Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pleural Effusion (น้ำในเยื่อหุ้มปอด), ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล - Coggle…
Pleural Effusion (น้ำในเยื่อหุ้มปอด)
ผู้ป่วยเตียง 21
ทฤษฎี
เจ็บหน้าอก ลักษณะเป็นเจ็บแหลมๆ จี๊ดๆ ผู้ป่วยสามารถบอกตำแหน่งได้ชัดเจนเนื่องจาก parietal pleura (เยื่อหุ้มปอดชั้นนอก) แต่หากมีรอยโรคถึงกระบังลมผู้ป่วยจะเจ็บที่สะบักได้
ไอแห้ง เนื่องจากมีการกระตุ้นที่เยื่อหุ้มปอด แต่การไอจาก pleural effusion จะไม่มีเสมหะ หากมีเสมหะนั้นอาจมีเหตุมาจากโรคของเนื้อปอด
เหนื่อย หากมีน้ำในเยื่อหุ้มปอดจำนวนมากทำให้เหนื่อยง่าย ผู้ป่วยอาจมีอาการ trepopnea (รู้สึกหายใจลำบากเมื่อนอนตะแคงข้างใดข้างนึง)
อาการและอาการแสดง
ไข้ ไอมีเสมหะสีเขียว ปวดชายโครงขวา นอนตะแคงไม่ได้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย (แรกรับ)
ตื่นดี คุยรู้เรื่อง กินข้าวหมด ไม่ปวดท้องแน่นท้อง ไม่ท้องเสียหรือท้องผูก รู้สึกหายใจโล่ง เป่า triflow ได้ 3 ลูก แต่เวลาเป่ามีอาการเจ็บตรงตำแหน่งที่เจาะ PCD ไม่เหนื่อย ไม่ไอ ( 05/ก.พ./2566)
ข้อมูลพื้นฐาน
T = 37.0 องศาเซลเซียส, Pulse = 75 ครั้ง/นาที, RR = 18 ครั้ง/นาที, BP = 90/50 mm.Hg, O2 sat 96 % (แรกรับ)
การตรวจร่างกาย (General Appearance) : ผู้ป่วยชายไทย รู้สึกตัวดี พูดจารู้เรื่อง ช่วยเหลือตัวเองได้ รูปร่างผอมบาง สีผิวซีดค่อนข้างเหลือง ศีรษะใบหน้าสมมาตรกันทั้ง 2 ข้าง ไม่พบก้อนหรือรอยโรค ผมสีดำมีรังแคเล็กน้อย ตาเหลือง รอบดวงตาลึก มีรอยคล้ำ หูทั้งสองข้างปกติ จมูกภายนอกสมมาตรกัน on cannula 3 Lpm ปากซีดเล็กน้อย ไม่มีคอแข็งติด หลอดลมอยู่ในแนวตรงกลาง บริเวณลำตัว on PCD ต่อ 2 ขวด ที่แขนขวามีการต่อสาย IV ที่นิ้วนางข้างขวาไม่มีเนื่องจากผ่าตัด บริเวณ บริเวณก้น พบแผล ขนาด 2x3x1 cm. มี discharge สีแดงปนเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น ขาแข็งแรงดี ไม่มีรอยโรค
(30/01/2566)
T = 37.8 องศาเซลเซียส, Pulse = 118 ครั้ง/นาที, RR = 18 ครั้ง/นาที, BP = 117/75 mm.Hg, O2 sat 98 % (5/ก.พ./2566)
การตรวจร่างกาย (General Appearance) : ผู้ป่วยชายไทย รู้สึกตัวดี พูดจารู้เรื่อง ช่วยเหลือตัวเองได้ รูปร่างผอมบาง สีผิวซีดค่อนข้างเหลือง ศีรษะใบหน้าสมมาตรกันทั้ง 2 ข้าง ไม่พบก้อนหรือรอยโรค ผมสีดำมีรังแคเล็กน้อย ตาเหลือง รอบดวงตาลึก มีรอยคล้ำ หูทั้งสองข้างปกติ จมูกภายนอกสมมาตรกัน ปากซีดเล็กน้อย ไม่มีคอแข็งติด หลอดลมอยู่ในแนวตรงกลาง บริเวณลำตัว on PCD ต่อ 2 ขวด ที่แขนขวามีการต่อสาย IV ที่นิ้วนางข้างขวาไม่มีเนื่องจากผ่าตัด บริเวณ บริเวณก้น พบแผล ขนาด 2x3x1 cm. มี discharge สีแดงปนเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น ขาแข็งแรงดี ไม่มีรอยโรค (05/ก.พ./2566 off cannula ให้ O2 room air)
ยา
ยารับประทาน
Lorazepam 0.5 mg.tab.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ
สรรพคุณ : ใช้รักษาอาการนอนไม่หลับ และช่วยคลายความวิตกกังวล
