Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขภาพวัยผู้ใหญ่อย่างต่อเนื่องที่บ้านและในชุมชน - Coggle Diagram
การดูแลสุขภาพวัยผู้ใหญ่อย่างต่อเนื่องที่บ้านและในชุมชน
การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
เป็นการปฏิบัติตนที่ส่งผลให้เกิดสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและทางจิตใจให้มีสภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงมีการเจริญเติบโตอย่างเหมาะสมและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ
วัยผู้ใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ
1.วัยผู้ใหญ่ตอนต้นหรือวัยหนุ่มสาว อายุ 20-25 ปีถึง 40 ปีวัยนี้พัฒนาการเต็มที่ของร่างกายวุฒิภาวะทางจิตใจอารมณ์พร้อมที่จะมีบทบาทที่จะเลือกแนวทางการดำเนินชีวิตของตนในเรื่องอาชีพคู่ครอง
2 วัยผู้ใหญ่ตอนกลางหรือวัยกลางคน อายุ 40 ปีถึง 60-65 ปีเป็นวัยที่ได้ผ่านชีวิตครอบครัวและชีวิตการงานมาระยะหนึ่งมีความมั่นคงและสำเร็จในชีวิต
3 วัยผู้ใหญ่ตอนปลายหรือวัยสูงอายุ อายุ 60 ถึง 65 ปีขึ้นไปเป็นวัยของความเสื่อมถอยของร่างกายสภาพจิตใจและบทบาททางสังคมการปรับตัวต่อความเสื่อมถอยและการเผชิญชีวิตในบั้นปลาย
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการในวัยผู้ใหญ่
การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกายในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง
1 น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณท้องสะโพกเนื่องจากวัยนี้กิจกรรมที่ใช้พลังงานลดลง
2 สีผมจะเริ่มหงอกขาวเห็นได้ชัดเมื่ออายุ 50 ปีทั้งชายและหญิง
3 ฟันจะหักและหลุดร่วงกระดูกเริ่มเปราะบางและหักง่ายเนื่องจากการสร้างกระดูกเกิดขึ้นน้อย
4 ผิวหนังบริเวณใบหน้าและลำคอแขนและมือเริ่มหยาบปรากฏรอยย่นได้ง่ายขึ้นผิวหนังบริเวณรอบตาจะปรากฏเป็นถุงลมและเป็นรอยคล้ำ
5อวัยวะที่ทำหน้าที่รับรู้และสัมผัสจะมีการเสื่อมเกิดขึ้นเช่นตาดวงตาไม่สดใสเริ่มฝ้าฟางอวัยวะเกี่ยวกับการได้ยินคือหูจะมีความเสื่อมของเซลล์ทำให้การทำงานของหูผิดปกติ
การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกายผู้ใหญ่ตอนปลาย-สูงอายุ
พฤติกรรมของสูงอายุมีอารมณ์เหงาและว้าเหว่บางรายอาจรู้สึกว่าคุณค่าของตัวเองลดลงเนื่องจากต้องพึ่งพาบุตรหลานในเรื่องการประกอบกิจวัตรประจำวันค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลรู้สึกตนเองเป็นภาระคนอื่นมักแสดงอาการหงุดหงิดน้อยใจต่อบุตรหลาน
การเปลี่ยนแปลงพัฒนาการด้านร่างกายในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น
1 ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกเมื่ออายุ 21 ปีกระดูกจะหยุดเจริญเติบโตและไม่มีการพัฒนาความสูงอีกต่อไปส่วนก้อนกล้ามเนื้อจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยเพศชายจะมีกล้ามเนื้อโตและแข็งแรงกว่าเพศหญิง
2 ระบบผิวหนังมีความยืดหยุ่นน้อยลงเริ่มมีรอยย่นปรากฏเมื่ออายุได้ 30 ปีโดยเฉพาะบริเวณใบหน้าคอและมือผมจะเริ่มร่วงและเจริญเติบโตช้าและเริ่มมีผมหงอก
แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่
1 แนวทางในการเสริมสร้างสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านร่างกาย
1.1 เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายสาเหตุและอาการแสดงเช่นปัญหาความเสื่อมของอวัยวะต่างๆปัญหาหมดประจำเดือนหรือชายวัยทอง
1.2 คงไว้ซึ่งความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายการรับประทานอาหารเช่นรับประทานอาหารคอเลสเตอรอลให้น้อยลงและปรับเปลี่ยนกระบวนการปรุงอาหารจากทอดมาเป็นการปิ้งย่างต้มนึ่งตุ๋นแทนรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่มขึ้นทั้งผักใบเขียวและผลไม้
เพิ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่นปลาปลาเล็กปลาน้อยป้องกันกระดูกเปราะบางหักง่าย
1.3 สนับสนุนให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีอายุ 35-59 ปีได้แก่วัดความดันโลหิตวัดส่วนสูงน้ำหนักเพื่อค้นหาภาวะโภชนาการ BMI ตรวจไขมันในเลือด
1.4 การให้วัคซีนที่จำเป็น
2 แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตอารมณ์
1 สร้างเสริมเทคนิคการจัดการความเครียด
2 สร้างเสริมสุขภาพจิตหญิงวัยหมดประจำเดือนและชายวัยทอง
3 ส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธีและให้กำลังใจในการเผชิญปัญหา
3 แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพไปผู้ใหญ่ด้านสังคม
1 ส่งเสริมความผูกพันของพ่อแม่กับลูกวัยทารก
2 ส่งเสริมการบริหารเวลาที่เหมาะสม
3 ส่งเสริมการปรับตัวกับเข้ากับแบบแผนชีวิตในแบบใหม่และบทบาทสังคมเช่นกันเตรียมตัวมีคู่ชีวิตการปรับตัวเข้ากับคู่ครอง
4 แนวทางในการเสริมสร้างสุขภาพวัยผู้ใหญ่ด้านจิตวิญญาณ
1 ส่งเสริมการมีที่พึ่งทางจิตวิญญาณ
2 ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่
1ปัญหาสุขภาพ
2 โรคที่เกิดจากสิ่งคุกคามสุขภาพทางชีวภาพ
3 ด้านจิตใจ
3.1 วิตกกังวลเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ
3.2 วิตกกังวลเกี่ยวกับชีวิตสมรส
3.3 มีภาวะเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว
3.4 ปัญหาเกี่ยวกับปัญหาของบุตร
โรคที่พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่
โรคเรื้อรังเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือดความดันโลหิตสูงเบาหวานปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ
โรคมะเร็งระบบสืบพันธุ์พบมากโดยเฉพาะในผู้หญิงเช่นมะเร็งปากมดลูกมะเร็งเต้านม
โรคจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่นำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งตับมะเร็งปอดมะเร็งกล่องเสียง
ปัญหาสุขภาพจิตเช่นโรคซึมเศร้าโรคเครียดวัยทำงานเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมากที่สุด