Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี - Coggle Diagram
องค์ประกอบของเว็บไซต์ที่ดี
Simplicity ความง่ายในการใช้งาน
เว็บไซต์ที่ดีควรแสดงถึง "ความง่ายของการจัดเรียงข้อมูล" ทำให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์นั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้โดยง่าย แต่หากเว็บไซต์มีการจัดเรียงข้อมูลที่ไม่เป็นระเบียบหรือไม่เป็นหมวดหมู่แล้ว ก็จะเพิ่มเวลาในการค้นหาของผู้เข้าชมเว็บไซต์ จนอาจมีผลให้เขาเหล่านั้นออกจากเว็บไซต์ของคุณไปเลยก็เป็นได้
Attractiveness เว็บไซต์ต้องน่าสนใจ ดึงดูดสายตา
"Attention" ทำให้ผู้ชมเว็บหยุดเพื่อที่จะอ่านข้อมูล
วิธีการที่ดึงดูดดความสนใจที่ดี เช่น การใส่ภาพคนลงบนจุดกึ่งกลางของหน้าเว็บไซต์ เพื่อนำสายตาผู้เข้าชมไปที่ภาพนั้นๆ
"Interest" อธิบายเพื่อสร้างความสนใจในตัวสินค้าหรือบริการ
เมื่อใช้ภาพคนเพื่อดึงดูดให้ผู้ชมเว็บหยุดที่หน้าเว็บไซต์ได้แล้ว ก็ให้เขียนรายละเอียดเพื่อให้คนสนใจอ่านข้อมูลต่อไปทันที ดังนั้นหากกระบวนการแรก (Attention) ไม่สามารถทำให้ผู้ชมเว็บหยุดเพื่อที่จะอ่านข้อมูลได้ ก็จะไม่สามารถก่อให้เกิดกระบวนการที่สอง (Interest) ได้ เนื่องจากผู้เข้าชมจะไม่สนใจที่จะอ่านข้อความธรรมดา หากไม่มีสิ่งดึงดูดสายตาก่อน
"Desire" ทำให้เกิดความรู้สึกอยากซื้อหรือใช้บริการ
เมื่อเกิด Interest แล้ว ก็ต้องกระตุ้นให้ผู้ที่กำลังอ่านข้อมูลสินค้าหรือบริการบนหน้าเว็บไซต์เกิดรู้สึกอยากซื้อหรือใช้บริการ โดยอาจจะแสดงรูปภาพที่โดดเด่นของสินค้าหรือบริการเสริมเข้าไปได้
"Action" ปิดการขาย หรือ ทำให้ตัดสินใจซื้อ
ต้องให้ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์เกิดการกระทำบางอย่างบนเว็บไซต์ (Call to action) เช่น สมัครสมาชิก ส่งแบบสอบถามมาที่หน้าเว็บไซต์
Credibility ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์
ดีไซน์การออกแบบเว็บไซต์ ควรดูน่าเชื่อถือ เป็นมืออาชีพ (Professional Look) มีเนื้อหาอย่างครบถ้วน มีรูปภาพสินค้าหรือบริการประกอบเนื้อหาอย่างชัดเจน และจัดข้อมูลอย่างเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการเข้าชม
แสดงที่อยู่ติดต่อชัดเจน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ หรือกรณีที่มีหน้าร้านจริง สามารถแสดงแผนที่ตั้ง เพื่อยืนยันการมีตัวตน และรองรับการติดต่อเข้ามาของลูกค้าที่สนใจได้
สร้างหน้า เกี่ยวกับเรา (About Us) แสดงเนื้อหาของประวัติความเป็นมา ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ ของบริษัท ภาพออฟฟิศ ทีมงาน
มีเครื่องหมายรับรองจากสถาบันต่างๆ (Certification and Accreditation) เช่น เครื่องหมาย DBD Verified, Registered ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นต้น ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์จะต้องนำเว็บไซต์ไปผ่านการตรวจรับรองจากองค์กรมาตรฐานต่างๆ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือว่าเว็บไซต์นี้อยู่ในขอบเขตของกฏหมาย
Speed ความเร็วในการแสดงผลข้อมูลบนเว็บไซต์
เลือกใช้ภาพขนาดไม่ใหญ่
ระมัดระวังเรื่องขนาดของรูปภาพและไฟล์ (มีผลต่อความเร็ว) หากภาพหรือไฟล์บนเว็บไซต์นั้นมีขนาดใหญ่ ก็จะทำให้เว็บไซต์ของคุณแสดงผลได้ช้าลงการใส่ภาพลงบนเว็บไซต์
