Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการและวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย - Coggle Diagram
หลักการและวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยจะมีชีวิตรอดและเติบโตได้ก็ด้วยการพึ่งพา
พ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ช่วยเลี้ยงดู ปกป้องจากอันตราย
หากผู้ใหญ่ให้ความรักเอาใจใส่ใกล้ชิด อบรมเลี้ยงดู
โดยเข้าใจเด็กพร้อมจะตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เปลี่ยนไปตามวัยได้อย่างเหมาะสมให้สมดุลกันทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา และสังคมแล้ว เด็กจะเติบโตแข็งแรงแจ่มใส มีความมั่นคงทางใจ รู้ภาษา ใฝ่รู้ และใฝ่ดี พร้อมที่จะพัฒนาตนเองในขั้นต่อไป ให้เป็นคนเก่งและคนดีอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีประโยชน์
ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ปัจจัยทางพันธุกรรม
ลักษณะทางกายภาพ เด็กจะได้รับการถ่ายทอดโครงร่างและลักษณะทางกายภาพต่างๆจากพ่อและแม่ ได้แก่ รูปร่าง ขนาด สัดส่วน เป็นต้น
ระดับวุฒิภาวะ พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดสภาวะและอัตราการ
เจริญเติบโตของเด็กในระยะเวลาที่เหมาะสม
ความสามารถทางสมอง การเจริญเติบโตของสมอง
ลักษณะความผิดปกติ ถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม และมีผลทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย ลักษณะที่เป็นปัญหาขึ้นได้ เช่น โรคปัญญาอ่อน
พื้นฐานทางอารมณ์ เกี่ยวกับการแสดงออกทางอารมณ์
ชนิดของกลุ่มเลือด (Blood type) เด็กจะได้รับ
ชนิดของกลุ่มเลือดจากพ่อและ แม่ ซึ่งมีอยู่
ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม คือ A ,B , AB และ o
เพศ (Sex) การรวมตัวของโครโมโซมคู่ที่ 23 จาก
พ่อและแม่จะเป็นตัวตั้งแต่ระยะปฏิสนธิ กล่าวคือ เด็กที่ได้รับโครโมโซม XY ก็จะเป็น เพศชาย ส่วนเด็กที่ได้รับโครโมโซม XX ก็จะเป็นเพศหญิง
ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
2.สภาพแวดล้อมทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว ญาติ พี่น้อง ครู วัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นต้น
1.สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ บ้าน โรงเรียน ของเล่น อาหาร บรรยากาศ เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรม
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลัง
คลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผล
ร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทาง
โภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด การเกิดภาวะแทรกซ้อนใน
ระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
ความบกพร่องในเด็กปฐมวัย
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ เช่น เด็กอายุ 20 เดือนแต่ยังเดินไม่ได้
ในขณะที่เด็กปกติเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9-15 เดือน เป็นต้น โดยความล่าช้านั้นปรากฎให้เห็นตั้งแต่วัยทารกและวัย เด็กตอนต้น พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้านและ
พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้