ผลข้างเคียง : ง่วงซึม วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลียคล้ายจะเป็นลม สับสน พูดจาเลอะเลือน
กลุ่มยา : benzodiazepine
Bromhexine HCL 8 mg.tab.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า กลางวัน เย็น
สรรพคุณ : ช่วยละลายเสมหะในระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการไอจากโรคหวัด ไอมีเสมหะ
ผลข้างเคียง : หลังการรับประทานยาอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติขึ้นได้ในบางราย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ มีผื่น ลมพิษขึ้น อาการคันที่ผิวหนัง ท้องเสีย ปวดท้องส่วนบน เกิดภาวะแองจิโออีดีมา (Angioedema) ที่มีการบวมของชั้นผิวหนังแท้ หรือค่าการทำงานของตับเพิ่มสูงขึ้นชั่วคราว
กลุ่มยา : ยาละลายเสมหะ (Mucolytic agents)
Folic Acid 5 mg. Tab.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
สรรพคุณ : ใช้ในผู้ที่มีภาวะขาดโฟลิก ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากระดับวิตามินบี 12 หรือ โฟเลตในร่างกายต่ำ (Megaloblastic anemia) ป้องกันภาวะความผิดปกติของการปิดของท่อระบบประสาทในหญิงตั้งครรภ์ (Neural Tube Defect)
ผลข้างเคียง : อาการแพ้ทั่วไปมักไม่ค่อยพบ อาจจะทำให้หลอดลมหดเกร็ง หรือเกิดผื่นคัน
กลุ่มยา : เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ
Paracetamol 500 mg.tab
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุกๆ 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการปวดหรือมีไข้
สรรพคุณ : เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดไข้
ผลข้างเคียง : ห้ามใช้เกิน 8 เม็ดต่อวัน เพราะอาจเป็นพิษต่อตับ
กลุ่มยา : ยาบรรเทาอาการปวด และยาต้านไข้ (Analgesics and Antipyretics)
Lactulose 66.7% SYR. 100 ml
รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (30ซีซี) ก่อนนอน เมื่อมีอาการ
สรรพคุณ : รักษาอาการท้องผูก หรือรักษาและป้องกันภาวะแอมโมเนียขึ้นสมองในผู้ป่วยโรคตับ
ผลข้างเคียง : ผู้ที่มีอาการบ่งบอกถึงการแพ้ยา เช่น หายใจลำบาก ลมพิษ มีอาการบวมที่ลิ้น ริมฝีปาก ใบหน้า หรือลำคอให้รีบไปพบแพทย์ นอกจากนี้ควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการต่อไปนี้ ท้องเสียอย่างรุนแรงหรือต่อเนื่อง อาเจียน เจ็บหรือปวดบีบที่ท้อง
กลุ่มยา : กลุ่มยาแก้ท้องผูก (ยาระบาย)
ยาฉีด
Pharmadol 50 mg./ml.INJ
วิธีการให้ยา : 50 mg IV เมื่อมีอาการ ทุกๆ 8 ชั่วโมง
สรรพคุณ : ยาสำหรับบรรเทาอาการปวดในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรง (Moderate to moderately severe pain)
กลุ่มยา : Opioid (Non-narcotic) analgesic
อาการข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก เวียนศีรษะ หน้ามืด ง่วงนอน หรือปวดศีรษะ ซึ่งอาการข้างเคียงบางอย่างอาจค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อใช้ยาไปสักระยะหนึ่ง ถ้าอาการเหล่านี้ไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทันที
Unasyn 3 gm.INJ
วิธีการให้ยา : 3 gm + NSS 100 ml IV ทุกๆ 6 ชม.
