Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้น ด้านพลังงาน - Coggle Diagram
ความรู้เบื้องต้น
ด้านพลังงาน
จำแนกตามลักษณะการทำงาน
พลังงานเคมี (Chemical energy)
เป็นพลังงานท่ีสะสมในโครงสร้างเคมีหรือวัสดุ ที่จะสามารถเปลี่ยนไปเป็นพลังงานรูปแบบอื่น เมื่อเกิดปฏิกิริยาทางเคมี
พลังงานไฟฟ้า (Electrical energy)
เป็นพลังงานที่เปลี่ยนรูปมาจากพลังงานอื่น ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเลคตรอนไปตามวัตถุ ตัวนำไฟฟ้า ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้าข้ึน
พลังงานกล (Mechanical enegy)
↓ :
พลังงานจลน์ (Kinetic Energy)
เป็นพลังงานที่มีอยู่ในวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เป็นผลให้วัตถุน้ันมีพลังงานสะสมอยู่ภายใน ค่าของพลังงานจลน์จะข้ึนอยู่ กับความเร็ว และมวล
ของวัตถุน้ัน (มวลมาก ความเร็วมาก จะมีพลังงานมาก) เช่น รถที่แล่นบนถนน , น้ำตก
พลังงานศักย์ (Potential energy)
เป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในวัตถุ โดยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและรูปร่างวัตถุ
มี 2 ชนิด ได้แก่ พลังงานศักย์โน้มถ่วง และพลังงานศักย์ยืดหยุ่น
พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear energy)
เป็นพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์เมื่อมีการแบ่งแยกนิวเคลียสหรือการหลอมนิวเคลียสของอะตอมหรือจากสลายของสารกัมมันตรังสี ที่มีอยู่ใน ธรรมชาติหรือท่ีเกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูหรือระเบิดปรมาณู
ตามลักษณะการค้า
พลังงานเชิงพาณิชย์ (commercial energy)
พลังงานที่มีการซื้อขายในวงกว้าง เช่น นำ้มันปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติ
พลังงานนอกพาณิชย์ (non-commercial energy)
พลังงานที่มีการซื้อขายกันในวงแคบ การผลิตในขนาดเล็ก เช่น ฟืน แกลบ ชานอ้อย
จำแนกตามลักษณะที่ได้มา
พลังงงานปฐมภูมิ (Primary Energy)
พลังงานจากแหล่งพลังงานตามธรรมชาติ
(ที่มีอยู่แล้ว ) สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง
แสง, น้ำ, ลม
เชื้อเพลิงธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ, ถ่านหิน
ก๊าซธรรมชาติ ชานอ้อย
พลังงานทุติยภูมิ (Secondary Energy)
พลังงานที่ได้มาโดยการนำ Primary Energy มาแปรรูป ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้
พลังงานไฟฟ้า
น้ำมันเบนซิน, น้ำมันดีเซล
หน่วยวัดของพลังงาน
หน่วยกายภาพ (physical unit)
กิโลกรัม ตัน
ลูกบาศก์ฟุต
ลิตร บาร์เรล
กิโลวัตต์ชั่วโมง
หน่วยวัดร่วม (common unit)
บีทียู (British Thermal Unit : BTU)
ตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ton of oil equivalent : toe)
จูล (Joule : J)
จำแนกตามแหล่งที่นำมาใช้ประโยชน์
พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy)
เป็นพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานที่ใช้ไปแล้วสามารถผลิต หรือหามาทดแทนได้ในช่วงระยะเวลาสั้น
ตัวอย่างของพลังงาน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังน้้า, พลังงาน คลื่นในทะเล, พลังงานน้้าขึ้นน้้าลง, พลังงานชีวมวล, พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานไฮโดรเจน
พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป/พลังสิ้นเปลื้อง (Nonrenewable Energy)
พลังงานฟอสซิส
น้ำมันดิบ
ปิโตรเลียมที่มีสถานะเป็นของเหลวในธรรมชาติ ส่วนมากมีสีดำหรือน้้าตาล มีลักษณะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ ปะปนกันอยู่
การกลั่นลำดับส่วน เป็นการแยกน้ำมันดิบตามจุดเดือดและจุดควบแน่นที่แตกต่างกันตามจำนวนคาร์บอนในโมเลกุล โดยจำนวน C มากและจุดเดือดสูง จะอยู่ส่วนล่างของหอกลั่น จำนวน C น้อยและจุดเดือดต่ำ จะอยู่ส่วนบนของหอกลั่น
ประโยชน์ ทำยางมะตอย, น้ำมันเครื่องจักร, น้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล และใช้ทำสารเคมี และตัวทำละลาย
ก๊าซธรรมชาติ
เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมและแปรสภาพของอินทรีย์สารในชั้นหินใต้ผิวโลกมีสถานะเป็นก๊าซท่ีอุณหภูมแิละความดันปกติ ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด เช่น มีเทน อีเทน บิวเทน
ประโยชน์ เป็นเชื้อเพลิงพลังงานกระแสไฟฟ้า, ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (CNG) และวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมปิโตเคมี
ถ่านหิน
เป็นพลังงานฟอสซิลในรูปของแข็งประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการทับถมของอินทรียสาร เป็นเวลานาน เป็นแร่เชื้อเพลิงที่สามารถติดไฟได้มีสมบัติในการให้ความรอ้นได้ดี ประกอบด้วยธาตุที่สาคัญ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน
หินน้ำมัน
เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียด ส่วนใหญ่เป็นหินดินดาน มีสีน้้าตาลอ่อนจนถึงน้้าตาลแก่
เกิดจากการสะสมและทับถมตัวของซากพืชและสัตว์ภายใต้แหล่งที่มีปริมาณออกซิเจนจำกัด มีอุณหภูมิสูง และถูกกดทับจากการทรุดตัวของเปลือกโลกเป็นเวลานับล้านปี ท้าให้สารอินทรีย์ในซากพืชและซากสัตว์เกิดการ เปลี่ยนแปลงเป็นสารประกอบเคอโรเจน แล้วผสมคลุกเคล้ากับตะกอนดินทรายที่ถูกอัดแน่นจน
กลายเป็นหินน้้ามัน
ลักษณะ แข็งและเหนียว มักมีสีน้้าตาลไหม้จนถึงสีดำ เมื่อนำมาสกัด ด้วยความร้อน เคอโรเจนจะสลายตัวให้น้้ามันหิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายน้้ามันดิบ
เชื้อเพลิงพลังงานทดแทนน่ารู้
แก๊สโซฮอล์
คือ น้ำมันผสมระหว่างน้ำมันเบนซิน (gasoline) พื้นฐานกับแอลกอฮอล์ (alcohol)
สามารถผลิตเอทานอลได้จากพืช เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น โดยเกิดจากการหมักของพืช จากนั้นนำมากลั่นให้มีความบริสุทธิตั้งแต่ 99.5% เพื่อใช้เติมเครื่องยนต์ได้
ชนิดของแก๊สโซฮอล์
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E10 เป็นน้ำมันที่ได้จากการผสมเบนซิน : เอทานอล ในอัตราส่วน 90 : 10
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 เป็นน้ำมันที่ได้จากการผสมเบนซิน : เอทานอล ในอัตราส่วน 80 : 20
ไบโอดีเซล(biodesel)
น้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตจากน้ำมันพืชหรือไขมันสัตว์
ผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีทำให้โมเลกุลเล็กลง
อยู้ในรูป ethyl esters หรือ methyl esters
มีคุณสมบัติใกล้เคียงนำ้มันดีเซล