Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
HIV Human immunodeficiency virus - Coggle Diagram
HIV
Human immunodeficiency virus
การรักษา
ยาต้านไวรัส
Nucleotide reverse transcriptase inhibitors (NRTIs)
Zidovudine (AZT)
didanosine (ddl)
stavudind (d4T)
lamivudine (3TC)
กลไกออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส โดยรบกวนการทำงานของเอนไซม์ reverse transcriptase ทำให้การสร้างสาย DNA หยุดลง
ผลข้างเคียงของยา : ผื่นแพ้ ไข้ อ่อนเพลีย เกิดขึ้นภาย สัปดาห์แรกหลังให้ยา
Protease inhibitors (PIS)
กลไกการออกฤทธิ์โดยมีผลต่อระยะหลังของการแบ่งตัว มีผลทำให้
เกิดการสร้างไวรัสที่ไม่สมบูรณ์
ผลข้างเคียงของยา : ส่วนใหญ่จะเกิดจากการรับประทานยานานๆ
ได้แก่ อาจจะมีการสะสมของไขมันมากขึ้น เกิดภาวะดิ้นอินซูลิน
ทำให้มีโอกาสเป็นเบาหวานได้
Entry (fusion) inhibitor
กลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการรวมตัวของเชื้อเอชไอวีกับเซลล์ CD4
(ใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยา)
Non-nucleoside reverse (NNRTIS)
transcriptase inhibitors
กลไกการออกฤทธิ์โดยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโดยการจับ เอนไซม์ reverse transcriptase โดยตรง
ผลข้างเคียงของยา : ได้แก่ ผื่น ตับอักเสบ อาการทางระบบประสาท เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ
การติดตามประเมินผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัส
ปริมาณไวรัสในเลือด
หลังจากเริ่มรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีที่มีประสิทธิภาพ 6 เดือน
ส่วนใหญ่ HIV VL จะน้อยกว่า 50 copies/mL
ถ้า HIV VL มากกว่าหรือเท่ากับ 50 copies/mL โดยเฉพาะ มากกว่าหรือเท่ากับ 200 copies/mLให้สงสัยว่า การรักษาอาจล้มเหลว
ถ้า HIV VL 50-200 copies/mL ให้ถามข้อมูลการกินยา
การเจ็บป่วย หรือการไปฉีดวัคซีนของ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพราะอาจเป็นไวรัสที่สูงชั่วคราว และพิจารณาตรวจ HIV VL ซ้ำภายใน 3 เดือน
ควรตรวจ HIV VL อย่างน้อยทุก 6 เดือนในปีแรก
และต่อไปจนกว่า HIV VL < 50 copies/mL จึงลดลงเหลืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หากพบว่ามีปัญหากินยาไม่สม่ำเสมอ ควรแนะนำให้กินต่อเนื่อง
อย่างน้อย 2-3 เดือน แล้วทำการตรวจ HIV V ซ้ำ เพื่อประเมินว่ามีการรักษาล้มเหลวแล้วหรือไม่
CD4
CD4คือเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่มีหน้าที่ควบคุม
และต่อสู้กับเชื้อโรค และมีบทบาทในการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ร่างกายเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค
CD4 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 350 cells/mm ตรวจปีละ 2 ครั้ง
CD4 > 350 cells/mm
กรณี HIV VL 2 50 copies/mL ให้ตรวจตามข้อบ่งชี้ในกรณีที่สงสัย virclogical failure
กรณี HIV VL น้อยกว่า 50 copies/mL หลังจากกินยาต้าน
เอชไอวีนานติดต่อกัน อย่างน้อย 2 ปี ไม่จำเป็น ต้องตรวจ CD4
นัดติดตามอาการ
ในผู้ที่รับยาต้านเอชไอวีแล้วและมีอาการคงที่มี HIV VL น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 copies/mL มากกว่า 1 ปีขึ้นไป ไม่จำเป็นต้องนัดบ่อยครั้ง แนะนำให้นัดติดตาม ทุก 3-6 เดือน
วัคซีน
โดยแนวคิดของการพัฒนาวัคซีนมี 2 แนวคิด คือ ชนิดป้องกันและชนิดรักษส ซึ่งอาจใช้ร่วมกับยาต้านไวรัสแล้วทำให้หายขาด สามารถหยุดหรือลดขนาดยา
รักษาตามอาการ
เป็นการดูแลรักษาอาการและอาการแสดงในระยะเอดส์ขั้นเต็ม (Full AIDS) ซึ่งมักพบอาการที่แสดงออกทางด้านร่างกาย เช่น หายใจหอบเหนื่อย ปวดศีรษะ มีแผลในปากทำให้รับประทานอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด ผอมแห้ง อ่อนเพลีย เป็นตัน
พยาธิสภาพ
