Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจร่างกายทารกแรกเกิดและเด็ก - Coggle Diagram
การตรวจร่างกายทารกแรกเกิดและเด็ก
การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของทารกแรกเกิดและเด็กในระบบต่างๆ
1. ระบบหายใจ (Respiratory system)
ทารกไม่สามารถหายใจโดยใช้อากาศได้ เนื่องจากในระบบหายใจมีน้ําและเลือดไหลเวียน โดยเลือดผ่านจากรกมาปอดจะไหลลัดผ่านช่องทาง
Dustus Arteriosus
Foramen Ovale
Ductus Venosus
การหายใจครั้งแรกจะทําให้ถุงลมปอดขยายตัว ซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) อยู่ ทําให้ถุงลมคงรูปอยู่ได้ และทําให้ปริมาณครึ่งหนึ่งของอากาศจากการหายใจครั้งแรกยังคงอยู่ในปอด
เมื่อทารกร้องทําให้ความดันในปอดเพิ่มขึ้น น้ําในปอดจึงไหล
เข้าสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและระบบน้ําเหลือง
ส่วนมากจะดูดซึมภายใน 2-3 ชั่วโมง และดูดซึมหมดภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
บางรายอาจมีภาวะหายใจเร็วได้ เนื่องจากปอดยังทํางานไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถทําให้ถุงลมคงรูปอยู่ได้ หรือการดูดซึมน้ําในปอดยังไม่ดี
ภาวะผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินหายใจที่พบบ่อย
1) Apnea of prematurity: ภาวะหยุดหายใจ
2) Respiratorydistress(RDS): ภาวะหายใจลําบาก
3) Transient tachypnea of the newborn(TTNB): ภาวะกลุ่มอาการหายใจลําบากชั่วขณะในทารกแรกเกิด
4) Persistent pulmonary of the newborn (PPHN): ภาวะความดันเลือดปอดสูงในทารกแรกเกิด
5) Meconium aspiration syndrome (MAS): ภาวะที่ทารกในครรภ์สูดสําลัก/หายใจเอาขี้เทาที่มีอยู่ในน้ําคร่ำเข้าไปในหลอดลม/ปอด
6) Chronic lung disease(Bronchopulmonary dysplasia; BPD): การผิดปกติของหลอดลม-เนื้อปอด
7) Choanalatresia: ภาวะรูจมูกด้านหลังตัน
8) Pulmonaryinterstitialemphysema: ภาวะถุงลมโป่งพองในปอด
9) Diaphragmatichernia: ไส้เลื่อนกระบังลม
10) Tracheoesophageal fistula (TEF): หลอดลมและหลอดอาหารเชื่อมต่อถึงกัน
2. ระบบเลือดและการไหลเวียนโลหิต (Hematologic and Circulation system)
เมื่อทารกร้องและหายใจครั้งแรกจะทําให้ปอดและหลอดเลือด
ในปอดขยายตัว ความต้านทานของหลอดเลือดในปอดลดลง
Foramen Ovale จะปิด
Ductus Arteriosus หดตัว ทําให้เลือดจาก Ventricle ขวา
ไหลไปปอดได้มากขึ้น และกลับจากปอดในปริมาณท่ีเท่ากัน
ในระยะแรกอาจยังมีการลัดของเลือดผ่าน Ductus Arteriosus ทําให้ฟังเสียงหัวใจได้ยินเสียงฟู่ (Functional Murmur)
เมื่อทารกถูกตัดสายสะดือจะทําให้ไม่มีการไหลเวียนเลือดจากรกไปยังทารก
Dustus Venosus จะค่อยๆฝ่อ
เมื่อทารกร้องไห้หรือมีภาวะเครียดจะเพิ่มความดัน
ของเลือดดําจากหัวใจห้องขวาผ่าน Ductus Arteriosus
ไปด้านซ้ายทําให้ทารกมีอาการเขียวชั่วคราว
ทารกแรกเกิดจะมีปริมาณเลือดในร่างกาย 80-85 มิลลิลิตร ซึ่งเม็ดเลือดแดงของทารกแรกเกิดจะมีอายุประมาณ 80-100 วัน
ความพิการของหัวใจแต่กําเนิด
เลือดไหลมาท่ีปอดเพิ่มมากขึ้น เช่น ASD, VSD, PDA
เลือดไหลมาปอดน้อยลง เช่น TOF, Tricuspid atresia
อุดกั้นการไหลเวียนเลือด เช่น COA, AS, PS
เลือดไหลปนกัน เช่น TGA, TGV
3. การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย (Thermoregulation)
ทารกแรกเกิดมีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ง่าย