กลุ่มยา : Antibiotics: Penicillin
สรรพคุณ : รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนัง, ติดเชื้อในช่องท้อง และการติดเชื้อทางนารีเวช
ผลข้างเคียง : อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เกิดผื่นแดง เจ็บปาก ลิ้นเป็นสีดำเกิดขึ้น เป็นไข้ ปวดข้อ ภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เลือดแข็งตัวช้าลง อาการชัก ไตอักเสบ ตับอักเสบ ดีซ่านชนิดที่มีการสะสมของคลอเรสเตอรอล การเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ตับ
Cifloxin 200 mg/100ml.INF
วิธีการให้ยา : ครั้งละ 400 mg ฉีด IV ทุก 8 ชม.
สรรพคุณ : ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถออกฤทธิ์ได้กว้าง เช่น ใช้ฆ่าเชื้อในโรคไซนัสอักเสบ ท้องเสีย ต่อมลูกหมากอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในช่องท้อง รวมถึงการอักเสบของข้อและกระดูก
กลุ่มยา : ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Quinolones
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง แสบตา แต่หากมีผลข้างเคียงรุนแรงอย่างการปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หูแว่ว ตาพร่า ใจสั่น ท้องเสียมีเลือด หายใจลำบาก ชักเกร็ง
กลไกการเกิดโรค
การสะสมของสารน้ำในเยื่อหุ้มปอด สารน้ำในเยื่อหุ้มปอดปกติจะไหลซึมอย่างต่อเนื่องเข้าไปในช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มปอด โดยผ่านทางเส้นเลือดฝอยที่อยู่ในเยื่อหุ้มปอดชั้นนอก (parietal pleura) และจะถูกดูดซึมอีกครั้งหนึ่งจากเส้นเลือดฝอยของเยื่อหุ้มปอดชั้นใน (visceral pleura) และระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ถ้ามีสานการณ์ใดรบกวนไม่ว่าจะเป็นสิ่งขับหลั่งหรือการระบาย สารน้ำเหล่านี้จะทำให้เกิดน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มปอดขึ้น
สาเหตุของการมีน้ำขังในเยื่อหุ้มปอด
หน้าที่ของระบบน้ำเหลืองเสีย เช่น ท่อน้ำเหลืองอุดตันจากเนื้องอก
มีการเพิ่ม capillary permeability เช่น มีการติดเชื้อหรือบาดเจ็บ
มีการลดของ capillary oncotic pressure เช่น ตับวาย หรือไตวาย
มีการเพิ่มของ hydrostatic pressure เช่น หัวใจวาย
การส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการ
การถ่ายรังสีทรวงอก
วันที่ 28 ม.ค. 2566 พบ pleural effusion ปริมาณมากที่ด้านขวา
2.การตรวจอัลตราซาวน์ เพื่อดูรายละเอียดของ Pleural effusion พบว่ามีลักษณะเป็น exudate pleural effusion (มีความขุ่นของน้ำ)
วันที่ 28 ม.ค. 2566
ผล lab + ตรวจพิเศษ
ฟัง Lung พบ decrease breath sound Rt.Lung และ dullness on percussion at Lt.Lung
โลหิตวิทยา
Hct = 24.9 % (30/01/2566)
การหาความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง เป็นตัวกลางในการขนส่งออกซิเจน ซึ่งค่าปกติจะอยู่ที่ 38.2-48.3% ผลการตรวจพบว่า ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
Hb = 8.1 g/dL (30/01/2566)
การวัดความหนาแน่นของโปรตีนในเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ส่งออกซิเจนไปลำเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 12.8-16.1 g/dL ผลการตรวจพบว่า ค่าความหนาแน่นของโปรตีนในเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
MCV = 49.8 fL (30/01/2566)
ปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 78.9-98.6 L ผลการตรวจพบว่า ปริมาตรเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