เมื่อมีการติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อเอซไอวีจะจับกับเซลล์ ที่มี CD4 receptor อยู่ที่ผิวเซลล์และเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ CD4 T lymphocyte ทำให้ ปริมาณและการทำหน้าที่ของ T lymphocyte ลดลง โดยเชื้อเอซไอวีไปสกัดกั้นตัวรับแอนติเจนที่ผิวของ CD4 T lymphocyte หรือ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ CD4 receptor ส่งผลให้ CD4 T lymphocyte ไม่สามารถกำหนด ลักษณะของแอนติเจนที่เข้ามาในร่างกายได้ ส่งผลให้การหลั่งสารลิมโฟคายน์ ไปยังเซลล์อื่นๆ ของระบบภูมิคุ้มกันลดลง
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เอชไอวี (Human immunodeficiency virus) ซึ่งเป็น retrovirus ในตระกูลเลนติไวรัส มีลักษณะรูปทรงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90-120 นาโนเมตร มีเปลือกหุ้ม ซึ่งประกอบด้วยกรดนิวคลีอิคเป็นแกนกลางมี RNA ชนิดสายเดี่ยว
นอกจากนี้เชื้อเอชไอวียังมีเอนไซม์ที่สำคัญอีก 4 ชนิด ได้แก่ Reversetransciptase, Integrase, Ribonuclease, Protease เอนไซม์ เหล่านี้มีบทบาทต่อการแบ่งตัว แพร่และกลายพันธุ์ของเชื้อ
เชื้อเอชไอวีมีระยะการฝักตัวนาน และไม่มีระยะปลอดเชื้อ ปกติสามารถตรวจพบเชื้อเอชไอวีได้
จากของเหลวต่างๆ ในร่างกาย เช่น เลือด น้ำอสุจิ สารคัดหลั่งจากช่องคลอดและมดลูก
อาการและอาการแสดง
ระยะปรากฏอาการเบื้องตัน
(Early symptomatic)
เป็นระยะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกทำลายลงในระดับหนึ่ง และจำนวน CD4 T cell 200-500 cell/uL เริ่มมีอาการปรากฏของเชื้อเอชไอวี จะมีอาการที่เรียกว่า wasting syndrome เช่น มีไข้เรื้อรังนานกว่า 1 เดือน น้ำหนักลดลง
ท้องเสียเรื้อรังนานกว่า 1 เดือน
ระยะไม่มีอาการ
(Asymptomatic HIV infection )
เกิดขึ้นภายหลังจากที่ร่างกายสร้างแอนติบอดีกับเชื้อเอชไอวี ระยะเวลาเฉลี่ยใช้เวลาประมาณ 7-10 ปี ผู้ป่วยไม่มีอาการใดๆ อาจมีต่อมน้ำเหลืองโต 1-2 cm. > 1 แห่ง
ในระยะนี้จำนวน CD4 T cell ในเลือดมักเกิน 500 cell/uL
ระยะเอดส์
(AIDS or Full Blow AIDS)
เป็นระยะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงมาก จำนวน CD4 T cell < 200 cell/uL ร่างกาย
ไม่สามารถป้องกันหรือควบคุมแม้เชื้อที่ไม่ก่อโรค อาการส่วนใหญ่เกิดจาก การติดเชื้อ
ฉวยโอกาส เช่น Cabrini pneumonia, esophagotis นอกจากนี้อาจมีโอกาสเกิดมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น lymphoma,Cervical cancer
ระยะการติดเชื้อเฉียบพลันหรือปฐมภูมิ
(Acute or Primary HIV infection)
เริ่มตั้งแต่การติดเชื้อเอชไอวี และมีการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อ ประมาณ 1-6 สัปดาห์ เป็นระยะฟักตัว จะมีอาการ ไข้ เจ็บคอ ผื่น ถ่ายเหลว 10-14 วันจะหายไปเอง ผู้ป่วยจะแข็งแรง แต่แพร่เชื้อได้
ภาวะแทรกซ้อน
วัณโรค
Tuberculosis
เป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบบ่อยที่สุดถึงร้อยละ 50 ผู้ป่วยที่มีไข้เรื้อรัง ไอ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง เจ็บหหน้าอก ต่อมน้ำเหลืองโต ให้ยารักษาวัณโรคด้วยสูตรยาที่มี rifampicin และยาในกลุ่ม NRTIS
ปอดอักเสบ
(Pneumocystis carinii Pneumonia)
CD4 ลดต่ำกว่า < 200/mm3 ผู้ป่วยจะมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ มีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย ซึ่งต่อมาจะมีอาการไอถี่มากขึ้น มีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
(Cryptococcal meningitis)
เชื้อรา cryptococcus เข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจ บางรายมีอาการปอดอักเสบ แต่ส่วนใหญ่
จะเป็นโรคนี้ โดยมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ ปวดตามตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มักพบเมื่อระดับ CD4 ลดต่ำลง
< 100/mm3 การรักษา : มักได้รับยา fluconazole รับประทาน หากมีอาการมาก เช่น ซึมลง ชัก