พื้นที่ผิวของร่างกายกว้างเมื่อเทียบกับน้ําหนักตัว
มีไขมันใต้ผิวหนัง (Subcutaneous or white fat) น้อย
มีกลไกการสร้างความร้อนแตกต่างจากผู้ใหญ่
แหล่งสร้างความร้อนของทารกอยู่ที่หัวใจ ตับและสมอง และไขมันสีน้ําตาล (Brown fat) ที่เป็นแหล่งผลิตความร้อน บริเวณรอบๆกระดูกสะบัก คอ รักแร้ ด้านหลังกระดูกสันอก หลอดลมคอ หลอดอาหาร หลอดเลือดใหญ่ ไตและต่อมหมวกไต
ทารกในครรภ์มารดาจะเริ่มสร้างไขมันสีน้ําตาล เมื่ออายุครรภ์ 26-30 สัปดาห์จนถึงครบกําหนด และมีอายุหลังคลอดประมาณ 2-5 สัปดาห์
ภาวะผิดปกติที่พบได้ในทารกที่มีอุณหภูมิกายต่ำ
1) ภาวะหยุดหายใจ (Apnea)
2) น้ําหนักตัวคงที่หรือลดลงจากการเผาผลาญพลังงาน
4. ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)
ทารกแรกเกิดมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะน้ําตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานมากขึ้นและมีกลูโคสเก็บสะสมไว้น้อย
ภาวะผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อยในทารก
1) ภาวะพร่องไทรอยด์แต่กําเนิด (congenital hypothyroidism): ภาวะท่ีร่างกายสร้าง thyroid hormone ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายตั้งแต่แรกเกิด
2) ภาวะ phenylketonuria (PKU): ภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยสลาย
Amino phenyl acid หรือ Ketonuria เป็นโรคทางพันธุกรรม
3) Galactosemia: ภาวะที่มีน้ำตาลกาแล็กโทสในเลือดสูงกว่าปกติ
เนื่องจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม
4) Infants of Diabetic Mothers (IDMS): โรคเบาหวานมารดาทารก
5) ภาวะน้ําตาลในเลือดต่ำเฉียบพลัน (Acute hypoglycemia)
5. สารน้ําและสมดุลอิเลคโตรไลท์ และระบบทางเดินอาหาร
(Fluid and electrolyte balance and Gastrointestinal system)
ทารกแรกเกิดมีปริมาณน้ำในร่างกายร้อยละ 73
และมีสัดส่วนของน้ำนอกเซลล์มากกว่าในผู้ใหญ่
โซเดียมและคลอไรต์สูง แต่มีโพแทสเซียม แมกนีเซียม และฟอสเฟตต่ำ
มีอัตราการแลกเปลี่ยนสารน้ํามากกว่าผู้ใหญ่ 7 เท่า อัตราการเผาผลาญสารอาหารเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับ
น้ําหนักตัว จึงมีการสะสมของกรดเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่ขาดเอนไชน์อะมิเลดจากตับอ่อนในการย่อย polysaccharides และขาดเอนไซน์ย่อยไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวซึ่งเป็นส่วนประกอบในนมวัว
ตับ
ยังเจริญไม่สมบูรณ์ ทําให้ผลิต glucoronyl transferase enzyme ได้น้อย ซึ่งมีผลต่อการจับระหว่าง glucuronic acid และ bilirubin ทําให้ทารกแรกเกิดมีอาการตัวเหลืองบ่อย
สร้างโปรตีนในพลาสมาได้น้อย ทําให้ทารกมีอาการบวม
และสะสม glycogen น้อย จึงเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ําตาลในเลือดต่ำ
กระเพาะอาหารมีความจุเท่ากับ 90 มิลลิลิตร จึงรับอาหารได้น้อย
ลําไส้เล็กยาวกว่าผู้ใหญ่ จึงดูดซึมได้มากกว่าผู้ใหญ่
ลําไส้ใหญ่มีความจุน้อย
ลักษณะอุจจาระของทารกแรกเกิดภายใน 24-48 ชั่วโมง จะเป็นขี้เทา (Meconium)
ในช่วงแรกประกอบไปด้วยน้ําและสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินอาหาร
น้ําดี กรดน้ําดี น้ําย่อยจากตับอ่อน เยื่อบุผิว ไขเคลือบตัว ขนอ่อน
เลือด เซลล์ที่ตายแล้ว และน้ําคร่ำที่ทารกกลืนเข้าไป
หลังจากนั้นอุจจาระจะเปลี่ยนไปตามชนิดของนมที่กิน
นมมารดาจะพบว่าอุจจาระมีลักษณะสีเหลืองจัด