MCH = 16.1 pg (30/01/2566)
ปริมาณเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 25.9 - 33.4 pg ผลการตรวจพบว่า ปริมาณเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
White Blood Cell Count (WBC) = 15.11 * 10^3 uL
จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว บ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 4.03 - 10.77 * 10^3 uL ผลการตรวจพบว่า จำนวนเม็ดเลือดขาวในร่างกายมากกว่าปกติ
Neutrophil = 75.5 % (30/01/2566)
ตัวทำลายเชื้อโรคชนิดแบคทีเรียที่ได้ล่วงล้ำเข้ามาในร่างกายด้วยกระบวนการกลืนกิน ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 48.2 - 71.2 % ผลการตรวจพบว่า ปริมาณ Neutrophil สูงกว่าปกติ
Lymphocyte = 14.4 % (30/01/2566)
ตัวแสดงความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 21.1 - 42.7 % ผลการตรวจพบว่า ค่า Lymphocyte ต่ำกว่าปกติ
Gram's stain
Pleural fluid
Numerous : PMN, Few : RBC, Found : Gram stain, Rare : Gram Negative Bacili (30/01/2566)
Sputum
Moderate : PMN, Few : Epithelial cell, Found : Gram stain, Gram Positive Bacilli (single), Rare : Gram Positive Bacilli (Small), Few Gram Negative Bacilli (30/01/2566)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากพื้นที่แลกเปลี่ยนก๊าซลดลงที่สัมพันธ์กับการมีภาวะปอดติดเชื้อ
ข้อมูลสนับสนุน : หายใจเหนื่อย ไอมีเสมหะสีเขียว
O2 sat RA 96 % นอนราบไม่ได้
Chest X-ray พบ Pleural effusion
ค่า LDH 242, Protein 6.30, Polymorphonuclear cells 90%
ฟัง Lung พบ decrease breath sound Rt.Lung และ dullness on percussion at Lt.Lung
วัตถุประสงค์ : ไม่เกิดการพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมิน : 1.ผู้ป่วยไม่เกิดการพร่องออกซิเจน เช่น ผิวหนังซีดหรือเขียว ไอ เหงื่อออกมาก หายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่ หรือหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว สับสนมึนงง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
2.ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการปกติ Hb = 12.8-16.1 g/dL, Hct = 38.2-48.3 %
3.ค่า PaO2 80-100 mmHg
4.ฟังปอดไม่พบเสียงผิดปกติ
5.ทำ Chest X-ray พบน้ำในเยื่อหุ้มปอดลดลง
6.ผู้ป่วยสามรถบริหารปอดโดยใช้อุปกรณ์ Triflow หายใจเข้าจนลูกบอลลอยค้างได้นานที่สุด
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะพร่องออกซิเจน เช่น ผิวหนังซีดหรือเขียว ไอ เหงื่อออกมาก หายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่ หรือหายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว สับสบมึนงง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก เป็นต้น และประเมินการหายใจ ประเมิน Lung sound เป็นต้น
2.ประเมิน V/S และวัด O2 sat ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลง
3.ดูแลให้ได้รับ O2 cannula 3 LPM ตามแผนการรักษา
4.จัดท่านอนศีรษะสูง (Fowler position) เพื่อให้หายใจสะดวกไม่เหนื่อย
7.ดูแลให้ได้รับยา Unasyn 3 gm + NSS 100 ml IV q 6 hr ตามแผนการรักษา
5.ให้ความรู้ ส่งเสริม และดูแลให้ผู้ป่วยบริหารปอดด้วยอุปการณ์ Triflow โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าช้าๆจนรู้สึกว่าหายใจเข้าลึกจนสุด ซึ่งมีลูกบอลเป็นตัวแสดงระดับความสามารถ เมื่อฝึกหายใจได้แรงพอลูกบอลใน Triflow จะลอยขึ้นสูงสุดและเพื่อให้ได้ปริมาตรอากาศเข้าปอดอย่างเต็มที่ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าจนลูกบอลใน Triflow ลอยค้างได้นานที่สุด