เพราะความดันในสมองสูง ควรได้รับยา amphotericin B ทางหลอดเลือดดำ
Disseminate mycobacterium
avium complex (MCV)
CD 4 ลดต่ำลงมากเหลือ < 50/mm3 จะมีอาการไข้เรื้อรัง เหงื่อออกตอนกลางคืน
น้ำหนักลด ปวดท้อง มีอุจจาระร่วงเรื้อรัง และบางรายอาจมี cytopenia
การรักษา :ได้ยา Clarithromycin 500 มก. กินวันละ 2 ครั้ง หรือ azithromycin
500 มก. กินวันละครั้ง ร่วมกับ ethambutol 15 มก./กก./วัน ในกรณีที่อาการรุนแรง
Toxoplasmic encephalitis
เกิดจากการติดเชื้อ Toxoplasma gondi เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของรอย โรคที่มีลักษณะเป็นก้อนในสมองในผู้ปวยเอดส์ ผู้ป่วยมักมีอาการสำคัญคือ ไข้ ปวดศีรษะ มีอาการผิด ปกติเฉพาะที่ของระบบประสาทเช่น แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก ประสาทสมองพิการ บางรายมีอาการชัก ซึม
หรือสับสนได้ อาการเหล่านี้อาจกลับคืนมาเป็นปกติได้หลังการรักษา ควรได้รับยา
Co-trimoxazole ในขนาดของ TMP 5-10 มก./กก./วัน
Cytomegalovirus (CMV) infection
CD 4 ต่ำมาก < 50/mm3 จะมีการมองเห็นผิดปกติเกิดขึ้น มีอาการตามัว
มีหยากไย่ลอย ในตา หรืออาจยังไม่มีอาการแสดงทางตา นอกจากนี้ยังมีไข้
กลืนลำบาก อุจจาระร่วงเรื้อรัง น้ำหนักลด เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ หรือจนกว่าผู้ป่วยจะ
มีอาการดีขึ้นหรือคงที่
การรักษา : ควรได้รับยา Ganciclovir 5 mg/kg q 12 hr. หยดทางหลอดเลือดดำ
การติดต่อ
การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น ไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัย
ไม่ว่าชายกับชาย ชายกับหญิง หรือหญิงกับหญิง
ทั้งทางช่องคลอดและทวารหนัก
ใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV ซึ่งมักพบใน
กลุ่มผู้ฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือด
การสัมผัสเลือดหรือน้ำเหลืองของผู้ติดเชื้อ HIV ผ่านผิวสัมผัสที่เป็นแผลเปิดหรือรอยถลอก รวมทั้งการใช้ของมีคมร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV โดยไม่ทำความสะอาดอุปกรณ์ให้สะอาดเพียงพอ เช่น มีดโกนหนวด กรรไกรตัดเล็บ
เข็มสักผิวหนังหรือคิ้ว เข็มเจาะหู
การติดต่อจากแม่สู่ลูก ทั้งระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดและการเลี้ยงดูด้วยนมแม่
การรับโลหิตบริจาคที่มีเชื้อ HIV ปนเปื้อน ซึ่งมีโอกาสน้อยมากในปัจจุบัน เนื่องจากโลหิตที่ได้รับบริจาคทุกขวดต้องผ่านการตรวจหาการติดเชื้อ
HIV เพื่อความปลอดภัย
ความหมาย
HIV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมทั้งโรคเอดส์ (AIDS) คือระยะท้าย
ของการติดเชื้อ HIV ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและมีโรคแทรกซ้อนได้ เชื้อ HIV จะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า CD4 (ซีดีโฟร์) ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสเกิดการติดเชื้อโรคฉวยโอกาสต่าง ๆ เช่น วัณโรค ปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
การป้องกัน
ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
มีคู่นอนเพียงคนเดียว
ก่อนแต่งงาน หรือมีบุตร ควรมีการตรวจร่างกาย และตรวจเลือด
งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และใช้สารเสพติด
ทุกชนิด โดยเฉพาะการใช้เข็ดฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
การปฏิตัวเมื่อมีเชื้อ
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับ
สารอาหารได้อย่างครบถ้วน
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือหากต้องมีเพศสัมพันธ์ ให้ป้องกันโดยการใช้ถุงยางอนามัยเสมอ เพราะวิธีนี้จะเป็นการป้องกันการรับเชื้อ
และการแพร่เชื้อเอดส์ไปสู่ผู้อื่นได้
ทำจิตใจให้สงบผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ ไม่เครียด
หากเป็นหญิงไม่ควรตั้งครรภ์ เพราะเชื้อเอดส์สามารถแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์