Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการคิดและออกแบบเชิงนวัตกรรมธุรกิจดิทัล - Coggle Diagram
หลักการคิดและออกแบบเชิงนวัตกรรมธุรกิจดิทัล
กลยุทธ์การสร้างสรรค์ธุรกิจสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล
กลยุทธ์สู่ Digital Transformation คือ กลวิธีที่รวบรวมเอาแผนปฏิบัติการต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อตอบโจทย์ว่าจะปฏิรูปจุดยืนขององค์กรในเชิงดิจิทัล ว่าจะไปถึงความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างไร เพราะว่าพฤติกรรมผู้บริโภค ลูกค้า รวมถึงการปรับตัวของคู่แข่งในยุคดิจิทัลนี้รวดเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านความคิด เทคโนโลยีใหม่ การสอดรับกับกิจวัตรประจำวันลูกค้า รวมไปถึงโมเดลทางธุรกิจต่าง ๆ หากองค์กรของเราปรับตัวตามไม่ทัน อาจทำให้องค์กรขาดทุน และใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะพลิกฟื้นได้
แนวทางนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล
นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล จะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1. มีความใหม่ 2. มีองค์ความรู้หรือความคิดเปลี่ยนแปลง นวัตกรรม 3. มีประโยชน์ต่อชุมชนหรือสังคมโดยทั่วไป และ 4. มีโอกาสในการพัฒนาต่อได้ผู้ค้นคิดนวัตกรรม
องค์ประกอบนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล
องค์ประกอบของนวัตกรรมโมเดลธุรกิจดิจิทัลที่สำคัญ สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ด้าน ได้ดังนี้
Online Platform เป็นการสร้างธุรกิจให้มีตัวตนอยู่ในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ทั้ง Facebook , Instagram หรือสื่ออื่น ๆ บนโลกออนไลน์ แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างในทุก Platform เนื่องจากจะยากต่อการดูแล เลือกแค่ Platform ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเราเท่านั้น
Business Strategy ในยุคดิจิทัลแบบนี้ การวางกลยุทธ์ให้กับธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยการจะสร้างกลยุทธ์จะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีอยู่ หากมีข้อมูลมากพอ ก็จะสามารถวิเคราะห์ และนำมาสร้างเป็นกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะส่งผลให้ธุรกิจเติบโตได้เป็นอย่างดี
Relationship การมีส่วนร่วมระหว่างธุรกิจ และสังคม ทั้งด้านความรับผิดชอบ ไปจนถึงด้านการทำงาน เพื่อทำให้ลูกค้าได้มีประสบการณ์ร่วมในการใช้บริการธุรกิจของเรา
Data and Technology เป็นข้อมูล และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจดิจิทัล สองสิ่งนี้จะสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด
Business Management แน่นอนว่าการทำงานทุกอย่างต้องทำงานอย่างเป็นระบบ ย่อมเป็นเรื่องที่ดีสำหรับองค์กร เพราะอย่างนั้นการจัดการภายในองค์กรให้ดีอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น เมื่อจัดการภายในองค์กรได้ดี การทำงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น
การออกแบบนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลตามหลักการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking)
การทำความเข้าใจในขั้นตอนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process) จะสามารถทำให้เราลำดับการปฎิบัติการ ตลอดจนรู้วิธีคิดและกระบวนการในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปจนถึงสามารถสร้างนวัตกรรมหรือผลลัพธ์เพื่อมาตอบโจทย์ที่ต้องการได้ ซึ่งกระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Process)
พื้นฐานแนวคิดนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล
บริการดิจิทัลอาศัยเครือข่ายกลุ่มนักปฏิบัติ(Actor-to-Actor Network)
บริการดิจิทัลต้องอาศัยทรัพยากรดิจิทัล
บริการดิจิทัลเกิดคุณค่าหลากหลาย (Density) ด้วยการปรับเปลี่ยนรูปแบบหรือ
โครงสร้าง (Re-configuration) ของทรัพยากรดิจิทัล
การบริการที่มีคุณค่ามากเกิดจากบูรณาการทรัพยากรของนักปฏิบัติ(Resource
Integrator)
หลักการคิดเชิงออกแบบ(Design Thinking)
[หลักการคิดเชิงออกแบบ] Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ คือ กระบวนการทำความเข้าใจปัญหาของผู้ใช้นำเสนอทางแก้ไข ปัญหาแบบใหม่ที่อาจไม่เคยคิดมาก่อน ผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่การเข้าใจ นิยาม สร้างสรรค์จำลอง และ ทดสอบ (Empathize Define Ideate Prototype & Test) โดย Design Thinking ถือว่าเป็นกระบวนการ สร้างนวัตกรรมอย่างหนึ่ง
Empathy (การเข้าอกเข้าใจ)
ขั้นตอนแรกของ Design Thinking ก็คือการทำความเข้าใจผู้ใช้งาน Empathy (การเข้าอกเข้าใจ) คือการเพิ่มคุณค่าให้กับกระบวนการ ผ่านการนำปัญหาของผู้ใช้งานมาเป็นจุดเริ่มต้น ขั้นตอนนี้เริ่มจากการสังเกตและการถามผู้ใช้งาน โดยเฉพาะคำว่า ‘ทำไม’ ซ้ำหลายๆรอบ คำถามหลักที่เราต้อง ตอบก็คือ ‘ผู้ใช้คือใคร’ และ ‘ผู้ใช้ต้องการอะไร’ ข้อดีของ Empathize ก็คือการหาคำตอบจากศูนย์ โดยไม่ใช้ สมมติฐานหรืออคติส่วนตัว
Define กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
ก็คือการสรุปข้อมูลจากขั้นตอนที่แล้วเพื่ออธิบาย ‘ปัญหาของผู้ใช้’ ออกมาให้ชัดเจนที่สุด การสรุป ปัญหาของผู้ใช้ที่ดีต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า ‘ใคร’ ‘อะไร’ ‘ทำไม’ และบางครั้งก็ ‘เมื่อไร’ และ ‘ที่ไหน’ ด้วย
Ideate สร้างสรรค์
เป็นขั้นตอนที่คนส่วนมากจำได้ดีที่สุด เพราะเป็นขั้นตอนมีสีสันเยอะมากครับ รูปที่เราเห็นประจำก็คือไวท์ บอร์ดที่มีโพสอิทหลายๆสีแปะไว้นั่นเอง
Prototype จำลอง
ขั้นตอนนี้ก็คือสร้าง Prototype หรือแบบจำลอง เพื่อนำไอเดียที่ดีที่สุดจากข้อที่แล้วมา แล้วถามตัวเองว่า ‘สามารถช่วยตอบโจทย์ของผู้ใช้’ ได้ดีแค่ไหน (ก่อนที่จะนำไปทดลองในข้อต่อไป)
Test ทดสอบ
ข้อสำคัญของการทดสอบคือ การเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็ว คำว่าทดสอบอาจจะฟังดูเหมือนขั้นตอนสั้นๆ แต่ใน ความเป็นจริง เราต้องมีการ ‘ปรับเปลี่ยน ปรับปรุง แก้ไข’ ซ้ำหลายรอบเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด คำตอบที่คุณควร ได้ก็คือ ‘อะไรที่ผู้ใช้ชอบ’ และ ‘อะไรที่เราต้องปรับปรุง’ หากในขั้นตอนนี่เราคิดว่า ‘ไอเดียไม่สามารถไปต่อได้’ เราก็ต้องกลับไปดูไอเดียในขั้นตอนสาม (Ideate) ใหม่อีก รอบ