6.ดูแลจัดวางสายระบายให้อยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าแผลเพื่อไม่ให้สารคัดหลั่งไหลย้อนกลับสู่ร่างกาย
ดูแลสายระบายให้เป็นระบบปิด ไม่ให้หักพับงอเพราะอาจทำให้เกิดการอุดตันและระบายได้ไม่ดี
ดูแลไม่ให้สายระบายมีการดึงรั้งเพราะอาจทำให้สายเลื่อนหลุดได้
2.เสี่ยงต่อภาวะแผลติดเชื้อ :
ข้อมูลสนับสนุน : ผู้ป่วยมีแผล ขนาด 2x3x1 cm. บริเวณก้น มี discharge สีแดงปนเหลือง ไม่มีกลิ่นเหม็น
มีไข้ 39.9 องศา (เมื่อวันที่ 31/01/2566) 38.6 องศา (เมื่อวันที่ 01/02/2566)
วัตถุประสงค์ : ส่งเสริมการหายของแผลผู้ป่วย
เกณฑ์การประเมิน : ผู้ป่วยไม่มีอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ เช่น ไข้สูง หายใจเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกหนาว ตัวสั่น แผลมีลักษณะบวม แดงร้อน มี discharge ซึม เป็นต้น
อุณหภูมิร่างกาย = 36.5-37.4 องศา
แผลมีลักษณะแห้ง แคบลง สีแดงดี รอบแผลไม่มีบวมแดง ไม่มี discharge ซึม
คนป่วยมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลแผล
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ เช่น ไข้สูง หายใจเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกหนาว ตัวสั่น แผลมีลักษณะบวม แดงร้อน มี discharge ซึม เป็นต้น
2.ประเมิน V/S และวัด O2 sat ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อติดตามและสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ BT เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
3.ทำแผล แบบ wet dressing ใช้หลัก Sterile Technique ให้กานเตรียมเช็ตทำแผลและใช้หลัก Aseptic Technique ในการทำแผล ใช้ Gauze ชุบ NSS + Betadine1 หยด มา Pack แผล วันละ 1 ครั้ง
4.ให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ดูแลไม่ให้ใช้มือสัมผัส แคะ หรือเกาบาดแผล ให้แผลแห้งและสะอาดอยู่เสมอระวังไม่ให้เปียกน้ำหรือสัมผัสสิ่งสกปรก รักษาความสะอาดของบาดแผลและร่างกายทั่วไปเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่บาดแผล
3.ผู้ป่วยมีภาวะไม่สุขสบายเนื่องจากความเจ็บปวดที่สัมพันธ์กับพยาธิสภาพของโรค
ข้อมูลสนับสนุน : ผู้ป่วยมีน้ำในเยื่อหุ้มปอด Chest X-ray พบ Pleural effusion
ฟัง Lung พบ decrease breath sound Rt.Lung และ dullness on percussion at Lt.Lung
ผู้ป่วยนอนตะแคงข้างซ้ายไม่ได้
ผู้ป่วยบ่นปวดบริเวณชายโครงด้านขวา pain score = 8
ผู้ป่วยใส่สายระบายผ่านทางผิวหนัง (PCD : Percutaneous Drainage)
วัตถุประสงค์ : ผู้ป่วยไม่มีอาการปวด Pain score = 0
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินและติดตาม pain score และสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ป่วย
4.ดูแลให้ได้รับยาลดความปวดตามแผนการรักษาและ Obs อาการผู้ป่วยหลังได้รับนา
Paracetamol 500 mg 1 tap pain score 4-6
Morphine 3 mg IV q 4 hrs stat for pain score 7-10
3.ให้การพยาบาลด้วยความนุ่มนวล ลดการกระทบหรือโดนบริเวณที่ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวด
2.จัดท่านอนในท่านอนศีรษะสูง (Fowler position) จัดบริเวณรอบเตียงให้สงบ ไม่รบกวนผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อน
เกณฑ์การประเมิน : ผู้ป่วยไม่มีอาการปวด Pain score = 0