Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การฟื้นฟูสมรรถภาพ คนพิการโดยชุมชน, cigna-lovefitt-img-06,…
การฟื้นฟูสมรรถภาพ
คนพิการโดยชุมชน
ประเภทของ
คนพิการ
บุคคลที่บกพร่องทางการเห็น
1.1 คนตาบอด = บุคคลที่สูญเสียการเห็นมาก ใช้สื่อสัมผัสและสื่อเสียง หากตรวจวัดความชัดสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วอยู่ใน
ระดับ 6/60 หรือ 20/200 จนไม่สามารถรับรู้เรื่องแสง
1.2 คนเห็นเลือนลาง = บุคคลที่สูญเสียการเห็น แต่ยังอ่านหนังสือ ตัวใหญ่ได้ หากตรวจวัดความชัดเจนของสายตาข้างดีเมื่อแก้ไขแล้วจะอยู่ใน
ระดับ 6/18 หรือ 20/70
บุคคลที่บกพร่องทางการได้ยิน
2.1 คนหูหนวก = บุคคลที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจการพูดผ่านทางการได้ยินแม้จะใส่เครื่องช่วยฟังก็ตาม โดยจะสูญเสียการได้ยิน
90 เดซิเบลขึ้นไป
2.2 คนหูตึง = บุคคลที่สูญเสียการได้ยินเหลืออยู่เพียงพอที่จะได้ยินโดยจะใช้เครื่องช่วยฟัง โดยจะสูญเสียการได้ยิน
น้อยกว่า 90 เดซิเบลลงมาถึง 26 เดซิเบล
บุคคลที่บกพร่องทางสติปัญญา
บุคคลที่มีความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยและต้องมีความจำกัดของทักษะการปรับตัวอีกอย่างน้อย 2 ทักษะจาก 10 ทักษะ ได้แก่ - การสื่่อความหมาย - การดูแลตนเอง - การดำรงชีวิตภายในบ้าน - ทักษะทางสังคม - การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น - การรู้จักใช้ทรัพยากรในชุมชน - การรู้จักดูแลควบคุมตนเอง - การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันการทำงาน - การใช้เวลาว่าง - การรักษาสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย
ทั้งนี้ได้แสดงอาการดังกล่าวก่อนอายุ 18 ปี
บุคคลที่บกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ
4.1 บกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว = ไม่มีอวัยวะสมส่วนหรือขาดหายไป อาจเกิดจากโรคทางระบบประสาท โรคของระบบกล้ามเนื้อและกระดูกการไม่สมประกอบ มาแต่กำเนิด อุบัติเหตุและโรคติดต่อ
4.2 บกพร่องทางสุขภาพ = บุคคลที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีโรคประจำตัวซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาซึ่งมีผลทำให้เกิดความจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ
บุคคลที่บกพร่องทางการเรียนรู้
บุคคลที่มีความผิดปกติในการทำงานของสมองบางส่วนที่แสดงถึงความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน
บุคคลที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
บุคคลที่มีความบกพร่องในการเปล่งเสียง หรือ บกพร่องในเรื่องความเข้าใจหรือการใช้ภาษาพูด การเขียนที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
บุคคลที่บกพร่องทางพฤติกรรม หรืออารมณ์
บุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยนเบนไปจากปกติเป็นอย่างมากและปัญหาทางพฤติกรรมนั้นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลของการผิดปกติทางจิตใจหรือสมองในส่วนของการรับรู้
บุคคลออทิสติก
บุคคลที่มีความผิดปกติของระบบการทำงานของสมองบางส่วน ซึ่งส่งผลต่อความบกพร่องทางพัฒนาการด้านภาษา ด้านสังคมและการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยความผิดปกตินั้นค้นพบได้ก่อนอายุ 30 เดือน
บุคคลพิการซ้อน
บุคคลที่มีสภาพความบกพร่องหรือความพิการมากกว่าหนึ่งประเภทในบุคคลเดียวกัน
การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
= การเสริมสร้างสมรรถภาพหรือความสามารถของคนพิการ ให้มีสภาพที่ดีขึ้น หรือดำรงสมรรถภาพหรือความสามารถที่มีอยู่เดิมไว้ โดยอาศัยกระบวนการแพทย์ การศาสนา การศึกษา สังคม อาชีพ ได้มีโอกาสทำงานหรือดำรงชีวิตในสังคมอย่างเต็มศักยภาพ
การส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ
= การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ การจัดสวัสดิการ การส่งเสริมและการพิทักษ์สิทธิ การสนันสนุนให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตอิสระ ภายใต้้สภาพแวดล้อมที่คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้
คนพิการ
= บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรม
ในชีวิตประจำวัน หรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่น
จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในคนพิการ
โรคเรื้อรัง คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ โรคหลอดเลือดสมองที่ทำให้เกิดของโรคอัมพฤกษ์อัมพาต
อุบัติเหตุ
สังคมผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังประจำตัว จะมีความพิการร่วมด้วย
และสภาพสังคมปัจจุบัน วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมตามมา เช่น บริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เป็นต้น ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อีกด้วย
แนวทางการแก้ไขปัญหาสุขภาพทางกาย
วางแผนป้องกันและรับมือ ลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุ
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการป่วยโรคเรื้อรังและป้องกันปัญหาการเกิดภาวะแทรกซ้อน
พัฒนาระบบบริการเพื่อช่วยคนพิการ
ให้สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์
การจัดระบบส่งต่อในเครือข่ายบริการ
การฟื้นฟูสภาพดูแลต่อเนื่องถึงที่บ้าน
การสร้างเสริมสุขภาพด้วยพฤติกรรม 3อ. 2ส
อ-อาหาร
ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม อาหารที่มีไขมันสูง ขนมหวาน น้ำอัดลม อาหารหมักดอง อาหารกึ่งสำเร็จรูป...ควรรับประทานผักและผลไม้หลากหลายและพอเพียง
อ-ออกกำลังกาย
ควรมีพฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพความพิการและวัย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันและอย่างน้อย วันละ 20 นาที
อ-อารมณ์
การจัดการกับความเครียดเป้นพฤติกรรมที่แสดงถึงวิธีการจัดการกับความเครียดของบุคคล
ส-สูบบุหรี่
ละเลิกบุหรี่ คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคเหล่านี้มากเป็น
2-3เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่และอัตราการเสี่ยงตาอการเกิดโรคนี้จะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนบุหรี่ที่สูบ
ส-ดื่มสุรา
ผลกระทบที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมนั้น นอกจากปัญหาทางด้านนร่างกายยังมีผลต่อโรคทางจิตประสาท
การดูแลสุขภาพคนพิการ ด้านร่างกายและด้านจิตใจ
ควรได้รับการส่งเสริมด้านจิตใจให้มากขึ้น ส่งเสริมพัฒนาการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกวิธี มีความเข้าใจและอดทนจากคนรอบข้างอย่างเหมาะสม การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการกับเพื่อน หรือพักผ่อนหย่อนใจอย่างเหมาะสม
ควรหลีกเลี่ยง การพูดประชดประชันคนพิการ หรือการตอกย้ำถึงความผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่่ผ่านมา
อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้พิการ
Crutches
การเดินแบบสามจังหวะ
จังหวะที่ 1 เลื่อนไม้ค้ำยันทั้งสองข้างไปข้างหน้า /
จังหวะที่ 2 ตามด้วยขาที่มีปญหา / จังหวะที่ 3 ตามด้วยขาดี
การเดินแบบสี่จังหวะ
จังหวะที่ 1 ยกไม้ค้ำยันข้างหนึ่ง / จังหวะที่ 2 ตามด้วยขาด้านตรงข้าม / จังหวะที่ 3 ยกไม้ค้ำยันอีกข้างหนึ่ง / จังหวะที่ 4 ก้าวขาอีกข้างตามไป
ขึ้นบันได : ก้าวข้างที่ปกติขึ้นก่อน
ลงบันได : ก้าวขาข้างที่อ่อนแรงลงก่อน
Wheelchairs
มีหน้าที่เอาไว้ช่วยเหลือผู้พิการที่ไม่สามารถเดินด้วยตนเอง ได้ตามแต่เหตุผลด้านความพิการของคนนั้น
Walker frame or Walkers
ข้อดี มีฐานรองรับน้ำหนักกว้าง ให้ความมั่นคงทั้งทางด้านหน้าและทางด้านข้าง
การเดินด้วย walker เริ่มจากยก walker ไปข้างหน้า ตามด้วยก้าวขาข้างที่มีพยาธิสภาพ แล้วก้าวขาอีกข้างตามไป
Walking aids, White Cane, Cane
การเดินแบบ cane gait เริ่มต้นโดยเหวี่ยงไม้เท้าไปด้านหน้า ตามด้วยขาข้างตรงข้าม แล้วตามด้วยขาข้าง
เดียวกับมือที่ถือไม้เท้า
การขึ้นบันไดด้วยไม้เท้า มือข้างตรงข้ามกับไม้เท้าให้จับราวบันไดไว้ ขาข้างปกติก้าวขึ้นก้อน ตามด้วยไม้เท้าและขาข้างที่มีพยาธิสภาพ ในทางตรงข้าม
การลงบันได ให้เอาไม้เท้าลงก้อน ตามด้วยขาข้างที่มีพยาธิสภาพ แล้วจึงลงด้วยขาข้างปกติ
Cushions
เบาะรองนั่งป้องกันแผลกดทับ
เครื่องช่วยฟัง