มีกลิ่นคล้ายนมเปรี้ยว และถ่ายบ่อยถึง 10 ครั้งต่อวัน
นมผสม อุจจาระมีสีเหลืองซีดถึงน้ําตาลอ่อน ค่อนข้างแข็ง
กลิ่นแรง และถ่ายวันละประมาณ 1-2 ครั้ง
หูรูดหลอดอาหารไม่ดีทําให้ไหลย้อนกลับของอาหารได้
ภาวะผิดปกติของทางเดินอาหาร ที่พบได้บ่อย
1) Diaphragmatic hernia; ภาวะไส้เลื่อนกระบังลม
2) Omphalocele; ความผิดปกติของผนังหน้าท้อง
3) Congenital megacolon; ภาวะลําไส้โป่งพอง
4) Jejunal atresia; ภาวะลําไส้เล็กตีบตัน
6. ระบบไต (Renal system)
ถ่ายปัสสาวะภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ไม่เข้มข้น เนื่องจากไตยังทํางานได้ไม่สมบูรณ์
ปริมาณปัสสาวะของทารกในปลายสัปดาห์แรกจะมีประมาณ
200- 300 มิลลิลิตรต่อวัน ทารกถ่ายปัสสาวะอย่างน้อย 6 ครั้งต่อวัน
7. ระบบภูมิคุ้มกัน (Immunologic system)
ภูมิคุ้มกันที่สำคัญสำหรับทารกแรกเกิด
1) IgG (Immunoglobulin G) เป็นภูมิคุ้มกันที่ผ่านรกได้และได้รับตั้งแต่มารดาตั้งครรภ์ไตรมาสแรกหลังจากนั้นเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสที่สาม
มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ทารกแรกเกิด
จะมีปริมาณ IgG ใกล้เคียงกับมารดา และหมดใน 6 - 8 เดือน
2) IgM (Immunoglobulin M) เป็นภูมิคุ้มกันชนิดแรกที่ร่างกายสร้างได้เอง เริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และเริ่มมากขึ้นหลังเกิด 2-3 วัน และจะมีปริมาณใกล้เคียงผู้ใหญ่เมื่ออายุ 1 ปี มีคุณสมบัติต้านแบคทีเรียแกรมลบ
3) IgA (ImmunoglobulinA) เป็นภูมิคุ้มกันที่ผ่านรกไม่ได้ แต่มีในนมแม่ส่วนนมเหลือง (Colostrum)
ทารกแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าเด็กโต จึงเกิดติดเชื้อได้ง่ายกว่า เนื่องจากเม็ดเลือดขาวจะตอบสนองได้ช้ากว่าผู้ใหญ่
8. ระบบประสาท (neurologic system)
ระบบประสาทของทารกยังเจริญไม่สมบูรณ์
จึงทําหน้าที่เกี่ยวกับรีเฟลกพื้นฐาน (Primitive reflex)
ระบบประสาทอัตโนมัติทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจครั้งแรก
รักษาสมดุลกรดด่าง และการควบคุมอุณหภูมิกาย
ประสาทรับความรู้สึกของทารกแรกเกิด
1) การได้ยิน ทารกได้ยินและสามารถตอบสนองโดยการหันหน้าหาเสียงได้
2) การรับรส ทารกสามารถจําแนกรสหวานและเปรี้ยวได้ เมื่ออายุ 72 ชั่วโมง
3) การรับกลิ่น ทารกสามารถจําแนกกลิ่นนมแม่ได้
4) การรับสัมผัส ทารกไวต่อความเจ็บปวดและตอบสนองต่อการสัมผัส
5) การมองเห็น ทารกมองเห็นวัตถรุะยะใกล้ 10-12 นิ้ว
และมองตามวัตถุในแนวกลางหรือห่างออกไป
ลักษณะสําคัญและสภาวะบกพร่องของ
ทารกเกิดก่อนกําหนดของทารกแรกเกิด
ลักษณะของทารกเกิดก่อนกําหนด
1) ลักษณะทั่วไป ง่วงหลับอยู่เสมอ เคลื่อนไหวช้า ร้องเสียงเบาหายใจไม่สม่ำเสมอ
2) สัดส่วน (Bodyproportion) มีรูปร่างเล็กศีรษะมีขนาดใหญ่เทียบกับขนาดลําตัวความยาวของลําตัวไม่เกิน 47 เซนติเมตร
3) น้ําหนักตัวขึ้นอยู่กับอายุครรภ์โดยทั่วไปมีน้ําหนักตัวไม่เกิน2,500กรัม
4) มีไขเคลือบตัวมีน้อย
5) ผิวหนังบางแดง เห็นเส้นเลือดได้ง่ายที่ต้นแขนและหน้าผาก มือเท้าดูบวม มีเล็บอ่อน ซึ่งงอกยังไม่ถึงปลายนิ้ว
6) มีขนอ่อน (Lanugo) ตามตัวโดยเฉพาะที่หน้าผากไหล่และต้นแขนผมสั้นยุ่งเป็นปุย
7) ใบหูอ่อนนุ่ม งอพับได้ เนื่องจากมีกระดูกอ่อนน้อย
8) หัวนมแบนราบ
9) อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะมีรอยย่นน้อย ลูกอัณฑะมีขนาดเล็กอาจยังอยู่ในช่องท้องหรือในขาหนีบหรือในถุงอัณฑะตอนบน ส่วนเพศหญิงจะเห็น Clitoris ชัดเจนเนื่องจาก Labia majora ยังปิด Labia minora ไม่มิด
