Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Transient tachypnea of the newborn : TTNB (ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรก…
Transient tachypnea of the newborn : TTNB
(ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด)
พยาธิสรีรวิทยา
การที่มีสารน้ำสะสมอยู่ในถุงลมปอดและเนื้อเยื่อนอกถุงลมปอด (extra-alveolar interstitium) ทำให้หลอดลมตีบแค้นอย่างรุนแรง (compress) เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจมีผลทำให้อากาศถูกกับ และปอดมีการขยายตัวมากขึ้นด้วยขาดออกซิเจนจากการที่ถุงลมมี การกำซาบ (perfusion) แต่มีการระบายก๊าซ (ventilation) ออกไม่ เพียงพอทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง
ตัวอย่างข้อวินิจฉัย
เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเนื่องจากการมีพยาธิสภาพที่ปอด
เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำและสารอาหารเนื่องจากไม่สามารถรับประทานทางปากได้จากภาวะหายใจเร็ว
เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากภาวะน้ำคั่งในปอดทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซไม่มีประสิทธิภาพ
ทารกมีความบกพร่องปฏิสัมพันธ์กับบิดามารดาเนื่องจากถูกแยกรักษาที่หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด
บิดามารดาวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของทารก
ความหมาย
ภาวะที่มีการหายใจเร็วในระยะแรกเกิดที่ปรากฎอาการภาย หลังคลอดทันทีหรือภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอดเกิดจากมีน้ำ เหลือ อยู่ในปอดมากกว่าปกติทำให้ใช้เวลาดูดซึมออกจากปอดนานขึ้นจึง ทำให้ทารกมีอาการหายใจลำบาก
สาเหตุ
ของเหลวในปอดถูกขับออกมาไม่หมด
การคลอดก่อนกำหนด
ใช้เวลาในการคลอดนาน
คลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง
ทารกที่มารดาได้รับยาระงับประสาทระหว่างคลอด
อาการและอาการแสดง
หายใจเร็วมีอัตราการหายใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที
ผลตรวจเอ็กซ์เรย์ปอดพบว่ามีน้ำในปอดและเยื่อหุ้มปอด
ตรวจร่างกายพบว่ามีผิวสีคล้ำหายใจมีการดึงรั้งของผนังอก
ตรวจค่าก๊าซในเลือดพบว่ามีกรดเกินจากการหายใจ Respiratory acidosis ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์เกินเล็กน้อย
ภาพรังสีปอดอาจพบฝ้าขาวในระยะแรกแต่จะหายไปอย่างรวดเร็ว
ปัจจัยเสี่ยง
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
การคลอดก่อนกำหนดในระยะท้าย (late preterm)
การผ่าตัดคลอด (cesarean section)
โรคหอบหืดในมารดา (maternal asthma)
ภาวะเบาหวาน ในขณะตั้งครรภ์และทารกตัวโต (gestational diabetes mellitus and macrosomia)
ผลกระทบ
ผลกระทบ ต่อครอบครัวของทารกแรกเกิด ทารกที่มีภาวะหายใจเร็ว ชั่วคราวจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยกุมารแพทย์ บางรายจำเป็นต้องได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นการเพิ่มจำนวนวันนอนโรงพยาบาลของทั้งมารดาและทารก
ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุการตายของทารกแรกเกิด ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุของการเกิดภาวะหายใจลำบาก (respiratory distress)
ทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวสัมพันธ์กับการเป็นโรคหอบหืดในเด็กและสัมพันธ์กับการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจในเด็ก ทำให้ทารกต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น
บิดามารดา ทำให้มี ความเครียด วิตกกังวลต่อสุขภาพบุตรและการที่ทารกต้องเข้ารับการรักษาใน โรงพยาบาลนาน ขึ้นเป็นการเพิ่มภาระ ค่าใช้จ่ายของครอบครัวทำให้ครอบครัวมีปัญหาด้านเศรษกิจตามมาได้
การวินิจฉัย
ส่งตรวจนับจำนวนเม็ดเลือด (complete blood count) เพื่อหาสาเหตุของการเกิดภาวะหายใจเร็วของทารก
ส่งตรวจ chest x-ray เพื่อประกอบการวินิจฉัย
หากมีอาการรุนแรงหรือคงอยู่หลายชั่ว โมง ควรทำการส่งตรวจการติดเชื้อในกระแสเลือด (hemoculture)
เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดมีเกณฑ์การพิจารณา
การตรวจ chest x-ray พบน้ำคั่งบริเวณปอดและเยื่อหุ้มปอด
เริ่มมีอาการหายใจเร็วภายในระยะเวลา 6 ชั่วโมงหลังคลอด
ไม่มีสาเหตุความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจมาก่อน โดยทั่วไปแล้วภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดจะคงอยู่ประมาณ 48-72 ชั่วโมง หากมีอาการนานมากกว่า นี้มักมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น และ กลายเป็นกลุ่มอาการหายใจลำบาก (respiratory distress syndrome: RDS)
อาการหายใจเร็วคงอยู่นานอย่างน้อย 12 ชั่วโมง - ไม่สามารถดูดนมได้
การพยาบาล
2) ให้การดูแลเพื่อส่งเสริมการหายใจของทรกแรกเกิด โดยใช้ลูกสูบยางดูดเสมหะใน ปากและจมูก ในระยะแรกคลอดก่อนการกระตุ้น ให้ทารกร้องไห้ และให้การพยาบาลเพื่อ ป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำ โดย ให้การพยาบาลใต้ radiant warmer รีบเช็ดตัวให้แห้ง และห่อตัวทารกให้อบอุ่น ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดภาวะ แทรกซ้อนของระบบหายใจได้
1) ก่อนการคลอดลำตัวทารก ทำการดูดเสมหะในทางเดินหายใจด้วยลูกสูบยางให้ทางเดินหายใจ โล่ง เพื่อช่วยส่งเสริมการหายใจครั้งแรกของทารกแรกเกิด
3) ในระยะหลังคลอด 2 ชั่วโมง ให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการหายใจ เร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิด โดยเฉพาะลักษณะการหายใจและ ระดับความอิ่มตัวของออกชิเจนในเลือด (O2 saturations) ควรติดตามอย่างต่อเนื่อง
4) ในรายที่พบว่ามีอาการหายใจเร็วชั่วคราวเกิดขึ้นควรมีการให้ออกชิเจนที่มีระดับความ เข้มข้นตั้งแต่ 40% ขึ้นไปตามแผนการรักษา และเป็นออกชิเจนที่ผ่านความชื้น นิยมให้ 02 canular หรือ 02 box2 เพื่อช่วยส่งเสริมการดูดกลับของสารน้ำในปอด ส่งเสริมการปรับ ตัวของระบบหายใจและระบบไหลเวียน
5) ในรายที่มีอาการรุนแรง (อัตราการหายใจมากกว่า 80 ครั้ง/นาที) ควรให้งดดูด นม และให้สารละลาย ทางหลอดเลือดดำชนิด 10% DW ในขนาด 60-80 มล./กก./ วัน ตามแผนการรักษา
6) เมื่อทำการสังเกตอาการครบ 2 ชั่วโมงร่วมกับให้การดูแลแบบประดับประคองแล้ว อาการไม่ดีขึ้น ควร รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและการ ตรวจพิเศษเพื่อประกอบการวินิจฉัย ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในระยะแรกเกิด และให้ยา ปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ตามแผนการรักษา
7) ทำการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวไปยังหออภิบาลทารกแรก เกิด (NICU) เพื่อ ให้การดูแลป้องกันและเฝ้าระวังภาวะหายใจลำบาก และภาวะ แทรกช้อนอื่น ๆ จนกว่าอาการจะคงที่