ์ที่ดีต่าง ๆ ให้แสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม
3)เป็นตัวแทนสังคม
ช่วยให้ผู้รับบริการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
จัดกิจกรรมต่าง ๆ
กระตุ้นให้ผู้รับบริการได้แสดงออกซึ่งความสามารถกล้าแสดงตัวอย่างเหมาะสมในสังคม
ได้เคลื่อนไหวออกกำลังกายและเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
4)เป็นผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำ
่รับฟังผู้รับบริการ ให้คำแนะนำช่วยเหลือตามความเหมาะสม
การรับฟังอาจไม่ต้องให้คำแนะนำก็ได้
การที่บุคคลได้มีโอกาสพูด โดยมีบุคคลอื่นรับฟังทำให้เขาได้ระบายความรู้สึกนึกคิด วิตกกังวล เครียด
ผู้รับบริการจะมีความรู้สึกตนเองมีคุณค่าและรู้สึกว่าพยาบาลเอาใจใส่และรู้สึกสบายใจขึ้น
5)เป็นเสมือนครู
่สอนกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน แก่ผู้รับบริการที่ขาดความสนใจตัวเอง
แนะนำการอยู่ร่วมกันในหอผู้รับบริการ สอนการเล่นเกมส์ต่าง ๆ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ
6) ทางการรักษาพยาบาลที่ใช้เทคนิคเฉพาะทางการพยาบาล
การพยาบาลพื้นฐานทุกประเภท
ช่วยแพทย์ทำการรักษาทางร่างกาย
การสังเกตพฤติกรรมและบันทึกเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ทีมการรักษาพยาบาล
เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาพยาบาลถูกต้อง
ระดับสูงหรือระดับผู้เชี่ยวชาญ
1) เป็นที่ปรึกษา มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง
มีหน้าที่ให้คำปรึกษา
แนะแนวแก่บุคคลที่มีปัญหาหรือตกอยู่ในภาวะวิกฤต เพื่อลดความเครียด
2) เป็นผู้ติดต่อให้ความร่วมมือ
การให้การพยาบาลทั่วไป
การให้การช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในแผนกต่าง ๆ
โดยประเมินพฤติกรรมให้การวินิจฉัยและวางแผนการพยาบาลแก่ผู้รับบริการ
3) เป็นผู้บำบัดรักษาเบื้องต้น
คัดกรองผู้รับบริการและให้การบำบัดรักษาเบื้องต้นในชุมชนโรงพยาบาลทั่วไป
โรงพยาบาลจิตเวช ในขั้นต้น
อาจให้คำปรึกษา ให้จิตบำบัดประคับประคองให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ยาลดความวิตกกังวล
4) เป็นผู้นำการบำบัด
สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการเชิงการรักษา
การทำจิตบำบัดประคับประคอง
เป็นผู้ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้รับบริการ
เป็นผู้ให้ความรู้
เป็นผู้นิเทศงานหรือประสานงาน
ดำรงไว้ซึ่งสิทธิของผู้ป่วยและคุณภาพของงานบริการจำเป็นต้องสวมหน้าที่หลายบทบาทในเวลาเดียวกัน
บทบาทของพยาบาล
บทบาทของผู้ร่วมทีมสุขภาพจิต
บทบาทของพลเมืองในสังคม
บทบาทอิสระ กึ่งอิสระ และไม่อิสระ
บทบาทอิสระ
งานที่พยาบาลทำได้โดยตัดสินใจเอง
บทบาทกึ่งอิสระ
งานที่พยาบาลตัดสินใจ ภายใต้กรอบของสหวิชาชีพ
การตัดสินใจให้ยาเมื่อจำเป็น
บทบาทไม่อิสระ
งานที่พยาบาลทำโดยรับคำสั่งจากวิชาชีพอื่น
ให้ยาตามแผนการรักษา
จัดทำโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 37
น.ส.เนตรนภา แก้วระย้า เลขที่ 41
น.ส.พิชามญชุ์ เชิงทวี เลขที่ 59
น.ส.พิมพ์วรา เลิศปัญญาธรรม เลขที่ 60
น.ส.ภัทราภรณ์ สุวรรณชลธาร เลขที่ 68
น.ส.สุภัสสร ดวงเทพ เลขที่ 97
น.ส.อมรรัตน์ ชุ่มสูงเนิน เลขที่ 102