10) เส้นลายฝ่าเท้ามีเพียง 1 - 2 ร่อง เริ่มเห็นได้ชัดเจนที่ฝ่าเท้าด้านหน้าหรือปลายนิ้วเท้าและมีจํานวนมากเมื่ออายุ 36 สัปดาห์ขึ้นไป
11) กําลังของกล้ามเนื้อมีน้อย มักจะนอนเหยียดแขนขาหรืองอเพียงเล็กน้อย
12) รีเฟลกซ์ไม่มีหรือมีน้อย เกี่ยวกับการดูด การกลืน การจาม การไอ และอาการแสดงทางระบบประสาทอื่นๆ
13) ทรวงอกอ่อนนุ่ม เนื้อเยื่อปอดเจริญไม่สมบูรณ์ และศูนย์ควบคุมการหายใจยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ทำให้ขณะหายใจ
จึงมักถูกดึงรั้งให้บุ๋ม (Retraction) ตามแนวของกระบังลมได้ง่ายและมีการหายใจไม่สม่ำเสมอ (Periodic breathing) ได้
14) การทํางานของระบบต่างๆไม่สมบูรณ์ เช่น การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ระดับปกติ ความสามารถ
ในการทําหน้าที่ของไตมีจํากัด และระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะทําหน้าที่ได้ไม่ดี ทําให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
สภาวะบกพร่องของทารกเกิดก่อนกําหนด
1) ระบบหายใจ (Pulmonary system)
ถุงลมที่อยู่ในปอดทารกชนิด TypeIIalveolarepitheliumcells จะสร้างสารลดแรงตึงผิว (surfactant)ช่วยให้ถุงลมไม่แพบติดกันขณะหายใจออก เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์ และทารกจะมีสารลดแรงตึงผิวเพียงพอ (สําหรับการหายใจได้เองเมื่อแรกเกิด) เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 35 สัปดาห์ โดยจะหลั่งเข้าสู่ถุงลมปอดเมื่ออายุครรภ์ใกล้ครบกําหนด
ทารกคลอดก่อนอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ จะทําให้ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับถุงลมแฟบได้ง่าย และกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจยังไม่แข็งแรง ผนังทรวงอกอ่อนตัว ทารกมักจะหายใจ
ไม่สม่ำเสมอ เกิดภาวะปอดแฟบ มีภาวะหายใจลําบาก (Respiratory Distress Syndrome : RDS) ภาวะหยุดหายใจในทารกเกิดก่อนกําหนด (Apnea of Prematurely : AOP) และการหายใจไม่สม่ำเสมอ เป็นลักษณะหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ (Periodic breathing)
2) ระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular system)
กล้ามเนื้อหัวใจยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และยังต้องปรับตัวเปลี่ยนจากทํางานของระบบหัวใจและหลอดเลือดตอนเป็นทารกในครรภ์มาหายใจเองด้วยปอดหลังคลอด
มีความดันเลือดค่อนข้างต่ำ เนื่องจากยังหายใจเองได้ไม่ดี เลือดและออกซิเจนจึงไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆได้ค่อนข้างน้อย และหากทารกมีภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอด (Asphyxia) จะทําให้เกิดภาวะขาดเลือดและออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น
3) การควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย (Thermoregulatory control)
ทารกเกิดก่อนกําหนดมีโอกาสสูญเสียความร้อนได้ง่ายกว่าทารกครบกําหนด เนื่องจากไขมันใต้ผิวหนังจะเริ่มสะสมไขมันอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ มีไขมันสีน้ําตาล (brown fat) และ Glycogen น้อย มีผิวหนังบาง มีพื้นที่ผิวกายต่อน้ําหนักตัวค่อนข้างมาก และความสามารถ
ในการสร้างความร้อนให้กับร่างกายโดยการหดตัวและสั่นของกล้ามเนื้อไม่ดี
4) ระบบทางเดินอาหารและการย่อยอาหาร (Digestive system)
