Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระทานรกแรกเกิด - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงทางสรีระทานรกแรกเกิด
ระบบหายใจ
ทฤษฎี
1.1 ปัจจัยด้านการรับสัมผัส (Sensory stimuli)
ทารกเปลี่ยนสภาวะจากในครรภ์ที่เงียบ สงบ มี แสง
น้อย อุณหภูมิ อบอุ่น ออกมาอยู่ในห้องซึ่งเต็มไปด้วย
สิ่งกระตุ้น และส่งต่อไปศูนย์หายใจที่สมองส่วนMedulla ทำให้เกิดการหายใจ
1.2. ปัจจัยด้านเคมี (Chemical stimulus)การผูกรัดสายสะดือทำให้การไหลเวียนของเลือดผ่านรกหยุดลงมีผลให้ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดลดลงและมีคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เกิดภาวะเลือดเป็นกรดส่งผลให้เกิดการกระตุ้นที่Carotid and Aortic Chemo receptorsส่งกระแสประสาทไปศูนย์หายใจที่สมอง ส่วน Medulla ทำให้เกิดการหายใจ
1.3. ปัจจัยด้านอุณหภูมิ (Thermal stimulus) เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิจากในครรภ์มารดา 37 องศาเซลเซียส มาสู่อุณหภูมิห้อง คือ 20-23 องศาเซลเซียส ทำให้ทารกต้องมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้กับร่างกายของตนเองซึ่งจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการเผาผลาญเพื่อให้เกิดพลังงาน มีผลให้ระดับออกซิเจนในกระแสเลือดลดลง และเกิดกลไกการหายใจ เช่นเดียวกับปัจจัยด้านเคมี รวมทั้งอุณหภูมิที่เย็น จะทำให้เซลล์ประสาทบริเวณผิวหนังของทารกแรกเกิดถูกกระตุ้นและเกิดกลไกการหายใจ เช่นเดียวกับปัจจัยด้านการรับสัมผัส
กรณีศึกษา
แรกเกิด AGAR Score = 7 คะแนน ปลายมือปลายเท้าเขียวหายใจไม่สม่ำ อัตราการหาย 62 ครั้ง/นาที On oxygen box 10 ลิตร/นาที หลังได้รับ oxygen อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 44-50 ครั้ง/นาที O2 sat =99%
ระบบต่อมไร้ท่อ
ทฤษฎี
ทารกแรกเกิดเจริญดีแล้ว แต่การทำงานยังไม่สมบูรณ์ทำให้ร่างกายของทารกแรกเกิดควบคุมหน้าที่บางอย่างได้ไม่สมดุลโดยเฉพาะการควบคุมสารน้ำและอิเล็กโทรไลต์ความเข้มข้นของกลูโคสในกระแสโลหิตและการเผาผลาญกรดอะมิโน รกแรกเกิดครบกำหนดมักจะมีเต้านมแข็งและใหญ่ และอาจมีน้ำนมออกมาด้วยเรียกว่า Witches milk ซึ่งเป็นผลจากการกระตุ้นของโปรแลคติน (Prolactin)นอกจากนี้ระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ได้รับจากแม่ขณะ อยู่ในครรภ์ ได้ลดลงทันที ทำให้เกิดมีเลือดออกบริเวณอวัยวะเพศ ในทารกเพศหญิงเรียกว่าประจำเดือนเทียม ( menstruation)
กรณีศึกษา
ทารกมีเต้านมแข็งแต่ไม่มีน้ำนมออกมา ไม่มี menstruation
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
ทฤษฎี
ไตของทารกแรกเกิดมีจำนวน Glomerulus เท่ากับผู้ใหญ่ แต่ Basement membrane ของหลอดเลือดฝอยที่ไตบางกว่าผู้ใหญ่และจะหนาขึ้นเท่าๆกับผู้ใหญ่เมื่ออายุประมาณ 3 ปี อัตราการกรองผ่าน Glomerulus ประมาณ 25-30 ซีซี.ต่อนาที ต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตารางเมตร แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงกับผู้ใหญ่เมื่ออายุประมาณ 18 เดือน การทำงานของ Tubules มี ขีดจำกัด คือ ประมาณ 1/3 ของผู้ใหญ่และเพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงกับผู้ใหญ่เมื่ออายุประมาณ 18 เดือนเช่นเดียวกัน ดังนั้นการขับถ่ายอีเล็กโทร ไลต์และสารละลายต่างๆจึงช้ากว่าผู้ใหญ่และความสามารถทำให้ปัสสาวะเข้มข้นมีน้อยคือประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่ Antidiuretic hormone (ADH) ที่สร้างจาก Pituitary gland มีจำนวนจำกัดทำให้เสียน้ำออกจากร่างกายได้ง่ายเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่
การขับถ่ายอุจจาระ
ทารกแรกเกิดปกติจะถ่ายขี้เทา (Meconium) ภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าไม่ถ่ายอาจเกิดจากการที่รูก้นตัน (Imperforate anus)ประมาณวันที่ 3 หลังเกิดจะมีการถ่ายเป็นสีเหลืองปนเทา (Transitional stool) ประมาณวันที่ 4 หลังเกิดจึงจะมีลักษณะของสีอุจจาระปกติ (True stool) ตามลักษณะของนมที่ทารกได้รับ
กรณีศึกษา
ทารกปัสสาวะและถ่ายขี้เทา ก่อนย้ายไปห้องหลังคลอด
ระบบภูมิคุ้มกัน
ทฤษฎี
ทารกแรกเกิดจะสามารถสร้าง Gamma globulin ได้เองเมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 2 ส่วนภูมิคุ้มกันที่มีอยู่นั้นได้รับจากมารดาขณะอยู่ในครรภ์ เป็นชนิดIgG ซึ่งได้แก่ ภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ บาดทะยัก หัด คางทูม และฝีดาษถ้ามารดามีภูมิคุ้มกันพวกนี้อยู่แล้วก็จะถ่ายทอดไปยังทารก เป็น Passive immunity แต่ IgG นี้ จะอยู่ในร่างกายของทารกได้นานประมาณ 6 เดือนส่วนภูมิคุ้มกันโรคชนิด IgM เช่น โรคไอกรนนั้น ถ้าทารกได้รับจากมารดาไม่เพียงพออาจจะเป็นโรคไอกรนได้ตั้งแต่อายุต่ำกว่า 6 เดือน เมื่อเด็กอายุประมาณ 2 ปี จะมี IgM เท่าผู้ใหญ่ สำหรับทารกที่ดูดนมมารดา อาจได้รับภูมิคุ้มกันชนิด IgA จาก Colostrum ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคไขสันหลังอักเสบ คางทูม ไข้หวัดใหญ่ และอีสุกอีใสได้
กรณีศึกษา
1 ชั่วโมงหลังคลอดส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้ทารกได้รับภูมิมกันชนิดIgA จาก Colostrum และได้รับภูมิคุ้มกันชนิด IgG เนื่องจากมารดาฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักครบ 3 เข็ม