ควรจะเลือกวิธี “Save for Web” และบันทึกภาพให้มีนามสกุล .JPG หรือ .GIF
ใช้บริการ Web Hosting ที่เร็ว
ในกรณีที่เลือกใช้บริการ Web Hosting ควรเลือก Server หรือ Web Hosting ที่เร็วและมี Bandwidth มากพอ
(Bandwidth คือ ความเร็วในการรับและส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต)
ระวังการใช้ Code ตกแต่งจากเว็บไซต์อื่น
การใส่ Code Banner, Counter หรือ การเขียน Code มาใส่บนเว็บไซต์นั้น ควรระวังเรื่องความเร็วและเสถียรภาพของระบบของ Server ของผู้ให้บริการ code ที่คุณนำมาติดตั้งด้วย
เช่น หาก server ของ code ที่นำมาติดล่มหรือโหลดช้า จะทำให้เว็บของคุณเปิดไม่ได้หรือโหลดช้าไปด้วย เป็นต้น
ตรวจสอบการแสดงผลภาพเคลื่อนไหวแบบ Flash
การใช้ Flash Animation หรือ Code ภาพเคลื่อนไหวต่างก็มีผลทำให้ใช้เวลาโหลดนานและอาจไม่สามารถแสดงผลในอุปกรณ์บางประเภท
จึงควรจะทดสอบความเร็วของการแสดงผลของส่วนประกอบต่างๆ ก่อน รวมถึง preview ตรวจสอบการแสดงผลของเว็บไซต์ก่อนเสมอ ก่อนที่จะโปรโมทเว็บไซต์ของคุณออกไป
Accessibility ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล
ขนาดของหน้าจอ
คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จะมีความละเอียดของหน้าจอสูงขึ้น รวมถึง “พฤติกรรม” ของผู้บริโภคที่ “เปลี่ยนไป” ด้วยกาiบริโภคข่าวสารแบบ Real Time ทุกที่ทุกเวลาผ่านอุปกรณ์ทั้ง Tablet และ Smartphone จนกลายเป็น Multi-Screen Trend ดังนั้น เว็บไซต์ที่ดีต้องสามารถแสดงผลได้พอดีกับทุกหน้าขนาดของหน้าจอและอุปกรณ์หลากหลายประเภทด้วย
Web Browser
Web Browser หรือเรียกง่าย ๆ ก็คือ โปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูเว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Google Chrome, Mozilla Firefox, Internet Explorer, Safari เป็นต้น โดยเว็บไซต์ต้องสามารถแสดงผลบนทุก Browser ได้อย่างถูกต้อง เพราะหากเข้าไม่ได้ในบาง Browser นั่นหมายถึง คุณอาจจะสูญเสีย Traffic จากผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่เข้ามาแล้วไม่สามารถอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ได้
การ Tag รูปภาพ
ควรตั้งชื่อให้กับรูปภาพประกอบเว็บไซต์ทุกครั้ง (Alternative Text) เพราะหากไม่ตั้งชื่อรูปภาพ Search Engine ก็จะไม่ทราบว่ารูปภาพนั้นเป็นรูปภาพอะไร ทำให้ไม่สามารถเข้ามาเก็บข้อมูลได้
และสำหรับผู้พิการทางสายตาที่ใช้โปรแกรมอ่านหน้าเว็บไซต์ด้วยแล้ว Alternative Text นี้จะถูกแปลงเป็นเสียงอ่านเพื่อสื่อสารให้ผู้ที่ตาบอดรับรู้ได้อีกด้วย
Font ตัวอักษร
ควรใช้ Font หรือตัวอักษรแบบมาตรฐาน เช่น Arial, Verdana, Times New Roman, Tahoma เป็นต้น และหลีกเลี่ยงการใช้ Font ตัวอักษรพิเศษ เพราะหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าชมเว็บไซต์ไม่มี Font พิเศษติดตั้งไว้ ก็จะทำให้การแสดงผลผิดไปจากปกติหรืออ่านข้อมูลไม่ได้
การใช้สี
ระมัดระวังเรื่องการเลือกใช้สีตัวอักษรและสีพื้นหลังที่ใกล้เคียงกันเกินไป รวมถึงหลีกเลี่ยงการใช้สีเพียงอย่างเดียวเพื่อสื่อความหมายหรือไฮไลท์ข้อมูลสำคัญ เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้เข้าชมที่ตาบอดสี โดยควรใช้สัญลักษณ์ร่วมกับการใช้สี เช่น เครื่องหมาย * สำหรับช่องที่ต้องกรอกข้อมูล เป็นต้น