อวัยวะของระบบทางเดินอาหารและการย่อยยังพัฒนาไม่เต็มที่ กระเพาะอาหารมีขนาดเล็ก น้ําย่อยที่จะย่อยไขมันมีน้อย ทําให้มีการดูดซึมไวตามินดีและไวตามินที่ละลายในไขมันอื่นไม่ดี การดูดและกลืนยังไม่สัมพันธ์กันในทารกที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32-34 สัปดาห์ และมีพลังงานสะสมน้อย จึงอาจทําให้พบปัญหาการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอได้
5) ระบบประสาท (Nervous system)
การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นช้า รีเฟล็กซ์ เช่น การดูด (Sucking reflex) การกลืน (Swallowing reflex) และ Gag reflex ทํางานไม่ดี
จึงมีปัญหาการสําลักได้ง่าย รีเฟล็กซ์การไอ (Cough reflex) มีน้อย
ศูนย์การควบคุมหายใจ อุณหภูมิและสัญญาณชีพอื่นในสมองยังพัฒนาไม่เต็มที่
เส้นเลือดในสมองเปราะแตกง่าย ทําให้มีโอกาสเกิด Intraventricular Hemorrhage (IVH) ได้ง่าย
6) ระบบไต (Renal function)
การทํางานของ Glomerular และ tubular พัฒนาไม่เต็มที่ ทําให้มีการขับเกลือแร่ไม่ดี
มีการขับโซเดียมเกิน ทําให้เกิดโซเดียมในเลือดต่ำไม่สามารถขับน้ําได้ดีเมื่อมีภาวะน้ําเกิน ทําให้มีอาการบวมง่าย
เมื่อได้รับน้ําน้อย ความสามารถในการดึงน้ําจากปัสสาวะ
ก็ทําได้ไม่ดี จึงทําให้ขาดน้ําง่ายด้วย
7) ระบบโลหิต (Hematology)
เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นและทารกส่วนใหญ่มีการแตกทำลายของเม็ดเลือดแดงมากกว่าการสร้าง จึงมักพบภาวะซีดหรือเหลือง และสารที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวยังสร้างไม่ได้เต็มที่ ทำให้เด็กแรกเกิดอาการเลือดออกง่าย
8) การทํางานของตับและระบบเมตาบอลิซึม (Liver function and metabolism)
ตับยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทําให้การทํางานยังไม่ดี จึงทําให้เอนไซด์ที่อยู่ในตับมีปัญหา Bilirubin ในเลือดสูงได้ง่าย และ Glycogen สะสมไว้น้อย
การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ แต่มีความต้องการพลังงานมาก ทําให้เกิดน้ําตาลในเลือดต่ำง่าย (Hypoglycemia) มี Vitamin K สะสมน้อย
9) ระบบภูมิต้านทาน (Immunology)
การทํางานของเม็ดเลือดขาวไม่ดี มี lgG น้อย เนื่องจาก lgG จะผ่านรกจากมารดามาสู่เด็กในไตรมาสที่ 3
ของการตั้งครรภ์ ส่วน lgA ทารกได้จากน้ํานมเหลือง ระบบภูมิต้านทานทํางานไม่ดี ทารกจึงตดิ เชื้อได้ง่าย
10) ปัญหาทางด้านจิตใจ (Psychological problem)
ทารกเกิดก่อนกําหนดต้องอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ทําให้ต้องแยกจากบิดามารดา ส่งผลให้เกิดความเครียดทั้งทารกและครอบครัว เนื่องจากบิดามารดาไม่สามารถแสดงบทบาทได้เต็มที่ มีความวิตกกังวลและซึมเศร้าได้
แนวทางการรวบรวมข้อมลูที่เกี่ยวข้องกับ
ประเมินภาวะสุขภาพทารกแรกเกิดและเด็ก
ฐานข้อมูลที่สําคัญคือประวัติสุขภาพ
คําบอกเล่าของพ่อแม่หรือผู้ทําคลอด
รายงานต่างๆ เช่น บันทึกการฝากครรภ์ รายงานการคลอด
บันทึกหลังคลอด (Postpartum record) และสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก
หลักการตรวจประเมินร่างกายทารกแรกเกิดและเด็ก
การประเมินสภาพร่างกายด้วยวิธีการต่างๆ
การตรวจประเมินภาวะสุขภาพของทารกสามารถทําได้ตั้งแต่วินาทีแรกของการเกิดจะช่วยให้ทราบสภาวะของทารกเมื่อแรกเกิด ความสมบูรณ์แข็งแรงของทารกหลัง
คลอด ความผิดปกติต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาหรือเกิดขึ้นหลัง
คลอด และยังสามารถใช้ทำนายอายุในครรภ์ของทารกรายนั้นได้อีกด้วย
การตรวจร่างกาย
3 การคลํา (Palpation) ด้วยการใช้ปลายนิ้วสัมผัสไปตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ
การคลําท้อง ตับ Femoral และ brachial pulse ควรทำในขณะที่ทารกหลับตื้นๆ หรือตื่น และเคลื่อนไหวเล็กน้อยเนื่องจากถ้าทารกร้องไห้อาจทำให้ตัวได้ยากขึ้น
4 การเคาะด้วยมือ (Percussion)
นิยมใช้สองมือ (Bimanualpercussion) ด้วยการวางนิ้วกลางของมือข้างหนึ่งบนตําแหน่งที่เคาะ เน้นให้กระดูกนิ่วมือท่อนกลาง (Middle phalanx) แนบสนิทกับผิวหนัง แล้วใช้ปลายนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งเคาะตรวจ โดยขยับแต่ข้อมือขึ้นลง ควรเคาะด้วยแรงและจังหวะที่สม่ำเสมอ ตําแหน่งละสองครั้งจนทั่วบริเวณ
1 การดูด้วยตา(Inspection)
2.หลังจากนั้นจึงถอดเสื้อผ้าทารกออกให้หมด และประเมินสีผิว ขนาด สัดส่วนของร่างกาย ภาวะโภชนาการ การหายใจ และการเคลื่อนไหวของศีรษะ ใบหน้า แขนและขา แล้วจึงตรวจละเอียดทีละระบบจนครบ
อาจใช้เครื่องมือช่วยในบางระบบ เช่นไฟฉาย ไม้กดลิ้น Otoscope ตรวจหู หรือ Ophthalmoscope ตรวจตา
สํารวจดูทั่วตัวด้วยตาเปล่า ในที่มีแสงสว่างเพียงพอ ตั้งแต่ท่าของทารกขณะนอนอยู่ โดยไม่รบกวนทารก
2 การฟังเสียง (Auscultation) โดยใช้ Stethoscope
ใช้หูฟัง (Stethoscope) ช่วยในบริเวณที่มีเสียงเบาๆเช่น การฟังปอด หัวใจ และท้อง
ด้าน Diaphragm มีลักษณะแบนราบ ใช้ฟังเสียงที่มีระดับสูง (High
pitch sounds) เช่น เสียงหายใจ เสียงลําไส้หรือเสียงหัวใจผิดปกติ
ด้าน Bell มีลักษณะกลวงและลึกใช้ฟังเสียงที่มีระดับต่ำ (Low pitch sounds) เช่นเสียงหัวใจที่เต้นผิดปกติ
ฟังโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วย เพื่อประเมินคร่าวๆ
การตรวจรีเฟลกซ์และการวัดร่างกาย
การตรวจร่างกายทารกแรกเกิดควรดําเนินไปตามขั้นตอนจากศีรษะถึงเท้าทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ในสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เงียบสงบ อุณหภูมิพอเหมาะ
เมื่อจําเป็นต้องถอดเสื้อผ้าทารกออก ควรวางทารกไว้ใต้เครื่องที่ให้ความอบอุ่นด้วยการแผ่รังสี (Radiant warmer) เพื่อให้ตรวจได้สะดวกและป้องกันการเกิดภาวะอุณหภูมิกายต่ำ
เวลาที่เหมาะสมในการตรวจควรเป็นหลังเกิดอย่างน้อย 30 นาทีไปแล้ว หรือหลังจากทารกกินนมไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง
ข้อสะโพกและการวัดร่างกาย ควรตรวจเป็นลําดับสุดท้าย เนื่องจากจะทําให้ทารกร้องไห้ได้
การซักประวัติ
ซักประวัติมารดาเกี่ยวกับประวัติการฝากครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในการตั้งครรภ์ การคลอด เช่น ระยะเวลาคลอด วิธีการคลอด อาการทารกขณะคลอด การเริ่มแสดงอาการเจ็บป่วยของทารก การเจ็บป่วยของบุตรคนก่อน สภาวะสุขภาพและการเจ็บป่วยของมารดา การใช้ยาต่างๆที่อาจมีผลต่อสุขภาพของทารก
วิธีการตรวจร่างกายทารกแรกเกิดและเด็กในระบบต่างๆ
การประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิด
1) การประเมินความต้องการช่วยชีวิต
ประเมินด้วยวิธีการให้คะแนนแอปการ์ (APGAR Score) จะช่วยให้พยาบาลทราบถึงการปรับตัวของทารกต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกทันทีหลังเกิด ซึ่งจะประเมินลักษณะ 5 อย่าง คือ สีผิว อัตราการเต้นของหัวใจ สีหน้าจากการถูกกระตุ้น การเคลื่อนไหวของร่างกาย และการหายใจ โดยแต่ละหัวข้อมีคะแนน 0, 1 หรือ 2 โดยประเมินเมื่อนาที่ที่ 1 และนาทีที่ 5หลังทารกเกิด หรือประเมินไปจนกว่าทารกจะมีอาการปกติ
อาการของทารกตามผลรวมคะแนนแอปการ์หลังเกิดในนาทีที่ 1
0-3 มีภาวะหายใจลําบากรุนแรง
4-6 มีภาวะหายใจลําบากปานกลาง
7-10 มีภาวะหายใจลําบากเล็กน้อย หรือไม่มี หรือเป็นทารกที่มีสุขภาพสมบูรณ์
ถ้าได้คะแนนน้อยกว่านี้ไม่ได้หมายความว่าทารกจะไม่แข็งแรงหรือผิดปกติ ควรแปลผลว่าทารกเหล่านี้ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
อาการของทารกที่ได้รับการประเมินคะแนนแอปการ์หลังเกิดในนาทีที่ 5
โดยทั่วไปคะแนนมักจะสูงขึ้นหรือมากกว่า 7
ทารกที่ยังคงมีผลคะแนน Apgar น้อยอยู่แสดงว่าทารกรายนั้น
อาจเสี่ยงต่อมีภาวะหายใจลําบาก หรือเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
ในบางโรงพยาบาลอาจประเมินครั้งที่ 3 เมื่อนาทีที่ 10 ด้วย
2) การประเมินร่างกายตามระบบ (Systemic Physical examination)
สัญญาณชีพ
อุณหภูมิ ควรอยู่ระหว่าง 36.5 – 37.5 ° C
ชีพจร 120-160ครั้งต่อนาที
การหายใจ 30-60 ครั้งต่อนาที หยุดหายใจได้แต่ไม่เกิน 20 วินาที
ความดันโลหิต 78/42 มิลลิเมตรปรอท
General appearance
Color, Respiratory effort, Tone/neuromuscular, Skin, Head, Eyes, Ears, Nose, Mouth and Throat, Neck, Chest, Heart, Abdomen, Umbilicus, Extremities, Genitalia, male, Back
การตอบสนองของทารกต่อการตรวจ
ระดับความตื่นตัวของทารกสามารถแบ่งได้เป็นช่วงหลับ 2 ระยะ และตื่น 4 ระยะ
หลับสนิท (Deep sleep) ทารกนอนหลับนิ่ง หายใจสม่ำเสมอและสีหน้าไม่เปลี่ยนแปลง
หลับตื้นๆ (Light sleep) ทารกหลับตาแต่มีลูกตาเคลื่อนไหวใต้เปลือกตาบางช่วง หรือมีการขยับแขนขานานๆครั้ง และหายใจแบบหยุดหายใจเป็นช่วงๆ
ตื่นแต่ยังไม่เต็มที่ (Drowsy) ทารกอยู่ระหว่างระยะหลับกับระยะตื่น ถ้าลืมตาจะลืมตามองแบบไร้จุดหมาย เคลื่อนไหวแขนขาช้า มีสะดุ้งผวา เมื่อกระตุ้นเบาๆ จะตื่น
ตื่นและเคลื่อนไหวเล็กน้อย (Awake, Light peripheral movements) ทารกจะตื่นตัวแสดงความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสงบ
ตื่นและร้อง (Awake and Crying) ทารกตื่นเต็มที่ แสดงอาการไม่พอใจถ้าไม่ได้รับการปลอบโยน
3) การประเมินอายุครรภ์ (Gestational age assessment)
วิธีการประเมินอายุครรภ์ทารก
การวัดขนาดมดลูกมารดาขณะตั้งครรภ์ การประเมินวิธีนี้อาจได้ผลไม่แน่นอนเนื่องจากต้องได้รับการประเมินเมื่อตั้งครรภ์
การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ โดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระดูก Biparietal dimeter (BPD), การวัด Head circumference (HC), abdominal circumference, Crown-lump length, ความยาวของกระดูกขา (femoral length) ถ้าตรวจด้วยอัลตราซาวด์ในช่วงอายุ 12 สัปดาห์ จะมีความแม่นยําถูกต้อง +/- ประมาณ 5 วัน
การตรวจร่างกายหลังคลอด วิธีที่นิยมได้แก่ วิธีของบาลลาร์ด (Ballard) ดัดแปลงมาจาก
วิธีของดูโบวิทซ์ (Dubowitz) ซึ่งใช้การประเมินลักษณะภายนอกร่วมกับการประเมินทางระบบประสาทของทารกหลังเกิด 6 อย่างสามารถประเมินอายุครรภ์ของทารกได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งการประเมินจะแม่นยําถ้าประเมินทารกภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด หรืออย่างช้า
ไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์หลังคลอด ผลที่ได้จะสามารถบอกอายุครรภ์ได้ใกล้เคียง + 2 สัปดาห์
จากการซักประวัติมารดา โดยการซักประวัติประจําเดือนครั้งสุดท้าย แต่การประเมินโดยวิธีนี้ถูกต้องเพียง
ร้อยละ 80 เนื่องจากบางครั้งมารดาอาจจําประวัติประจําเดือนคลาดเคลื่อน ทําให้ไม่สามารถประเมินอายุครรภ์
ของที่ถูกต้องของทารกได้ ทําให้ทารกบางคนได้รับการประเมินว่ามีน้ําหนักตัวไม่เหมาะสมกับอายุครรภ์
การจําแนกทารกแรกเกิดจากการประเมินอายุครรภ์
จําแนกตามอายุครรภ์ (โดยไม่คํานึงถึงน้ําหนักแรกเกิด)
1.1 ทารกคลอดครบกําหนด (Full term infant) หมายถึงทารกที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์เต็มถงึ น้อยกว่า 42 สัปดาห์เต็ม (259-293 วัน)
1.2 ทารกเกิดก่อนกําหนด (Preterm infant; premature) หมายถึงทารกที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์เต็ม (น้อยกว่า 259 วัน)
1.3 ทารกเกินกําหนด (Post-term infant) หมายถึงทารกที่มีอายุครรภ์ 42 สัปดาห์เต็มขึ้นไป (มากกว่า 294 วัน)
จําแนกตามน้ําหนักแรกเกิด (โดยไม่คํานึงถึงอายุครรภ์)
2.1 ทารกแรกเกิดน้ําหนักปกติ (Full Birth Weight; FBW) หมายถึงทารกที่มีน้ําหนักแรกคลอดมากกว่า 2,500 กรัม
2.2 ทารกแรกเกิดน้ําหนักน้อย (Low Birth Weight; LBW) หมายถึงทารกที่มีน้ําหนักแรกคลอดเท่ากับหรือน้อยกว่า 2,500 กรัม
2.3 ทารกแรกเกิดน้ําหนักน้อยมาก (Very Low birth Weight; VLBW) หมายถึงทารกที่มีน้ําหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,500 กรัม
2.4 ทารกแรกเกิดน้ําหนักน้อยมาก (Very Very Low Birth Weight; VVLBW)
หมายถึงทารกที่มีน้ําหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,000 กรัม
จําแนกตามน้ําหนักตัวและอายุครรภ์
3.1 ทารกที่น้ําหนักตัวเหมาะสมกับอายุครรภ์ (Appropriate for Gestational Age; AGA) หมายถึงทารกที่มีน้ําหนักตัวแรกเกิดเหมาะสมกับอายุครรภ์ คือ ระหว่างเปอร์เซนไตล์ที่ 10-90
3.2 ทารกน้ําหนักตัวน้อยกว่าอายุครรภ์ (Small for Gestational Age; SGA) หมายถึงทารกที่มีน้ําหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 10 เปอร์เซนต์ไทล์ของน้ําหนักปกติ ที่อายุครรภ์นั้นๆ
3.3 ทารกน้ําหนักตัวมากกว่าอายุครรภ์ (Large for Gestational Age; LGA) หมายถึงทารกที่มีน้ําหนักตัวแรกเกิดมากกว่า 90 เปอร์เซนต์ไทล์ของน้ําหนักปกติ ที่อายุครรภ์นั้นๆ
ความผิดปกติที่พบ
ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด (PerinatalAsphyxia)
ภาวะสูดสําลักขี้เทา (Meconium Aspiration Syndrome)
ภาวะหยุดหายใจ (Apnea)
กลุ่มอาการหายใจลําบาก (RespiratoryDistressSyndrome)
ภาวะบิลิรูบินในเลือดสูง (Hyperbilirubinemia)
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)
ภาวะน้ําตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)
ภาวะลําไส้เน่าเปื่อย (Necrotizing Enterocolitis)
ภาวะปอดเรื้อรัง (Bronchopulmonarydysplasia)
ภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ (Cleft lip and cleft palate)
ภาวะที่มีทางติดต่อระหว่างหลอดลมและหลอดอาหาร (Tracheoesophageal fistula)
ความพิการของผนังหน้าท้องแต่กําเนิด (Omphalocele, Gastroschisis)
ภาวะไส้เลื่อนกระบังลม (Diaphragmatic hernia
ภาวะรูเปิดปัสสาวะผิดที่ (Hypospadias)
ภาวะรูทวารหนักไม่มีช่องเปิด (Imperforate anus)
ความผิดปกติของโครโมโซมและโรคทางพันธุกรรม (Down syndrome)
อื่นๆ (ข้อติด พังผืด ขาดสารอาหาร)